ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ การแก้ไข

หนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่หลีกเลี่ยงได้ยากและเป็นภัยต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่หรือใกล้เขตอุตสาหกรรม ทางที่ดีจึงควรเรียนรู้ถึงผลกระทบของมลพิษทางอากาศที่มีต่อสุขภาพและวิธีป้องกันที่ถูกต้อง เพื่อให้ปลอดภัยจากอันตรายที่มาพร้อมปัญหานี้

มลพิษทางอากาศ คือการปนเปื้อนของสารเคมี สารประกอบทางกายภาพ และสารทางชีววิทยาในสิ่งแวดล้อม จนก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศ ส่วนใหญ่มักเกิดจากการเผาผลาญของเครื่องยนต์ ยานพาหนะ การทำอุตสาหกรรม หรือแม้แต่ไฟป่า โดยสารในมลพิษทางอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ ได้แก่ อนุภาคขนาดเล็กที่ถูกกำจัดไม่หมด ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ โอโซน ไนโตรเจนไดออกไซด์ และซัลเฟอร์ไดออกไซด์

มลพิษทางอากาศแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

มลพิษทางอากาศภายนอก เป็นมลพิษที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมภายนอกอาคาร อาทิ

  • อนุภาคที่เกิดจากการเผาไหม้ของพลังงานเชื้อเพลิง เช่น น้ำมัน ถ่านหิน เป็นต้น
  • ก๊าซพิษ ได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ หรือไอระเหยจากสารเคมีต่าง ๆ
  • โอโซนระดับพื้นดิน ซึ่งเป็นโอโซนชนิดที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และเป็นส่วนประกอบสำคัญของหมอกควันที่เป็นพิษในบริเวณตัวเมือง
  • ควันจากยาสูบ ซึ่งประกอบไปด้วยสารเคมีที่เป็นพิษและสารก่อความระคายเคือง ส่งผลให้ผู้สูดดมเสี่ยงติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและโรคหอบหืด

มลพิษทางอากาศภายใน เป็นมลพิษที่เกิดขึ้นภายในอาคารหรือที่พักอาศัย เช่น

  • อนุภาคจากการเผาไหม้ของก๊าซหุงต้ม เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ เรดอน เป็นต้น
  • สารเคมีที่ใช้ภายในบ้าน
  • สารเคมีที่ใช้ในการก่อสร้าง เช่น แร่ใยหิน ฟอร์มาดิไฮด์ ตะกั่ว เป็นต้น
  • สารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ จากภายในและนอกอาคาร เช่น ฝุ่น สารก่อภูมิแพ้จากแมลงสาบและหนู เป็นต้น
  • ควันจากยาสูบ
  • ราและเกสรดอกไม้

นอกจากนี้ สารต่าง ๆ ที่อยู่ภายนอกอาคารอาจเข้าสู่ภายในอาคารจากการเปิดหน้าต่าง ประตู หรืออุปกรณ์ระบายอากาศได้เช่นกัน

มลพิษทางอากาศส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ ?

มลพิษทางอากาศอาจส่งผลให้เกิดการระคายเคืองตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตา คอ และปอด โดยหากอยู่ในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูงอาจมีอาการแสบตา ไอ และแน่นหน้าอกได้

อย่างไรก็ตาม อาการที่เกิดขึ้นจากมลพิษทางอากาศของแต่ละคนอาจแสดงออกแตกต่างกัน เด็ก ๆ มักรู้สึกถึงความผิดปกติจากมลพิษทางอากาศได้ช้ากว่าผู้ใหญ่ แต่จะมีอาการป่วยที่รุนแรงมากกว่า เช่น หลอดลมอักเสบ และอาการปวดหู ผู้ใหญ่บางรายอาจมีอาการรุนแรงหรือไม่มีอาการใด ๆ แสดงให้เห็น ส่วนผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคปอด โรคหอบหืด หรือโรคถุงลมโป่งพอง อาจไวต่อการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศ รวมทั้งมีอาการได้ง่ายและรุนแรงกว่าคนทั่วไป

ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา มีการศึกษาพบว่ามลพิษทางอากาศส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงหลายประการ เช่น โรคเกี่ยวระบบทางเดินหายใจอย่างหอบหืดหรือความผิดปกติในการทำงานของปอด โรคที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด การคลอดก่อนกำหนด หรือแม้แต่การเสียชีวิต นอกจากนี้ ล่าสุดองค์การอนามัยโลกได้เปิดเผยว่ามลพิษทางอากาศภายนอกยังเป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งอีกด้วย

บรรเทาอาการจากมลพิษทางอากาศอย่างไร ?

มลพิษทางอากาศส่งผลกระทบต่อร่างกายและอาจทำให้เกิดอาการไอ จาม เจ็บ คัดจมูก และน้ำมูกไหล ซึ่งในเบื้องต้นอาจบรรเทาได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

กลั้วคอและล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ

น้ำเกลือทางการแพทย์มีฤทธิ์ทำความสะอาดและให้ความชุ่มชื้นกับเนื้อเยื่อภายในโพรงจมูกและลำคอ ซึ่งช่วยชะล้างสารก่อการระคายเคืองที่อยู่ในจมูกและลำคอและลดอาการระคายเคืองได้ หากมีอาการระคายคอ มีน้ำมูก หรือคัดจมูก อาจใช้วิธีนี้บรรเทาเบื้องต้นได้

ใช้ยาแก้แพ้

ยาแก้แพ้ (Antihistamine) เป็นยาที่ช่วยลดการยับยั้งการหลั่งของสารฮิสตามีน (Histamine) ซึ่งเป็นสารที่ไปกระตุ้นให้เกิดอาการต่าง ๆ เมื่อร่างกายได้รับสารก่ออาการแพ้ อย่างฝุ่น ควัน หรือสารเคมี

ใช้ยาลดน้ำมูก

ยาลดน้ำมูก (Decongestants) อาจช่วยบรรเทาอาการมีน้ำมูกและลดอาการบวมของเนื้อเยื่อในโพรงจมูกที่เป็นสาเหตุของอาการคัดจมูกได้ ยาลดน้ำมูกมีทั้งแบบเม็ดและแบบสเปรย์พ่นจมูก

ใช้ยาแก้ไอ

การสูดดมมลพิษต่อเนื่องกัน อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองภายในระบบทางเดินหายใจจนทำให้เกิดอาการไอ โดยในเบื้องต้นอาจบรรเทาได้ด้วยการใช้ยากดอาการไอ (Antitussive) หากมีอาการไอไม่มีเสมหะที่เกิดจากการระคายเคืองทั่วไป

นอกจากนี้ การระคายเคืองภายในลำคออาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการติดเชื้อและทำให้มีเสมหะร่วมกับอาการไอด้วย จึงอาจเลือกใช้ยาละลายเสมหะ (Mucolytics) อย่างยาคาร์โบซิสเทอีน (Carbocysteine) 2.25 กรัมต่อวัน ยาบรอมเฮกซีน (Bromhexine) ครั้งละ 8-16 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ยาเอ็นอะซิทิลซิสเทอิน (N-Acetyl-Cystein) หรือ NAC 600 มิลลิกรัมต่อวัน ยากลุ่มนี้จะช่วยลดความข้นเหนียวของเสมหะและช่วยให้ขับเสมหะออกได้ง่ายขึ้น แต่ปริมาณดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับอายุและโรคประจำตัวของผู้ป่วย ทั้งนี้ ยังมียาขับเสมหะ (Expectorants) ที่ช่วยขับเสมหะได้เช่นกัน 

ในปัจจุบันยาแก้ไอมีหลายรูปแบบไม่ว่าจะแบบเม็ด แบบน้ำ รวมไปถึงแบบเม็ดฟู่ละลายน้ำ ซึ่งยาชนิดเม็ดฟู่ละลายน้ำอาจช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมตัวยาได้ง่ายและนำไปใช้ได้เร็วขึ้น อีกทั้งยังเหมาะกับผู้ที่ไม่สามารถกลืนยาเม็ดขนาดใหญ่หรือผู้สูงอายุที่มีปัญหาในการดูดซึมได้

อย่างไรก็ตาม การใช้ยาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และเภสัชกร เนื่องจากยาแต่ละชนิดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงในการใช้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ในเด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว

นอกจากนี้ หากผู้ป่วยมีอาการระคายคอหรือเจ็บคอที่ไม่รุนแรงก็สามารถใช้สเปรย์ที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพร อย่างดอกคาโมไมล์ ยูคาลิปตัส มะกรูด หรือเปปเปอร์มิ้นต์ ซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอหรือระคายเคืองภายในคอ ซึ่งอาจช่วยให้การทำงานหรือการทำกิจกรรมระหว่างวันดำเนินได้อย่างราบรื่น สเปรย์พ่นคอมีจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป ผู้ที่มีข้อสงสัยควรปรึกษาเภสัชกรก่อนใช้งานเสมอ

คุณภาพของอากาศวัดได้อย่างไร ?

ในประเทศไทย คนทั่วไปรับรู้คุณภาพของอากาศได้จากผลวัดที่จัดทำโดยกรมควบคุมมลพิษ เรียกว่าดัชนีคุณภาพอากาศ ซึ่งเป็นรายงานข้อมูลเกี่ยวกับอากาศที่หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมนำเสนอแก่ประชาชนทั่วไปเป็นระยะ เพื่อให้รับรู้ถึงสถานการณ์มลพิษทางอากาศและความเสี่ยงต่อสุขภาพ

ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ และมีการใช้สีเป็นสัญลักษณ์ ซึ่งค่าดัชนีคุณภาพอากาศที่ถือว่าเป็นปกติคือ 100 หากสูงกว่าแสดงว่าในอากาศมีความเข้มข้นของมลพิษค่อนข้างสูงหรือสูงมาก โดยเกณฑ์การวัดมีดังนี้

  • 0-50 ใช้สีฟ้าเป็นสัญลักษณ์ หมายถึง คุณภาพของอากาศอยู่ในระดับดี และไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
  • 51-100 ใช้สีเขียวเป็นสัญลักษณ์ หมายถึง คุณภาพของอากาศอยู่ในระดับปานกลาง และไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
  • 101-200 ใช้สีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ หมายถึง คุณภาพของอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพ ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายนอกอาคาร เด็กและผู้สูงอายุไม่ควรทำกิจกรรมภายนอกอาคารนาน ๆ
  • 201-300 ใช้สีส้มเป็นสัญลักษณ์ หมายถึง คุณภาพของอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพมาก ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกอาคาร เด็กและผู้สูงอายุควรลดการออกกำลังกายนอกอาคาร
  • มากกว่า 300 ใช้สีแดงเป็นสัญลักษณ์ หมายถึง คุณภาพของอากาศเป็นอันตราย ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจควรอยู่แต่ภายในอาคาร บุคคลทั่วไปควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายนอกอาคาร

วิธีป้องกันมลพิษทางอากาศ

การป้องกันตนเองจากมลพิษทางอากาศเป็นสิ่งที่พึงกระทำเพื่อสุขภาพที่ดี โดยวิธีป้องกันตัวเองและครอบครัวจากผลกระทบของมลพิษทางอากาศในเบื้องต้น ทำได้ดังต่อไปนี้

การป้องกันผลกระทบจากมลพิษทางอากาศภายนอก

  • อยู่ภายในอาคารให้มากที่สุดระหว่างวัน และหลีกเลี่ยงการอยู่ภายนอกอาคารบริเวณที่มีมลพิษทางอากาศสูงเป็นเวลานาน
  • หากต้องออกไปข้างนอก ควรหลีกเลี่ยงช่วงเวลาเร่งด่วน อาจออกแต่เช้าตรู่หรือรอหลังพระอาทิตย์ตก เนื่องจากแสงอาทิตย์จะส่งผลให้โอโซนระดับภาคพื้นดินซึ่่งเป็นองค์ประกอบหลักของมลพิษทางอากาศในเมืองและส่งผลเสียต่อสุขภาพ มีระดับสูงขึ้น
  • เมื่ออยู่ภายนอกอาคาร ควรหายใจช้า ๆ และอย่าทำกิจกรรมที่ส่งผลให้อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น เพราะจะทำให้ได้รับมลพิษทางอากาศมากขึ้น

    สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ มีอะไรบ้าง

    สารมลพิษต่าง ๆในสิ่งแวดล้อมได้ 3 ประเภทใหญ่ได้แก่ 1. พวกที่สามารถย่อยสลายได้โดยวิธีการทางชีววิทยา 2. พวกที่ไม่สามารถจะย่อยสลายได้โดยขบวนการทางชีววิทยา 3. สารมลพิษที่เป็นก๊าซ ได้แก่ ก๊าซพิษต่าง ๆ เช่น คาร์บอนมอนนอกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คลอรีน เป็นต้น

    การปฏิบัติตนในข้อใดช่วยลดอากาศเป็นพิษ

    8วิธีที่เราช่วยลดปัญหามลพิษของอากาสได้.
    1. ลดกินเนื้อ สนับสนุนพืชออร์แกนิก ... .
    2. ประหยัดพลังงานมากขึ้น ... .
    3. ใช้พลังงานทางเลือกหมุนเวียน ... .
    4. นำขยะมาใช้ใหม่ ... .
    5. เดินทางแบบไม่ใช้พลังงานเชื้อเพลิง ... .
    6. อยู่กับอากาศธรรมชาติ ... .
    7. มีส่วนร่วมในการสร้างเมืองคุณภาพ ... .
    8. จัดทำออฟฟิศสีเขียว.

    อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อม

    การเกิดปัญหามลพิษทางอากาศจากการกระทำของมนุษย์ เช่น เกิดจากความต้องการพลังงานเพื่อใช้ในครัวเรือน ใช้ในภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรม รวมทั้งมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการใช้รถยนต์ เรือยนต์ หรือเครื่องบิน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโครเจนสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ซึ่งมีผลต่อสุขภาพของคนเราโดยตรง ...

    มลพิษทางสิ่งแวดล้อมคืออะไร

    มลพิษทางสิ่งแวดล้อม คือ การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่ผิดแปลกไปจากเดิมเนื่องมาจากการกระทำของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้เกิดการเปลี่ยนทางด้านกายภาพ ชีวภาพ ความสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิต จึงมีผลกระทบต่อมนุษย์โดยตรง หรือทางอ้อมผ่านทางทรัพยากรทางธรรมชาติ เช่น ทางน้ำ ดิน อากาศ ผลิตผล พืช และสัตว์ ที่มนุษย์ต้องใช้ปัจจัย ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้