อุบาสก อุบาสิกาเป็นชาวพุทธกลุ่มใด

การปฏิบัติตนของพุทธศาสนิกชนนั้น เนื่องจากเราแบ่งพุทธศาสนิกชนออกไว้เป็น ๒ กลุ่มใหญ่ๆ คือฝ่ายนักบวชและฝ่ายที่ครองเรือน หรือแแบ่งเป็นพุทธบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ซึ่งในปัจจุบันนี้ ภิกษุณีหมดไป ซึ่งก็หมายความว่า สามเณรีและนางสิกขมานาก็หมดไปด้วย พุทธบริษัทในปัจจุบันจึงมีภิกษุ สามเณร กับ อุบาสก อุบาสิกา หน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติของบุคคลทั้ง ๒ ฝ่ายใหญ่ๆ นั้น จึงแตกต่างกันไปตามสมควรแก่ฐานะ แต่เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ก็จะพบว่า  พุทธบริษัทจะต้องปฏิบัติให้มั่นคงอยู่ใน ๕ ประการ คือ

    ๑. พยายามศึกษาเรียนรู้ให้เกิดความเข้าใจในศาสนธรรม คือ คำสั่งและคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า และของพุทธศาสนา ให้เต็มความสามารถของตน

    ๒. พยายามปฏิบัติให้เหมาะสมแก่เพศ แก่ฐานะของตน ตามที่พระพุทธเข้าได้ทรงแสดงไว้ เช่่น ผู้ที่เป็นอุบาสก อุบาสิกา จะต้องมีศรัทธา คือความเชื่อมั่นในคุณของพระพุทธเจ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ดี ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง ทรงสมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้เสด็จมา เสด็จอยู่ เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นสารถีผู้ฝึกคนและสัตว์อย่างยอดเยี่ยม ไม่มีใครจะยิ่งไปกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ เป็นผู้ตื่น เป็นผู้เบิกบาน เป็นผู้มีโชค เป็นผู้จำแนกธรรม เชือมั่นในกฎของกรรม ในผลของกรรม และในการที่สัตว์เป็นผู้มีกรรมเป็นของๆตน

    เป็นผู้มีศีลตามสมควรแก่ฐานะโอกาส มีศีล ๕ ประการ คือ

     งดเว้นจากการเบียดเบียนประทุษร้ายร่างกายของกันและกัน

     งดเว้นจากการประทุษร้ายทรัพย์สินของบุคคลอื่น

     เว้นจากการประทุษร้ายในคู่ครองของบุคคลอื่น

     งดเว้นจากการพูดเท็จ ทำลายผลประโยชน์ของบุคคลอื่น

     งดเว้นจาการดื่ม การสูบ การเสพ การฉีด สิ่งที่ทำให้ผู้ดื่ม ผู้เสพ ผู้ฉีดให้มึนเมา ตั้งอยู่ในความประมาท

และข้อปฏิบัติเหล่านี้ จะต้องพิสูจน์ได้ด้วยการไม่ถือมงคลตื่นข่าวต่างๆ เรื่องของขลัง เรื่องศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย แต่จะเชื่อกฎของกรรมอย่างมั่นคง เวลาจะกระทำสิ่งที่เป็นบุญก็จะทำสิ่งที่เป็นบุญ ตามขอบข่ายขั้นตอนของพระพุทธศาสนา ไม่ประพฤติ ไม่กระทำนอกคำสอนของพระพุทธศาสนา ถ้าเป็นชาวพุทธฝ่ายนักบวชก็ต้องปฏิบัติให้ประณีตสูงขึ้น ตามสมควรแก่ฐานะของท่าน

     ๓. ในการปฏิบัตินั้น จะต้องได้รับผลซึ่งบุคคลเหล่านั้นจะรู้ได้ด้วยตนเองเพราะเป็นของที่วิญญูชนจะรู้ได้เฉพาะตน ซึ่งก็หมายความว่า เมื่อมีการศึกษาแล้วจะต้องเดินไปสู่การปฏิบัติ ในการปฏิบัตินั้นจะต้องปฏิบัติจนได้ผลในชั้นใดชั้นหนึ่ง บุคคลจึงจะเห็นคุณค่าของพระพุทธศาสนา

     ๔. ช่วยกันเผยแผ่ชี้แจงแสดงหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ซึ่งในปัจจุบันสามารถทำได้มาก เช่นด้วยการสนทนาปราศรัยกัน ด้วยการแลกเปลี่ยนความคิดความเห็นกันด้วยการบรรยาย ปาฐกถา เทศน์ หรือว่าสั่งสอนโดยวิธีอื่น หรือด้วยการเผยแผ่โดยเอกสาร เทป วีดีโอ เป็นต้น

     ๕. เมื่อมีการกล่าวจ้วงจาบบิดเบือน ใส่ร้ายของผู้มุ่งทำลายพระพุทธศาสนา เป็นภารกิจหลักที่พุทธศาสนิกชนจะต้องแก้ไขคำกล่าวจ้วงจาบบิดเบือนพระพุทธศาสนาเหล่านั้น เพือธำรงรักษาพระพุทธศาสนาเอาไว้ทั้งส่วนศาสนบุคคล ศาสนธรรม และศาสนสถาน ตลอดถึงศาสนพิธีต่างๆ เพื่อพระพุทธศาสนาจะได้ทำงานอันเป็นประโยชน์เกื้อกูลและอำนวยความสุขให้แก่ชาวโลกต่อไปตลอดกาลนาน

การปฏิบัติทั้ง ๕ ประการ คือ

     ๑. ศึกษาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

     ๒. ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

     ๓. สัมผัสผลที่เกิดขึ้นจาการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

     ๔. ช่วยกันเผยแผ่ชี้แจงแสดงหลักธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า

     ๕. ช่วยปกป้องรักษาพระพุทธศาสนาให้วัฒนาสถาพรสืบไป

     การแก้ไขอันตรายที่เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนาจากบุคคลทั้งภายในและภายนอกด้วยการปฏิบัติเช่นนี้ ถือว่า เป็นการรักษาพระพุทธปณิธานของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ทรงตั้งไว้และต่อพระอริยเจ้าทั้งหลาย บูรพาจารย์และบรรพชนทั้งหลาย ได้นำพาสืบต่อพระพุทธศาสนาจนถึงปัจจุบัน มาด้วยวิธีทั้ง ๕ ประการนี้ ซึ่งคนในยุคสมัยนี้จะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกัน จึงจะสามารถช่วยให้พระพุทธศาสนาดำรงมั่นคงอยู่คู่โลกชั่วกาลนานได้

พุทธบริษัท 4 ประกอบไปด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ใหญ่ ๆ คือ ทางธรรม ประกอบด้วย ภิกษุ (ชาย) ภิกษุณี(ญ) ทางโลก ประกอบด้วย อุบาสก(ช) อุบาสิกา(ญ) บุคลากรเหล่านี้เป็นผู้ที่ดำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา

๑. ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจจริง ๆ
๒. นำไปประพฤติปฏิบัติ (ประโยชน์ตน)
๓. มีส่วนช่วยเผยแพร่เกื้อกูลให้บุคคลอื่นเข้าใจและนำไปประพฤติปฏิบัติ (ประโยชน์ท่าน)
๔. สามารถปกป้อง เมื่อมีผู้กล่าวให้คลาดเคลื่อน หรือกล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย

โดยหน้าที่เหล่านี้มาจากพระสูตรที่ว่า ดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับพระยามารว่า “ดูก่อนมารผู้มีบาป ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้เป็นสาวก สาวิกา ของตถาคตยังไม่ฉลาด ไม่ได้รับแนะนำ ยังไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตน จักบอกจักแสดง จักบัญญัติ จักแต่งตั้ง จักเปิดเผย จักจำแนก จักทำให้ตื้น จักแสดงธรรมมี ปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรับปวาท ที่เกิดขึ้น ให้เรียบร้อยโดยสหธรรมไม่ได้ เพียงใด ดูก่อนมารผู้มีบาป ตถาคตจักยังไม่ปรินิพพาน เพียงนั้น” (มหาปรินิพพานสูตร)

จากพระดำรัสของพระพุทธเจ้าที่ปรากฏในมหาปรินิพพานสูตร พระพุทธเจ้าทรงมีปณิธานที่เรียกว่าพุทธปณิธานทั้งสิ้น 4 ประการ ได้แก่
ประการที่ 1 ตราบเท่าที่ภิกษุยังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นต้น พระองค์จะไม่ปรินิพพาน
ประการที่ 2 ตราบเท่าที่ภิกษุณียังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นต้น พระองค์จะไม่ปรินิพพาน
ประการที่ 3 ตราบเท่าที่อุบาสกยังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นต้น พระองค์จะไม่ปรินิพพาน
ประการที่ 4 ตราบเท่าที่อุบาสิกายังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นต้น พระองค์จะไม่ปรินิพพาน

- ภิกษุ ภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนาคือ พระอัญญาโกณฑัญญะ
- ภิกษุณี ภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนาคือ พระนางมหาปชาบดีโคตมี
- อุบาสก อุบาสกคู่แรกในพระพุทธศาสนาคือ ตปุสสะ และ ภัลลิกะ
- อุบาสิกา อุบาสิกาคนแรกในพระพุทธศาสนาตือ นางสุชาดา

ที่มาภาพ :
//mast.myreadyweb.com/article/topic-18682.html
//rerngnow.blogspot.com/2014/05/blog-post_12.html
//www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7472
//buddhafacts.wordpress.com/2015/08/27/ใครคืออุบาสก-2-คนแรก-และ-2-ค/

 //porntaywa99.lnwshop.com/article/131/พุทธบริษัท-4-ผู้ดำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา

อุบาสิกาเป็นชาวพุทธกลุ่มใด

อุบาสก เรียกกร่อนไปว่า ประสก คำว่า อุบาสิกา เรียกกร่อนไปว่าสีกา ก็มี เรียกชายหญิงที่รักษาอุโบสถศีลโดยค้างคืนที่วัดในวันพระว่า อุบาสกหรือ อุบาสิกา อุบาสกอุบาสิกา ปกติหมายถึงชาวบ้านทั่วไปที่นับถือพระพุทธศาสนา บำเพ็ญบุญในพระพุทธศาสนา ไปวัดทำบุญให้ทาน ถือศีล อุปถัมภ์บำรุงวัด ช่วยเหลือกิจการของวัดเป็นประจำ

ข้อใดเป็นคุณสมบัติของอุบาสกอุบาสิกา

พระพุทธเจ้าทรงแสดงคุณลักษณะของอุบาสิกาที่ดีไว้ 5 ประการคือ 1) เป็นผู้มีศรัทธา 2) เป็นผู้มีศีล 3) เป็นผู้ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล 4) ไม่แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้ 5) ทำอุปการะในศาสนานี้ก่อน (อง.ปญ จก. (ไทย) 22/175/184) คุณลักษณะของอุบาสิกาทั้ง 5 ข้อนี้ มีแนวทางปฏิบัติ อย่างง่ายๆ สามข้อแรกมุ่งเน้นที่ ...

อุบาสกคู่แรก ในพระพุทธศาสนา คือ ใคร

อุบาสกคู่แรกในพระพุทธศาสนา คือ ตปุสสะกับภัลลิกะ จัดอยู่ในประเภทเทฺววาจิกะ แปลว่า ผู้มีวาจา ๒ หมายถึง ผู้เปล่งวาจาระบุรัตนะ ๒ รัตนะ คือ พระพุทธเจ้ากับพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก เนื่องจากเวลานั้นพระพุทธเจ้าเพิ่งตรัสรู้ ยังไม่มีภิกษุ

ชาวพุทธ ได้แก่กลุ่มบุคคลใดบ้าง

ชาวพุทธ คือ ผู้ที่เคารพเลื่อมใส และศรัทธาในพระรัตนตรัย มีหน้าที่ในการศึกษา และปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา ให้ความเคารพนับถือต่อพระรัตนตรัย เอาใจใส่ทำนุบำรุง และบำเพ็ญประโยชน์ต่อวัดและพระสงฆ์ รวมเรียกว่า “หน้าที่ชาวพุทธ” นอกจากนี้ ยังต้องปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทที่เหมาะสมต่อพระสงฆ์ หรือที่เรียกว่า “มารยาทชาว ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้