การแบ่งช่วงเวลาตามแบบไทย ยุคโลหะ

การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบสากล1 การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบสากล
           จุดมุ่งหมายในการแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์เป็นยุคสมัยต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของมนุษย์ในอดีต  และช่วยให้เข้าใจง่าย  ช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบสากลแบ่งออกเป็น  2  สมัย  ดังนี้
       1.1  สมัยก่อนประวัติศาสตร์  เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ยังไม่รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรเหมือนตัวหนังสือขึ้นใช้  จึงยังไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร  การศึกษาเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์  จึงต้องอาศัยการวิเคราะห์และตีความจากหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบ  เช่น  โครงกระดูกของมนุษย์  เครื่องมือ  เครื่องใช้  และเครื่องประดับที่ทำจากหินและโลหะ  เป็นต้น
        สมัยก่อนประวัติศาสตร์  แบ่งได้เป็น  2  ชุด  คือ  ยุคหินและยุคโลหะ
        1.1.1   ยุคหิน  เริ่มเมื่อประมาณ  500,000  ถึง  4,000  ปี  ล่วงมาแล้ว  แบ่งเป็น  3  ยุคย่อย ๆ ดังนี้
           ( 1 )  ยุคหินเก่า  เป็นช่วงเวลาแรก ๆ ของมนุษย์ชาติ  มนุษย์ใช้ชีวิตอย่างเร่ร่อน  ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์  จับปลา  หาของป่ากินเป็นอาหาร  อาศัยอยู่ในถ้ำ  รู้จักใช้เครื่องมือที่ทำด้วยหินอย่างหยาบๆ  และเขียนภาพตามฝาผนัง
           ( 2 )  ยุคหินกลาง  มนุษย์ยังคงดำรงชีวิตเหมือนในยุคหินเก่า  แต่รู้จักทำเครี่องมือเครื่องใช้สำหรับล่าสัตว์ด้วยหินที่ประณีตมากขึ้น   และเริ่มรู้จักการอยู่รวมกลุ่มเป็นสังคมมากขึ้น
           ( 3 )  ยุคหินใหม่  มนุษย์มีความเจริญมากกว่ายุคก่อนๆ  รู้จักตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งรู้จักการเพราะปลูก  เลี้ยงสัตว์  ทำภาชนะเครื่องปั้นดินเผา  เครื่องประดับ  และเครื่องมือล่าสัตว์หินขัด
         1.1.2  ยุคโลหะ  อยู่ในช่วงเวลาประมาณ  4,000 ถึง  1,500  ปีล่วงมาแล้ว  แบ่งเป็น  2  ยุคย่อยๆ  ดังนี้
           ( 1 )  ยุคสำริด  มนุษย์รู้จักใช้โลหะสำริด  (ทองแดงผสมดีบุก)  ทำเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับ  มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าในยุคหิน  อาศัยอยู่รวมกันเป็นชุมชนใหญ่ขึ้น  รู้จักปลูกข้าว  และเลี้ยงสัตว์  ( หมูและวัว )
             ( 2 )  ยุคเหล็ก  มนุษย์รู้จักนำเหล็กมาหลอมทำอาวุธ  เครื่องมือ  เครื่องใช้ ๆ แต่ยังคงดำรงชีวิตด้วยการเกสรกรรม  มีการติดต่อขายระหว่างชุมชนต่าง ๆ   ทำให้ความเจริญขยายตัวอย่างรวดเร็ว
        2.2  สมัยประวัติศาสตร์  เป็นยุคสมัยที่มนุษย์รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้  มีการบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ  ความเชื่อ  และกิจกรรมในชีวิตประจำวัน  เป็นลายลักษร  มักพบอยู่ตามผนังถ้ำ  แผ่นหิน  แผ่นดินเหนียว  และกระดาษ  เป็นต้น
                 ชุมชนของมนุษย์ในภูมิภาคต่างๆ  ก้าวเข้าสู่ “ สมัยประวัติศาสตร์ ” ในระยะเวลาไม่เท่ากัน  เนื่องด้วยความสามารถของมนุษย์ในการส้างสรรค์อารยธรรมความเจริญมีแตกต่างกัน  ดังนี้  สมัยประวัติศาสตร์ในทางสากล  จึงแบ่งเป็น   3  ยุคย่อย ๆ ดังนี้
          2.2.1  ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ  เริ่มตั้งแต่ความเจริญของแหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมียอารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ ( อียิปต์โบราณ )  และอายธรรมกรีก  โรมัน  ตามลำดับ  จนกระทั่งสิ้นสุดลงเมื่อกรุงโรม  ซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิโรมันถูกตีแตกโดยพวกอนารยชน  ในปี  พ.ศ.  1019 
          2.2.2  ประวัติศาสตร์สมัยกลาง  เริ่มภายหลังจากที่กรุงโรม  ( จักรวรรดิโรมันตะวันตก )  ทุกพวกอนารยชนตีแตกในปี  พ.ศ.  1019  จนกระทั่งในปี  พ.ศ.  1996  สมัยกลางจึงสิ้นสุดลง  เมื่อชนชาติเติร์ก (Turk)  ที่นับถือศาสนาอิสลามเข้าโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิล (จักรวรรดิโรมันตะวันออก)
            2.3.3  ประวัติศาสตร์สมัยใหม่  เริ่มภายหลังจากที่กรุงคอนสติติโนเปิลถูกตีแตก  เมื่อปี  พ.ศ.  1996  เป็นต้นมา  จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่  2  ในปี  พ.ศ.  2488
            มีเหตุการณ์สำคัญในยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่หลายประการ  อาทิเช่น  การปฏิรูปศาสนา  การเกิดลัทธิหรือแนวความคิดแบบเสรีนิยม  ประชาธิปไตย  และคอมมิวนิสต์  ทางด้านเศรษฐกิจ   มีการขยายตัวทางด้านการค้าทางเรือสำเภา  การแสวงหาดินแดนใหม่  และการปฏิวัติอุตสาหกรรม  เป็นต้น
3.   การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบไทย
          นักประวัติศาสตร์ไทยไม่นิยมแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ในสมัยโบราณ  สมัยกลาง  และสมัยใหม่  เหมือนดังที่ทำในประเทศตะวันตก  แต่จะมีลักษณะเป็นรูปแบบของตนเอง  มีดังนี้
       3.1   แบ่งตามสมัย  (หรือตามเวลาที่เริ่มใช้ตัวอักษร )  แบ่งได้  2  สมัย ดังนี้
                  (1) สมัยก่อนประวัติสาสตร์  หมายถึง  ยุคหิน  (ยุคหินเก่า  หินกลาง  และหินใหม่ )  และยุคโลหะ  ( ยุคสำริด  และเหล็ก )  มีอายุประมาณ  700,000  -  1,400  ปีมาแล้ว  โดยมีการขุดค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยโดยลำดับมา
                    (2)  สมัยประวัติศาสตร์  เป็นสมัยที่ผู้คนเริ่มใช้ตัวอักษรบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ  สำหรับดินแดนประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์  เมื่อตอนปลายพุทธศตวรรษที่  12   จากหลังฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบ  คือ  ศิลาจารึกที่ปราสาทเขาน้อย  จังหวัดสระแก้ว  ทำขึ้นเมื่อปี  พ.ศ. 1180
          3.2  แบ่งยุคสมัยตามอาณาจักร  ก่อนที่จะเกิดอาณาจักรสุโขทัย  ซึ่งเป็นอาณาจักรแรกของคนไทย  ดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบันมีอาณาจักรต่างๆ  เกดขึ้นมาก่อนแล้ว  แต่สันนิฐานว่าไม่ใช่อาณาจักรของคนไทย
                 ดังนั้น  เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา  จึงแบ่งยุคสมัยตามอาณาจักร  ได้แก่  สมัยทวารวดี, สมัยละโว้( พลบุรี), สมัยศรีวิชัย ( สุราษฎร์ธานี) และสมัยตามพรริงค์ ( นครศรีธรรมราช) เป็นต้น
         3.3  แบ่งยุคสมัยตามราชธานี   เป็นการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตามราชธานีของไทยเรียงตามลำดับ  ได้แก่  สมัยสุโขทัย, สมัยอยุธยา, สมัยธนบุรี  และสมัยรัตนโกสินทร์
         3.4  แบ่งยุคตามสมัยพระราชวงศ์  เป็นการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตามพระราชวงศ์  เช่น  สมัยราชวงศ์อู่ทอง, สมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ, สมัยราชวงศ์สุโขทัย, สมัยราชวงศ์ปราสาททอง  และสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง  ทั้งหมดนี้  เป็นชื่อพระราชวงศ์ที่ครองราชย์สมบัติเป็นกษัตริย์ในสมัยอยุธยา
          3.5  แบ่งยุคสมัยตามราชกาล  เป็นการแบ่งยุคสมัยในช่วงเวลาที่พระมหากษัตริย์พระองค์นั้นทรงครองราชย์อยู่  ได้แก่  รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เป็นต้น
        3.6  แบ่งยุคสมัยตามระบอบการเมืองการปกครอง  ได้แก่  สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์  และสมัยประชาธิปไตย  โดยถือตามเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง  เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475  เป็นเส้นแบ่งยุคสมัยดังกล่าว  โดย
 “ คณะราษฎร” ใช้กำลังทหารเข้ายืดอำนาจและเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เข้าสู่ประชาธิปไตย
          3.7  แบ่งยุคสมัยตามรัฐบาลบริหารประเทศ  ได้แก่  สมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม, สมัยรัฐบาลพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์  และสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม  กิตติขจร  เป็นต้น

ใบงานที่ 1

1.  ช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบสากลแบ่งออกเป็นกี่ประเภท มีอะไรบ้าง

ตอบ 1. สมัยก่อนประวัตศาสตร์   2. สมัยประวัติศาสตร์

แหล่งอ้างอิง: 

www.google.co.th

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้