ภาษีหางข้าว สมัยรัตนโกสินทร์

ระบบภาษีที่รัฐบาลเก็บจากประชาชนในสมัยกรุงธนบุรี ถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2310-97) ส่วนมากมี ผลกระทบต่อการผลิตทางเกษตรของไพร่ โดยอาจกล่าวเป็นลําดับ ภาษีอากรที่เกี่ยวกับการผลิตด้านเกษตร ที่สําคัญคือ 1.อาการภาษีนา 2.อาการสมพัตสร 3. อากรสวน

อากรค่านา

เก็บจากไพร่ที่ทํานาทุกคน ส่วนขุนนางและ ข้าราชการชั้นผู้น้อยได้รับการยกเว้นมาตลอด จนมาถึงรัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2367) จึงมีการเก็บอากรค่ามาจากคนกลุ่มนี้เป็นครั้งแรก อากรค่านานี้เป็นภาษีเก่าแก่ของประเทศไทย ในช่วงสมัยธนบุรีถึงรัชกาลที่ 3 เก็บไร่ละ 2 ถัง โดยนาคู่โคหรือนาลุ่มหรือนาเมืองหรือนาหว่าน เก็บทุกปี ไม่ว่าจะทําหรือไม่ทํา เพราะถือว่าเป็นนาที่อาศัยทั้งน้ำฝน และน้ำท่า

ส่วนนาฟางลอยหรือนาดำหรือนาสวน, ทางการจะเก็บเฉพาะปีที่ทํานา จนมาถึงรัชกาลที่ 3 รัฐบาลจึงอนุญาตให้เสียอากรเป็นเงินได้มากเมืองขึ้น โดยเสียไร่ละ 1 สลึง 1 เฟื้อง (0.375 บาท) ซึ่งตั้งแต่เดิมก็มียอมให้ชาวนาเสียเป็นเงินได้บ้างสําหรับชาวนาที่อยู่บ้านกลฉางหลวงมากเสียเป็นเงินไร่ละ 1 สลึง

ตาราง 5.3ประเภทและกลุ่มเมืองที่เสียอากรค่านา สมัยรักชาลที่ 2 (ภาพจาก”ประวัติศาสตร์เทคโนโลยีการเกษตร”)

พบหลักฐานว่าในสมัยรัชกาลที่ 2 (พ.ศ. 2354) รัฐบาลได้กําหนดประเภทการเสียอากรค่านาเป็น 6 ประเภท ซึ่งมีความแตกต่างกัน ดังตาราง 5.3  ซึ่งจะเห็นว่าชาวนาที่ลำบากที่สุดคือชาวนา 16 เมืองจาก 2 กลุ่มแรก โดยเฉพาะเมืองที่อยู่ไกลจากกรุงเทพฯ เช่น อุทัยธานี ห่างจากกรุงเทพฯ ถ้าเดินทางไปตามลำน้ำเจ้าพระยาประมาณ 300 กิโลเมตร ส่วนเมือง 2 ประเภทหลัง นำข้าวมาส่งเมืองที่สังกัด ซึ่งระยะห่างทางย่อมใกล้กว่า

เมืองประเภทที่ 6 น่าจะสบายกว่าประเภทอื่นเพราะให้ไปส่งเป็นเงินซึ่งมีน้ำหนักน้อยมากเมื่อเทียบกับข้าว เพียงแต่ชาวนา 10 เมืองนี้ต้องหาเงินมาส่งแทนข้าว ก็อาจจะต้อง เอาข้าวหรือผลผลิตอย่างอื่นขาย เพื่อจะได้เงินมาส่งแก่ทางราชการ

กล่าวโดยสรุป อากรค่านาเป็นผลผลิตส่วนเกินที่ชาวนาต้องส่งให้กับรัฐ และยังต้องเป็นภาระในการขนส่งข้าวมาส่งที่ฉางหลวงในเมืองที่สังกัด หรือในเมืองหลวงหรือปราจีนบุรี และ 3 ใน 6 ประเภท ถูกบังคับซื้อข้าวในราคาถูกอีกไร่ละ 2 ถัง ถังละ 2 ไพ ในขณะที่ราคาปกติถังละ12.5 สตางค์ คือ ซื้อในราคาเพียง 50% ของราคาปกติ และที่ร้ายกว่านั้นก็คือ เจ้าหน้าที่ที่ออกไปรับข้าวและซื้อข้าวที่ฉางหลวง โกงข้าวเวลาดวง โดยเอาถังขนาดใหญ่กว่าปกติไปตวงข้าวจากราษฎร คือใช้ขนาด 30-40 ทะนาน ในขณะที่ตั้งมาตรฐานของทางราชการ คือ 20 ทะนาน เวลาที่เจ้าหน้าที่ส่งข้าวให้หลวงก็ให้ถังมาตรฐาน ข้าวส่วนต่างก็เก็บเป็นของส่วนตัวไป ซึ่งชาวนาก็ทราบและร้องเรียนกันบ่อยครั้ง จนถึงรัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2367 พระองค์จึงทรงยกเลิกการบังคับซื้อดังกล่าว

ส่วนการเก็บอากรค่านาในสมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2380) ได้ขยายจากภาคกลางและภาคเหนือตอนล่างไปสู่ภาคอีสานคือเมืองโคราช ภาคตะวันออกถึงจันทบุรีและตราด ภาคใต้ขยายจากชุมพร ไปถึงนครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง

อาการสมพัตสร

เก็บจากเจ้าของไร่ซึ่งปลูกไม้ล้มลุก โดยเก็บตามชนิดของพืชไร่ และเก็บตามจำนวนครั้งที่ปลูก ถ้าหากปีนั้นปลูก 2 ครั้งก็เก็บ 2 ครั้ง อัตราการเก็บต่อไร่ดูจากตัวอย่างในตาราง 5.4 อากรสมพัตสรเจ้าหน้าที่ของรัฐมิได้เป็นผู้เก็บ แต่ทางการให้เอกชนที่ชนะการประมูลเป็นผู้เก็บ โดยผู้ที่เสนอเงินรายได้สูงสุดแก่รัฐจะเป็นผู้ชนะการประมูล ทางการจะตั้งให้เป็นนายอากร เมืองที่มีการเก็บอากรสมพัตสรต้นรัชกาลที่ 2 มี 13 เมือง เหนือสุดคือเมืองนคสวรรค์ ใต้สุดเมืองเพชรบุรี ตะวันออกสุดคือเมืองระยอง

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ทางเหนือขยายไปถึงเมืองพิษณุโลก ทางตะวันออกขยายไปถึงเมืองปราจีนบุรี ไม่พบว่ามีการเก็บอากรที่ภาคใต้และภาคอีสาน เมืองใดที่มีการเก็บภาษีอากรสมพัตสรย่อมทำให้ผู้ผลิตพืชไร่ที่ต้องเสียอากรดังกล่าวมีต้นทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งก็หมายความว่าต้องขายในราคาสูงขึ้รกว่าเมืองที่ไม่มีการเก็บอากรสมพัตสร ทำให้เกิดความไม่เสมอภาคกันขึ้นในหมู่ผู้ผลิต (ผู้ปลูก) จากตาราง 5.4 จะเห็นว่ามีพืชไร่ถึง 37 ชนิด ที่ต้องเสียอากรสมพัตสรในบางเมือง

    ตาราง 5.4 พิกัดอัตราอากรสมพัตสร (ภาพจาก “ประวัติศาสตร์เทคโนโลยีการเกษตร)

อากรสวน

เป็นภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากเจ้าของสวนที่ปลูกไม้ผลหรือไม้สวนตามรายการที่รัฐบาลกําหนดไว้แล้ว หรือจะเพิ่งกําหนดใหม่ก็ตาม โดยรัฐบาลจะเก็บเป็นรายต้นที่เดียว ซึ่งต้องถือว่า “โหด” มาก เพราะภาษีข้าวหรืออากรค่านาและอากรพืชไร่เก็บตามขนาดพื้นที่นับเป็นไร่ (400 ตารางวา หรือ 1,600 ตารางเมตร) แต่อากรสวนเก็บเป็นรายต้นแตกต่างกันตามเกรดของต้นไม้ ถ้าไม้มีเกรดสูง เช่น ทุเรียน มะม่วง ซึ่งเป็นไม้ที่คนไทยปลูกกันแพร่หลายมากอยู่แล้ว โดยเฉพาะมะม่วงรัฐบาลเก็บถึงต้นละ 1 บาท หากในพื้นที่ 1 ไร่ ปลูกมะม่วง 40 ต้น จะต้องเสียอากรสวนถึงปีละ 40 บาท

ในขณะที่อากรค่านาเก็บเพียงไร่ละ 1 สลึง 1 เฟื้อง (0.375 บาท) หรือสูงกว่าอากรสวนถึง 106 เท่า แต่ถ้าปลูกมะพร้าวก็จะเสียเพียงต้นละ 100 เบี้ย ต้องปลูกมะพร้าว 64 ต้น จึงจะเสียเท่ากับปลูกมะม่วง 1 ต้น (1 บาท เท่ากับ 6,400 เบี้ย) ส่วนใครปลูกหมากจะต้องเสียเป็นรายต้น ตั้งแต่ต้นละ 30-50 เบี้ย แล้วยังต้องเสียเป็นร้อยละของผลหมากอีก ซึ่งตรงนี้เก็บค่อนข้างแพง คือร้อยละเก็บตั้งแต่ 1 สลึง 1 เฟื้อง 600 เบี้ย (46.875 สตางค์) จนถึงร้อยละ 3 สลึง 200 เบี้ย (78.125 สตางค์) เป็นต้น

อนึ่งเพื่อมิให้เกิดการพิพาทระหว่างผู้เก็บภาษีกับเจ้าของสวน ทางการจึงกําหนดไว้ชัดเจนว่าไม้ที่เก็บมีอะไรบ้าง เก็บอัตราเท่าไหร่ และเก็บไม้ที่โตขนาดไหน เช่น หมาก ถ้าเป็นหมากเอกคือหมากที่สูง 3-4 วา ออกผลมากจึงเก็บแพง พอหมากแก่ต้นจะสูงหมากออกผลน้อยลงและเก็บผลก็ยากขึ้นเพราะสูงมาก 7-8 วา (14-16 เมตร) รัฐบาลก็เก็บน้อยลง หากเพิ่งเป็นหมากรุ่นๆ เริ่มออกดอกประปราย ออกผลเป็นครั้งแรกก็เก็บน้อย ถ้ายังไม่ออกดอก แต่ปล้อง(ลําต้น) สูง 4 ศอก มีใบตั้งแต่ 11 ใบขึ้นไป ให้เก็บต้นละ 50 เบี้ย ไม่เก็บเป็นร้อยละ เป็นต้น

หากเป็นทุเรียนก็ไม่วัดความสูง แต่วัดเส้นรอบวงตรงความสูง 3 ศอก (1.50 เซนติเมตร) หากขนาดเส้นรอบวง 60 เซนติเมตรขึ้นไป จึงจะเก็บอากร ถ้าน้อยกว่า 60 เซนติเมตรลงมา ถึง 40 เซนติเมตร ยังไม่เก็บปีที่สํารวจให้เก็บปีถัดไป เป็นต้น

อากรสวนนี้คงไม่เป็นที่พอใจของเจ้าของสวนมากพอสมควร มีหลักฐานปรากฏชัดเจนว่า ในช่วงที่รัฐบาลส่งเจ้าหน้าที่ลงไปสํารวจจํานวนไม้ผลที่ต้องเสียอากร ซึ่งปกติจะสํารวจทุกต้นรัชกาล มีเจ้าของสวนบางสวนโค่นไม้ผลที่ต้องเสียอากรลงเป็นจํานวนมากเพื่อเลี่ยงภาษี ความทราบถึงพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 จึงทรงมีรับสั่งให้ลงโทษเจ้าของสวนที่โค่นไม้ที่ต้องเสียอากร โดยกําหนดให้เสียเป็น 3 เท่าของอัตราปกติ และให้เจ้าหน้าที่สลักหลังโฉนดฉบับของเจ้าของสวน และฉบับของทางการว่า มี “ไม้โทษ” อะไรบ้าง ชนิดละกี่ต้น รวมเป็นเงินอากร ประเภทไม้โทษอยู่กี่บาท และต้องถูกปรับไปทุกปี ซึ่งเป็นการลงโทษที่สาหัสมาก นอกจากนี้พระองค์ยังทรงแก้ลําชาวสวนที่โค่นต้นไม้ผลที่เสียอากร แล้วพากันปลูกส้มมากมายหลายชนิด ซึ่งส้มนั้นไม่เคยเสียอากรสวน ก็ทรงให้เก็บอากรสวนส้ม 9 ชนิด เป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2372 (ตาราง 5.5 )

ตาราง 5.5 อากรสวนในสมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2372) (ภาพจาก “ประวัติศาสตร์เทคโนโลยีการเกษตร”)

เนื่องจากอากรสวนเป็นภาษีที่เก็บละเอียดถี่ยิบเป็นรายต้น ซึ่งเป็นภาระมากสําหรับเจ้าหน้าที่ เพราะต้องมีการนับเป็นรายต้น เจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่งคงคร้านที่จะนับ เจ้าของสวนก็อยากเสียภาษีให้น้อยที่สุด จึงเกิดการสมยอมกันขึ้นระหว่างเจ้าของสวนกับเจ้าหน้าที่ โดยเจ้าของสวนให้สินบน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ลงจํานวนในโฉนดน้อยกว่าความเป็นจริง และพระเจ้าอยู่หัวคงทรงทราบ จึงทรงป้องกันมิให้เจ้าหน้าที่สํารวจสวนทุจริต โดยทรงแต่งตั้งเจ้าหน้าที่จากส่วนกลาง เป็นส่วนใหญ่เป็นหลายทีม ทีมละประมาณ 8-10 คน ออกสํารวจสวน

เจ้าหน้าที่ในแต่ละทีมจะมาจากหลายหน่วยราชการ และก่อนจะลงมือรังวัดสํารวจสวนผู้ใด เจ้าของสวนจะต้องทําบายศรีบวงสรวงเจ้าที่ 1 สํารับ บวงสรวงกรุงภาลี 1 สํารับ จัดเสื่ออ่อน 1 ผืน ราคา 1 เฟื้อง ผ้าขาว 1 ผืน 2 สลึง ขันล้างหน้า 1 ใบ สําหรับเสกน้ำ และต้องจ่ายค่าหัวเชือก (เชือกมาตรฐานวัดที่) 1 สลึง ค่าหางเชือก 1 เฟื่อง พิธีการเหล่านี้จัดขึ้นเพื่อให้เห็นว่า การรังวัดสวนเป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ไม่ใช่ทําเล่นๆ ได้

เมื่อรังวัดขนาดพื้นที่เขตติดต่อกับสวนอื่นจํานวนไม้อากรสวน และจํานวนเงินที่ต้องเสีย เจ้าหน้าที่ออกโฉนดป่าให้เจ้าของตรวจสอบความถูกต้องภายใน 1 เดือน หากไม่ถูกหรือมีปัญหากับเจ้าของสวนที่ติดกัน ทีมสํารวจก็มีอํานาจที่จะขี้ขาดว่า ที่ตรงไหนเป็นของใคร หากไม่มีปัญหา เจ้าหน้าที่ก็จะประทับตราข้าหลวง 8 คน ลงในโฉนด 2 ฉบับ คือโฉนดป่า ซึ่งเจ้าของสวน ตรวจสอบแล้วถูกต้องทางการจะเก็บไว้ และมอบโฉนดใหญ่ซึ่งเหมือนกับโฉนดป่าทุกประการให้เจ้าของสวนเก็บไว้เพื่อเป็นหลักฐานกรรมสิทธิ์ที่สวนของตน และจะได้เตรียมเงินไว้สําหรับจ่ายอากรสวนได้ถูก

ค่าธรรมเนียมที่เจ้าของสวนต้องจ่ายเมื่อรับโฉนดมาใบละ 1.50 บาท ยกเว้นค่าออกโฉนดสวนจากต้องเสียใบละ 2.375บาท อาจเป็นเพราะพื้นที่ที่ต้นจากมักเต็มไปด้วยดินเลน เนื่องจากต้นจากขึ้นตามป่าชายเลน การสํารวจจึงยากกว่าสวนธรรมดา เงินค่าธรรมเนียมออกโฉนดนี้ เจ้าหน้าที่ซึ่งออกจะได้รับส่วนแบ่งตามที่กฎหมายกําหนด

ตามหลักฐานที่ปรากฏในสมัยรัตนโกสินทร์มีการส่งทีมสํารวจสวน ใน พ.ศ. 2354 (ร.3) 2372-73, 2375 (ร.3) รายได้จาก อากรสวนคงเป็นเงินจํานวนมาก เฉพาะสมัยรัชกาลที่ 4 เก็บได้ถึง 5,545,000 บาท หรือร้อยละ 50.54 ของภาษีอากรที่รัฐบาลเก็บได้ทั้งหมด

จากตาราง 5.5 จะเห็นว่ามีพืช 15 ชนิด ที่เจ้าของสวนต้น เสียอากรให้รัฐบาล และจากการสํารวจของทางการในปี 2373 ใน 8 เมือง คือ กรุงเทพฯ, นนทบุรี, สมุทรสงคราม, ราชบุรี, นครชัยศรี, สาครบุรี, เพชรบุรี (เฉพาะบางครก) และฉะเชิงเทรา เพื่อออกโฉนดและเก็บภาษี พบว่ามีต้นไม้สวนที่ต้องเสียอากร 7,768,711 ต้น ดังนี้ 1. หมาก ร้อยละ 66.48, 2. มะพร้าว ร้อยละ 18.52, 3. ส้ม 9 ชนิด ร้อยละ 6.60 อันดับ, 4. มะม่วง ร้อยละ 3.94, 5. พลู ร้อยละ 1.48 , 6. มะปราง ร้อยละ ๑.๓๑, อันดับ 7,8,9 เป็นมังคุด ทุเรียน และลางสาด ตามลําดับ ร้อยละ 0.79, 0.70 และ 0.18 ซึ่ง 3 อันดับท้ายนี้มีน้อย อาจเป็นเพราะภาษีที่เก็บจากพืช 3 ชนิดนี้แพงมาก

ตาราง 5.6 จำนวนผลไม้ที่เสียอากรสวน สำรวจ พ.ศ. 2373 (ภาพจาก”ประวัติศาสตร์เทคโนโลยีการเกษตร”)

จากตาราง 5.6 จะเห็นว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองสวนจริงๆ เพราะใน 9 ชนิด มีถึง 5 ชนิดที่ปลูกในกรุงเทพฯ มากกว่าครึ่งของจํานวนไม้ที่ต้องเสียอากรทั้งหมด ที่ไม่ถึงครึ่งก็ยังสูงถึงร้อยละ 31.90-40.82

อากรสวนน่าจะมีผลให้ต้นทุนการทําสวนของชาวสวน 8 เมืองเพิ่มขึ้น ข้อสําคัญก็คือ คนที่ปลูกไม้ผลเอาไว้บริโภคและไม่เคยเสียอากร เพราะอยู่นอกเขตการสํารวจ ต่อมาเมื่อมีการสํารวจแล้ว ในพื้นที่ที่ต้องเสียอากร ก็หมายความว่า ผลไม้ที่เคยเอาไว้เฉพาะบริโภคในครอบครัวกับหมู่ญาติพี่น้อง ถึงตอนนี้ก็ต้องหาทางเอาไปขาย เอาเงินมาเสียอากรซึ่งต้องเสียเป็นรายปี เท่ากับเป็นการบังคับทางอ้อมให้ชาวสวนต้องรู้จักค้าขายผลผลิตของตน กับเจ้าของสวนเหล่านี้จะต้องดูผลไม้ของตนให้งามออกผลดกๆ เพื่อจะได้ขายได้ มีเงินเสียอากรและมีกําไรด้วย

ทําให้ต้องค้นคิดวิธีบํารุงไม้ผลให้ได้ผลมากและรสดี จนพื้นที่นนทบุรี ธนบุรี กลายเป็นแหล่งผลิตผลไม้คุณภาพดีที่สุดของประเทศ แต่ในทางตรงกันข้าม คนที่มีที่ดินและอยู่ในเขตที่ทางการเก็บอากรสวน แต่ไม่ได้ปลูกไม้อากรก็คงจะต้องหาทางปลูกไม้ผลที่ไม่อยู่ในรายการต้องเสียภาษี หรือไม่ก็ปลูกผักซึ่งเสียอากรสมพัตสรน้อยกว่าอากรสวนอย่างเทียบกันไม่ได้ เช่น งา ไร่ละ 50 สตางค์ ปลูกงา 2 ไร่ เสียอากรเท่าปลูกมะม่วง 1 ต้น หรือปลูกฝ้าย 1 ไร่ เท่ากับปลูกมะม่วง 1 ต้น แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับ สภาพดินและน้ำว่าเหมาะกับพืชไร่นั้นๆ หรือไม่ด้วย

ไพร่ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นชาวนา ต้องเสียอากรค่านา หากทําสวนก็ต้องเสียอากรสวน หากทําไร่ก็ต้องเสียอากรสมพัตสร (ยกเว้นไพร่หลวงที่ได้ตราภูมิคุ้มห้าม) การที่ไพร่ที่ทําอาชีพทั้ง 3 นี้พร้อมกันและต้องเสียอากรทั้ง 3 ประเภท อาจไม่ถือว่าเสียภาษีซ้ำซ้อน เพราะเป็นพืชคนละประเภท แต่น่าถือว่าเป็นการขูดรีดหรือไม่ แต่กรณีที่จะยกตัวอย่าง ต่อไปนี้ต้องถือว่าเป็นการขูดรีดภาษีและซ้ำซ้อน

ตัวอย่างที่ 1  กรณีข้าว พบว่าเป็นพืชหรือสินค้าเกษตรที่เสียภาษีซ้ำซ้อนมากถึง 4 ชนิด คือต้องเสียทั้งอากรค่านา เสียไร่ละ 1 สลึง ถึง 1 สลึง  เฟื้อง หรือไร่ละ 2 ถัง และเมื่อมีการนําข้าวเปลือกไปสีเป็นข้าวสารเอาไปขายในตลาด ต้องเสียอากรตลาดถึงปีละ 1 บาท ต่อราย (ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมาก หากเอาผักใส่กระจาดหรือกระด้งกระเดียดไปขาย จะเสียเพียงวันละ 15 เบี้ย (0.23 สตางค์) ค้าขายทั้งปีก็เสียเพียง 84 สตางค์

สําหรับคนที่มีโรงสีข้าว (ส่วนมากเป็นสีมือหรือสีด้วยแรงคน) ต้องเสียอากรตลาดปีละ 1 บาท ส่วนพ่อค้าที่นําข้าวออกต่างประเทศ จะต้องเสียภาษีขาออก ข้าวสารเกวียนละ 8 บาท และข้าวเปลือกเกวียนละ 4 บาท แต่ถ้าเคลื่อนย้ายข้าวในประเทศ เช่น เอาข้าวจากเพชรบุรีจะไปขายสงขลา เสียครึ่งหนึ่งของอัตราที่กล่าวมาแล้ว

ตัวอย่างที่ 2 คือ อ้อย ต้องเสียอากรซ้ำซ้อนถึง 5 ชนิด อากรสมพัตสรตอนที่ยังเป็นต้นอ้อย และเมื่อ แปรสภาพเป็นน้ำอ้อยก็ต้องเสียภาษีน้ำอ้อย เมื่อเป็นน้ำตาลกรวด เสียภาษีน้ำตาลกรวด เมื่อแปรสภาพเป็นน้ำตาลทรายก็เสียภาษีน้ำตาลทราย และเมื่อเอาลงเรือไปซื้อขายในตลาดก็เสียอากรตลาด

เฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 3 มีภาษีการที่รัฐบาลตั้งขึ้นใหม่รวม 59 ชนิด แยกเป็นภาษีอาการที่เกี่ยวกับสินค้าหรือผลิตผลทางกเกษตรที่ตั้งใหม่ 22 ชนิด ไม่ใช่ผลิตผลเกษตร 37 ชนิด

กล่าวโดยสรุปการที่รัฐเก็บภาษีจากเกษตรกรย่างมากมาย ทั้งผลผลิตทางเกษตรและไม่ใช่เกษตรเป็นการเพิ่มภาระต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกร และเป็นการบีบบังคับทางอ้อมให้เกษตรกรต้องนําผลผลิตทางเกษตรของตนออกจำหน่าย เพื่อจะได้เอาเงินไปเสียภาษีให้กับรัฐบาล

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้