ขั้น ตอน ต่างชาติ จดทะเบียน บริษัท ในไทย

username/password ไม่ถูกต้อง กรุณาทำการกรอกใหม่

session ของการเข้าสู่ระบบได้สิ้นสุดแล้ว กรุณา reload หน้าเว็บอีกครั้งและเข้าสู่ระบบใหม่อีกครั้ง

ท่านได้เข้าสู่ระบบอยู่แล้ว กรุณาออกจากระบบก่อนหากท่านต้องการเปลี่ยน user

username/password ไม่ถูกต้อง กรุณาทำการกรอกใหม่

session ของการเข้าสู่ระบบได้สิ้นสุดแล้ว กรุณา reload หน้าเว็บอีกครั้งและเข้าสู่ระบบใหม่อีกครั้ง

ท่านได้เข้าสู่ระบบอยู่แล้ว กรุณาออกจากระบบก่อนหากท่านต้องการเปลี่ยน user

การเริ่มต้นธุรกิจที่มีการจัดตั้งและจดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย สำหรับบริษัทจำกัดจะต้องมีผู้ร่วมลงทุน หรือผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 3 คน ซึ่งสามารถทำการขอจดทะเบียนบริษัทได้ตามปกติ แต่ที่มักเกิดคำถามอยู่บ่อยครั้ง คือเรื่องของการ จดทะเบียนบริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติ จะแตกต่างจากปกติหรือไม่

 

ทั้งนี้ รูปแบบของการขอ จดทะเบียนบริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติ ของบริษัทจำกัด จะมี 2 รูปแบบ คือ

– ถือหุ้นต่างชาติไม่เกิน 49%

– ถือหุ้นต่างชาติตั้งแต่ 50% ขึ้นไป

 

และมีเงื่อนไขที่ต่างจากการจดบริษัทสัญชาติไทยอยู่หลายข้อ ดังนั้น วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจรูปแบบการขอ จดทะเบียนบริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติ หรือที่มีหุ้นส่วนเป็นชาวต่างชาติกันค่ะ

 

รูปแบบบริษัทจำกัดที่มีหุ้นเป็นต่างชาติ

ตามหลักการของบริษัทจำกัด หากมีผู้ถือหุ้นเป็นคนสัญชาติอื่นที่ไม่ใช่สัญชาติไทย การจดทะเบียนบริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติ จะคล้ายกับกรณีที่มีผู้ถือหุ้นเป็นคนสัญชาติไทย แต่สัดส่วนของผู้ถือหุ้นนั้นจะแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ

1.ถือหุ้นต่างชาติไม่เกิน 49% คือมีผู้ถือหุ้นเป็นคนสัญชาติอื่นที่ไม่ใช่สัญชาติไทย ไม่เกิน 49% บริษัทที่จัดตั้งจะถือเป็นบริษัทสัญญาติไทย สามารถประกอบกิจการได้ทุกอย่างตามกฎหมายกำหนด

2.ถือหุ้นต่างชาติตั้งแต่ 50% ขึ้นไป คือมีผู้ถือหุ้นเป็นคนสัญชาติอื่นที่ไม่ใช่สัญชาติไทย ถือหุ้นตั้งแต่ 50% ขึ้นไป จะถือเป็นบริษัทต่างด้าว ต้องขอใบประกอบธุรกิจต่างด้าว และมีข้อจำกัดคือ

– ห้ามถือครองที่ดิน

– ห้ามประกอบธุรกิจบางประเภท ได้แก่ประเภทธุรกิจที่กำหนดอยู่ในบัญชีหนึ่ง ท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว) เช่น กิจการวิทยุหรือหนังสือพิมพ์ การทำนา ทำสวน จะสงวนไว้สำหรับคนไทย เป็นต้น หรือต้องได้รับอนุญาตก่อนสำหรับการประกอบธุรกิจที่อยู่ในบัญชีสอง หรือบัญชีสามท้าย พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

 

ต่างชาติถือหุ้น 100% ได้มั้ย

มีธุรกิจบางอย่างที่สามารถให้ชาวต่างชาติถือหุ้นได้ 100% อย่างเช่นโรงงานผลิตทั้งที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศและที่ส่งออก โดยต่างชาติต้องมีทุนจดทะเบียนขันต่ำไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท ส่วนกรณีที่ทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท หลังจากจดทะเบียนแล้ว กรรมการบริษัทผู้มีอำนาจจะต้องเป็นคนไปที่ธนาคารด้วยตัวเอง เพื่อเปิดบัญชีธนาคารในประเทศไทย และนำเงินฝากเข้าบัญชีธนาคารเท่ากับจำนวนทุนจดทะเบียนที่ชำระ

อย่างเช่นทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท และชำระทุน 25% กรรมการจะต้องเปิดบัญชีธนาคารในนามบุคคล และฝากเงินเข้าบัญชีจำนวน 2,500,000 บาท พร้อมกับขอหนังสือรับรองเงินฝากจากธนาคาร เพื่อนำไปยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 15 วัน นับจากวันที่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท

ส่วนธุรกิจที่ไม่ใช่โรงงานผลิต แต่ได้สิทธิจากการส่งเสริมการลงทุน BOI หรือว่ามาด้วยใบอนุญาตต่างๆ ต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ 100% โดยจะต้องแจ้งต่ออธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างชาติ ใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน หรือขอ Foreign Business License (FBL) ผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากองต่างด้าว

ทั้งนี้ หากธุรกิจที่คนต่างชาติต้องการทำเป็นธุรกิจในบัญชีหนึ่ง ของ พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จะถือเป็นธุรกิจที่ตกอยู่ในบัญชีต้องห้าม ไม่อนุญาตให้ต่างชาติทำ จึงไม่สามารถขอ FBL ได้ ส่วนถ้าธุรกิจอยู่ในบัญชีสองและสาม จะสามารถยื่นขอ FBL ได้ ซึ่งจะได้รับอนุมัติหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของกรรมการผู้พิจารณาใบประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดยใช้เวลาในการขอและพิจารณา FBL ประมาณ 4-6 เดือนเช่นกัน

 

เงื่อนไขในการเตรียมเอกสารเพื่อขอจดทะเบียนบริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติ

เนื่องจากสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ผู้ถือหุ้นสำหรับคนไทยและต่างชาติที่แตกต่างกัน ทำให้ต้องนำมาเข้าเงื่อนไขสำหรับเตรียมเอกสารเพื่อขอจดทะเบียนบริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติ ดังนี้

1.ผู้ถือหุ้นต่างชาติตั้งแต่ 1 หุ้นขึ้นไป ทางฝั่งผู้ถือหุ้นคนไทยทุกคนจะต้องแสดงบัญชีเงินฝาก โดยให้ทางธนาคารทำหนังสือรับรองเงินฝากของผู้ถือหุ้นคนไทยทุกคน โดยยอดเงินฝากห้ามน้อยกว่าเงินลงทุนในกิจการตามสัดส่วนที่ตนเองถือหุ้น เพื่อไว้ใช้แสดงที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าตอนไปขอจัดตั้งจดทะเบียนบริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติ ตัวอย่างเช่น ทุนจดทะเบียนบริษัท 1,000,000 บาท

*คนต่างชาติถือหุ้น 49% = เงินลงทุน 490,000 บาท

*คนไทยคนที่ 1 ถือหุ้น 30% = 300,000 บาท คนไทยคนที่ 2 ถือหุ้น 21% = 210,000 บาท ดังนั้น ผู้ถือหุ้นคนไทยต้องแสดงยอดเงินฝากทั้ง 2 จำนวนดังตัวอย่างว่ามีอยู่จริง

2.กรณีต่างชาติเป็น “กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม” คือสามารถทำการแทนบริษัทในการลงนามเอกสารต่างๆ ถึงแม้จะไม่ได้มีสัดส่วนในหุ้นของบริษัทเลยก็ได้ ทางกฎหมายบังคับให้ผู้ถือหุ้นคนไทย ต้องแสดงบัญชีเงินฝากให้ตรงกับจำนวนที่นำมาลงทุนหุ้นคือตามสัดส่วนที่ตนเองถือหุ้นอยู่ ให้สอดคล้องกับเงินลงทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว

ในทางกลับกันหากต่างชาติเป็น “กรรมการที่ไม่มีอำนาจลงนาม” ผู้ถือหุ้นไทยไม่จำเป็นต้องแสดงบัญชีเงินฝาก แต่ถ้าหากต่างชาติเป็นทั้งกรรมการที่ไม่มีอำนาจลงนามและเป็นผู้ถือหุ้นด้วย ผู้ถือหุ้นคนไทยก็ต้องแสดงเงินฝากหลักฐานต่อเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วย

โดยใช้หนังสือรับรองบัญชีเงินฝากที่ธนาคารออกให้ เพื่อแสดงยอดเงินฝากธนาคารของผู้ถือหุ้น ซึ่งหนังสือรับรองเงินฝากของผู้ถือหุ้น สามารถแสดงเงินฝากมากกว่าเงินลงทุนในกิจการตามสัดส่วนที่ตนเองถือหุ้นอยู่ได้ แต่ห้ามน้อยกว่า

ทั้งนี้ ถ้าผู้ถือหุ้นคนไทยที่ต้องแสดงบัญชีเงินฝากต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อขอจดทะเบียนบริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติ แต่ไม่มีเงินอยู่จริง สามารถแก้ปัญหาได้ดังนี้

– เลือกจดทะเบียนบริษัทด้วยทุนจดทะเบียนที่ไม่สูง หรือขอชำระขั้นต่ำที่ 25%

– จดทะเบียนครั้งแรกเป็นคนไทยหมด 100% หลังจากจดทะเบียนเสร็จ ให้ทำเรื่องเปลี่ยนแปลงกรรมการและผู้ถือหุ้น ปรับเปลี่ยนสัดส่วนการถือหุ้น แต่วิธีนี้มีข้อเสียคือ จะทำให้เสียค่าบริการเพิ่มขึ้น เพราะนอกจากจ่ายค่าบริการจดทะเบียนแล้ว ยังต้องจ่ายค่าทำเรื่องเปลี่ยนแปลงกรรมการและผู้ถือหุ้นอีกด้วย (ข้อมูลจาก  www.kknaccounting.com )

3.สำหรับผู้ถือหุ้นต่างชาติที่เข้ามาเป็นกรรมการ ทั้งแบบเป็นกรรมการทั่วไปและแบบกรรมการผู้มีอำนาจ หรือเข้ามาเป็นพนักงานภายในบริษัท จะต้องมี WORK PERMIT รวมถึงต้องมีทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาทขึ้นไปต่อชาวต่างชาติหนึ่งคน โดยชำระมูลค่าหุ้นเต็ม โดยจะต้องมีสัดส่วนคนไทยทำงานด้วย 4 คน ต่อผู้ถือหุ้นที่เป็นกรรมการหรือเข้ามาทำงานให้บริษัท 1 คน ตลอดจนบริษัทต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย

ส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาติที่ไม่ได้ต้องการ WORK PERMIT เพื่อที่จะสามารถทำงานรับเงินเดือนในประเทศไทย และไม่ต้องออกนอกประเทศบ่อยครั้งก็ไม่จำเป็นต้องจดทุนจดทะเบียนรวมถึงจ่ายชำระแล้วเต็มจำนวน 2 ล้าน

 

เอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อขอดำเนินการธุรกิจ กรณีจดทะเบียนบริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติ ถือหุ้น 50% ขึ้นไป (บริษัทต่างด้าว)

ก่อนที่ผู้ประกอบการบริษัทจำกัด จะดำเนินการยื่นตามขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาตินั้น จำเป็นต้องเตรียมเอกสารที่ใช้ในการขอจดบริษัทต่างด้าวดังนี้

1.แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ต.2 (3 หน้า)

2.ชื่อบริษัท

3.สำเนาทะเบียนบ้าน

4.หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ และสำเนาบัตรประชาชนของเจ้าบ้าน ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัท (ในกรณีเจ้าขอบ้านนิติบุคคลต้องแนบหนังสือรับรองบริษัท และสำเนาบัตรประชาชนกรรมการ ผู้มีอำนาจผูกพันในเอกสารของบริษัท)

5.หนังสือแจ้งรายละเอียดของประเภทธุรกิจที่ขอรับใบอนุญาต

6.หนังสือแจ้งจำนวนทุน จำนวนหุ้น และมูลค่าของหุ้นของบริษัทที่กำหนดไว้ สัดส่วนการถือหุ้นระหว่างคนไทยกับคนต่างด้าว ประเภทหรือชนิดของหุ้นที่คนต่างด้าวถือ

7.สำเนาบัตรประชาชนคนไทย หรือสำเนาหนังสือเดินทางต่างด้าว รายละเอียดที่อยู่และจำนวนหุ้น ซึ่งต่างคนต่างเข้าชื่อซื้อไว้ของผู้เริ่มก่อตั้งบริษัท (อย่างน้อย 3 คน) และลายเซ็นของผู้เริ่มก่อตั้งทุกคน

8.เอกสารแสดงเงินทุนครบตามจำนวนทุนจดทะเบียนภายใน 12 วัน (เฉพาะธุรกิจกิจใหม่ที่จดทะเบียนเกินกว่า 5 ล้านบาท)

9.หลักฐานแสดงที่มาของเงินทุนที่สอดคล้องกับจำนวนเงินที่ชำระแล้วของผู้ถือหุ้นคนไทยทุกคน (เฉพาะธุรกิจใหม่ที่มีผู้ถือหุ้นต่างชาติที่ลงทุนในบริษัทจำกัด หรือต่างชาติที่เป็นผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัท)

10.ใบรับรองบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ถือหุ้นคนไทย ยอดไม่ต่ำกว่าจำนวนเงินที่ได้ลงทุน (เฉพาะธุรกิจใหม่ที่คนไทยและต่างชาติลงทุนร่วมกัน)

11.หลักฐานหรือเอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)

 

การจัดตั้งบริษัทก่อนขอจดทะเบียนขออนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

เนื่องจากการยื่นขออนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว สามารถยื่นขอได้ทั้งในรูปแบบบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล หากเราเลือกยื่นขอในรูปแบบบริษัท ระหว่างที่เตรียมเอกสารต่างๆ ในการขออนุญาตประธุรกิจของคนต่างด้าว ผู้ประกอบการต้องทำการจัดตั้งบริษัท โดยสามารถดำเนินการจองชื่อบริษัทก่อนได้ หลังจากนั้นจึงทำตามขั้นตอนการยื่นขออยุญาตประกอบธุรกิจต่อไป โดยเริ่มจาก…

1.ตรวจสอบและจองชื่อบริษัท ซึ่งการจองชื่อนิติบุคคลจะเป็นผู้ถือหุ้น หุ้นส่วนผู้จัดการในกรณีห้างหุ้นส่วน หรือกรรมการในกรณีบริษัทเป็นผู้ยื่นขอจองชื่อก็ได้ แต่บุคคลนั้นต้องเป็นผู้ลงนามในใบอนุมัติจองชื่อดังกล่าว

และชื่อที่จะจัดตั้งต้องไม่ซ้ำ หรือใกล้เคียงกับบริษัทที่เคยจดทะเบียนไปแล้ว โดยสามารถจองได้ 3 ชื่อ ผ่านการจองได้ 2 ทางคือ จองผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตหรือสำนักงานพาณิชย์ประจำจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือจองผ่านอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

หลังจากจองชื่อได้แล้ว จะต้องยื่นจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ภายใน 30 วัน หากยื่นจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิช้ากว่านั้นต้องทำการจองชื่อใหม่ ซึ่งสามารถใช้ชื่อเดิมในการจองได้ ถ้าหากยังไม่มีบริษัทอื่นๆ นำไปใช้ก่อน

2.บุคคลซึ่งเป็นผู้ก่อการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป เข้าชื่อกันจัดทำคำขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ และเอกสารประกอบแล้วนำไปจดทะเบียน

3.เมื่อได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ผู้ก่อการต้องจัดให้หุ้นของบริษัทที่คิดจะจัดตั้งขึ้นนั้น มีผู้เข้าชื่อจองซื้อหุ้นจนครบ

4.ดำเนินการประชุมจัดตั้งบริษัท โดยต้องส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมให้ผู้จองหุ้นทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ก่อนวันประชุม

5.เมื่อได้ประชุมตั้งบริษัทและแต่งตั้งกรรมการบริษัทแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องมอบหมายกิจการให้กรรมการบริษัทรับไปดำเนินการต่อไป

6.กรรมการบริษัทจัดการเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้จองหุ้น ชำระค่าหุ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น

7.เมื่อได้รับเงินค่าหุ้นแล้ว กรรมการต้องทำคำขอจดทะเบียนตั้งบริษัท และนำเอกสารประกอบไปจดทะเบียนเป็นบริษัทภายใน 3 เดือน หลังจากการประชุมตั้งบริษัท ได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือทางออนไลน์

 

ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติทางออนไลน์

หลังจากที่กรรมการได้รับเงินค่าหุ้นแล้ว จะต้องจัดทำคำขอจดทะเบียนตั้งบริษัท และนำเอกสารประกอบ ไปจดทะเบียนเป็นบริษัทภายใน 3 เดือน หลังจากการประชุมตั้งบริษัท ซึ่งนอกจากจะ walk in ไปขอจดบริษัทที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ยังสามารถขอจดบริษัทแบบออนไลน์ได้ ถือว่าเป็นช่องทางที่สะดวกและรวดเร็ว ได้ลดค่าธรรมเนียม 50% อีกด้วย

โดยเข้าไปกรอกข้อมูลจดบริษัทแบบออนไลน์ได้ที่ ระบบจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งมีขั้นตอนการจดทะเบียน ดังนี้

1.ลงทะเบียนและยืนยันตัวตน จากนั้นจะได้รับ User Name และรหัสผ่านที่จะส่งมาให้ผ่านทางอีเมล เพื่อใช้สำหรับเข้าไปจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท

2.เมื่อได้ดำเนินการยืนยันตัวตนและเปิดใช้งานรหัสเรียบร้อยแล้ว ให้นำข้อมูลและเอกสารที่เตรียมไว้ กรอกลงในระบบจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration)

3.หลังจากกรอกข้อมูลเสร็จแล้ว ทางนายทะเบียนจะทำการตรวจสอบข้อมูลและเอกสาร

4.หากเอกสารผ่านการตรวจสอบเรียบร้อย ทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะส่งอีเมลแนบข้อมูลการขอจดบริษัท พร้อมด้วยรหัสผ่านไปให้กรรมการและผู้ถือหุ้นทุกคน เพื่อใช้ในการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์และยื่นคำขอจดทะเบียนบริษัท

5.ชำระค่าธรรมเนียมในการจดบริษัท 2,750 บาท ซึ่งลดราคาลง 50% จากราคาเดิม 5,500 บาท เป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564  31 ธันวาคม 2566

จากนั้นให้รอนายทะเบียนรับจดทะเบียน กระทั่งได้รับเอกสารหลักฐานการจดบริษัทแล้ว ถือเป็นอันเสร็จเรียบร้อย และหลังจากจดทะเบียนบริษัทแล้ว ผู้ประกอบการจะต้องเจอกับอะไรบ้างนั้น สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความ “สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องเจอ…หลังจดบริษัท”

 

สรุป

จะเห็นได้ว่าเงื่อนไขสำหรับการขอจดทะเบียนบริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติ จะแตกต่างจากการจดบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นทั้งหมดเป็นคนไทย รวมถึงต้องมีการพิจารณาการขออนุญาตประกอบธุรกิจสำหรับบริษัทต่างด้าว ที่ต้องพิจารณาในหลายๆ จุด รวมถึงการเตรียมเอกสารสำหรับการขอจดทะเบียนบริษัท จะมีการดำเนินการค่อนข้างละเอียด ดังนั้น สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจดทะเบียนบริษัทได้ที่  //inflowaccount.co.th/company-registration-service/ หรือเพื่อความสะดวกและรวดเร็วควรใช้บริการสำนักงานบัญชีก็ได้เช่นกัน เพื่อช่วยในเรื่องของความถูกต้องในการจัดทำ การเตรียมเอกสาร และการให้ข้อมูลต่างๆ ได้อย่างถูกต้องมั่นใจมากยิ่งขึ้น

PrevPreviousยื่นภาษีออนไลน์ บุคคลธรรมดา ระบบ E-Filing โฉมใหม่

Nextเมื่อไหร่ที่กิจการควร จดทะเบียนเพิ่มสาขา และต้องทำอย่างไร  Next

OUR STORY

เรามีชื่อในการช่วยเหลือเจ้าของธุรกิจในเรื่องบัญชีและภาษีเพื่อให้เจ้าของธุรกิจมั่นใจว่าบัญชีและภาษีที่ทำออกมานั้นถูกต้องอีกทั้งเรายังให้คำแนะนำกับเจ้าของธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจที่กำลังเติบโต ซึ่งต้องเผชิญกับความท้าทายในการดำเนินธุรกิจต่างๆ

ไม่ว่าจะเรื่องจำนวนคนหรือเวลาที่มีน้อยกว่าบริษัทระดับ Corporate หรือความรู้ในการบริหารจัดการภาษีซึ่งเราก็มีผู้ตรวจสอบบัญชี CPA คอยให้คำแนะนำกับเจ้าของธุรกิจทุกท่าน

ชาวต่างชาติ จดทะเบียนบริษัทในไทย ได้ไหม

การจดทะเบียนบริษัทในประเทศไทยสำหรับชาวต่างชาติ มี 2 กรณี กรณีที่ 1 การจดทะเบียนบริษัท สัญชาติไทย คือ คนไทย ถือหุ้นอย่างน้อย 51% และคนต่างชาติ ถือหุ้นไม่เกิน 49% โดยสามารถประกอบธุรกิจได้ทุกอย่างตามที่กฏหมายกำหนด กรณีที่ 2 การจดทะเบียนบริษัท สัญชาติอื่น คือ คนต่างชาติ ถือหุ้น 50-100% จะต้องขอเป็นใบประกอบธุรกิจต่างด้าวแทน

ต่างชาติเปิดบริษัทในไทยใช้เอกสารอะไรบ้าง

ขอจดทะเบียนบริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติ ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง.
แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ต.2..
ชื่อบริษัทตามที่จองไว้.
สำเนาทะเบียนบ้าน.
หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ และสำเนาบัตรประชาชนของเจ้าบ้าน.
หนังสือแจ้งรายละเอียดของประเภทธุรกิจที่ขอรับใบอนุญาต.

ต่างชาติเป็นกรรมการบริษัทได่ไหม

- กรรมการบริษัทต้องมีอย่างน้อยหนึ่งคน โดย ปพพ. ไม่ได้จำกัดจำนวนกรรมการที่เป็นคนต่างด้าวไว้แต่ทั้งนี้จำนวนกรรมการที่เป็นคนต่างด้าวจะถูกจำกัดโดยกฎหมายเฉพาะ เช่น กฎหมายแรงงานซึ่งกำหนดอัตราส่วนของจำนวนกรรมการต่อทุนจดทะเบียนไว้ในการขอใบอนุญาตทำงาน - ชาวต่างชาติที่จะเข้ามาเป็นกรรมการของบริษัทที่ประกอบกิจการในประเทศไทยจะต้อง ...

ต่างชาติถือหุ้นเกิน 50 ได้ไหม

ดังนั้น ชาวต่างชาติที่ต้องการมาเปิดบริษัทในประเทศไทยและถือหุ้นเกิน 50% ขึ้นไปนั้น ถ้าเป็นโรงงานผลิต ไม่ว่าจะผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ หรือส่งออกต่างประเทศ ต่างชาติสามารถถือหุ้นในบริษัทได้ 100% แต่กำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำต้องไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท โดยในกรณีทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้