อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ

ความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสภาพภูมิอากาศที่สำคัญ คือ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change : UNFCCC) ซึ่งเป็นเวทีการเจรจาระหว่างประเทศในระดับพหุภาคีที่ประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ รวมทั้งไทยได้เข้าร่วมหารือเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา และลดผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

     โดยมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์สำคัญของการเจรจา คือ การควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และป้องกันไม่ให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเกินกว่า 2 องศาเซลเซียส ซึ่งจะเป็นระดับที่จะเป็นอันตรายต่อการดำรงอยู่ของมนุษยชาติอย่างแก้ไขไม่ได้ 

     ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญา UNFCCC เมื่อปี 2537 และเมื่อปี 2545 ได้ให้สัตยาบันเข้าร่วมรับรองพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ซึ่งเป็นข้อตกลงที่กำหนดพันธกรณีในการลดก๊าซเรือนกระจกสำหรับประเทศพัฒนาแล้ว และผลักดันให้ประเทศกำลังพัฒนามีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยความสมัครใจ

     โและเมื่อปี 2559 ที่ประชุมรัฐภาคีอนุสัญญา UNFCCC ได้จัดทำความตกลงปารีส (Paris Agreement) เพื่อกำหนดความร่วมมือการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันระดับโลก
3 เป้าหมายหลัก ได้แก่ 1) การควบคุม การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส และพยายามควบคุมให้เพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม 2) การเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัว และ 3) การสร้างเงินกองทุนหมุนเวียนที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ

     ในการเจรจาภายใต้กรอบอนุสัญญา UNFCCC ไทยเป็นสมาชิกกลุ่ม G77 และจีน ซึ่งประกอบด้วยประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาน้อยที่สุดรวม 134 ประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันท่าทีร่วมกัน และเพิ่มน้ำหนักและอำนาจต่อรองในการเจรจาในส่วนของประเทศไทยนั้น ได้มีการตั้งเป้าหมายการมีส่วนร่วมของประเทศ (Nationally Determined Contributions : NDC) ใน 3 สาขา ได้แก่ 1) สาขาพลังงานและขนส่ง 2) สาขาของเสีย และ 3) สาขากระบวนการทางอุตสาหกรรม โดยตั้งเป้าจะลดก๊าซเรือนกระจก ร้อยละ 20-25 ภายในปี 2573 เมื่อเทียบกับการดำเนินการปกติ (Business as Usual : BAU)

     โดยแนวคิดหลักของการจัดทำ NDC ของไทยนั้นมีอยู่ 4 ประการ คือ 1) สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) บูรณาการและต่อยอดนโยบายและแผนการพัฒนาประเทศ 3) มุ่งเน้นแผนที่ขับเคลื่อนโดยภาครัฐที่สนับสนุนการปรับรูปแบบสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และนำไปสู่การดำเนินงานได้จริง ซึ่งสามารถติดตามและประเมินผลได้ และ 4) ต่อยอดจากการดำเนินงานในกรอบ NAMAs (Nationally Determined Mitigation Actions) ที่มีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศ ร้อยละ 7-20 ภายในปี 2563 โดยเน้นสาขาพลังงานและขนส่ง ซึ่งเป็นสาขาที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุดของประเทศ

     ทั้งนี้ จากรายงานการติดตามประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจกจากมาตรการภาคพลังงาน พ.ศ. 2559 ซึ่งรวมปริมาณก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานที่ลดได้ 45.72 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า คิดเป็นร้อยละ 12.45 เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ

     ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในประเทศไทย มีส่วนสำคัญที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง ปัญหาการจราจร ประกอบกับการกระจายตัวของฝุ่นละอองในชั้นบรรยากาศแย่ลง ซึ่งก็มีความสัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ความกดอากาศ ลม และสภาพอากาศที่นิ่ง และหากฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้ยังถูกปล่อยเพิ่มขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง ก็อาจส่งผลกระทบต่อปัญหาภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้จึงหวังว่าการมุ่งมั่นร่วมมือดำเนินการระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง จะมีส่วนช่วยให้สถานการณ์ปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นในไทยขณะนี้คลี่คลายโดยเร็ว

ขอขอบคุณ ที่มาของข่าว: สำนักข่าวประชาชาติ คอลัมน์แตกประเด็น โดยคุณอรมน ทรัพย์ทวีธรรม กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

20 ก.ค. 62

(United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC)

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศอย่างต่อเนื่องนั้นเป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสำคัญและเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมความพร้อมในการ รับมือกับความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้ ในปี 2531 โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) ร่วมกับองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization: WMO) จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) เพื่อเป็นหน่วยงานกลางในการศึกษาให้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านเทคนิค เศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

 ความเป็นมาของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้