พัฒนาการสมัยประชาธิปไตย ตั้งแต่ พ.ศ. 2475-ปัจจุบัน

1.1 ปัญหาเค้าโครงเศรษฐกิจของคณะราษฎร : ภายหลังที่รัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และบริหารประเทศไทยไปได้ระยะหนึ่ง ก็เกิดปัญหาขัดแย้งกันภายในคณะราษฎร อันสืบเนื่องมาจากคณะราษฎรได้มอบหมายให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ร่างเค้าโครงเศรษฐกิจเพื่อคณะราษฎรจะได้พิจารณาวางนโยบายเศรษฐกิจของชาติ แต่ปรากฏว่าเค้าโครงเศรษฐกิจที่หลวงประดิษฐ์มนูธรรมร่างขึ้นมานั้นมีผู้วิจารณ์ว่าคล้ายกับเค้าโครงเศรษฐกิจของประเทศที่ปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งไม่เหมาะกับประเทศไทย ด้วยเหตุนี้สมาชิกของคณะราษฎรจึงแตกแยกออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายที่เห็นว่ามีลักษณะเค้าโครงเศรษฐกิจของประเทศที่ปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์ แต่อีกฝ่ายหนึ่งกลับลงความเห็นว่ามิได้เป็นเช่นนั้นและพิจารณานำมาใช้กับประเทศไทยได้

ความขัดแย้งเรื่องความคิดดังกล่าวขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางทั้งในคณะราษฎร ในคณะรัฐบาลและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในที่สุดพระยามโนปกรณ์นิติธาดานายกรัฐมนตรีจึงได้กราบบังคมทูลแนะนำให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ออกพระราชกฤษฎีกานัดสภาผู้แทนราษฎรและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน พ.ศ.2475 เป็นต้นไป

Advertisement

1.2 การรัฐประหารในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2476 : ภายหลังการออกพระกฤษฎีกานัดสภาผู้แทนราษฎรแล้ว พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา เห็นว่าถ้าปล่อยให้สถานการณ์เป็นไปเช่นนี้จะส่งผลเสียต่อจุดมุ่งหมายของคณะราษฎรในการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ จึงได้นำกำลังเข้าทำการยึดอำนาจจากรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา และบังคับให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดาสละตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2476 และมีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่มี พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี

1.3 กบฏบวรเดชในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2476 : เมื่อพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้เข้ามาบริหารได้ไม่นานก็มีบุคคลคณะหนึ่งเรียกตัวเองว่า “คณะกู้บ้านกู้เมือง” ซึ่งมี “พระองค์เจ้าบวรเดช” เป็นหัวหน้าได้ก่อการรัฐประหารล้มล้างรัฐบาล เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2476 โดยเรียกร้องให้รัฐบาลบริหารประเทศให้เป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง และนอกจากนี้ยังมีข้อเรียกร้องอื่นๆ อีกหลายประการ แต่รัฐบาลไม่สามารถปฏิบัติตามคำเรียกร้องได้ จึงส่งกำลังทหารเข้าปราบปราม “คณะกู้บ้านกู้เมือง” ที่ยกกำลังมาจากโคราชเข้ามาถึงดอนเมืองและบางเขน การสู้รบได้ดำเนินติดต่อกันหลายวัน ในที่สุดฝ่ายรัฐบาลชนะ คณะกู้บ้านกู้เมืองเป็นฝ่ายแพ้ จึงได้ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏเรียกว่า “กบฏบวรเดช”

1.4 การสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว : ภายหลังการเกิดกบฏบวรเดช พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จไปรักษาพระเนตรที่ประเทศอังกฤษ ในระหว่างที่ประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษ พระองค์ได้ทรงมีพระราชบันทึกถึงรัฐบาลเพื่อให้นำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาซึ่งถ้าหากรัฐบาลสามารถปฏิบัติตามพระราชประสงค์ พระองค์ก็จะรีบเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทย

Advertisement

พระราชบันทึกดังกล่าวมีสาระสำคัญโดยสรุป คือ พระองค์ทรงเรียกร้องให้รัฐบาลแต่งตั้งสมาชิกสภาราษฎร ประเภทที่ 2 ตามรัฐธรรมนูญ โดยคำนึงถึงคุณวุฒิและความเหมาะสม ขอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 39 กล่าวว่า…พระราชบัญญัติใดที่พระมหากษัตริย์ทรงคัดค้าน สภาอาจยืนยันให้เป็นไปตามเดิม โดยความเห็นข้างมากเพียงเสียงเดียวให้แก้เป็น… “ถ้าสภาลงมติตามเดิมโดยให้มีเสียงข้างมาก 3 ใน 4 ของสมาชิก” รัฐบาลควรจะให้เสรีภาพในการพูด การเขียน การโฆษณา การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคมแก่ประชาชนอย่างแท้จริง และมียกเลิกพระราชบัญญัติป้องกันรัฐธรรมนูญ เพราะขัดกับหลักเสรีภาพทางกายของประชาชน อภัยโทษนักการเมืองที่ถูกลงโทษเพราะความคิดทางการเมืองและที่สำคัญรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรจะต้องให้คำมั่นเป็นลายลักษณ์อักษรว่า จะไม่ตัดกำลังและงบประมาณของทหารรักษาวังให้น้อยกว่าเดิม

ปรากฏว่ารัฐบาลไม่สามารถปฏิบัติตามพระราชประสงค์ได้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2477 รัฐบาลจึงได้กราบบังคมทูลอัญเชิญ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติสืบไป โดยมีกรมหมื่นอนุรัตน์จาตุรนต์ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และเจ้าพระยายมราช เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

2.นโยบายรัฐชาตินิยม
ของรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่าง พ.ศ.2481-2487 อันเป็นช่วงเวลาที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ได้ปลุกเร้าความรู้สึกในเรื่อง “ชาตินิยม” ในหมู่ประชาชนอย่างแรง เพราะในทางนั้นสถานการณ์ของโลกไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ ทั้งในสถานการณ์ในอินโดจีน ฝรั่งเศส และสถานการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งกำลังก่อตัวในยุโรป พ.ศ.2482 ประกอบกับเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของประเทศกำลังตกอยู่ในกำมือของคนต่างด้าวรัฐบาลโดยภายใต้การนำของจอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงได้ดำเนินนโยบายปลุกเร้าความรู้สึกชาตินิยมให้เกิดขึ้นในหมู่คนไทย ทั้งที่พำนักอยู่ในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อให้คนไทยเกิดความรักชาติและเสียสละเพื่อชาติ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ใช้ยุทธวิธีสร้างความรักชาติให้เกิดในหมู่คนไทยดังต่อไปนี้

2.1 ด้านการเมือง : ได้มีการเรียกร้องให้ประชาชนทั้งชาติมีความสำนึกต่อการรับผิดชอบร่วมกันกับรัฐบาลในเรื่องเอกราชของชาติ ส่วนศัตรูในทางการเมืองที่ถูกสร้างขึ้นมาให้ประชาชนมองเห็นร่วมกัน คือ ศัตรูที่เป็นชนชาติตะวันตก 2.2 ด้านเศรษฐกิจ : ได้กล่าวเน้นถึงความสำคัญทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับความมั่นคงของชาติเสมอ เร่งเร้าให้ประชาชนทุกคนต้องช่วยกันประกอบอาชีพ อาชีพใดที่รัฐบาลเสาะแสวงหามาให้ขอให้ประชาชนรีบรับรองไว้ และรีบประกอบกิจการให้เจริญก้าวหน้าต่อๆ ไป สำหรับคนต่างด้าวควรทำแต่เฉพาะบางสิ่งบางอย่าง ไม่ใช่เข้าครอบครองอาชีพของเจ้าของประเทศเสียหมดทุกชนิด เขาขอให้คนไทยรักชาติด้วยตนเอง ช่วยคนไทยด้วยกันเอง คำขวัญ “ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ” หรือทำในเมืองไทยโดยคนไทยและเป็นของคนไทย ดังนี้เป็นต้น ศัตรูที่เป็นเป้าหมายในการสร้างชาตินิยมทางเศรษฐกิจ คือ คนจีนโพ้นทะเลที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย

2.3 ความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างชาติ : จอมพล ป. พิบูลสงคราม มีความเห็นว่า การสร้างชาติจะต้องเริ่มต้นด้วยการที่ประชาชนในชาติจะต้องสร้างตนเองให้เป็นพลเมืองดีขึ้นมาก่อน ด้วยการมีวัฒนธรรมที่ดี มีศีลธรรมที่ดี มีอนามัยดี มีการแต่งกายเรียบร้อยดี มีที่อยู่อาศัยดี และมีที่ทำมาหากินดี เมื่อพลเมืองดีคุณลักษณะดังกล่าว ชาติก็จะมั่งคั่งสมบูรณ์ ประชาชนก็สามารถช่วยกันประกอบกิจการงานของชาติให้เจริญรุ่งเรืองต่อไปได้

2.4 ด้านรัฐนิยม : จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้พยายามมุ่งดำเนินงานให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นชาติมหาอำนาจให้ได้ในที่สุด ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐบาลออกประกาศรัฐนิยมเสริมสร้างวัฒนธรรมของชาติด้วยการดำเนินงานผ่านสภาวัฒนธรรมแห่งชาติในเรื่องรัฐนิยมนี้ รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศรัฐนิยมรวมทั้งสิ้น 12 ฉบับ เช่น การเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” การเปลี่ยนแปลงการเรียกชื่อคนไทยตามภาคเป็นเรียก… “คนไทย” เหมือนกันหมดโดยไม่แบ่งแยก หลักการเคารพธงชาติ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี การให้ชาวไทยพยายามใช้เครื่องอุปโภคบริโภคที่มีกำเนิดหรือทำขึ้นในประเทศไทย เป็นต้น

2.5 ด้านวัฒนธรรม : ได้สร้างวัฒนธรรมใหม่ๆ ทางจิตใจของคนไทยหลายอย่าง โดยยึดเรื่องปากท้องเป็นสำคัญ เช่น การตราพระราชบัญญัติหางานให้ผู้ไร้อาชีพ เรียกร้องให้ประชาชนใช้สิ่งผลิตอุตสาหกรรมพื้นบ้าน คือ ประเภทไทยทำไทยใช้…มีการโอนกิจการป่าไม้ เหมืองแร่ กิจการสาธารณูปโภค ด้านสินค้าหรือสินค้าออกเข้าเป็นของรัฐ สนับสนุนให้คนไทยขยันทำมาหากิน รู้จักค้าขายและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น การทำสวนและเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนการวางแบบแผนชีวิตใหม่ได้สอดคล้องกับนโยบายสร้างชาติของผู้นำ เป็นประกาศให้วันที่ 24 มิถุนายน เป็น “วันชาติ” เปลี่ยนปีใหม่จากวันสงกรานต์ คือ วันที่ 13 เมษายน มาเป็นวันที่ 1 มกราคม การยกเลิกบรรดาศักดิ์ การประกาศให้คนไทยแต่งกายให้เรียบร้อย ตามระเบียบที่วางไว้ เพื่อเป็นการเชิดหน้าชูตาของชาติ การมีมารยาทอันดีงาม เป็นต้น

นอกจากนี้ก็มีการสร้างชาติทางศิลปกรรมและวรรณกรรมอีกมากมายหลายประการ อย่างไรก็ตามภายหลังจอมพล ป. พิบูลสงคราม พ้นจากตำแหน่งคณะรัฐมนตรีแล้ว นโยบายบางอย่างก็ได้รับการยกเลิกไปในรัฐบาลยุคต่อมา เพราะไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ก็มีบางอย่างปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบันนี้ เพราะเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและสังคมไทยยอมรับได้

3.การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

3.1 สงครามระหว่างไทยกับอินโดจีน ฝรั่งเศส ใน พ.ศ.2483 : ในช่วงที่ยุโรปกำลังเผชิญหน้ากับสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเยอรมนีเป็นผู้ก่อขึ้นใน พ.ศ.2482 นั้น ประเทศไทยก็มีนโยบายเป็นกลาง แต่ก็พร้อมที่จะป้องกันอธิปไตยของชาติ ถ้าถูกรุกรานจากภายนอก ฝรั่งเศสยอมแพ้แก่เยอรมนี เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2483 หลังจากนั้นฝรั่งเศสได้เกิดความขัดแย้งกับประเทศไทยเกี่ยวกับปัญหาดินแดนอินโดจีนของฝรั่งเศส จนกระทั่งเกิดการปะทะกันด้วยกำลังบริเวณชายแดนของประเทศไทยกับอินโดจีนของฝรั่งเศส ในที่สุดรัฐบาลไทยได้ประกาศสงครามกับอินโดจีนฝรั่งเศส ในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ.2484 เกิดการสู้รบระหว่างสองฝ่ายจนกระทั่งญี่ปุ่นได้ยื่นมือเข้ามาเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทที่เกิดขึ้น ผลของการเจรจาปรากฏว่าฝรั่งเศสยอมยกดินแดนให้กับไทยบางส่วน ได้แก่ เมืองศรีโสภณ มงคลบุรี พระตะบอง โดยฝ่ายไทยต้องจ่ายเงินเป็นค่าชดเชยความเสียหายให้กับฝรั่งเศส

3.2 กองทัพญี่ปุ่นยกพลเข้าสู่ประเทศไทย : ขณะเดียวกันสถานการณ์โลกกำลังอยู่ในความตึงเครียดสงครามขยายตัวจากทวีปยุโรปมายังเอเชีย ประเทศไทยจึงประกาศนโยบายเป็นกลาง แต่ก็เตรียมพร้อมป้องกันตนเอง ถ้าถูกรุกรานจากภายนอก ผู้นำของประเทศไทยคาดการณ์ว่าญี่ปุ่นจะต้องเปิดฉากสงครามในบริเวณเอเชียตะวันออกแน่นอน ประเด็นสำคัญ คือ ญี่ปุ่นต้องประกาศสงครามกับสหรัฐและอังกฤษ กองทัพญี่ปุ่นต้องขอเดินทัพผ่านประเทศไทย เพื่อโจมตีดินแดนอาณานิคมของอังกฤษ แต่เนื่องจากไทยมีนโยบายเป็นกลางจึงตอบปฏิเสธ เป็นผลทำให้เกิดการปะทะกับกองทัพญี่ปุ่นในตอนเช้าเองของ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2484 รัฐบาลไทยได้ตกลงยุติการสู้รบกับกองทัพญี่ปุ่นเพื่อสงวนเลือดเนื้อชีวิตของคนไทย ตกลงยินยอมให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศไทย โดยญี่ปุ่นให้คำมั่นเป็นลายลักษณ์อักษรกับรัฐบาลไทยว่า ญี่ปุ่นจะเคารพเอกราชอธิปไตยและเกียรติศักดิ์ศรีของคนไทย

3.3 การจัดตั้งขบวนการเสรีไทยเพื่อต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น : ต่อมาเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2484 นายปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้รับแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แทนเจ้าพระยายมราชซึ่งถึงแก่อสัญกรรม หลังจากนั้นต่อมาในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2484 รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ตกลงทำสัญญาสัมพันธไมตรีระหว่างไทยกับญี่ปุ่นเพื่อป้องกันประเทศไทยซึ่งเท่ากับเป็นการร่วมมือระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ส่วนนายปรีดี พนมยงค์ ก็ริเริ่มจัดตั้งขบวนการเสรีไทยอย่างลับๆ เพื่อต่อต้านญี่ปุ่น ในขณะเดียวกัน ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ก็ประกาศจัดตั้งขบวนการเสรีไทยในสหรัฐอเมริกาเช่นเดียวกัน สำหรับจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็เปลี่ยนนโยบายต่างประเทศด้วยการประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา โดยประเทศไทยมีฐานะเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2488

3.4 การเปลี่ยนแปลงผู้นำทางการเมืองของไทย : อย่างไรก็ตามเมื่อใกล้จะสิ้นสุดสงครามมหาเอเชียบูรพาซึ่งญี่ปุ่นเป็นผู้ก่อและมีทีท่าว่าญี่ปุ่นอาจจะต้องเป็นฝ่ายแพ้ต่อสัมพันธมิตร จอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็จำต้องกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2487 เพราะสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ พระราชกำหนดที่รัฐบาลเสนอต่อสภาจำนวน 2 ฉบับ และนายควง อภัยวงศ์ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2484 จอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงพ้นจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกและผู้บัญชาการทหารสูงสุด

ภายหลังที่ประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศยอมแพ้ฝ่ายพันธมิตรในวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2488 แล้ว นายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ออกประกาศสันติภาพ โดยถือว่าการประกาศสงครามของไทยต่อสหรัฐอเมริกาและอังกฤษเป็นโมฆะ และประเทศไทยพร้อมที่จะคืนดินแดนที่ได้มาให้กับอังกฤษ หลังจากนั้นต่อมาในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2488 นายควง อภัยวงศ์ ก็กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายทวี บุณยเกตุ เป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2484 เพื่อรอการกลับมารับตำแหน่งของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตันและหัวหน้าขบวนการเสรีไทยในสหรัฐอเมริกา

เมื่อ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เดินทางกลับสู่ประเทศไทยแล้ว นายทวี บุณยเกตุ ก็กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง และมีพระบรมราชโอการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2488 รัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้ออกแถลงการณ์ยกเลิกสถานการณ์สงครามระหว่างไทยกับอังกฤษ และทำข้อตกลงสมบูรณ์แบบกับอังกฤษในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2489 โดยมีสาระสำคัญพอสรุปได้ดังนี้ คือ

1) ประเทศไทยจะต้องยืนยันว่าการกระทำของไทยต่ออังกฤษภายหลังกองทัพญี่ปุ่นเข้าประเทศไทยเป็นโมฆะและจะต้องชดเชยค่าตอบแทนสำหรับทรัพย์สินของอังกฤษที่เสียหายไป

2) ไทยยอมรับผิดชอบที่จะมอบคืนทรัพย์สิน สิทธิและผลประโยชน์ทุกชนิดของอังกฤษในประเทศไทยในสภาพเดิมและไม่เสื่อมราคา

3) รัฐบาลอังกฤษและอินเดียจะสนับสนุนให้ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ

4) ไทยจะไม่ตัดคลองข้ามอาณาเขตของไทยเชื่อมมหาสมุทรอินเดียกับอ่าวไทย โดยรัฐบาลอังกฤษไม่เห็นชอบด้วย

5) ห้ามประเทศไทยส่งข้าว ดีบุก ยางพารา ไม้สัก ออกนอกประเทศ เว้นเสียแต่จะได้รับการขอร้องจากองค์กรพิเศษที่จะจัดตั้งขึ้น

6) ไทยจะให้ข้าวสารโดยไม่คิดมูลค่า จำนวน 1.5 ล้านตัน แก่องค์การพิเศษซึ่งรัฐบาลอังกฤษจะได้ระบุ

7) ก่อนวันที่ 1 กันยายน 2450 ไทยจะต้องขายข้าวที่เหลือจากความต้องการภายในประเทศให้กับองค์การดังกล่าวในราคาที่ตกลงกัน

8) ไทยจะร่วมมืออย่างเต็มที่ในการให้การยอมรับข้อตกลงเพื่อความมั่นคงระหว่างประเทศซึ่งองค์การสหประชาชาติหรือคณะรัฐมนตรีความมั่นคงเห็นชอบแล้ว

การที่รัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ยอมทำข้อตกลงสมบูรณ์แบบกับอังกฤษทำให้ประเทศไทยไม่ต้องตกอยู่ใต้การยึดครองของประเทศพันธมิตร ทั้งๆ ที่ไทยประกาศสงครามกับพันธมิตร ทั้งนี้เพราะการปฏิบัติงานของขบวนการเสรีไทยและการสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา จึงทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากวิกฤตการณ์ดังกล่าวได้อย่างน่าชื่นชมของ “ผู้นำไทย” ในขณะนั้นไงเล่าครับ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้