ภาพกราฟิก 2 มิติแบบ รา ส เตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เมื่อขยายหน้ายิ้มมุมซ้ายบนของภาพซึ่งเป็นภาพภาพบิตแมป RGB เป็นภาพใหญ่ทางขวา จะเห็นว่าแต่ละสี่เหลี่ยมคือจุดภาพ หรือ pixel เมื่อวิเคราะห์ให้ลึกเข้าไปอีก สีต่างๆของ pixel เกิดจากการผสมแสงสีแดง เขียวและน้ำเงินเข้าในสัดส่วนต่างๆกัน

ภาพกราฟิกส์แรสเตอร์ (อังกฤษ: raster graphics) หรือ ภาพบิตแมป (อังกฤษ: bitmap) หรือ คือภาพที่ประกอบด้วยจุดสีต่างๆที่มีจำนวนคงที่ตายตัว มีข้อดีคือ เหมาะกับภาพที่ต้องการระบายสี สร้างสี กำหนดสีที่ต้องการความละเอียดได้ง่าย ข้อเสีย คือเมื่อมีจุดสีที่คงที่นั่น ทำให้เวลาขยายภาพนั้นจะมีความละเอียดน้อยลงมาก และถ้าเพิ่มขนาดความละเอียดให้แก่ภาพ จะทำให้ไฟล์ภาพมีขนาดที่ใหญ่ และเปลืองพื้นที่ความจำ ไฟล์ภาพพวกนี้มีหลายรูปแบบ อาทิ เช่น BMP, TIF, JPG, PCT ฯลฯ โปรแกรมที่ใช้ เช่น โฟโต้ชอป, กิมป์ ฯลฯ

ลักษณะเฉพาะ[แก้]

  1. รูปแบบการเขียนข้อมูล ประมวลผลเชิงกราฟิกที่ใช้ตารางสี่เหลี่ยม หรือ Pixel (จุดภาพ หรือหน่วยของภาพ)ซึ่งสามารถเคลื่อนตำแหน่งได้ ผกผันค่าที่ตำแหน่งนั้นไปกลับได้ หรือ รวมค่าที่ตำแหน่งต่างๆ ไว้ด้วยกันได้ แล้วแสดงผลออกมา
  2. การแสดงภาพกราฟิก โดยใช้กลุ่มของจุดเล็กๆ แยกต่างหากกัน หรือเรียกว่า แผนที่บิต (Bitmap) ความละเอียดของภาพจะจำกัดโดยลักษณะของจอภาพหรืออุปกรณ์ เรียกได้อีกอย่างว่า บิตแมพกราฟิก
  3. ภาพดิจิทัล ที่เก็บข้อมูลเป็นอาร์เรย์ของจุดภาพสำหรับแสดงและแก้ไขปรับปรุงภาพ ในข้อมูลแรสเตอร์จะไม่มีเส้นตรง วงกลม หรือ รูปหลายเหลี่ยม แต่จะมีจุดภาพหลาย ๆ จับกลุ่มเกิดเป็นลักษณะรูปที่ต้องการ
  4. วิธีการสร้างภาพ เป็นกลุ่มของจุดที่เป็นอิสระกัน ขนาดเล็กๆ (จุดภาพ) เรียงลำดับกันลักษณะของแถว กับสดมภ์
  5. กระบวนการสร้างแผนที่บิต ในการสร้างแฟ้มภาพดิจิทัลโดยมีการเก็บข้อมูลแต่ละบิตของภาพต้นฉบับแทนการเก็บเป็นเส้นตรงระหว่างจุด แฟ้มแบบแรสเตอร์จะเก็บรายละเอียดข้อมูลและความลึกสีได้สูง แต่จะแก้ไขดัดแปลงยากหากไม่ต้องการให้สูญเสียคุณภาพ ส่วนมากเครื่องสแกนจะนำเข้าภาพเป็นภาพแรสเตอร์
  6. รูปภาพ ที่กำหนดเป็นเซตของจุดภาพ หรือ จุดในรูปแบบของแถว และ สดมภ์

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ภาพบิตแมปวินโดวส์และโอเอส/ทู (.bmp, .dib)
  • ภาพกราฟิกส์เวกเตอร์

ความแตกต่างระหว่างภาพกราฟิก 2 มิติ และ 3 มิติ

ภาพที่เกิดบนจอคอมพิวเตอร์ เกิดจากการทำงานของโหมดสี RGB  ซึ่งประกอบด้วยสีแดง (Red) สีเขียว (Green)  และสีน้ำเงิน (Blue)  โดยใช้หลักการยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสงของสีทั้ง 3 สีมาผสมกันทำให้เกิดเป็นจุดสีสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) ซึ่งมาจากคำว่า  Picture  กับ Element โดยพิกเซลจะมีหลากหลายสี  เมื่อนำมาวางต่อกันจะเกิดเป็นรูปภาพ ซึ่งภาพที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มี 2 ประเภท คือ แบบ Raster และแบบ  Vector

Read the rest of this entry

ความแตกต่างระหว่างภาพกราฟิก 2 มิติ และ 3 มิติ

ภาพที่เกิดบนจอคอมพิวเตอร์ เกิดจากการทำงานของโหมดสี RGB  ซึ่งประกอบด้วยสีแดง (Red) สีเขียว (Green)  และสีน้ำเงิน (Blue)  โดยใช้หลักการยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสงของสีทั้ง 3 สีมาผสมกันทำให้เกิดเป็นจุดสีสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) ซึ่งมาจากคำว่า  Picture  กับ Element โดยพิกเซลจะมีหลากหลายสี  เมื่อนำมาวางต่อกันจะเกิดเป็นรูปภาพ ซึ่งภาพที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มี 2 ประเภท คือ แบบ Raster และแบบ  Vector

หลักการของกราฟิกแบบ Vector

หลักการของกราฟิกแบบ Vector เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณ ซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพไม่ลดลง แฟ้มมีขนาดเล็กกว่าแบบ Raster ภาพกราฟิกแบบ Vector นิยมใช้เพื่องานสถาปัยต์ตกแต่งภายในและการออกแบบต่าง ๆ เช่น การออกแบบอาคาร การออกแบบรถยนต์ การสร้างโลโก การสร้างการ์ตูน เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้สร้างภาพแบบ Vector คือ โปรแกรม Illustrator, CoreDraw, AutoCAD, 3Ds max เป็นต้น แต่อุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลภาพ เช่น จอคอมพิวเตอร์จะเป็นการแสดงผลภาพเป็นแบบ Raster

หลักการของกราฟิกแบบ Raster

หลักการของภาพกราฟิกแบบ Raster หรือแบบ Bitmap เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หลากหลายสี ซึ่งเรียกจุดสีเหลี่ยมเล็ก ๆ นี้ว่าพิกเซล (Pixel) ในการสร้างภาพกราฟิกแบบ Raster จะต้องกำหนดจำนวนของพิกเซลให้กับภาพที่ต้องการสร้าง ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลน้อย เมื่อขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่ ดังนั้นการกำหนดพิกเซลจึงควรกำหนดให้เหมาะกับงานที่สร้างคือ ถ้าต้องการใช้งานทั่ว ๆ ไปจะกำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ 100-150 ppi (Pixel/inch) “จำนวนพิกเซลต่อ 1 ตารางนิ้ว” ถ้าเป็นงานที่ต้องการความละเอียดน้อยและแฟ้มภาพมีขนาดเล็ก เช่น ภาพสำหรับใช้กับเว็บไซต์จะกำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ 72 ppi และถ้าเป็นแบบงานพิมพ์ เช่น นิตยสาร โปสเตอร์ขนาดใหญ่ จะกำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ 300-350 เป็นต้น ข้อดีของภาพกราฟิกแบบ Raster คือ สามารถแก้ไขปรับแต่งสี ตกแต่งภาพได้ง่ายและสวยงาม ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้สร้างภาพกราฟิกแบบ Raster คือ Adobe PhotoShop, Adobe PhotoShopCS, Paint เป็นต้น

ความชัดเจนระหว่างภาพกราฟิก Vector และ ภาพกราฟิก Raster

เมื่อขยายที่ 500 เปอร์เซ็นต์เท่ากัน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้