การ นำเสนอ โครงงานวิทยาศาสตร์

ขั้นตอนการเสนอโครงงานและการพิจารณา

ขั้นตอนการเสนอโครงงานและการพิจารณา


 1.  ผู้เสนอโครงงานจัดทำรายละเอียดข้อเสนอโครงงาน จำนวน 3 ชุด พร้อมแผ่นซีดีบรรจุไฟล์ข้อมูล 1 แผ่น ส่งมายังศูนย์ประสานงานตามภูมิภาคต่างๆ (ซึ่งระบุในตอนท้ายของเอกสาร) ด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์
 2.  พิจารณาข้อเสนอโครงงานที่เสนอโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
 3.  ประกาศผลโครงงานที่ผ่านการพิจารณาได้รับทุนสนับสนุนผ่านทางเว็บไซต์ //www.fic.nectec.or.th/และมอบเงินทุนงวดที่ 1 โครงงานละ 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน)
 4.  นักเรียนที่โครงงานผ่านการคัดเลือกได้รับทุน ทำการพัฒนาโครงงานต่อให้สมบูรณ์และจัดส่งผลงาน พร้อมบทคัดย่อและรายงานฉบับสมบูรณ์ จำนวน 2 ชุด และแผ่นซีดีจำนวน 2 ชุด ที่บรรจุไฟล์ข้อมูลต่อไปนี้
     4.1 ไฟล์ข้อเสนอโครงงาน
     4.2 ไฟล์รายงานฉบับสมบูรณ์ (ดูรายละเอียดในหัวข้อ “รายงานฉบับสมบูรณ์”)
     4.3 ไฟล์สรุปโครงงาน/บทคัดย่อ  สรุปโครงงานโดยย่อประมาณ 2 - 3 หน้ากระดาษ A 4
            (ดูรายละเอียดในหัวข้อ “แบบฟอร์มสรุปโครงงาน”)
     4.4 ไฟล์โปรแกรมคอมพิวเตอร์แะรหัสต้นฉบับ (Source Code) (ถ้ามี)
โดยต้องส่งเอกสารรายงานและแผ่นซีดีที่บรรจุไฟล์ข้อมูลดังกล่าวที่ศูนย์ประสานงานตามภูมิภาคต่างๆ ด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์ภายในเวลาที่กำหนด รวมทั้งต้องให้ความร่วมมือในการกรอกข้อมูลสรุปโครงงาน/บทคัดย่อผ่านทางเว็บไซต์ของโครงการฯ  //www.fic.nectec.or.th/ และ/หรือให้ข้อมูลอื่นๆ ที่ทางโครงการฯ ขอความร่วมมือ
 5.  พิจารณาผลงานที่ส่งมอบโดยกำหนดให้ผู้พัฒนามานำเสนอผลงานที่ศูนย์ประสานงานตามภูมิภาคต่างๆ ผลงานที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการ จะได้รับเงินทุนงวดที่ 2 โครงงานละ 7,000 บาท (เจ็ดพันบาทถ้วน) และอาจารย์ที่ปรึกษาได้รับค่าตอบแทนโครงงานละ 2,000 บาท
 6.  จัดประกวดผลงานรอบชิงชนะเลิศ โดยนักเรียนที่โครงงานได้รับรางวัลที่ 1 จะได้เป็นตัวแทนประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการประกวด Intel International Science and Engineering Fair (Intel ISEF) ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา 

  • 7001 reads

การแสดงผลงาน

           การแสดงผลงานเป็นการเสนอผลงานที่ได้ศึกษาค้นคว้าสำเร็จลงแล้วให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจ อาจทำในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจัดนิทรรศการ ซึ่งเป็นการจัดแสดงให้ผู้อื่นทราบถึงกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ ของการศึกษาค้นคว้า อาจมีอุปกรณ์ และเครื่องมือหรือภาพและแผนภูมิประกอบคำบรรยาย อาจมีหรือไม่มีการสาธิตประกอบด้วยก็ได้ หรืออาจจัดแสดงในรูปแบบอื่น ๆ เช่นการรายงานปากเปล่าก็ได้

                 การแสดงผลงานการทำโครงงานวิทยาศาสตร์นี้ อาจจัดได้หลายระดับ เช่น

-   การจัดเสนอผลงานภายในชั้นเรียน

-   การแสดงนิทรรศการภายในโรงเรียนเป็นการภายใน

-   การจัดนิทรรศการในงานประจำปีของโรงเรียน

-   การส่งผลงานเข้าร่วมในงานแสดงหรือประกวดภายนอกโรงเรียน ในระดับต่าง ๆ เช่น กลุ่มโรงเรียน  ระดับจังหวัด  ระดับเขตการศึกษา และระดับชาติ เป็นต้น

การแสดงผลงานในลักษณะที่มีการจัดแสดง ขั้นจำเป็นอย่างยิ่งสิ่งที่ต้องเขียนโปสเตอร์ติดแสดงโครงงาน ข้อความที่สำคัญที่จะต้องเขียน คือ

-    ชื่อโครงงาน

-    ชื่อผู้ทำโครงงาน

-    ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา

-    ชื่อสถานศึกษา

-    คำอธิบายย่อ ๆ ถึงมูลเหตุจูงใจในการทำโครงงานและความสำคัญของโครงงาน

-    จุดมุ่งหมาย

-    วิธีการดำเนินงาน อธิบายเป็นข้อ ๆ โดยย่อ หรืออาจแสดงเป็นภาพแสดงขั้นตอนดำเนินการประกอบด้วย

-     ผลการศึกษา ควรเสนอเฉพาะข้อมูลเด่น ๆ อาจมีภาพประกอบด้วย

                -     สรุปผล

           นอกจากนั้น ยังต้องจัดอุปกรณ์แสดงหรือสาธิตผลที่ได้จากการศึกษาด้วยการเสนอผลงานในลักษณะของการจัดแสดงนั้น ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

-    ความปลอดภัยของการแสดง

-    ความเหมาะสมของพื้นที่ที่จัดแสดง

-   คำอธิบายที่เขียนแสดงนั้น ควรเน้นเฉพาะประเด็นต่าง ๆ ข้อความกะทัดรัด ชัดเจนและเข้าใจง่าย

-    นาดตัวอักษรต้องมีขนาดใหญ่ ผู้ชมสามารถอ่านได้ในระยะ 2 เมตร คือตัวอักษรที่เป็นชื่อเรื่อง ควรมีขนาดความสูงประมาณ 5 เซนติเมตร หัวข้อย่อย ขนาดความสูงประมาณ 2 เซนติเมตร และข้อความอื่น ๆ ขนาดความสูงประมาณ 1.5 เซนติเมตร

-   ดึงดูดความสนใจของผู้ชม โดยใช้สีที่สดใสคือ สีตัวอักษรต้องเด่นชัด และข้อความที่เป็นจุดเน้นที่สำคัญควรใช้สีที่สดใส

-     ใช้ตาราง และรูปภาพประกอบ โดยจัดวางอย่างเหมาะสม

-    สิ่งที่แสดงทุกอย่างต้องถูกต้อง ไม่มีการสะกดคำหรืออธิบายหลักการผิด

-  ในกรณีที่เป็นโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ สิ่งประดิษฐ์ที่นำมาแสดงประกอบนั้น ต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์

                   สำหรับการเสนอผลงานในรูปแบบของการรายงานปากเปล่าในที่ประชุมนั้น ควรมีการใช้สื่อประเภทโสตทัศนูปกรณ์ ประกอบการรายงานด้วย เช่น แผ่นโปร่งใส หรือสไลด์ เป็นต้น  ส่วนข้อความที่จะเขียนลงบนแผ่นโปร่งใสนั้น ก็เป็นข้อความเช่นเดียวกับที่เขียนโปสเตอร์ดังที่กล่าวข้างต้น

การรายงานปากเปล่า ไม่ว่าจะเป็นการรายงานปากเปล่า ที่เป็นการอธิบายด้วยคำพูดประกอบกับการจัดแสดงโครงงาน หรือการรายงานปากเปล่าต่อที่ประชุมก็ตาม ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

-     ต้องทำความเข้าใจในเรื่องที่จะอธิบายเป็นอย่างดี

-     ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของการใช้ภาษาให้เหมาะสมกับระดับผู้ฟัง

-    รายงานตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อมหลีกเลี่ยงการอ่านรายงานแต่อาจดูหัวข้อสำคัญ ๆ ไว้เพื่อช่วยให้การรายงานเป็นขั้นตอน และควรชี้จุดเน้นหรือประเด็นที่สำคัญ ๆ ของโครงงานประกอบคำอธิบาย

-      อย่าท่องจำรายงาน เพราะจะทำให้ดูไม่เป็นธรรมชาติ

-      ขณะรายงานต้องมองตรงไปยังผู้ฟัง

-      ควรรายงานให้เสร็จในระยะเวลาที่กำหนด

-    เมื่อรายงานเสร็จควรเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้ซักถาม

-    การตอบคำถามควรตอบให้ตรงประเด็นที่ถามอย่างตรงไปตรงมา ไม่จำเป็นกล่าวถึงสิ่งที่ไม่ได้ถาม

-     หากติดขัดในการตอบ อย่าเสแสร้งหรือกลบเกลื่อน ควรยอมรับแต่โดยดี

การเตรียมการก่อนการเสนอผลงานนั้น  นักเรียน ควรซักซ้อมการอธิบายปากเปล่า รวมทั้งการซักซ้อมการตอบคำถาม ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนเกิดความมั่นใจ

ส่วนประกอบของแผงโครงงาน

1.   ชื่อสถานศึกษา

2.   ชื่อผู้จัดทำโครงงาน

3.   บทคัดย่อ

ส่วน ข     ขนาด 120 X 60 เซนติเมตร  ประกอบด้วยหัวข้อดังนี้

1.   ชื่อโครงงาน                     2.  ที่มาและความสำคัญ

3.    ขอบเขตการศึกษา           4.  จุดมุ่งหมายการศึกษา

5.    สมมติฐาน                       6.  วัสดุอุปกรณ์

7.    วิธีการทดลอง

ส่วน ก2     ขนาด 60 X 60 เซนติเมตร  ประกอบด้วยหัวข้อดังนี้

1.  ผลการทดลอง                  2. สรุปและอภิปรายผลการทดลอง

 3.   ข้อเสนอแนะ                    4.  เอกสารอ้างอิง

เทคนิคการรายงานผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                  

การรายงานผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์ นักเรียนผู้ทำโครงงานจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ทำเป็นอย่างดี ส่วนหนึ่งเกิดจากประสบการณ์ที่ได้ปฏิบัติจริงด้วยตัวเอง อีกส่วนหนึ่งคืออาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องเอาใจใส่ แนะนำให้นักเรียนได้ฝึกซ้อมการรายงานจนคล่องเป็นธรรมชาติ พอสรุปเป็นขั้น ๆ ได้ดังนี้

1.        หัวหน้ากลุ่มผู้ทำโครงงานแนะนำสมาชิกภายในกลุ่มพร้อมทำความเคารพ

2.        แบ่งหัวข้อให้ทุกคนในกลุ่มได้รายงาน

-              การรายงานต้องมีน้ำเสียงน่าฟัง เสียงดังชัดเจน

-              มีอุปกรณ์ช่วยชี้หัวข้อ บนแผงโครงงาน ไม่อ่านเนื้อหาบนแผงโครงงาน

-              หยิบอุปกรณ์ประกอบแผง เพื่อประกอบการรายงานอย่างคล่องแคล่ว

3.        เมื่อรายงานจบแล้วเปิดโอกาสให้กรรมการซักถามและพร้อมที่จะตอบคำถามอย่างมั่นใจ กรณีที่กรรมการซักถามลึกลงไปมากกว่าที่ได้ปฏิบัติจริง ให้ชี้แจงกรรมการตามความเป็นจริงว่า ยังไม่ได้ปฏิบัติและอาจจะรับไปปฏิบัติต่อไป

4.        มีเอกสารย่อ หรือผลงานแจก หรือกรณีชิมได้มีให้ชิมด้วย จะช่วยให้ผลงานเป็นที่สนใจของผู้ชมโดยทั่วไปมากยิ่งขึ้น


5.        เมื่อกรรมการหรือผู้ชม เสร็จสิ้นการตรวจหรือการชมแล้ว นักเรียนในกลุ่มกล่าวขอบคุณและแสดงความเคารพ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้