ประเทศไทยต้องดำเนินการในฐานะสมาชิกตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเรื่องใด

ความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสภาพภูมิอากาศที่สำคัญ คือ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change : UNFCCC) ซึ่งเป็นเวทีการเจรจาระหว่างประเทศในระดับพหุภาคีที่ประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ รวมทั้งไทยได้เข้าร่วมหารือเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา และลดผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

     โดยมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์สำคัญของการเจรจา คือ การควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และป้องกันไม่ให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเกินกว่า 2 องศาเซลเซียส ซึ่งจะเป็นระดับที่จะเป็นอันตรายต่อการดำรงอยู่ของมนุษยชาติอย่างแก้ไขไม่ได้ 

     ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญา UNFCCC เมื่อปี 2537 และเมื่อปี 2545 ได้ให้สัตยาบันเข้าร่วมรับรองพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ซึ่งเป็นข้อตกลงที่กำหนดพันธกรณีในการลดก๊าซเรือนกระจกสำหรับประเทศพัฒนาแล้ว และผลักดันให้ประเทศกำลังพัฒนามีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยความสมัครใจ

     โและเมื่อปี 2559 ที่ประชุมรัฐภาคีอนุสัญญา UNFCCC ได้จัดทำความตกลงปารีส (Paris Agreement) เพื่อกำหนดความร่วมมือการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันระดับโลก
3 เป้าหมายหลัก ได้แก่ 1) การควบคุม การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส และพยายามควบคุมให้เพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม 2) การเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัว และ 3) การสร้างเงินกองทุนหมุนเวียนที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ

     ในการเจรจาภายใต้กรอบอนุสัญญา UNFCCC ไทยเป็นสมาชิกกลุ่ม G77 และจีน ซึ่งประกอบด้วยประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาน้อยที่สุดรวม 134 ประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันท่าทีร่วมกัน และเพิ่มน้ำหนักและอำนาจต่อรองในการเจรจาในส่วนของประเทศไทยนั้น ได้มีการตั้งเป้าหมายการมีส่วนร่วมของประเทศ (Nationally Determined Contributions : NDC) ใน 3 สาขา ได้แก่ 1) สาขาพลังงานและขนส่ง 2) สาขาของเสีย และ 3) สาขากระบวนการทางอุตสาหกรรม โดยตั้งเป้าจะลดก๊าซเรือนกระจก ร้อยละ 20-25 ภายในปี 2573 เมื่อเทียบกับการดำเนินการปกติ (Business as Usual : BAU)

     โดยแนวคิดหลักของการจัดทำ NDC ของไทยนั้นมีอยู่ 4 ประการ คือ 1) สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) บูรณาการและต่อยอดนโยบายและแผนการพัฒนาประเทศ 3) มุ่งเน้นแผนที่ขับเคลื่อนโดยภาครัฐที่สนับสนุนการปรับรูปแบบสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และนำไปสู่การดำเนินงานได้จริง ซึ่งสามารถติดตามและประเมินผลได้ และ 4) ต่อยอดจากการดำเนินงานในกรอบ NAMAs (Nationally Determined Mitigation Actions) ที่มีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศ ร้อยละ 7-20 ภายในปี 2563 โดยเน้นสาขาพลังงานและขนส่ง ซึ่งเป็นสาขาที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุดของประเทศ

     ทั้งนี้ จากรายงานการติดตามประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจกจากมาตรการภาคพลังงาน พ.ศ. 2559 ซึ่งรวมปริมาณก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานที่ลดได้ 45.72 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า คิดเป็นร้อยละ 12.45 เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ

     ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในประเทศไทย มีส่วนสำคัญที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง ปัญหาการจราจร ประกอบกับการกระจายตัวของฝุ่นละอองในชั้นบรรยากาศแย่ลง ซึ่งก็มีความสัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ความกดอากาศ ลม และสภาพอากาศที่นิ่ง และหากฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้ยังถูกปล่อยเพิ่มขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง ก็อาจส่งผลกระทบต่อปัญหาภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้จึงหวังว่าการมุ่งมั่นร่วมมือดำเนินการระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง จะมีส่วนช่วยให้สถานการณ์ปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นในไทยขณะนี้คลี่คลายโดยเร็ว

ขอขอบคุณ ที่มาของข่าว: สำนักข่าวประชาชาติ คอลัมน์แตกประเด็น โดยคุณอรมน ทรัพย์ทวีธรรม กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

โลโก้ UNFCCC (อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ)

ที่มา://th.wikipedia.org/wiki/ไฟล์:UNFCCC_Logo.svg

                อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (อังกฤษ: United Nations Framework Convention on Climate Change หรือย่อเป็น UNFCCC หรือ FCCC) เป็นอนุสัญญา "กรอบการทำงาน" ที่จำเป็นต้องมีวิธีการทางกฎหมายในการสนับสนุน (เช่นพิธีสารต่างๆ) เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยมีเป้าหมายแบบไม่ผูกมัด  ซึ่งเรียกร้องให้ประเทศอุตสาหกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือเท่ากับระดับ พ.ศ. 2533 ภายใน พ.ศ. 2543 แต่จากที่ได้ประเมินในปี พ.ศ. 2538 พบว่าเป้าหมายโดยสมัครใจนี้ไม่เพียงพอ ดังนั้นใน พ.ศ. 2538 ประเทศภาคีสมาชิกอนุสัญญากรอบการทำงานแห่งสหประชาชาติได้จัดตั้งกระบวนการในการเจรจาเพื่อพิธีสารที่มีเป้าหมายผูกมัดและกำหนดเวลา "ในฐานะเป็นเรื่องเร่งด่วน" ซึ่งเป็นที่มาของ พิธีสารเกียวโต ซึ่งได้รับความเห็นพ้องในเดือนธันวาคม 2540 และในที่สุดมีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ในการประชุมประจำปีของอนุสัญญาฯ เรียกว่า การประชุมสมัชชาภาคี (Conference of Parties; COPS) โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมคือ เจ้าหน้าที่รัฐบาล นักวิ่งเต้นจากภาคอุตสาหกรรม กรีนพีซ และอีกหลายๆ กลุ่ม ฝ่ายต่างๆ

               หลักการและสาระสำคัญของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

               วัตถุประสงค์ของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

               คือรักษาความเข้มข้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย เพื่อให้ระบบนิเวศน์ธรรมชาติสามารถปรับตัวได้ และเพื่อเป็นการประกันว่าจะไม่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร และการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนแต่ไม่ได้กำหนดระดับ หรือปริมาณก๊าซที่จะรักษาปริมาณไว้เป็นตัวเลขที่แน่นอน

               หลักการของอนุสัญญาฯ

               อนุสัญญาฯมีหลักการที่สำคัญดังนี้

               1. "หลักการป้องกันไว้ก่อน" ภายใต้หลักการป้องกันไว้ก่อนนั้น กิจกรรมที่มีโอกาสจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสภาพภูมิอากาศจะต้องมีการจำกัดหรือห้ามดำเนินการ ถึงแม้จะยังพิสูจน์ไม่ได้อย่างชัดเจนว่าเป็นสาเหตุดังกล่าวก็ตาม เนื่องจากหากรอให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนเทคนิคการวิเคราะห์พัฒนาที่จะทำให้พิสูจน์ได้อย่างชัดเจนแล้ว ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอาจจะสายเกินกว่าที่จะแก้ไขได้ หลักการนี้จึงให้โอกาสในการควบคุมกิจกรรมที่มีความเสี่ยงอย่างเนิ่นๆ เช่น การกำหนดให้มีการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้อยู่ในระดับการปล่อย ณ ปี พ.ศ. 2533 ให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2543

               2. "หลักการความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่าง" ทุกประเทศภาคีอนุสัญญาฯ มีพันธกรณีในการดำเนินการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยอนุสัญญาฯ แบ่งประเทศภาคีต่างๆออกเป็น สองกลุ่มใหญ่ คือ ประเทศในภาคผนวกที่ 1 (Annex I countries) กับกลุ่มประเทศนอกภาคผนวกที่ 1 (Non Annex I countries)

               3. "หลักการสื่อสารด้านข้อมูลข่าวสาร" ประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความโปร่งใส ภายใต้ข้อตกลงที่ว่าต้องมีการจัดทำ รายงานแห่งชาติภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (National Communication under United Nations Framework Convention on Climate Change) ซึ่งมีเงื่อนไขในเรื่องของความสมบูรณ์ของเนื้อหา และระยะเวลา ที่แตกต่างกันระหว่างประเทศในภาคผนวก I และนอกภาคผนวก I

               4. "หลักการให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้ด้อยกว่า" เนื่องจากประเทศที่กำลังพัฒนามีโอกาสเสี่ยงต่อผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสูง ดังนั้นหลักการนี้ต้องการให้ประเทศพัฒนาแล้วให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน ให้ความสะดวก สร้างสภาพแวดล้อมที่ดี ทั้งทางด้านการเงินและเทคโนโลยี กับประเทศกำลังพัฒนาและความช่วยเหลือนี้ต้องเป็นส่วนเพิ่มเติมจากความช่วยเหลือระหว่างประเทศที่ให้อยู่เดิม ปัจจุบัน อนุสัญญาฯ ได้ใช้กองทุนสิ่งแวดล้อมโลกเป็นกลไกหนึ่ง ในการสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้วดำเนินนโยบายถ่ายทอดเทคโนโลยีที่สะอาดให้กับประเทศกำลังพัฒนา

               การดำเนินการในประเทศไทย

               ประเทศไทยได้เห็นความสําคัญของปัญหาโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และได้ให้สัตยาบันเข้าร่วมเป็นภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change, UNFCCC) เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 จนเป็นผลให้อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้เมื่อ 28 มีนาคม 2538 และลงนามให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ซึ่งเป็นพิธีสารภายใต้อนุสัญญาฯ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2545

ที่มา://www.navy.mi.th/pnbase/information_center/doc/e9852/985207.doc

                เหตุผลที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาฯ เนื่องจาก

                • เป็นปัญหาระหว่างประเทศที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อทุกประเทศ

               • ประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

               • เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ที่มา://www.navy.mi.th/pnbase/information_center/doc/e9852/985207.doc

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้