ศิลปวัฒนธรรมสมัยอยุธยา มีอะไรบ้าง

ตามประวัติศาสตร์ของชาติไทยเรารู้กันดีว่าสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีนับเป็นช่วงเวลาการปกครองที่ยาวนานมากที่สุด ส่วนหนึ่งที่ทำให้สมัยนั้นมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมากมาจากด้านศิลปวัฒนธรรมที่ทุกวันนี้บางอย่างยังคงสืบทอดมาถึงรุ่นปัจจุบัน ต้องบอกว่าทั้งด้านศิลปะและวัฒนธรรมของอยุธยามีด้วยกันหลายแบบมากๆ มาดูกันว่ามีเรื่องไหนถึงทำให้อาณาจักรแห่งนี้เจริญรุ่งเรืองมาได้กว่า 400 ปี ตามที่เราได้เรียนรู้และศึกษากันมาตั้งแต่เด็ก
ปัจจัยที่ทำให้อาณาจักรอยุธยารุ่งเรือง งานศิลปวัฒนธรรม
เริ่มต้นกันที่เรื่องของวัฒนธรรมก่อน วัฒนธรรมของสมัยกรุงศรีอยุธยาที่เห็นเด่นชัดมากๆ คงเป็นเรื่องการแต่งตัวอันถือว่าเป็นเอกลักษณ์สุดๆ มีการเปลี่ยนแปลงมาหลายสมัยแต่โดยรวมยังคงแสดงออกถึงความเป็นไทยได้ชัดเจน เช่น ทรงผม, สไบ, โจงกระเบน ฯลฯ เป็นสิ่งที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นที่ทำให้อาณาจักรแห่งนี้เจริญรุ่งเรืองเรื่อยมา
เรื่องที่ 2 คือ กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นประเพณีอันสวยงามที่หลายคนอาจพึ่งรู้ว่ามีจุดเริ่มต้นจากสมัยอยุธยา มีการตกแต่งเรืออย่างสวยงามที่สุด สร้างริ้วขบวน และทำพิธีต่างๆ ด้วยอยุธยารายล้อมด้วยน้ำพิธีดังกล่าวจึงเป็นเหมือนการแสดงให้เจ้าฟ้าเจ้าเมืองได้เห็น
เรื่องวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของอยุธยาถือเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้อาณาจักรยืนยงมาได้หลายร้อยปี แถมประเพณีบางอย่างยังตกทอดมา เช่น ลอยกระทง, สงกรานต์ เป็นต้น
มาต่อกันที่เรื่องของงานศิลปะในสมัยอยุธยากันบ้าง บอกเลยว่างานศิลปะแต่ละจุดมีความงดงามในแบบฉบับของตนเองทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสถาปัตยกรรมต่างๆ โดยเฉพาะบรรดาวัดทั้งหลายที่เรามักเห็นว่ามีความสวยงามในแบบฉบับของตนเองพอควร แม้ปัจจุบันหลายแห่งจะถูกเผาหมดก็ตาม ด้านงานประติมากรรมก็มีความสวยงามไม่แพ้กันโดยเฉพาะเรื่องการสร้างพระพุทธรูปที่หลายๆ องค์ยังคงอยู่มาถึงทุกวันนี้ ด้านงานจิตรกรรมจะเน้นเรื่องเกี่ยวข้องกับงานของพระพุทธศาสนา มีการเลือกใช้สีสันอย่างน่าสนใจจนกลายเป็นความสวยงามที่มีคุณค่าอย่างมากกับคนยุคหลังๆ ที่เข้าไปสัมผัส
งานศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้ในสมัยอยุธยาถือเป็นเรื่องราวอันทรงคุณค่ามากๆ ของเมืองไทยเรา ด้วยอยุธยาเป็นอดีตเมืองหลวงเก่า การมีประวัติศาสตร์เหล่านี้ตกทอดมาช่วยแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเรามีวิวัฒนาการในแต่ละยุคสมัยชัดเจน เป็นความภาคภูมิใจของคนไทยที่ประเทศเราไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใครแถมยังมีเรื่องราวต่างๆ เป็นของตนเองมายาวนาน เป็นสิ่งที่ทำให้รูว่าบ้านเราเติบโตมาพร้อมกับความสวยงามแห่งวัฒนธรรม งานศิลปะ รวมถึงความคลาสสิกที่รวมอยู่ในตนเอง เป็นเรื่องที่น่าดีใจและควรค่ากับการรักษาไว้

ศิลปกรรมในสมัยอยุธยา 

 ลักษณะของศิลปวัฒนธรรมในสมัยอยุธยา แบ่งได้หลายประเภท โดยสรุปลักษณะที่สำคัญแต่ละประเภท ดังนี้

สถาปัตยกรรม 

 มักเป็นสถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนา 

         เนื่องจากพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ในตอนต้นของอาณาจักรอยุธยา นิยมสร้างตามแบบสมัยลพบุรีเป็นส่วนใหญ่ ได้รับอิทธพลจากขอมไว้มาก เช่น พระปรางค์ที่วัดพุทไธสวรรย์ วัดราษฎร์บูรณะ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นต้น

         หลังจากที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงขึ้นครองราชย์ ทรงประทับที่เมืองพิษณุโลกเป็นส่วนใหญ่ เพื่อต่อต้านข้าศึกที่มารุกรานทางด้านเหนือ จึงได้มีการรับเอาศิลปะแบบสุโขทัยมาใช้แทนการสร้างสถาปัตยกรรมแบบเดิมโดย 
        ในตอนแรก 

 การสร้างพระสถูปนิยมสร้างเป็นเจดีย์ทรงลังกาแบบสุโขทัย แต่ดัดแปลงให้มีความสูงกว่า เช่น พระเจดีย์ใหญ่ 3 องค์ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ และพระเจดีย์ใหญ่ที่วัดใหญ่ชัยมงคล เป็นต้น 

        ในตอนกลางถึงตอนปลาย 

 สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงยกทัพไปเขมร และได้รับชัยชนะกลับมาทำให้เขมรมาอยู่ภายใต้อำนาจของอยุธยา สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงสร้างพระปรางค์ขึ้นที่วัดไชยวัฒนารามเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะโดยสร้างพระปรางค์ตามศิลปะแบบเขมรและในสมัยนี้นิยมการสร้าง พระเจดีย์เป็นแบบเจดีย์เหลี่ยมหรือเจดีย์ไม้สิบสอง เห็นได้ชัดเจนจากพระเจดีย์ใหญ่ที่วัดภูเขาทองซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ โดยเปลี่ยนจากเจดีย์แบบเดิมเป็นเจดีย์ไม้สิบสอง

ประติมากรรม 

 งานประติมากรรมได้รับอิทธิพลเช่นเดียวกับสถาปัตยกรรม

ในตอนต้น 

 เป็นศิลปะแบบขอม ทำให้พระพุทธรูปในสมัยนี้เป็นพระพุทธรูป แบบอู่ทอง ซึ่งศิลปะแบบขอมนี้ได้มีอยู่ก่อนที่จะมีการสถาปนากรุงศรีอยุธยา หลังจากสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นต้นมา การสร้างพระพุทธรูปจะนิยมสร้างตาม แบบสุโขทัย จนถึงสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้เกิดงานศิลปะแบบอยุธยาอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นการผสมระหว่างศิลปะแบบอู่ทองกับแบบสุโขทัย มีตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญที่ได้ประดิษฐานที่พระอารามหลวงภายในเขตพระราชวัง เป็นพระทธรูปยืนสูง 8 วา ใช้ทองคำหุ้มทั้งองค์หนัก 286 ชั่ง 

ในตอนปลาย 

 มีการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง มีลวดลายเครื่องประดับอย่างกษัตริย์ เป็นแบบทรงเครื่องใหญ่ เช่น พระพุทธรูปยืนปางอภัย เป็นต้น กับอีกแบบคือ แบบทรงเครื่องน้อย ซึ่งจะแตกต่างกันตรงเครื่องประดับตกแต่งของเครื่องทรงที่ได้ประดับเข้าไป

จิตรกรรม 

 จิตรกรรมไทยได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาเหมือนกับศิลปะแขนงอื่นๆ มักเป็นภาพเกี่ยวกับพุทธประวัติและพุทธชาดกในพระพุทธศาสนา หรือ วาดเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีต 

ในตอนแรก 

 ของอยุธยา ภาพจิตรกรรมได้รับอิทธิพลจากศิลปะลพบุรี สุโขทัย และลังกาปนกัน สีที่ใช้มีอยู่ 3 สี คือ สีดำ สีขาว และสีแดง มีการปิดทองเล็กน้อย บางภาพจึงมีลักษณะแข็งและหนัก ต่อมาเริ่มใช้สีหลายสี จากศิลปะสุโขทัยที่มีอิทธิพลมากขึ้น

ในตอนปลาย 

 ช่างเขียนได้พัฒนาจนเป็นแบบอยุธยาอย่างสมบูรณ์ เรียกว่าเป็นจิตรกรรมไทยบริสุทธิ์ ใช้สีทำให้ภาพดูสดใสและมีชีวิตจิตใจยิ่งขึ้น นอกจากนี้ จากรูปบ้าน ภูเขา ต้นไม้ แสดงให้เห็นว่ามีศิลปะจีนเข้ามาปะปนด้วย

ประณีตศิลป์ 

 งานประณีตศิลป์สมัยอยุธยาถือได้ว่ามีความเจริญถึงขีดสุดเหนือกว่าศิลปะแบบอื่นๆ งานประณีตศิลป์ที่เกิดขึ้นมีหลายประเภท เช่น 

– เครื่องไม้จำหลัก 

 ได้แก่ ตู้พระธรรม ธรรมาสน์ พระพุทธรูป บานประตู หน้าต่าง หน้าบันพระอุโบสถ ตู้เก็บหนังสือ 
– ลายรดน้ำ 
 คือการนำทองมาปิดลงบนรักสีดำบนพื้นที่เขียนภาพหรือลวดลายแล้วรดน้ำล้างออก นิยมใช้ในบานประตูโบสถ์วิหาร ตู้พระธรรม ตู้ใส่หนังสือ เป็นต้น 
– การประดับมุก 
 ได้มาจากจีน แต่ได้ปรับให้เป็นลวดลายอย่างไทย พบในบานประตูที่วิหารพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก เป็นต้น 
– เครื่องเบญจรงค์ 
 เป็นการออกแบบลวดลายบนเครื่องเคลือบถ้วยชามด้วยสี 5 สี คือ สีแดง สีเขียว สีเหลือง สีขาว สีดำ และสีน้ำเงิน ลวดลายที่ใช้มักเป็นลายก้นขด หรือลายก้านแย่ง หรือใช้รูปตกแต่ง เช่น เทพนมสิงห์ ลายกนก กินรี กินนร นรสิงห์ เป็นต้น 
 เครื่องทองประดับ 
 มีทั้งเครื่องทองรูปพรรณ เครื่องราชูปโภคของพระมหากษัตริย์ เครื่องทองประดับอัญมณี ทองกร เป็นต้น 
– ลายปูนปั้น 
 คือลวดลายที่ปั้นด้วยปูนเพื่อประดับตกแต่งตามส่วนต่างๆ ของหน้าบันประตู เจดีย์ และปรางค์ ได้รับอิทธิพลทั้งจากขอมและตะวันตก เช่น ที่วัดมหาธาตุ วัดราษฎร์บูรณะ วัดตะเว็ต วัดพระราม วัดภูเขาทอง เป็นต้น

วรรณคดี 

 วรรณกรรมในสมัยอยุธยามีอยู่มากตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าอู่ทองจนตลอดระยะเวลาของกรุงศรีอยุธยาวรรณกรรมที่ ดีเด่นจนได้รับการยกย่อง เป็นวรรณคดีมีอยู่หลายเรื่องส่วนใหญ่ จะอยู่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นต้นมา มีวรรณกรรมเกิดขึ้นหลายประเภท เช่น กาพย์ห่อโคลง นิราศ ฉันท์ เป็นต้น   มีทั้งเรื่องที่แต่งเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เรื่องประเภทสดุดีวีรกรรมของพระมหากษัตริย์ การบรรยาย ความสวยงามของธรรมชาติ ความเชื่อในธรรมชาติ และเรื่องการเกี้ยวพาราสี วรรณคดีที่สำคัญ สามารถแบ่งเป็นในแต่ยุคได้ดังนี้ 

สมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ. 1893 – 2072) มี 4 เรื่อง

1) ลิลิตโองการแช่งน้ำ 
2) ลิลิตยวนพ่าย 
3) มหาชาติคำหลวง 
4) ลิลิตพระลอ

สมัยอยุธยาตอนกลาง (พ.ศ. 2153 – 2231) มี 20 เรื่อง 

1) กาพย์มหาชาติ 
2) โคลงทศรถสอนพระราม 
3) โคลงราชสวัสดิ์ 
4) โคลงพาลีสอนน้อง 
5) สมุทรโฆษคำฉันท์ 
6) โคลงเบ็ดเตล็ด ( สมเด็จพระนารายณ์มหาราช) 
7) เสือโคคำฉันท์ 
8) จินดามณี 
9) พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ 
10) อนิรุทธ์คำฉันท์ 
11) โคลงเบ็ดเตล็ด ( ศรีปราชญ์) 
12) กาพย์ห่อโคลง 
13) โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช 
14) โคลงอักษรสามหมู่ 
15) โคลงนิราศนครสวรรค์ 
16) คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง 
17) นิราศสีดา 
18) โคลงกวีโบราณ 
19) โคลงทวาทศมาส 
20) นิราศหริภุญชัย

สมัยอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ. 2275 – 2310) มี 11 เรื่อง 

1) โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์ 
2) นันโทปนันทสูตรคำหลวง 
3) พระมาลัยคำหลวง 
4) กาพย์เห่เรือ 
5) กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง 
6) กาพย์ห่อโคลงนิราศ ( ธารโศก) 
7) เพลงยาวเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร 
8) บทละครเรื่องดาหลัง และอิเหนา 
9) โคลงนิราศพระบาท 
10) กลบทสิริวิบุลกิติ 
11) ปุณโณวาทคำฉันท์ 

นอกจากนี้ยังมีวรรณคดีที่ไม่ปรากฏนามผู้แต่งหรือสมัยที่แต่งอีกส่วนหนึ่ง เช่น คาวี ไชยเชษฐ์ มโนราห์ สุวรรณหงส์ สังข์ทอง สังข์ศิลป์ชัย ฯลฯ

ประเพณี 

ขนบธรรมเนียมประเพณีสมัยอยุธยาได้รับอิทธิพลจากขอมเป็นส่วนใหญ่โดยได้ดัดแปลงจนเป็นประเพณีของไทยเป็นประเพณีเกี่ยวกับ พระราชสำนักและศาสนา ประเพณีที่เกี่ยวกับศาสนา เป็นประเพณีที่กระทำกันทั่วไปในสังคมไทย ได้แก่ 

พิธีกรรมทางศาสนา 

 เช่น พิธีอุปสมบท การทอดกฐิน ทอดผ้าป่า การทำบุญตักบาตร การทำสังฆทาน หรือการสร้างวัดถวายเป็นต้น 

พิธีที่เกี่ยวข้องกับศาสนา 

 เช่น พิธีทำขวัญเดือน พิธีโกนผมไฟ พิธีโกนจุก การแต่งงาน หรือพิธีที่เกี่ยวกับการตาย 

ประเพณีที่เกี่ยวกับราชสำนัก 

 เป็นพระราชกรณียกิจที่พระมหากษัตริย์ทรงบำเพ็ญในฐานะที่ทรงเป็นเทวราชาตามความเชื่อจากเขมรซึ่งได้รับมาจากอินเดีย อีกต่อหนึ่ง ได้แก่ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา พระราชพิธีสงกรานต์ พระราชพิธีไล่เรือ พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีพิรุณศาสตร์ พระราชพิธีถวายเทียนพรรษา พระราชพิธีการลอยประทีป (ลอยกระทง) เป็นต้น

พระพุทธศาสนา 

 ในสมัยอยุธยายังคงเจริญสืบต่อมาจากกรุงสุโขทัย เป็นพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์ พระมหากษัตริย์ทรงเป็น องค์ศาสนูปถัมภกพระพุทธศาสนาตลอดมา มีการสร้างวัดวาอารามขึ้นอย่างมากมายตลอดสมัยอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงนำธรรมเนียม ปฏิบัติในสมัยสุโขทัยมาใช้ อาทิเช่น อุทิศเขตพระราชวังเพื่อสร้างเป็นวัดในเขตพระราชวัง คือวัดพระศรีสรรเพชญ ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ ใช้เพียงประกอบพิธีกรรม ทางศาสนาเท่านั้น ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม มีการพบรอบพระบาทที่บนเขาสุวรรณบรรพต แขวงเมืองสระบุรี พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ทรงสร้างมณฑป ครอบรอยพระบาทไว้ ในสมัยอยุธยาตอนปลาย รัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ได้ทรงทำการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ ทั้งในเขตราชธานีและภายนอกราชธานี ให้การสนับสนุนการศึกษาพระไตรปิฎกอย่างกว้างขวางแก่ผู้ต้องการศึกษาพระธรรม และในปี พ.ศ. 2296 สมเด็จพระเจ้าบรมโกศได้โปรดเกล้าฯ ให้พระอุบาลีและ พระอริยมุนีเป็นหัวหน้าคณะสงฆ์ไทยไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในลังกา เนื่องจากขณะนั้นพระพุทธศาสนาในลังกาเสื่อมลง ได้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิสยามวงศ์ ณ อาณาจักรลังกาขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นับเป็นความเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งของกรุงศรีอยุธยา

 ที่มา://vichakarn.triamudom.ac.th/comtech/studentproject/soc/ayuttaya1/content10.htm

ศิลปะสมัยอยุธยา มีอะไรบ้าง

ด้านประณีตศิลป์ ในสมัยอยุธยามีหลายประเภท เท่าที่ปรากฏหลักฐานเหลืออยู่เป็นพวกเครื่องไม้จำหลัก การเขียนลายรดน้ำ เครื่องเงิน เครื่องทอง เครื่องถม และการประดับมุก ส่วนใหญ่เป็นศิลปกรรมที่สร้างขึ้นปลายสมัยอยุธยา มีเพียงไม่กี่ชิ้นเป็นของสมัยกลางและสมัยต้น เช่น เครื่องใช้ เครื่องประดับ และวัตถุทางศาสนาทำด้วยทอง เป็นงานสมัยต้น ...

ศิลปกรรมของไทยสมัยอยุธยาที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบันได้แก่อะไรบ้าง

ศิลปกรรมของไทยสมัยอยุธยาที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบันได้แก่อะไร เครื่องถ้วยชามเบญจรงค์ เครื่องถ้วยชามสังคโลก ภาพวาดสีน้ำมัน

ศิลปวัฒนธรรมในสาขาสถาปัตยกรรม ในสมัยอยุธยา มี ลักษณะตามข้อใด

สถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมยุคที่หนึ่งนับตั้งแต่พระเจ้าอู่ทองสร้างกรุงศรีอยุธยานิยมสร้างปรางค์เป็นหลักประธานของวัด มีพระวิหารอยู่หน้าปรางค์ มีระเบียงคดล้อมรอบปรางค์ สถาปัตยกรรมยุคนี้ไม่มีหน้าต่าง แต่มีช่องลมแบบซี่ลูกกรงที่เรียกว่า เสามะหวด หรือบางแห่งทำแบบสันเหลี่ยมมีอกเลา

ศิลปะไทยสมัยอยุธยาได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งใด

จิตรกรรมสมัยอยุธยา คือจิตรกรรมไทยประเพณีที่มีอายุเริ่มตั้งแต่การสถาปนากรุงศรีอยุธยา ขึ้นเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. 1893 จนถึง พ.ศ. 2310 ลักษณะงานมีรูปแบบ องค์ประกอบ เทคนิค และ วัฒนธรรม ตามแบบจิตรกรรมไทยประเพณีภาคกลางที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย จีน เขมร และอิทธิพล

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้