นิทาน เกี่ยวกับความ แตกแยก

          มาถึงจุดนี้จึงน่าจะเห็นได้แล้วว่า นิทานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผลผลิตของความเป็นมนุษย์ไม่ใช่เรื่องไร้สาระอีกต่อไป หากมองให้สัมพันธ์กับธรรมชาติในเชิงสร้างสรรค์ของมนุษย์และศาสตร์แห่งความเป็นมนุษย์.

สวัสดีวันศุกร์แรกของปีใหม่ครับ ผมเอานิทานดีๆ มาให้อ่านกันอีกเช่นเคยนะครับ เรื่องนี้น่าจะเหมาะกับสภาวะในปัจจุบันที่เรารับรูข้อมูลกันมากมาย แล้วต่างความเชื่อที่มอง ก็เลยทำให้เกิดความขัดแย้งกัน อาจจะเป็นแค่เพียงเรามองกันคนละมุมของเรื่องเดียวกัน แต่ถ้าเราลองเปลี่ยนมุมมองซึ่งกันและกัน ก็อาจจะช่วยลดความขัดแย้งระหว่างกันลงได้

กาลครั้งหนึ่ง นานมาแล้ว มีอากง แก่ ๆ อยู่คนนึ่งอยากจะสอนข้อคิดอะไรบางอย่างให้หลาน ๆ ตามประสาคนแก่ อากงจึงเรียกหลาน ๆ ทั้งสี่มานั่งล้อมโต๊ะสี่มุม แล้วบอกหลานทั้งสี่ว่า

“เอาล่ะหลาน ๆ ตอนนี้หลับตานะ หลับตา”

พอหลาน ๆ หลับตา อากงก็เดินเข้าไปห้องเก็บของ

แล้วหยิบโคมไฟเก่า ๆ มาอันหนึ่ง อากงเปิดฝาครอบ จุดไฟ แล้วปิดฝาครอบ จากนั้นก็บอกกับหลานทั้งสี่ว่า

“ลืมตาขึ้นแล้วบอกอากงซิว่าโคมไฟสีอะไร?

เด็กทั้งสี่ลืมตาขึ้นตอบไล่ ๆ กัน แต่ตอบไม่เหมือนกัน และเริ่มทะเลาะกัน คนที่นั่งด้านหนึ่งบอกว่า สีแดง อีกด้านนึ่งบอกว่าสีเขียว อีกด้านบอกไม่ใช่ สีเหลืองต่างหากล่ะ อีกด้านย้ำว่ามันคือสีน้ำเงิน

ทั้งสี่ทะเลาะกันพักหนึ่งก็มีเด็กคนนึ่งถามอากงว่า อากง ทำไมของอย่างเดียวกันมีตั้งหลายสี อากงก็เลยบอกว่าเดี๋ยวอากงจะทำอะไรให้ดู

อากงเดินมาที่โต๊ะ หยิบฝาครอบแล้วหมุนให้ดู ปรากฏว่า ฝาครอบสี่ด้าน สี่สี แดง เหลือง เขียว น้ำเงิน

หลังจากที่เอาฝาครอบออกนั้น อากงก็ถามเด็กๆ ว่า เอ๊า ตอนนี้บอกอากงซิว่า ตอนนี้เห็นไฟสีอะไร หลาน ๆ ตอบเหมือนกันคือสีของเปลวไฟ

อากง เลยบอกว่า เอาล่ะหลาน อากงถามอะไรชักสองข้อนะ

ข้อที่ 1 เมื่อสักครู่นี้ ครั้งแรก ใครผิด หลานตอบว่า ไม่รู้

อากงบอกว่า รึว่า  อากงผิด

อากงเลยบอกอีกว่า ฟังนะ เจ้าทั้งสี่นั่งอยู่ในที่เดียวกัน มองของอย่างเดียวกัน ในเวลาเดียวกัน ยังเห็นไม่เหมือนกันเลยแล้วทำไมถึงไม่มีใครผิดล่ะ

อากง .. เลยบอกว่า ก็เพราะคนทุกคนมองจากมุมมองของตัวเอง เห็นในสี่งที่ตัวเองเห็น แต่ถ้าเจ้าอยากเข้าใจว่าทำไมคนอื่นเห็นอย่างที่เขาเห็น เจ้าก็เดินไปมองที่มุมของเขา แล้วเราก็จะเห็นอย่างที่เขาเห็น แต่ถ้าลองนึกภาพนะ เจ้าทั้งสี่นั่งอยู่ที่เดียวกันมองของอย่างเดียวกันในเวลาเดียวกันยังเห็นไม่เหมือนกันเลย

ในอนาคตเวลาที่อยู่ในสังคม เป็นไปได้หรือไม่ ที่คนเราก็มองสี่งต่าง ๆไม่เหมือนกัน เพระฉะนั้น เวลาที่คนคิดไม่เหมือนเราผิดหรือใครผิด เวลาที่เจ้าคิดไม่เหมือนคนอื่น อย่าไปโกรธว่าเขาผิดอย่าไปกลัวว่าตัวเองผิด เพราะคนแต่ละคน ก็เห็นสี่งต่าง ๆ จากขอบข่ายประสบการณ์และสี่งแวดล้อมของตนเอง แต่ถ้าเจ้าอยากเข้าใจว่า ทำไมคนอื่นถึงคิดแบบนั้น เจ้าก็เดินไปมุมของเขา และเมื่อเจ้ายอมเข้าใจคนอื่น อาจเป็นไปได้ว่าคนอื่นก็อาจจะยอมที่จะเดินมา และเข้าใจเจ้าเช่นกัน

คำถามที่ 2 อากงถามว่า ที่เห็นครั้งแรกกับครั้งหลัง เป็นของอย่างเดียวกันมั้ย?

หลานตอบว่า อย่างเดียวกัน แล้วเห็นเหมือนกันมั๊ย ครั้งแรกเห็นอะไรหลานตอบว่า เห็นฝาครอบ และครั้งหลังเห็นเปลวไฟ

อากงเลยบอกว่า หลาน ๆ เอ๋ย ในอนาคตถ้าทำได้ จงอย่ามองสิ่งต่าง ๆ เพียงแค่ที่เห็น แต่ จงเข้าใจสิ่งต่าง ๆ อย่างที่มันเป็น

               เมื่อสังคมไทยเอาใจอ่านนิทานเรื่องนกกระจาบนี้แล้ว บวกกับนักการเมืองยึดหลักมรรคมีองค์ 8 โดยเริ่มจากความเห็นที่ถูกต้อง ตามข้อเสนอของนายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช.แล้ว ก็เชื่อแน่ว่าความแข้งแย้งจะลดลงอย่างแน่นอน

           "ลูกเอ๋ย" ผู้เป็นพ่อเอ่ยขึ้น "พวกเจ้าไม่เห็นหรือว่า ถ้าพวกเจ้าเห็นพ้องต้องกันแบะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ก็ไม่มีทางที่ศัตรูจะทำอะไรพวกเจ้าได้ แต่หากพวกเจ้าแบ่งแตกแยกกัน พวกเจ้าก็ไม่ได้แข็งแกร่งไปกว่าไม้สักท่อนในมัดนั้นเลย"

คณะทำงานเฉพาะกิจ ศธ. สรุปผลตรวจสอบหนังสือการ์ตูนชุด “นิทานวาดหวัง” ชี้ ความเห็นจิตแพทย์เด็ก ระบุ 3 เล่ม เป็นประโยชน์ ส่งเสริมการเรียนรู้ อีก 5 เล่มเข้าข่ายเนื้อหาควรเฝ้าระวัง พร้อมส่งข้อสรุปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้พิจารณาต่อ

วันนี้ (14 ต.ค. 2564) ภูมิสรรค์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ที่ปรึกษารัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เเละนโยบาย (คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ในฐานะประธานคณะทำงานชุดเฉพาะกิจตรวจสอบหนังสือนิทานชุดวาดหวัง กล่าวว่า คณะทำงานชุดเฉพาะกิจตรวจสอบหนังสือนิทานชุดวาดหวัง ที่แต่งตั้งโดย คุณหญิงกัลยาโสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินงานมากว่า 3 สัปดาห์แล้ว โดยได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงานรวมถึงนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ความเห็นตกผลึกออกมาเป็นข้อสรุปทางวิชาการถึงความเหมาะสมของหนังสือในแต่ละเล่มว่ามีประโยชน์อย่างไร และจะส่งผลกระทบมากน้อยแค่ไหนต่อเด็กและเยาวชนในอนาคต โดยไร้อคติ ซึ่งข้อสรุปที่ได้จะนำไปรายงานต่อ คุณหญิงกัลยา รวมถึงข้อคิดเห็นทั้งหมดจะส่งต่อถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาของแต่ละหน่วยงาน เช่น สภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นต้น เพื่อให้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

“ความขัดแย้งทั่วโลกถือเป็นเรื่องปกติ แต่ต้องแก้ไขด้วยการสร้างพลังบวก เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี ไม่ใช่ความรุนแรง การทำงานของคณะทำงานชุดเฉพาะกิจ มีจุดประสงค์เพื่อจะช่วยตรวจสอบสิ่งที่สังคมกำลังมีความขัดแย้งทั้งในปัจจุบันและในอนาคต และกระทรวงศึกษาฯ มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในการปกป้องเด็กและเยาวชน”

ดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย โฆษกประจำตัวรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ประธานร่วมคณะทำงานชุดเฉพาะกิจ กล่าวว่า มุมมองจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษาคณะทำงานชุดเฉพาะกิจครั้งนี้ คือ รศ. นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ให้ความเห็นว่า หนังสือนิทานชุดนี้ ผู้จัดทำระบุไว้ว่าเหมาะเด็กในระดับอายุ 5-12 ปี โดยในข้อเท็จจริงทางการแพทย์เด็กที่มีอายุ 6 ขวบปีแรก จะยังไม่สามารถแยกแยะโลกแห่งจินตนาการและโลกความเป็นจริงได้ หากได้รับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมก็อาจทำให้เด็กเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมกันสร้างสังคมคุณธรรมที่เป็นสังคมเชิงบวก เพื่อปลูกฝังสิ่งที่ดีให้กับเด็กและเยาวชน และสร้างสื่อที่สร้างสรรค์

จากการประชุมพิจารณาหนังสือชุดนิทานวาดหวังทั้ง 8 เล่ม ที่ประชุมมีความเห็นว่า หนังสือชุดนิทานวาดหวังมีทั้งที่เป็นเนื้อหาที่เป็นประโยชน์และเนื้อหาที่อาจนำไปสู่การบ่มเพาะปลูกฝังความขัดแย้ง รุนแรง 

โดยนิทานเรื่องที่เป็นประโยชน์และควรให้การสนับสนุน ได้แก่ 1. นิทานเรื่องตัวไหนไม่มีหัว ซึ่งมีจุดอธิบายและขมวดปมได้ว่าตัวอักษรทุกตัวมีความเท่าเทียมกัน สอนเด็กให้เรียนรู้ถึงความเท่าเทียม และเคารพความเห็นต่างของแต่ละบุคคล ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี 2. เรื่องแค็ก แค็ก มังกรไฟ สอนให้เด็กรู้จักรักสิ่งแวดล้อมส่งเสริมการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม ปกป้องไฟป่า ร่วมมือร่วมใจดับไฟป่า และ 3. เรื่องเด็ก ๆ มีความฝัน ถือเป็นหนังสือที่ตอบโจทย์ทุกคนรวมถึงเยาวชน เพราะท้ายที่สุดเด็กทุกคนมีความฝัน เป็นเสรีภาพในการใช้ชีวิต ซึ่งในมุมมองนักวิชาการหนังสือทั้ง 3 เล่มนี้เป็นหนังสือที่ดี น่าชื่นชม เด็กเยาวชนสามารถนำไปใช้เรียนรู้ได้ทุกช่วงอายุ

ส่วนหนังสือที่มีเนื้อหาเข้าข่ายควรระวัง ตามความเห็นของนักวิชาการที่มองว่าอาจบ่มเพาะเยาวชนให้นำไปสู่การแก้ไขความขัดแย้ง โดยการใช้ความรุนแรงมาตัดสินในอนาคต ได้แก่ 1. หนังสือเรื่องแม่หมิมไปไหน 2. เรื่องเป็ดน้อย 3. เรื่องเสียงร้องของผองนก 4. เรื่อง 10 ราษฎร และ 5. เรื่อง จ จิตร ซึ่งหนังสือทั้ง 5 เล่มนี้ไม่มีเนื้อหา มีแต่การเล่าเรื่องโดยภาพ ซึ่งน่าเป็นห่วงเพราะเด็กวัยนี้จะเกิดการจดจำและแยกแยะความเป็นจริงไม่ได้ อาจเกิดพฤติกรรมการเลียนแบบ ส่วนนี้จึงเป็นข้อกังวลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อาจจะบ่มเพาะความรู้สึกรุนแรงต่อเด็กและเยาวชนได้ จึงมีความไม่สบายใจหากหนังสือทั้ง 5 เล่มนี้ถูกนำไปใช้

“อยากวิงวอนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งครู ผู้ปกครอง ช่วยตรวจตราให้คำชี้แนะ พึงระวังบุตรหลานของท่าน ข้อสรุปจากการประชุมในวันนี้ทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า คณะทำงานชุดเฉพาะกิจดำเนินงานโดยปราศจากอคติโดยสิ้นเชิง และใช้หลักวิชาการในการตรวจสอบ โดยไม่ได้ทำหน้าที่ในการตัดสินถูกผิด แต่ยึดถือประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ”

กว่า 3 พันรายชื่อ ร่วมแคมเปญหยุดปิดกั้นการเรียนรู้เด็กไทย อย่าแบนนิทาน ‘วาดหวังหนังสือ’

หลังเกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับหนังสือการ์ตูนชุดดังกล่าว ทิชา ณ นคร ผอ.ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษก ได้สร้างแคมเปญชื่อ หยุดปิดกั้นการเรียนรู้เด็กไทย อย่าแบนนิทาน ‘วาดหวังหนังสือ’ ผ่านเว็บไซต์ Change.org โดยให้เหตุผลว่ารัฐและรัฐบาลควรเปิดใจ ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง ไม่ใช่การพยายามจำกัดการรับรู้ หรือปิดบังความจริงที่เกิดขึ้นในสังคม โดยมีผู้ร่วมลงชื่อแล้วมากกว่า 3,300 รายชื่อ

‘วาดหวังหนังสือ’ หนังสือนิทานสำหรับเด็ก เนื้อหาเล่าถึงความฝัน ความหวัง ความแตกต่าง คุณค่าของตัวเอง ความสามัคคี การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสร้างสรรค์ ในชุดมีทั้งหมด 8 เล่ม บอกเล่าเรื่องราวผ่านตัวการ์ตูน สอดแทรกเรื่องพลังพลเมือง และหลักสิทธิมนุษยชนในเวอร์ชั่นที่เข้าใจง่ายที่สุด เป็นหนังสือดีที่ควรแนะนำให้อ่านไม่ว่าจะเป็นเด็ก เยาวรุ่น หรือผู้ใหญ่

แต่ตอนนี้รัฐกลับมองว่าหนังสือชุดนี้ เป็นการระดมบ่มเพาะฝังรากล้างสมอง โดยกระทรวงศึกษาหรือแม้แต่นายกฯ เอง ก็มีคำสั่งเร่งตรวจสอบ พร้อมตั้งทีมเฉพาะกิจ ประสานฝ่ายความมั่นคงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ ยังมีการอ้างอิงความเห็นของ อังคณา นีละไพจิตร อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ไว้ในแคมเปญดังกล่าวด้วย

“นิทานเด็ก ชุดวาดหวัง เป็นเพียงการเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในสังคมให้เด็กเล็กสามารถเข้าใจได้ง่ายผ่านภาพการ์ตูน ไม่ใช่การปลุกระดมให้เด็กฟันน้ำนมลุกขึ้นมาต่อต้านรัฐ…[รัฐบาล] จึงควรเปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง ไม่ใช่พยายามจำกัดการรับรู้ หรือปิดบังความจริงที่เกิดขึ้นในสังคม การพยายามนิยมคนดีในสายตารัฐ โดยผลักคนเห็นต่างให้เป็นคนไม่ดีที่ต้องจำกัดให้หมดไป ถือเป็นเผด็จการทางความคิดที่ไม่ควรเกิดขึ้นในยุคที่การศึกษาเรียนรู้ไร้พรมแดนและไม่มีขีดจำกัดดังเช่นทุกวันนี้”

ความกลัวที่ถูกกำหนดโดยผู้มีอำนาจ คือความเก่า ความเสื่อม หมดสภาพ หากรัฐห่วงใยและจริงใจต่อเด็กและเยาวชน ควรทำให้ “การรู้เท่าทันสื่อ” เป็นศาสตร์ เป็นศิลป์ ที่เด็กทุกช่วงวัย สามารถเข้าถึง เข้าใจ รับ ย่อย ใช้ สร้าง ด้วยปัญญา สุดท้ายคือ ให้พวกเขามี ‘สิทธิ’ ที่จะเลือกแล้วใช้ดุลพินิจของตัวเอง รัฐต้องเลิกใช้วิธีเก่า ๆ อย่างการใช้อำนาจปิดกั้นการเรียนรู้ของพวกเขา ซึ่งมันไม่ได้ผลอีกต่อไปแล้ว

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้