ข้อใด ไม่ใช่ หลักฐาน สมัยก่อนประวัติศาสตร์

      2.2 เอกสารพื้นเมือง เอกสารพื้นเมืองนับได้ว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่สำคัญของประเทศไทย มักปรากฏในรูปหนังสือสมุดไทย และเรียกชื่อแตกต่างกันออกไป เช่น ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ

          เมโสโปเตเมีย เป็นคำภาษากรีก แปลว่า ที่ระหว่างแม่น้ำ ดินแดนที่ชาวกรีกเรียกว่า เมโสโปเตเมียนี้ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำไทกรีสและ ยูเฟรตีสเป็นส่วนหนึ่งของ "ดินแดนรูป พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์" ซึ่งเป็นดินแดนรูปครึ่งวงกลมผืนใหญ่ ที่ทอดโค้งขึ้นไปจากฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอ่าวเปอร์เซีย 

         เมโสโปเตเมีย เป็นดินแดนที่อากาศร้อนและกันดารฝน น้ำที่ได้รับส่วนใหญ่เป็น น้ำจากแม่น้ำที่มาจากหิมะละลายในภาคฤดูร้อนบนเทือกเขาในอาร์มิเนีย น้ำจะพัดพา เอาโคลนตมมาทับถมชายฝั่งทั้งสอง ทำให้พื้นดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก การเอ่อล้นของน้ำอันเกิดจากหิมะละลายไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนและบางครั้งทำความเสียหายแก่บ้านเมือง ไร่นา ทรัพย์สินและชีวิตผู้คน การกสิกรรมที่จะได้ผลดีในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ต้องอาศัยระบบการชลประทานที่มีประสิทธิภาพ
          ความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มแม่น้ำเป็นเครื่องดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาทำมาหากินในบริเวณนี้ แต่ความร้อนของอากาศก็เป็นเครื่องบั่นทอนกำลังของผู้คนที่อาศัยอยู่ทำให้คนเหล่านั้นขาดความกระตือรือร้น เมื่อมีพวกอื่นเข้ารุกรานจึงต้องหลีกทางให้ผู้ที่เข้ามาใหม่ซึ่งเมื่ออยู่ไปนานๆเข้าก็ประสบภาวะเดียวกันต้องหลีกให้ผู้อื่นต่อไป พวกที่เข้ามารุกรานส่วนใหญ่มักจะมาจากบริเวณหุบเขาที่ราบสูงทางภาคเหนือและตะวันออกซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขาหินปูนไม่อุดมสมบูรณ์เท่าเขตลุ่มแม่น้ำ และยังมีพวกที่มาจากทะเลทรายซีเรียและอารเบีย เรื่องราวของดินแดนแห่งนี้จึงเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับอารยธรรมของคนกลุ่มต่างๆ หลายกลุ่มมิได้เป็นเรื่องราวของอารยธรรมที่สืบต่อกันเป็นเวลายาวนานดังเช่นอารยธรรมอียิปต์

ลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
          เมโสโปเตเมียแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในสมัยโบราณคำว่าเมโสโป-เตเมียเป็นภาษากรีก มีความหมายว่าดินแดนระหว่างแม่น้ำที่สอง คือแม่น้ำไทกรีส (Tigris) และ ยูเฟรตีส (Euphrates) ปัจจุบันคือประเทศอิรัก มีนครหลวงคือกรุงแบกแดด แม่น้ำทั้ง 2 สายมีต้นน้ำอยู่ในอาร์มีเนียและเอเซียไมเนอร์ไหลลงสู่ทะเลที่อ่าวเปอร์เซีย
          บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ตอนล่างเรียกว่าบาบิโลเนีย (Babylonia) เป็นเขตซึ่งอยู่ติดกับอ่าวเปอร์เซีย มีชื่อเรียกในสมัยหนึ่งว่าชินาร์ (Shina) เกิดจากการทับถมของดินที่แม่น้ำพัดพามากล่าวคือในฤดูร้อนหิมะบนภูเขาในอาร์มีเนียละลายไหลบ่าลงมาทางใต้พัดพาเอาโคลนตมมาทับถมไว้ยังบริเวณปากน้ำทำให้พื้นดินตรงปากแม่น้ำงอกออกทุกปี โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 1 ไมล์ครึ่ง ทุกๆ ศตวรรษ (ประมาณปีละ 29 นิ้วครึ่ง)
          อาณาบริเวณที่เรียกว่าเมโสโปเตเมีย มีทิศเหนือจรดทะเลดำ และทะสาบแคสเบียน ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดคาบสมุทรอาระเบีย ซึ่งล้อมรอบด้วยทะเลแดงและมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันตกจรดที่ราบซีเรียและปาเลสไตน์ ส่วนทิศตะวันออกจรดที่ราบสูงอิหร่าน
          เมโสโปเตเมียแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนล่างใกล้กับอ่าวเปอร์เซีย มีความอุดมสมบูรณ์เรียกว่าบาบิโลเนีย ส่วนบนซึ่งค่อนข้างแห้งแล้งเรียกว่าแอสซีเรีย (Assyria) บริเวณ ทั้งหมดมีชนชาติหลายเผ่าพันธุ์อาศัยอยู่ มีการรบพุ่งกันอยู่เสมอ เมื่อชาติใดมีอำนาจ ก็เข้าไปยึดครองและกลายเป็นชนชาติเดียวกัน นักประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวว่าไม่มีแห่งหนตำบลใดจะมีชาติพันธุ์มนุษย์ผสมปนเปกันมากมายเหมือนที่นี่และยังเป็นยุทธภูมิระหว่างตะวันตก กับตะวันออกตลอดสมัยประวัติศาสตร์

ปัจจัยที่เอื้ออำนวยที่ทำให้เกิดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
          1. ความคิดสร้างสรรค์รักษา ปรับปรุงและสืบทอดในอารยธรรมของกลุ่มชน 6 กลุ่มคือ
                    1.1 สุเมเรียน (Sumerians)
                    1.2 อัคคาเดียน (Akkadians)
                    1.3 อะมอไรท์ (Amorites)
                    1.4 คัสไซท์ (Kassites)
                    1.5 อัสซีเรียน (Assyrians)
                    1.6 แคลเดียน (Chaldeans)
          2. แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ทำให้เมโสโปเตเมียชุ่มชื้นเกิดการรวมตัวของกลุ่มชนและกำเนิดอารยธรรมเฉพาะขึ้น
          3. พรมแดนธรรมชาติซึ่งมีส่วนช่วยเป็นกำแพงป้องกันศัตรูภายนอกแม้ไม่ดีเท่าแถบลุ่มน้ำไนล์ก็ตาม แต่ก็เอื้ออำนวยให้กลุ่มชนซึ่งผลัดกันขึ้นมีบทบาทในเมโสโปเตเมียสามารถใช้ประโยชน์ของพรมแดนธรรมชาตินี้กำเนิดอารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้น กล่าวคือทิศเหนือจรดเทือกเขาอเมเนียทิศใต้จรดอ่าวเปอร์เซีย ทิศตะวันออกจรดแนวเทือกเขายาว ทิศตะวันตกจรดทะเลทรายอารเบียน

กลุ่มคนที่สร้างสรรค์อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
          ชาวสุเมเรียน (Sumeriam)
          เมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชชาวสุเมเรียนได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยม (Delta) ปากแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรตีส ซึ่งเรียกกัน ในเวลาต่อมาว่าดินแดนซูเมอร์ ในระยะแรกชุมชนชาวสุเมเรียนเป็นหมู่บ้านยุคหินใหม่ หมู่บ้านเหล่านี้ได้ขยายตัวขึ้นเป็นชุมชนวัด และในเวลาต่อมา ชุมชนวัดแต่ละแห่งได้พัฒนาขึ้นเป็นเมือง ที่สำคัญ ได้แก่เมืองเออร์(Ur) เมืองอิเรค (Ereck) เมืองอิริดู (Eridu) เมืองลากาซ (Lagash) และเมืองนิปเปอร์ (Nippur) แต่ละเมืองมีชุมชนเล็กๆ ที่รายรอบอยู่เป็นบริวาร ทำให้มีลักษณะเป็นรัฐขนาดเล็กที่เรียกว่านครรัฐ (City State) นครรัฐเหล่านี้ต่างปกครองเป็นอิสระแก่กัน
          ในขณะที่ชาวสุเมเรียน สถาปนานครรัฐขึ้นทางตอนล่างของลุ่มแม่น้ำไทกรีส- ยูเฟรตีส หลายนครรัฐชนกลุ่มอื่นๆ ก็ได้สถาปนานครรัฐของตน ในบริเวณตอนเหนือขึ้นไปอีกหลายแห่งแต่มีความเจริญทางอารยธรรมด้อยกว่านครรัฐของชาวสุเมเรียนในดินแดนซูเมอร์ก็ตามแต่ภาษาที่ใช้สืบมาจากรากเดียวกันคือภาษาอินโด-ยูโรเปียนอันเป็นต้นกำเนิดจากภาษาลาติน กรีก เปอร์เซีย สันสกฤต รวมทั้งภาษาเยอรมันและภาษาโรมานซ์ในปัจจุบัน มองจากแง่ของภาษาอนารยชนกลุ่มใหม่เหล่านี้ก็คือบรรพบุรุษของเรานั่นเอง การบุกรุกทางใต้ของชนเหล่านี้มีผลทำให้ชนเผ่าอื่นถูกแย่งที่ไปอย่างรุนแรงในช่วงประมาณปี 1750 ถึง 1550 ก่อนคริสตกาล พวกอนารยชนดังกล่าวตลอดจนพวกอื่นๆ ที่ดำเนินรอยตามได้ทำลายความต่อเนื่องทางการเมืองและวัฒนธรรมของดินแดนตะวันออกใกล้สมัยโบราณ ประมาณปี 1595 ผู้รุกรานเผ่าอินโด-ยูโรเปียน ก็ทำให้ราชวงศ์ของพระเจ้าฮัมบูราบีในนครบาบิโลนต้องสิ้นสุดลงซึ่งฉุดให้เมโสโปเตเมียเข้าสู่ช่วงเวลาอันยาวนานของความเสื่อมของทางวัฒนธรรมและความไม่สงบทางการเมือง
          คนกลุ่มแรกที่สร้างสรรค์อารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้นคือชาวสุเมเรียน ผู้คิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก อารยธรรมที่ชาวสุเมเรียนสร้างขึ้นเป็นพื้นฐานสำคัญของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย สถาปัตยกรรม ตัวอักษร วรรณกรรม ศิลปกรรมอื่นๆ ตลอดจนทัศนคติต่อชีวิตและเทพเจ้าของชาวสุเมเรียนได้ดำรงอยู่และมีอิทธิพลอยู่ในลุ่มแม่น้ำทั้งสองตลอดช่วงสมัยโบราณ
ข้อควรสังเกต           1. บริเวณเมโสโปเตเมียเป็นบริเวณที่มีอากาศรุนแรง ฤดูร้อนอากาศร้อนจัด ฤดูหนาวอากาศหนาวจัด ฝนตกน้อย (ปีหนึ่งไม่เกิน 3 นิ้ว) ความรุนแรงของภูมิอากาศทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ขาดความกระตือรือร้น เมื่อถูกศัตรูที่แข็งแกร่งรุกรานก็หลีกทางให้ เมโสโปเตเมียจึงเป็นบริเวณที่มีชนหลายชาติหลายภาษาผลัดเปลี่ยนกันเข้ามายึดครองตลอดเวลา           2. เมโสโปเตเมียตั้งอยู่ในที่โล่ง ปราศจากกำแพงธรรมชาติที่จะป้องกันการบุกรุกจากศัตรูภายนอกชนพวกแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณเมโสโปเตเมียคือ พวกสุเมเรียน (Sumerian) ชนพวกนี้จะสืบเชื้อสายมากจากชาติใดไม่อาจทราบชัดทราบแต่เพียงว่า เดิมเป็นชนเผ่าพเนจร อพยพมาจากภูเขาทางทิศตะวันออก เข้าไปตั้งถิ่นฐานแถบบริเวณปากแม่น้ำทั้งสองก่อนเมื่อประมาณ 2900-2800 ปีก่อนคริสตกาลแล้วขยายสู่คาบสมุทรชินาร์ (Shinar)

ระยะเวลาที่ชนชาติต่างๆเข้ามาอาศัยในดินแดนเมโสโปเตเมีย
          เจริโค (Jericho) อาศัยอยู่ระหว่างหุบเขาริมฝั่งแม่น้ำจอร์แดน ประเทศอีรักราว 8000 B.C. ถือว่าเป็นชนชาติแรกทีเก่าแก่ที่สุดในเมโสโปเตเมียซาทาล ฮือยึค (Catal Huyuk) อาศัยอยู่บริเวณอนาโตเลีย สร้างอารยธรรมเก่าแก่สมัยราว 7000-5000 B.C. ก่อนประวัติศาสตร์
          สุเมเรียนและอัคคาเดียน สุเมเรียนอาศัยอยู่ตอนล่างของเมโสโปเตเมีย สร้างอารยธรรม(Sumerian and Akkadian) ขึ้นโดยเฉพาะการประดิษฐ์ตัวอักษร ทำให้เมโสโปเตเมียเข้า 3000-1600 B.C. สู่สมัยประวัติศาสตร์ และได้ให้แนวทางแก่พวกอัคคาเดียนซึ่งอยู่ทางตอนเหนือขึ้นไปของเมโสโปเตเมีย เข้ามาครอบครองและเจริญขึ้นแทนสุเมเรียน
          อะมอไรท์ (Amorite) พวกอะมอไรท์อพยพมาจากทะเลทรายซีเรียน (1900-1600 B.C.)เข้าครอบครองเมโสโปเตเมีย สร้างอาณาจักรบาบิโลเนียขึ้นภายใต้การปกครองของพระเจ้าฮัมมูราบี สมัยนี้กรุงบาบิโลเนียเป็น เมืองหลวงอาณาจักรบาบิโลเนียทางทิศตะวันออกจรด อ่าวเปอร์เซีย ทิศตะวันตกจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
          ฮิตไตท์และแคสไซท์ พวกฮิตไตท์ อยู่ในเอเชียไมเนอร์ ได้ขยายอาณาจักรออก (Hittite and Kassite) เป็นจักรวรรดิใหญ่ รุกรานเข้ามาในเมโสโปเตเมีย (1600-1150 B.C.) ได้ยึดครองปล่อยให้พวกแคสไซท์ซึ่งอยู่ทางเทือกเขาด้าน ตะวันออกของแม่น้ำไทกรีสเข้ายึดครองกรุงบาบิโลน
          แอสสิเรียน (Assyrian) อยู่ทางตอนเหนือของเมโสโปเตเมีย ค่อยเจริญขึ้นแทนตอน 750-612 B.C. ล่างของเมโสโปเตเมีย และกลายเป็นจักรวรรดิ ครั้งแรก เมื่อเข้ายึดครองกรุงบาบิโลนได้
          แคลเดียน (Chaldeam) พวกแคลเดียนอยู่บริเวณทะเลทรายตอนใต้ของบาบิโลเนีย 612-538 B.C. ได้แยกตัวออกจากการปกครองของแอสสิเรียได้สำเร็จ และ มีความเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระเจ้าเนบูชาเนซซาร์ อาณาจักรแคลเดียนสิ้นสุดลงเมื่อถูกเปอร์เซียเข้ายึดครองอินโด-ยูโรเปียน พวกอินโดยูโรเปียน(Indo-European) อยู่ทางตอนเหนือ เข้ามามีอำนาจใน เมโสโปเตเมีย ตั้งแต่ 550 B.C. โดยปราบพวกที่มีอำนาจอยู่550-332 B.C. ก่อนได้สำเร็จจึงสร้างอาณาจักรเปอร์เซียขึ้นขยายอำนาจปกครองในดินแดนเมโสโปเตเมียทั้งหมดรวมทั้งอียิปต์และหัวเมืองกรีกในเอเซียไมเนอร์ เมื่อทำสงครามกับกรีก ก็ตกอยู่ ใต้การปกครองของกรีกในปี 332 B.C.

วัฒนธรรมเมโสโปเตเมีย
พัฒนาการวัฒนธรรมสุเมเรียน 2 ระยะ คือ
          1.ระยะวัฒนธรรมอูเบด (Ubaid) ประมาณ 4250-3750 B.C. เป็นสมัยเริ่มอารยธรรมคนเมือง (Urban life)
          2.ระยะวัฒนธรรมอูรุค (Uruk) ประมาณ 3750-3000 B.C.
                    ก. การประดิษฐ์อักษรคูนิฟอร์ม หรืออักษรลิ่มบนแผ่นดินเหนียว 


                              ส่วนใหญ่ใช้ของมีคนกรีดลงบนหิน แต่เนื่องจากหินหายากและไม่มีกระดาษพะไพรัสจึงต้องเขียนลงบนดินเหนียวแล้วนำไปผึ่งแดด หรือเผาไฟให้แห้งแข็ง เครื่องมือที่ใช้คือ ไม้ หรือกก หรือเหล็กแหลม กดเป็นรูปลิ่มอักษร จึงถูกเรียกชื่อว่า “คูนิฟอร์ม” หรือตัวอัหษรรูปลิ่ม
                    ข. การสร้างผลงานสถาปัตยกรรมเรียกว่า “ซิกกูแรท” ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างลักษณะคล้ายพิรามิดสร้างบนฐานที่ยกระดับจากพื้นดินข้างบนทำเป็นวิหารเทพเจ้ามีบันไดทอดยอดขึ้นไป
                    ค. การก่อสร้างด้วยอิฐและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ชาวสุเมเรียนได้สร้างผลงานก่อสร้างอื่นๆและทำปฏิทินจันทรคติ กำหนดเดือนหนึ่งมี 366 ? วัน ปีหนึ่งมี 12 เดือน ปีของสุเมเรียนจึงมีเพียง 354 วัน ขณะที่ปีทางสุริยคติมี 366 ? วัน เดือนของชาวสุเมเรียนแบ่งออกเป็น 4 สัปดาห์ๆ 7-8 วัน วันหนึ่งแบ่งเป็นกลางวัน 6 ชั่วโมง (เท่ากับ 2 ชั่วโมงในปัจจุบัน) กลางคืน 6 ชั่วโมง การนับคือ หน่วย 60 ซึ่งตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่นการนับ 1 ชั่วโมงมี 60 นาที 1 นาทีมี 60 วินาที วงกลมมี 360 องศา (60 หกครั้ง)

ประมวลกฏหมายฮัมบูราบี
          ประมวลกฎหมายฮัมบูราบี เป็นบทบัญญัติที่รวบรวมกฎหมายต่าง ๆ และพระราชกฤษฎีกาของกษัตริย์ฮัมมูราบี ราชาแห่งบาบิโลเนีย และเป็นประมวลกฎหมายที่เก่าแก่ ที่สุด ประมวลกฎหมายนี้ถูกคัดลอกไว้โดยการแกะสลักลงบนหินบะซอลต์สีดำสูง 2.25 เมตร ซึ่งต่อมาทีมนักโบราณคดีฝรั่งเศสขุดพบที่ ประเทศอิรัก ในช่วงฤดูหนาวปี 1901 ถึง 1902 หินสลักนี้แตกเป็น 3 ชิ้น และได้รับการบูรณะ ปัจจุบัน ประมวลกฎหมายฮัมมูราบีอยู่ในพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
          กฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายอาญา โดยยึดหลักที่ปัจจุบันเรียกว่า "ตาต่อตา ฟันต่อฟัน" อันหมายถึงทำผิดอย่างไรได้โทษอย่างนั้น ซึ่งแม้บทลงโทษตามกฎหมายฮัมมูราบีจะดูว่าโหดเหี้ยมตามความคิดของคนสมัยใหม่ แต่การทำกฎหมายให้เป็นลายลักษณ์อักษรและพยายามใช้บังคับอย่างเป็นระบบกับทุกคน และการ “ถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ว่าผิด” นับเป็นหลักการสำคัญที่นับเป็นวิวัฒนาการทางอารยธรรมของมนุษย์
          ทฤษฎีใหม่บางอันถือว่าการนับกฎหมายฮัมมูราบีให้สถานะอย่างประมวลกฎหมายอย่างปัจจุบันนั้นไม่ถูกต้องนัก ความจริงน่าจะนับได้เพียงการเป็นอนุสรณ์ยกย่องว่ากษัตริย์ฮัมมูราบีเป็น “ตัวอย่างกษัตริย์ที่ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม” ได้เท่านั้นเพราะในชีวิตของคนย่อมมีความผิดอย่างอื่นที่ไม่ใช่การลักขโมย

ซิกกูแรต(Ziggurat)


          ซิกกูแรต (Ziggurat) เป็นสิ่งก่อสร้างของอารยธรรมสุเมเรียน (Sumerians) ในบริเวณเมโสโปเตเมีย มีลักษณะคล้ายพีระมิดแบบขั้นบันไดแต่ไม่ก่อสร้างสูงจนเป็นยอดแหลม ด้านบนของซิกกูแรตซึ่งเป็นพื้นที่ราบกว้างจะสร้างเป็นวิหาร ในระยะแรกการสร้างซิกูแรตมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา แต่ต่อมาซิกกูแรตนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังกษัตริย์ เช่น ซิกกูแรตที่เมืองอูร์ (Ur)
          ซิกกูแรตสร้างขึ้นด้วยวัสดุจำพวกอิฐและไม้ ความแข็งแรงคงทนจึงสู้งานสถาปัตยกรรมยุคต่อมา เช่น พีระมิดอียิปต์ไม่ได้ เพราะงานของอียิปต์สร้างด้วยวัสดุจำพวกหิน ซิกกูแรตเก่าแก่ที่สุดเท่าที่ค้นพบมีชื่อว่า “The White Temple” พบที่เมืองอูรุค (Uruk) หรือวาร์กา (Warka) บริเวณพื้นที่ประเทศอิรักในปัจจุบัน มีอายุประมาณ 3,500 – 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล ซึ่งเก่าแก่กว่าพีระมิดของอียิปต์หลายร้อยปี

มหากาพย์กิลกาเมช
          มหากาพย์กิลกาเมช (อังกฤษ: Gilgamesh) เป็นตำนานน้ำท่วมโลกที่เก่าแก่ของบาบิโลน เล่าเรื่องกษัตริย์กิลกาเมชกับเหตุการณ์น้ำท่วมโลก ปรากฏในจารึก 12 แท่งด้วยกัน (นักโบราณคดีส่วนมากเชื่อว่าจารึกแท่งที่ 12 นี้ถูกแต่งเพิ่มขึ้นในภายหลัง) ซึ่งสอดคล้องกับตำนานของชาวซูเมอร์ มหากาพย์เรื่องนี้จารึกไว้ในแผ่นดินเหนียวในหอเก็บจารึกของกษัตริย์แห่งอัสซีเรีย เมื่อราว ศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล

สวนลอยแห่งบาบิโลน
          ตำนานกล่าวไว้ว่า สวนลอยแห่งบาบิโลนสร้างขึ้นประมาณศตวรรษที่9 ก่อนคริสตกาล โดยคำ บัญชาของกษัตริย์"เนบูคัสเนซซาร์"เพื่อเป็นของขวัญแก่นางอามิธีส ราชินีชาวเปอร์เซียของพระองค์
          สวนแห่งนี้สร้างขึ้นในเขตพระราชฐาน มีลักษณะคล้ายปิรามิด โดยสร้างซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้นๆ นักประวัติศาสตร์จากซิซิลีที่ชื่อ "ดิโอโดโรส" กล่าวว่า ชาวบาบิโลนใช้อิฐและน้ำมันดินเป็นส่วน ประกอบสำคัญในการก่อสร้างและเพื่อให้กันน้ำได้ดีนั้น ชาวเมืองจะใช้หญ้าประเภทอ้อหรือกกผสม น้ำมันดินปูพื้นชั้นแรก แล้วปูทับด้วยอิฐเผาที่ตริงไว้ด้วยปูน ก่อนจะวางตะกั่วทับลงไปบนชั้นบนสุด หลังจากนั้นจึงลงดินที่มีปริมาณมากพอที่จะปลูกต้นไม้ทุกประเภท นับแต่ไม้พุ่มไปจนถึงไม้ยืนต้น น้ำที่ใช้เลี้ยงต้นไม้ในสวนลอยสูบขึ้นมาจากแม่น้ำยูเฟรติสเบื้องล่างมาตามท่อที่ฝังซ่อนไว้อย่าง มิดชิดในแต่ละส่วนของระเบียง ทำให้ต้นไม้ที่ปลูกที่นี่เขียวชอุ่ม ให้ดอกและผลได้เป็นอย่างดีแม้ในช่วง ที่แล้งที่สุดกลางฤดูร้อนในทะเลทราย


ภาพวาดสวนลอยบาบิโลน


กำแพงแห่งสวนลอยบาบิโลน

มังกรในตำนานของชาวสุเมเรียน
          มังกรในตำนานของชนสุเม-เรียนแห่งนครบาบิโลน ซึ่งก่อตั้งขึ้นราว 2,000 ปีก่อน ค.ศ. โดยตำนานเล่าว่า หลังกำเนิดของพิภพ มีมังกรเพศเมียนามว่า ติอาแม็ท (TIAMAT) เป็นเทพีแห่งทะเลนํ้าเค็ม เมื่อนํ้าเค็มของติอาแม็ทผสมผสานกับนํ้าจืดของเทพ อัพสุ (APSU) ก็เกิดการปฏิสนธิของเทพองค์อื่นๆ อีกมากมาย
          ต่อมาอัพสุต้องการชิงอำนาจจากจอมเทพ อีอา (EA) จึงเกิดเทวสงครามขึ้น แรกๆ ทัพของอัพสุกับติอาแม็ททำท่าว่าจะมีชัย แต่แล้วก็เกิดมีวีรเทพซึ่งเป็นโอรสของอีอาพระนามว่า มาร์ดุค (MARDUK) เข้ามาขัดขวางติอาแม็ทอ้าโอษฐ์ เพื่อกลืนกินมาร์ดุค แต่วีรเทพได้สาดมหาพายุเข้าไปในโอษฐ์ของเธอจนหุบไม่ลง แล้วมาร์ดุคก็ใช้แหจับติอาแม็ทไว้ได้ เอาศรเสียบร่างแล้วเอาดาบ ผ่ากายของเธอออกเป็นสองซีก ซีกหนึ่งบังเกิดเป็นหลังคาสวรรค์ อีกซีก หนึ่งเป็นท้องมหาสมุทร นอกจากนี้ มาร์ดุค ยังเอาดาบเสียบลูกตาของติอาแม็ท โลหิตที่หลั่งไหลออกมากลายเป็นแม่นํ้าสองสาย คือ ไทกริส กับ ยูเฟรติส แห่งดินแดนเมโสโปเตเมีย

ศิลปะแห่งดินแดนเมโสโปเตเมีย
          เมโสโปเตเมียเป็นชื่อดินแดนที่ราบลุ่มขนาดใหญ่ริมแม่นํ้า อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารและแร่ธาตุต่างๆ จึงเป็นที่ตั้งของชนเผ่าต่างๆ หลายชนเผ่า ชนเผ่าเหล่านี้มีความเป็นอยู่คล้ายคลึงกัน เช่น การนับถือบูชาเทพเจ้าประจําสถานที่ต่างๆ เช่น เทพเจ้าแห่งพายุ เทพเจ้าแห่งท้องฟ้า เนื่องจากเชื่อว่า สิ่งทั้งหลายในธรรมชาติล้วนเป็นไปตามความพอใจของเทพเจ้าผู้เข้าถึงสัจธรรมแห่งเทพเจ้าได้ก็คือ นักบวชหรือพระ ดังนั้น พระจึงมีบทบาทสําคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ และเปรียบเสมือนตัวแทนของเทพเจ้า วัดจึงกลายเป็นสถานที่สถิตย์ของเทพเจ้า เป็นที่ประกอบพิธีกรรม เป็นศูนย์กลางของการปกครอง และเป็นแหล่งผลิตงานศิลปะที่มีคุณค่ายิ่ง จึงนับว่าการสร้างสรรค์ศิลปะสมัยนี้มีแรงผลักดันมาจากความเลื่อมใสในศาสนาและการเอาใจเทพเจ้า งานศิลปะที่สําคัญส่วนใหญ่เป็นผลงานของเผ่าซูเมอร์ (Sumer) และบาบิโลเนีย (Babilonia) เผ่าแอสซิเรีย (Assyria) และเผ่าเปอร์เซีย(Persia)

ข้อใดคือสมัยก่อนประวัติศาสตร์

๑. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ ช่วงเวลาที่มนุษย์ยังไม่รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษรเพื่อใช้บันทึกเรื่องราว ดังนั้น การศึกษาเรื่องราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์จึงต้องอาศัยการสันนิษฐาน และการตีความ จากหลักฐานทางโบราณคดี เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ,ที่ส่วนใหญ่ทำจากหินและโลหะ สมัยก่อน ประวัติศาสตร์สามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ยุค ๑) ...

สมัยก่อนประวัติศาสตร์มีอะไรบ้าง

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสมัยที่มนุษย์ยังไม่รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษร การศึกษาค้นคว้าจะใช้หลักฐานโบราณคดี เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ ภาพวาดตามฝาผนังถ้ำ ฯลฯ สมัยก่อนประวัติศาสตร์จะแบ่งออกได้เป็น 2 ยุค ได้แก่ ยุคหินและยุคโลหะ โดยแบ่งตามระดับความเจริญก้าวหน้าในการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยประวัติศาสตร์คืออะไร

หลักฐานทางประวัติศาสตร์(Historical Sources) หลักฐานทางประวัติศาสตร์หมายถึง ร่องรอยการ กระทา การพูด การเขียน การประดิษฐ์ การอยู่อาศัยของมนุษย์ หรือลึกไปกว่าที่ปรากฏอยู่ภายนอก คือ ความคิดอ่าน โลกทัศน์ความรู้สึก ประเพณีปฏิบัติของมนุษย์ในอดีต ความรู้สึกของคนในปัจจุบัน สิ่งที่มนุษย์จับ ต้องและทิ้งร่องรอยไว้ กล่าวได้ว่าอะไร ...

4ยุคสมัยมีอะไรบ้าง

ดังนั้น แต่ละสังคมจะเริ่มต้นสมัยประวัติศาสตร์ไม่พร้อมกัน สมัยประวัติศาสตร์ หากแบ่งตามประวัติศาสตร์สากลแล้ว สามารถแบ่งได้เป็น ๔ สมัยได้แก่ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ ประวัติศาสตร์สมัยกลาง ประวัติศาสตร์ สมัยใหม่และประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้