นโยบายการค้าของกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างไร

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีการจารึกในประวัติศาสตร์ว่า เป็นยุคที่มีการจัดเก็บภาษีอากรรุ่งเรืองมาก การก่อตั้งกรุงศรีอยุธยาเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 1893 ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างพระนครขึ้นที่ริมหนองโสน แล้วทำการราชาภิเษกทรงพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดี ขนานนามราชธานีว่า กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา ในช่วงตลอดอายุกรุงศรีอยุธยา เป็นเวลา 417 ปี บ้านเมืองมีทั้งความเจริญและความเสื่อม ในสมัยที่บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองมาก คือ สมัยสมเด็จพระรามาธิบดี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แต่ในบางรัชสมัยพระมหาธรรมราชาและพระเพทราชา การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า ส่วยสาอากร ได้มีการแบ่งการจัดเก็บออกเป็น 4 ประเภท คือ จังกอบ อากร ส่วย และฤชา โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. จังกอบ หรือ จำกอบ เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากการชักส่วนสินค้า ที่นำเข้ามาจำหน่ายตามที่ได้อธิบายข้างต้น

2. อากร หมายถึง ส่วนที่เก็บจากผลประโยชน์ที่ราษฎรทำมาหาได้ในการประกอบการต่างๆเช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวน ฯลฯ หรือการได้รับสิทธิจากรัฐบาลไปกระทำการ เช่น ต้มกลั่นสุรา เก็บของในป่า จับปลาในน้ำ ฯลฯ เช่น อากรค่านา อากรสวน อากรสุรา อากรค่าน้ำ เป็นต้น การเก็บอากรอาจจัดเก็บเป็นตัวเงินหรือเป็นสิ่งของ ถือเป็นภาษีที่จัดเก็บตามหลักผลประโยชน์ที่ได้รับจากรัฐไม่ทางตรงก็ทางอ้อม

อย่างที่ออเจ้าได้เห็นกันในละคร “บุพเพสันนิวาส” หรือได้เรียนมาในวิชาประวัติศาสตร์ว่า สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นยุคทองแห่งการค้าและการทูตของกรุงศรีอยุธยา มีต่างชาติเข้ามาค้าขาย จนอโยธยาติดอันดับเมืองท่าสำคัญของเอเชีย

แล้วอะไรล่ะที่ทำให้อยุธยาเป็นเมืองท่าสำคัญ มีบทบาททางการค้าของภูมิภาคนี้ แน่ล่ะที่เรารู้กันมาว่าดินแดนแถบนี้อุดมสมบูรณ์ มีทรัพยากรมากมายหลากหลายที่ชาวตะวันตกไม่มี แต่เหตุผลเพียงแค่เขาต้องการสินค้าจากเราแค่นั้นหรือ ? เมื่อถอยออกจากอยุธยาไปมองภาพกว้าง ๆ เราจะพบคำตอบ

  • เรือหลวงสุโขทัย พบทหารเรือปลอดภัย 1 นาย เร่งตามหาผู้สูญหายต่อ
  • เรือหลวงสุโขทัยล่ม พบเสียชีวิต 1 ราย เร่งตามหา 31 นายที่เหลือ
  • จับตาวาระ ครม.แจกของขวัญปีใหม่ 19 หน่วยงาน ช้อปดีมีคืน ลดหย่อนภาษี 4 หมื่น

ในงาน “ทวนสายน้ำตามรอยการค้า แล เงินตรากับออเจ้า” จัดโดยศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย อ.คุณากร วาณิชย์วิรุฬห์ ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์และงานพิพิธภัณฑ์ กล่าวว่า ความใหญ่โตของอยุธยาในยุคนั้นคือ เป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ช่วงประมาณศตวรรษที่ 17 ช่วงรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม พระเจ้าปราสาททอง พระนารายณ์ ต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคนั้นบอกว่า อยุธยาเป็น 1 ใน 3 มหาอำนาจของเอเชีย เทียบกับ จีน และวิชัยนคร (อินเดียใต้)

อ.คุณากรฉายภาพกว้าง ๆ ของยุคสมัยนั้นว่า ในยุคศตวรรษที่ 16-18 เป็นยุค early modern เป็นยุคแรกที่โลกมีการติดต่อแลกเปลี่ยนกัน ทั้งด้านผู้คน เศรษฐกิจการค้า ศาสนา การทูต สิ่งที่เป็นความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดของโลกในยุคนั้นคือ เริ่มมีการนำโลหะแร่เงิน (silver) มาใช้เป็นเครื่องแลกเปลี่ยน ชาวตะวันตกนำโดยสเปนและโปรตุเกสเดินเรือมาจากทิศตะวันตกนำแร่เงินเข้ามาแลก เปลี่ยนซื้อ-ขายสินค้าในเอเชีย

ต่อมาพ่อค้าชาวดัตช์เห็นว่า สเปนและโปรตุเกสทำการค้ากับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วกลับประเทศด้วยความมั่งคั่งมาก พ่อค้าชาวดัตช์จึงอยากทำการค้ากับภูมิภาคนี้ แต่การจะส่งเรือมาซื้อสินค้าซึ่งจินตนาการไม่ออกว่ามีสินค้าอะไรบ้าง ถือเป็นความเสี่ยงอย่างมาก ไม่มีพ่อค้าคนไหนลงทุนคนเดียวไหวจึงกระจายความเสี่ยงโดยการขายหุ้น แตกการลงทุนออกเป็นหุ้นเล็ก ๆ ระดมเงินลงทุน ตั้งบริษัท VOC หรือ บริษัท อินเดียตะวันออก แล้วเดินทางเข้ามาตั้งสำนักงานใหญ่ที่รัฐปัตตาเวีย (ปัจจุบันคือจาการ์ตา)

VOC ระดมเงินได้มหาศาล เป็นครั้งแรกของโลกที่คนที่ไม่ได้อยู่ในฐานันดรกษัตริย์สามารถมีส่วนร่วมในกิจการใหญ่ขนาดนี้ได้ ซึ่งใหญ่กว่าเงินในพระคลังของหลาย ๆ รัฐ การขายหุ้นบริษัท VOC ได้มอบมรดกตกทอดมาจนถึงปัจจุบันคือเป็นการก่อตั้งตลาดหุ้น และจุดเริ่มต้นการขายหุ้น

ในเวลาใกล้ ๆ กัน เม็กซิโก เดินทางมาจากทางตะวันออกข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อเสบียงใกล้หมดจำเป็นต้องหาที่จอดพัก จึงเลือกเกาะฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่เกาะแรกที่เจอ และมีอ่าวมะนิลาที่เหมาะแก่การจอดเรือ มะนิลาจึงเป็นเมืองท่าหนึ่งที่สำคัญ

ชาติใหม่เข้ามาเพิ่มขึ้น ชาติแรก ๆ ที่เข้ามาก็ยังคงอยู่ เมื่อหลายชาติมุ่งหน้าเข้ามาทำการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลายเมืองในภูมิภาคนี้จึงกลายเป็นเมืองท่าสำคัญที่มีบทบาทโดดเด่น อย่างเช่น อาเจะฮ์ ซึ่งเป็นท่าแรกที่เจอเมื่อเดินทางมาจากอ่าวเบงกอล

อีกหนึ่งเมืองสำคัญคือบันเต็น เป็นเมืองท่าพริกไทยที่สำคัญมากทางตะวันตกเฉียงเหนือของชวา เมื่อ VOC เข้ามาตั้งสำนักงานที่ปัตตาเวียจึงมีปัญหากับบันเต็น เพราะสองเมืองนี้หาสินค้าจากดินแดนเดียวกัน คือ ชวา

เศรษฐกิจที่ รุ่งเรืองอยู่ในเอเชีย และเงินที่ไหลเข้ามาในทวีปนี้ถูกดูดซับโดยประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลกในยุคนั้น ก็คือ จีน ยุคราชวงศ์หมิง

Advertisement

“ที่เราเห็นว่าอยุธยาทำการค้ารุ่งเรืองนั้น เราเป็นส่วนหนึ่งของภาพอันใหญ่โตมโหฬาร ซึ่งเราจะเห็นได้ชัดมาก เมื่อเราถอยออกไปจากเรื่องที่เราคุ้นเคย ไปมองว่าโลกเกิดอะไรขึ้น สิ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนพลวัตทางเศรษฐกิจก็คือ สินค้าและแร่เงิน มรดกตกทอดอันหนึ่งของยุคนั้นที่ยังคงอยู่กับเราก็คือคำว่า ซิลเวอร์ แร่เงิน ซึ่งทุกวันนี้เราเรียก money ว่า เงิน เพราะว่าในอดีต เงินคือ currency สิ่งที่ใช้แลกเปลี่ยน” อ.คุณากร วาณิชย์วิรุฬห์ สรุป

หลังจากมองภาพกว้าง ๆ ไปแล้วก็ถอยกลับเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา มองการค้าภายในอโยธยาว่าเป็นอย่างไร 

รศ.ดร.ธีร วัต ณ ป้อมเพชร ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์การค้าสมัยอยุธยา กล่าวว่า การค้าในสมัยอยุธยาผูกขาดโดยหลวง (กษัตริย์ ราชสำนัก) แต่ไม่สามารถผูกขาดได้ในทุกรัชสมัย และไม่สามารถผูกขาดทุกรายการสินค้า เนื่องจากไม่ได้มีกลไกปกครองที่สามารถผูกขาดเบ็ดเสร็จได้ และธรรมชาติของเศรษฐกิจการค้า หากไม่มีความยืดหยุ่น พ่อค้าต่างชาติคงไม่เข้ามา

จากเดิมที่รัฐมีรายได้จากการเก็บภาษีอากร ต่อมารายได้ที่สำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ คือ การค้าต่างชาติ ซึ่งกษัตริย์อยุธยาไม่สามารถละเลยทอดทิ้งได้ ดังนั้นที่มีการพูดกันว่า หลังสมเด็จพระนารายณ์สวรรคตแล้ว เจ้าพระยาวิชเยนทร์สิ้นแล้ว การค้าก็ยุติลง ไม่เป็นความจริง ในเวลาต่อมาอยุธยายังมีการค้ากับจีน อินเดีย ดัตช์ และชาติอื่น ๆ ส่วนระบบพระคลังสินค้าก็ยังไม่หายไป

“การที่บ้านเราร่ำรวยด้วยทรัพยากร และเห็นได้ว่าขุนนาง กรมท่าต่าง ๆ ร่ำรวยแค่ไหน ยิ่งเป็นการดึงดูดให้คนต่างชาติเข้ามาแสวงโชคในเมืองไทย และประจวบกับเจ้านาย ชนชั้นนำไทยต้องการให้คนต่างชาติเข้ามาช่วยค้าขาย จึงมีต่างชาติเข้ามาแสวงโชคในสยามมาก คนที่รู้เรื่องการค้าและรู้ภาษาก็จะเข้ามารับราชการ ตัวอย่างที่เด่นมากคือ คอนสแตนติน ฟอลคอน”

นอกจากนั้น รศ.ดร.ธีรวัตบอกอีกว่า ปัญหาหนึ่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์คือเรื่องการต่างประเทศ จะรับมือชาติอย่างไร ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ ราชสำนักไทยขัดแย้งกับฮอลันดา เพราะแข่งขันกันเข้าไปค้าขายกับญี่ปุ่น ซึ่งเส้นทางไปญี่ปุ่นเป็นเส้นทางที่กษัตริย์สยามคิดว่าสำคัญและมีค่ามาก เพราะการไปค้ากับญี่ปุ่นสามารถแวะทำการค้ากับจีนได้ด้วย ราชสำนัก สยามขัดแย้งกับดัตช์จนดัตช์ส่งเรือติดปืนมาปิดปากอ่าวไทย นำมาสู่การเซ็นสนธิสัญญา ซึ่งดัตช์ได้เปรียบสยาม สนธิสัญญาฉบับนั้นทำให้สมเด็จพระนารายณ์เกรงกลัวดัตช์พอสมควร

“แต่จะตีความว่าอยุธยามีปัญหากับดัตช์จึงต้องไปคบกับฝรั่งเศส อาจเป็นการสรุปที่ง่ายเกินไป” รศ.ดร.ธีรวัตกล่าว

ถ้าจะสรุปว่าทำไมอยุธยาในยุคนั้นจึงเป็นเมืองท่าที่สำคัญและมีการค้าพาณิชย์ที่ รุ่งเรืองมาก ก็เพราะอยุธยาเป็นเมืองท่าในแผ่นดินใหญ่ของเอเชีย ซึ่งเอเชียเป็นดินแดนแห่งเศรษฐกิจการค้าของโลกในยุคนั้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้