หลักการสำคัญของสหกรณ์ คืออะไร

     หลักการสหกรณ์  หมายถึง  แนวทางสำหรับสหกรณ์ต่างๆ  ในการนำคุณค่าของสหกรณ์ไปสู่การปฏิบัติอาจกล่าวได้ว่าหลักการของสหกรณ์นี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะสหกรณ์  โดยมีหลักการพื้นฐานเดิมจากหลักของผู้นำแห่งรอชเดล  แล้วจึงปรับปรุงเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

     พ.. 2538 (ค.ศ. 1995) ได้มีการประกาศให้สหกรณ์ทุกประเทศถือใช้โดยทั่วกันมีอยู่ 7 ประการ ซึ่งหลักการสหกรณ์เป็นแนวทางสำหรับสหกรณ์ต่าง ในการนำค่านิยมของสหกรณ์ไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งค่านิยมสหกรณ์ ตามที่ ICA ได้บันทึกไว้เป็นหลักฐานก็ คือ ค่านิยมพื้นฐานของสหกรณ์ ได้แก่ การพึ่งพาและความรับผิดชอบตนเอง ประชาธิปไตย ความเสมอภาค ความเที่ยงธรรม และความสามัคคี และสมาชิกสหกรณ์ตั้งมั่นอยู่ในค่านิยมทางจริยธรรมแห่งความซื่อสัตย์ เปิดเผย ความรับผิดชอบต่อสังคม และเอื้ออาทรต่อผู้อื่นตามแบบแผนที่สืบทอดมาจากผู้ริเริ่มการสหกรณ์

หลักการที่ 1 การเปิดรับสมาชิกโดยทั่วไปตามความสมัครใจ

     สหกรณ์เป็นองค์การแห่งความสมัครใจที่เปิดรับบุคคลทั้งหลายที่สามารถใช้บริการสหกรณ์ และเต็มใจรับผิดชอบในฐานะสมาชิกเข้าเป็นสมาชิก โดยปราศจากการกีดกันทางเพศ สังคม เชื้อชาติ การเมือง หรือศาสนา

1st Principle : Voluntary and Open Membership

     Co-operatives are voluntary organizations, open to all persons able to use their services and willing to accept the responsibilities of membership, without gen­der, social, racial, political, or religious discrimination.

หลักการที่ 2 การควบคุมโดยสมาชิกตามแนวทางประชาธิปไตย

     สหกรณ์เป็นองค์การประชาธิปไตยที่มีการควบคุมโดยสมาชิก ผู้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการกำหนดนโยบายและการตัดสินใจ บุรุษและสตรีผู้ที่ได้รับการเลือกเป็นผู้แทนสมาชิกต้องรับผิดชอบต่อ มวลสมาชิกในสหกรณ์ขั้นปฐมสมาชิกมีสิทธิ์ในการออกเสียงเท่าเทียมกัน (สมาชิกหนึ่งคนหนึ่งเสียง) สำหรับสหกรณ์ในระดับอื่นให้ดำเนินไปตามแนวทางประชาธิปไตยเช่นเดียวกัน

2 nd Principle : Democratic Member Control

     Co-operative are democratic organizations controlled by their members, who actively participate in setting their policies and making decisions. Men and women serving as elected representatives are accountable to the membership. In primary co-operatives members have equal voting rights (one member, one vote) , and co-operative at other levels are also organized in a democratic manner.

หลักการที่ 3 การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิก

     สมาชิกสหกรณ์ พึงมีความเที่ยงธรรมในการให้ และควบคุมการใช้เงินทุนในสหกรณ์ตามแนวทางประชาธิปไตย ทุนของสหกรณ์อย่างน้อยส่วนหนึ่งต้องเป็นทรัพย์สินส่วนร่วมของสหกรณ์ สมาชิกจะได้รับผลตอบแทนสำหรับเงินทุนตามเงื่อนไขแห่งสมาชิกภาพในอัตราที่จำกัด (ถ้ามี) มวลสมาชิกเป็นผู้จัดสรรผลประโยชน์ส่วนเกินเพื่อจุดมุ่งหมายประการใด ประการหนึ่งหรือทั้งหมด จากดังต่อไปนี้ คือ เพื่อ การพัฒนาสหกรณ์ของตนโดยจัดให้เป็นทุนของสหกรณ์ ซึ่งส่วนหนึ่งของทุนนี้ต้องไม่นำมาแบ่งปันกัน เพื่อเป็นผลประโยชน์แก่สมาชิกตามส่วนของปริมาณธุรกิจที่ทำกับสหกรณ์ และเพื่อสนับสนุนกิจกรรมอื่นใดที่มวลสมาชิกเห็นชอบ

3 rd Principle : Member Economic Participation

     Members contribute equitably to, and democratically control, the capital of their co-operative. At least part of that capital is usually the common property of the co-operative. Members usually receive limited compensation, if any, on capital subscribed as a condition of membership. Members allocate surpluses for any or all of the following purposes : developing their co-operative, possibly by setting up
re­serves, part of which at least would be undivided; benefiting members in proportion to their transactions with the co-operative; and supporting other activities approved by the membership.

หลักการที่ 4 มีการปกครองตนเองและมีอิสระ

     สหกรณ์เป็นองค์การที่พึ่งพาตนเองและปกครองตนเอง โดยมีการควบคุมของสมาชิก ในกรณีที่สหกรณ์ จำต้องมีข้อตกลงหรือผูกพันกับองค์การอื่นๆ รวมถึง องค์การของรัฐ หรือต้องแสวงหาทุนจากแหล่งภายนอก สหกรณ์ต้องกระทำภายใต้เงื่อนไขอันเป็นที่มั่นใจว่า มวลสมาชิกจะยังคงไว้ซึ่งอำนาจในการควบคุมตามแนวทางประชาธิปไตย และยังคงดำรงความเป็นอิสระของสหกรณ์

4 th Principle : Autonomy and Independence

     Co-operatives are autonomous, self-help organization controlled by their members. If they enter into agreements with other organizations, including gov­ernments, or raise capital from external sources, they do so on terms that ensure democratic control by their members and maintain their co-operative autonomy.

หลักการที่ 5 การให้การศึกษา การฝึกอบรม และข่าวสาร

     สหกรณ์พึงให้การศึกษาและการฝึกอบรมแก่มวลสมาชิกผู้แทนจากการเลือกตั้ง ผู้จัดการและพนักงาน เพื่อบุคลากรเหล่านั้น สามารถมีส่วนช่วยพัฒนาสหกรณ์ของตนได้อย่างมีประสิทธิผล และสามารถให้ข่าวสารแก่สาธารณชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่เยาวชนและบรรดาผู้นำทางความคิด ในเรื่องคุณลักษณะและคุณประโยชน์ของสหกรณ์ได้

5 th Principle : Education, Training and Information

     Co-operatives provide education and training for their members, elected rep­resentatives, managers, and employees so they can contribute effectively to the development of their co-operatives. They inform the general public – particularly young people and opinion leaders – about the nature and benefits of co-operation.

หลักการที่ 6 การร่วมมือระหว่างสหกรณ์

     สหกรณ์สามารถให้บริการแก่สมาชิกได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุดและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ขบวนการสหกรณ์ได้ โดยการประสานความร่วมมือกันในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ

6 th Principle : Co-operation Among Co-operatives

     Co-operatives serve their members most effectively and strengthen the co–operative movement by working together through local , national, regional, and international structures.

หลักการที่ 7 ความห่วงใยต่อชุมชน

สหกรณ์พึงดำเนินกิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชน ตามนโยบายที่มวลสมาชิกให้ความเห็นชอบ

7 th Principle : Concern for Community

Co-operatives work for the sustainable development of their communities through policies approved by their members.

หลักการของสหกรณ์คืออะไร

สหกรณ์เป็นองค์การแห่งความสมัครใจที่เปิดรับบุคคลทั้งหลายที่สามารถใช้บริการของสหกรณ์ และเต็มใจรับผิดชอบในฐานะสมาชิกเข้าเป็นสมาชิกโดยปราศจากการกีดกันทางเพศ สังคม เชื้อชาติ การเมืองและศาสนา หลักการที่ 2 การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย

หลักการสหกรณ์มีกี่ข้อ

หลักการสหกรณ์ คือ ข้อกำหนดสำคัญที่สหกรณ์ทุกสหกรณ์ต้องยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติเป็นสากล ปัจจุบันมีด้วยกัน 7 ข้อ ดังนี้ หลักการที่ 1 การเปิดรับสมัครโดยทั่วไปตามความสมัครใจ สหกรณ์เป็นองค์การแห่งความสมัครใจที่เปิดรับบุคคลทั้งหลายที่สามารถใช้บริกาของสหกรณ์และเต็มใจรับผิดชอบ

หลักความสมัครใจคืออะไร

การเริ่มต้นหลักการแห่งความสมัครใจ เพื่อให้สมาชิกในองค์กรสหกรณ์ใช้ความสมัครใจนี้ เป็นฐานในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป กล่าวคือ เมื่อสมัครใจเข้ามาย่อมเต็มใจเข้าประชุม เต็มใจร่วมธุรกิจ ยินดีรับผิดชอบ ยินดีปฏิบัติตนตามระเบียบ ภูมิใจในทรัพย์สินของสหกรณ์

สหกรณ์มีความสำคัญต่อประเทศอย่างไร

จะเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังพัฒนา หรือด้อยพัฒนา เพราะ สหกรณ์มีบทบาทในการกระจายรายได้ไปสู่ประชาชนอย่างยุติธรรม ช่วยตัดพ่อค้าคนกลาง และนายทุนออกไป 2. เป็นการรวมแรง รวมปัญญา รวมทุน ของบุคคลที่อ่อนแอทางเศรษฐกิจ การดำเนินการเป็นแบบประชาธิปไตย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้