Psychographic Segmentation ตัวอย่าง

การแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation) สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มจะเป็นลูกค้าได้ โดยดูจากผู้ที่มีความสนใจ หรือผู้มีพฤติกรรมใกล้เคียงกับการซื้อมากที่สุด ในการแบ่งส่วนตลาดมักจะแบ่งออกเป็นกลุ่มที่มีลักษณะคล้ายกัน และกำหนดตามคุณสมบัติอย่างน้อยหนึ่งอย่างเพื่อให้ใกล้เคียงกับผู้ที่มีแนวโน้มจะซื้อสินค้ามากที่สุด 

และช่วยให้กำหนด ทำความเข้าใจ ถึงลูกค้าในอุดมคติของแบรนด์มากขึ้น และสามารถระบุตลาดที่เหมาะสมกับสินค้าและบริการได้ 

ประเภทของการแบ่งส่วนตลาด

การแบ่งส่วนตลาดและการกำหนดกลุ่มเป้าหมายต้องทำความเข้าใจว่า สินค้าและบริการตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ ซึ่งอาจจะระบุได้จากการทำวิจัยหรือข้อมูลจากแบบสอบถามที่ได้รับ

การแบ่งส่วนทางภูมิศาสตร์ (Geographic Segmentation)

แม้ว่าโดยทั่วไปเป็นกลุ่มประชากรที่ง่ายที่สุด เพราะสามารถสร้างกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันตามขอบเขตภูมิศาสตร์ เนื่องจากผู้ที่มีแนวโน้มเป็นลูกค้า จะมีความต้องการ ความชอบ และความสนใจ ที่แตกต่างกันออกไปตามภูมิศาสตร์ ทั้งสภาพอากาศ ท้องถิ่น และทำให้สามารถกำหนดตำแหน่งการทำกลยุทธ์และแคมเปญการตลาดต่างๆเพื่อต่อยอดธุรกิจได้

การแบ่งส่วนทางประชากร (Demographic Segmentation)

ใช้การจัดเรียงตามข้อมูลทั่วไปของกลุ่มเป้าหมาย เช่น เพศ อายุ การศึกษา รายได้ อาชีพ ขนาดครอบครัว เชื้อชาติ สัญชาติ และอื่นๆ การแบ่งส่วนตลาดรูปแบบนี้จะทำให้เข้าถึงวิธีการซื้อ จำนวนการซื้อ และจำนวนเงินที่ยินดีจะจ่ายต่อสินค้าและผลิตภัณฑ์

การแบ่งส่วนทางองค์กร (Firmographic Segmentation)

มีลักษณะคล้ายกับการแบ่งส่วนทางประชากร แต่แตกต่างตรงที่การแบ่งส่วนประชากรจะวิเคราะห์จากข้อมูลบุคคล แต่การแบ่งส่วนทางองค์กรจะวิเคราะห์ข้อมูลขององค์กร เช่น ขนาดองค์กร จำนวนพนักงาน อุตสาหกรรม เป็นต้น วิธีนี้เหมาะสมกับสินค้าและบริการที่เน้น B2B เป็นส่วนใหญ่

การแบ่งส่วนทางพฤติกรรม (Behavioural Segmentation)

ใช้การแบ่งตามพฤติกรรมและกระบวนการตัดสินใจของกลุ่มเป้าหมาย เช่น สินค้าที่ซื้อเพื่อบริโภค ไลฟ์สไตล์ การใช้งาน ช่องทางการซื้อ เป็นต้น การแบ่งส่วนทางพฤติกรรมจะช่วยให้นักการตลาดสามารถพัฒนากลยุทธ์ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น

การแบ่งส่วนทางจิตวิทยา (Psychographic Segmentation)

การคำนึงถึงจิตวิทยาของผู้บริโภคตามไลฟ์สไตล์ บุคลิกภาพ แรงจูงใจ ค่านิยม ความคิด และความสนใจ จะช่วยให้สามารถจัดกลุ่มคนที่มีความสนใจหรือมีพฤติกรรมมีส่วนร่วมกับสินค้าได้มากที่สุด

ขั้นตอนการแบ่งส่วนตลาด

1. ทำการวิจัยเบื้องต้น
ทำความรู้จักกับกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการตั้งคำถามปลายเปิด หรือทำแบบสอบถามเพื่อทำการวิจัย
อ่าน ขั้นตอนการวิจัยทางการตลาด (Market Research) ฉบับจับมือทำ!

2. กำหนดวิธีแบ่งส่วนตลาด
เลือกจากประเภทการแบ่งส่วนตลาด โดยอาจจะเริ่มจากวิธีที่ง่ายที่สุดอย่างภูมิศาสตร์ และประชากรศาสตร์ เพื่อศึกษาหาวิธีที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายลักษณะที่กำหนด แล้วจึงเจาะลึกด้วยพฤติกรรม หรือจิตวิทยา

3. สร้างกลุ่มเป้าหมาย
วิเคราะห์สินค้าและบริการ ว่าสามารถตอบสนองความต้องของกลุ่มเป้าหมายนั้นได้จริงหรือไม่ และนำไปพัฒนาสินค้าและบริการ และกลยุทธ์ทางการตลาด

4. ทำการทดสอบ และทำซ้ำอีกครั้ง
ประเมินกลุ่มเป้าหมายเพื่อทำให้แน่ใจว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีประโยชน์ และยังไม่เปิดการเปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา และทำการวิเคราะห์ซ้ำๆเรื่อยๆเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้เสมอ

วิธีการวัดผลกลุ่มเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพ

สามารถวัดได้ หมายถึง ตัวแปรการแบ่งส่วนตลาดเกี่ยวข้องโดยตรงกับสินค้าและบริการ และสามารถคำนวณค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมสำหรับสินค้าและบริการหากเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น การแบ่งส่วนตลาดพบกลุ่มที่มีพฤติกรรมซื้อสินค้าเฉพาะเมื่อมีการลดราคา หรือโปรโมชั่น ดังนั้น จึงต้องตอบสนองกลุ่มเหล่านี้ด้วยงบประมาณสำหรับการทำโปรโมชั่น เป็นต้น

สามารถเข้าถึงได้ หมายถึง การทำความเข้าใจตลาด และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายนั้นจากพฤติกรรม และบุคลิก เพื่อระบุวิธีที่ดีที่สุดในการตอบสนองความต้องการ ตัวอย่างเช่น การแบ่งส่วนตลาดพบกลุ่มที่สนใจโฆษณาจากหนังสือพิมพ์ และวิทยุ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้จึงต้องทำแคมเปญโฆษณา และทุ่มงบประมาณไปที่ หนังสือพิมพ์ และวิทยุ เป็นต้น

สามารถคงอยู่ได้ หมายถึง ส่วนตลาดมีความสามารถในการซื้อสินค้าและบริการนั้นๆจริงๆ ตัวอย่างเช่น การแบ่งส่วนตลาดพบกลุ่มที่กลุ่มที่เป็นพนักงานเงินเดือ 15,000 – 25,000 บาท หักค่าใช้จ่ายต่างๆ สามารถซื้อของใช้ฟุ่มเฟื่อยได้เดือนละ 3,000 บาท เป็นต้น

สามารถนำไปใช้ได้ หมายถึง การแบ่งส่วนตลาดสามารถตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันเมื่อทำการซื้อขายในตลาด กับกลุ่มเป้าหมายที่มากกว่า 1 กลุ่ม ตัวอย่างเช่น การแบ่งส่วนตลาดพบกลุ่มที่รักสัตว์ ส่วนอีกกลุ่มรักสิ่งแวดล้อม ดังนั้น กลุ่มนี้อาจสามารถเสนอขายสินค้าและบริการชิ้นเดียวกันได้ เป็นต้น

สรุป

การแบ่งส่วนตลาดไม่ได้มีวิธีที่แน่นอน การทำตามขั้นตอนเหล่านี้ จะทำให้ทราบว่า การแบ่งส่วนตลาดตามประเภทต่างๆ จะทำให้ตอบสนองความต้องการของผู้ที่ต้องการสินค้าและบริการของเราได้อย่างแท้จริง และควรจะต้องทบทวน และวิเคราะห์ตามข้อมูลใหม่ๆเสมอ เพื่อให้เข้ากับความต้องการของผู้บริโถค และตอบโจทย์เป้าหมายขององค์กรด้วย

คุณเชื่อมั้ยครับว่ามันมีคำถามสำคัญอยู่คำถามนึง ที่ผมมักจะถามเจ้าของธุรกิจหลายคนที่มาเรียนกับผมอยู่บ่อยๆ ซึ่งคำถามนั้นก็คือ

“สินค้าหรือบริการของคุณทำออกมาเพื่อขายใคร?”

เวลาถูกถาม ผู้ประกอบการหลายท่านมักจะอ้ำๆ อึ้งๆ ตอบออกมาได้อย่างไม่ชัดเจน หรือไม่ก็ตอบว่าอยากขายทุกคนที่น่าจะเป็นลูกค้านั่นแหละ

บอกก่อนเลยนะครับว่าใครก็ตามที่ทำธุรกิจ แล้วยังตอบคำถามนี้ไม่ได้ หรือ ตอบได้ไม่ชัดเจน

“ผมว่าธุรกิจคุณกำลังเจอปัญหาระดับคอขาดบาดตายแล้วนะครับ”

ซึ่งวันนี้เรามาคุยกันครับว่า เรื่องนี้มันกลายมาเป็นความเป็นความตายของธุรกิจได้ยังไง?

"Segmentation" คืออะไร?

Segmentation เป็นหนึ่งในขั้นตอนของกลยุทธ์ STP ซึ่งผมคิดว่าหลายท่านน่าจะเคยได้ยินผ่านหูผ่านตากันมาบ้าง ซึ่งมันประกอบไปด้วย

Segmentation – การแบ่งส่วนตลาด
Targeting – การเลือกตลาดเป้าหมาย
Positioning – การวางตำแหน่งทางการตลาด

ทุกท่านอาจจะพอมีกลุ่มเป้าหมาย (target) ในใจกันบ้างแล้ว แต่ก่อนที่คุณจะได้มาซึ่งกลุ่มเป้าหมายนั้น คุณได้ข้ามขั้นตอนแรก ซึ่งเรียกว่า segmentation ไปรึเปล่า?

การแบ่งส่วนตลาด เป็นการจำแนกความต้องการของตลาดออกเป็นกลุ่มย่อยๆ

โดยพยายามรวมคนที่มีความต้องการที่คล้ายคลึงกันไว้ในกลุ่มเดียวกัน และแยกผู้ที่มีความต้องการแตกต่างกันเอาไว้คนละกลุ่ม

แล้ว "Segmentation" มันสำคัญยังไง?

การที่คุณอยากขายสินค้าของคุณให้กับทุกคนที่ใช้ของๆคุณได้ มันไม่ใช่เรื่องผิดนะครับ

แต่คำถามคือ คุณมีงบประมาณและทรัพยากรมากพอ ที่จะทำการตลาดให้เข้าถึงคนทุกคนรึเปล่า??

แน่นอนว่าคำตอบคือ “ไม่” และเนื่องด้วยงบประมาณของธุรกิจมีอยู่อย่างจำกัด เราจึงต้องพยายามแบ่งลูกค้าในตลาดออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อที่จะ “เลือก” ใช้งบประมาณที่เรามีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุดกับกลุ่มลูกค้าที่เราคิดว่ามีศักยภาพเพียงพอที่จะสร้างรายได้ให้กับธุรกิจ

เช่น ถ้าคุณใช้งบของคุณ ยิงโฆษณาไปยังคนที่มีแนวโน้มสนใจสินค้าของคุณแน่ๆ มันย่อมดีกว่า ยิงหว่านไปแบบไม่มีจุดหมาย ซึ่งสุดท้ายอาจทำให้งบโฆษณาหายวับไปแบบไม่ได้ผลลัพธ์อะไรเลย

อีกเรื่องที่ทำให้การแบ่งส่วนตลาดยิ่งทวีความสำคัญคือ
ผู้บริโภคมีความต้องการที่หลากหลายมาก ยิ่งในยุคดิจิทัลแบบนี้ แนวโน้มความต้องการที่เป็นปัจเจกแยกย่อยจำเพาะบุคคลก็ยิ่งชัดเจนขึ้นทุกที

สมมติคุณตอบผมว่า กลุ่มเป้าหมายของคุณ คือ “คุณแม่”

คุณไม่สามารถทึกทักเอาได้แล้วว่าคุณแม่ทุกคน มีความต้องการเหมือนกัน เพราะคำว่า “คุณแม่” ยังสามารถแบ่งย่อย เป็นกลุ่มเล็กๆได้อีกจำนวนมาก เช่น

– คุณแม่มือใหม่ที่มีลูกเป็นคนแรก
– คุณแม่มือเก๋าที่มีลูกมาแล้วหลายคน
– คุณแม่ที่ต้องทำงานประจำ ไม่มีเวลาดูแลลูก
– คุณแม่ที่มีลูกตอนอายุมากแล้ว
– คุณแม่ที่มีลูกตั้งแต่ยังสาว
– คุณแม่ที่มีลูกในวัยที่ยังเป็นทารก
– คุณแม่ที่มีลูกเล็กๆ อายุ 2-5 ขวบ ฯลฯ

คุณคิดว่า คุณแม่แต่ละกลุ่มที่ผมกล่าวมาข้างต้น มีปัญหาเหมือนกันมั้ยครับ?

คำตอบคือ ความต้องการหรือปัญหาลึกๆ ของพวกเค้าย่อมมีความแตกต่างกันครับ

ซึ่งธุรกิจไหนที่สามารถมองเห็นความแตกต่างเหล่านี้ และสามารถจัดกลุ่มคนเหล่านี้เข้าด้วยกัน รวมไปจนถึงการสื่อสารไปยัง pain point ของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด ย่อมสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้ธุรกิจได้อย่างแน่นอน

"ซึ่งความหายนะมันเกิดขึ้นแถวๆนี้ล่ะครับ"

การที่เราไม่รู้จักแบ่งกลุ่มลูกค้าออกมาเป็นส่วนย่อย นอกจากเราจะใช้งบไปแบบหว่านแหจนสูญเปล่าแล้ว

มันสร้างผลกระทบต่อแบบเป็นลูกโซ่ ไปยังเรื่องของการสื่อสารการตลาด (การทำคอนเทนต์) โดยตรง

ซึ่งสิ่งที่จะเห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ เราจะทำการตลาดโดยสื่อสาร message เดียวกันออกไปให้กับทุกคนที่เราคิดว่าเค้าสามารถจะเป็นลูกค้าได้

แล้วพอผลลัพธ์มันไม่ดีอย่างที่คาด ก็โทษดินโทษฟ้ากันยกใหญ่ ทั้งที่ปัญหามันอยู่ที่จุดเริ่มต้นเลย คือการที่เราไม่เข้าใจว่าคนแต่ละกลุ่มมีความต้องการแตกต่างกันจริงๆ

ลองคิดตามผมดูนะครับ…

สมมุติคุณจะขายสินค้าเกี่ยวกับเด็กให้กับกลุ่มลูกค้าที่เป็น “คุณแม่”
ระหว่างคุณแม่ที่ทำงานประจำ กับ คุณแม่ที่เลี้ยงลูกแบบเต็มเวลา
ถ้าเราใช้ message ในการสื่อสารแบบเดียวกัน “มันจะเวิร์คมั้ย”

และนี่ล่ะครับ เป็นเหตุผลว่าทำไม คุณถึงควรเข้าใจเรื่อง segmentation ก่อนที่จะไปเลือกกลุ่มเป้าหมาย

ซึ่งถ้าเรื่องของ segmentation คุณยังไม่สามารถแบ่งได้
เรื่องของ targeting (การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย) ก็ไม่ต้องสืบเลยครับ #มันออกป่าแน่นอน
และถ้าตราบใดที่ segmentation และ targeting มันยังไม่มีความชัดเจน
คุณลืมเรื่องของการวาง position ในการทำการตลาดของธุรกิจไปได้เลยครับ #เพราะคุณจะทำมันได้ไม่ดีแน่ๆ

แล้วเราจะใช้เกณฑ์อะไรในการแบ่งส่วนตลาด?

ปัจจุบันที่ความต้องการของผู้บริโภคมีความละเอียด และเป็นปัจเจกมากขึ้น เกณฑ์ในการแบ่งส่วนตลาดก็ยิ่งมีความซับซ้อนและหลากหลายตามไปด้วย โดยเกณฑ์ที่มักนิยมใช้กัน ได้แก่

Demographic (ประชากรศาสตร์)

– แบ่งด้วย อายุ เพศ การศึกษา รายได้ สถานภาพ

Psychographic (จิตวิทยา)

– แบ่งด้วย Lifestyles ความชื่นชอบ ค่านิยม บุคลิกภาพ ชนชั้นทางสังคม เป็นต้น

Geographic (ภูมิศาสตร์)

– แบ่งด้วย ภูมิภาค จังหวัด สภาพอากาศ ในเมือง-นอกเมือง เป็นต้น

Behavioral (พฤติกรรมศาสตร์)

– แบ่งด้วย พฤติกรรมผู้บริโภค เช่น
อัตราการใช้ (ใช้มาก-ปานกลาง-น้อย)
สถานะของผู้ใช้ (ไม่เคยใช้-ใช้ครั้งแรก-ใช้บ่อย)
ผลประโยชน์ที่มองหา (เน้นประหยัด-เน้นคุณภาพ-เน้นความพึงพอใจ)
โอกาสในการใช้/ซื้อ (ปกติ-พิเศษ)
ช่วงเวลาที่ซื้อ ขนาดในการซื้อ เป็นต้น

โดยเราจะ segmentation ด้วยเกณฑ์เดียวหรือหลายเกณฑ์ร่วมกันก็ได้ ซึ่งการแบ่งส่วนตลาดที่ดี ต้องไม่กว้างจนเกินไป และไม่แคบจนเกินที่เราจะเข้าไปทำตลาดได้ครับ

ถ้าจะเริ่มต้นทำ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?

การแบ่งส่วนตลาดค่อนข้างเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและมีความจำเพาะในแต่ละธุรกิจ
โดยเบื้องต้นผมจะแสดงตัวอย่างที่เข้าใจง่าย ให้ทุกท่านสามารถลองกลับไปเริ่มต้นปรับใช้กับธุรกิจของตัวเองนะครับ

สมมติคุณต้องการจะจีบสาวซักคน
เบื้องต้นตลาดของคุณคือ “ผู้หญิง”
คราวนี้ เรามาลองเริ่มแบ่งส่วนตลาดกันครับ

ขั้นแรก : ลองแบ่งส่วนตลาดด้วยเกณฑ์ 2-3 เกณฑ์ ที่กล่าวในข้างต้น

สมมติผมเลือกใช้ อายุ (Demographic) และ Lifestyle (Psychographic) ในการแบ่ง เช่น
อายุ : ผู้หญิง 18-22 ปี / 23-27 ปี
Lifestyle : ลูกคุณหนู / sport girl / ชอบเรียนหรือทำงาน / ชอบท่องเที่ยว

เราก็จะได้ segment ออกมาหลายกลุ่ม ได้แก่

– 18-22 ปี ลูกคุณหนู
– 18-22 ปี Sport Girl
– 18-22 ปี ชอบเรียนหรือทำงาน
– 18-22 ปี ชอบท่องเที่ยว

– 23-27 ปี ลูกคุณหนู
– 23-27 ปี Sport Girl
– 23-27 ปี ชอบเรียนหรือทำงาน
– 23-27 ปี ชอบท่องเที่ยว

ขั้นที่สอง : พิจารณาดูว่าsegment ไหนที่ “น่าสนใจ”

คราวนี้คุณต้องลองพิจารณาดู segment ที่เราได้มาในขั้นที่ 1 นั้น ตลาดใหญ่พอมั้ยที่เราจะเข้าไปแย่งชิงส่วนแบ่ง? คุ้มมั้ยที่จะเสียเวลาและเงินลงทุน? คู่แข่งเยอะมากมั้ย?

และที่สำคัญ คือเรามี “ศักยภาพ” เพียงพอที่จะเข้าไปแข่งขันแล้วมีโอกาสจะประสบความสำเร็จรึเปล่า? โดยคุณต้องพิจารณาจากจุดแข็งของธุรกิจที่คุณมีร่วมด้วย

เช่น ถ้าคุณเป็นผู้ชายที่มี lifestyle ชอบท่องเที่ยว โอกาสที่คุณจะจีบสาวที่มีความชอบเหมือนกันติด ก็มีมากกว่า แล้วขนาดของกลุ่มสาวเหล่านี้ก็ใหญ่พอสมควร ให้คุณพอมีโอกาสจีบติดได้ ซึ่งนี่ก็อาจจะเป็นเหตุผลให้ segment เบื้องต้นที่คุณเลือกมาพิจารณามี 2 segment คือ

– 18-22 ปี ชอบท่องเที่ยว
– 23-27 ปี ชอบท่องเที่ยว

ขั้นที่สาม : ลองจัดทำรายละเอียดในเชิงลึกของแต่ละกลุ่มขึ้นมา (segment’s profile) เค้าเป็นใคร ชอบไม่ชอบอะไร มีปัญหาแบบไหน ชีวิตประจำวันเป็นแบบไหน มักอยู่ใน location ไหน ฯลฯ

 

ขั้นที่สี่ : เลือก target ที่มีโอกาสสร้างผลลัพธ์ที่ดีที่สุดกับเรา และมีความเป็นไปได้ที่เราจะแย่งชิงมาได้

ขั้นนี้จะข้ามมายังขั้นของ targeting แล้วครับ หลังจากคุณได้พิจารณารายละเอียดของแต่ละ segment คุณจะเริ่มเลือกได้แล้วว่า segment ไหนที่เหมาะกับคุณ

หรือถ้าคุณคิดว่า ทั้งสอง segment มีโอกาสทั้งคู่ รวมถึงคุณเองก็มีความสามารถที่จะแข่งขันได้ในทั้งสอง segment คุณก็สามารถเลือกทั้งคู่ได้เลยครับ

"แต่คุณต้องไม่ลืมหัวใจสำคัญที่ว่า"

การจีบสาวมหาลัยที่ชอบท่องเที่ยว (18-22 ปี)
กับ การจีบสาวออฟฟิศที่ชอบท่องเที่ยว (23-27 ปี)

คุณต้องใช้วิธีการจีบ การสื่อสาร การวางตัว ให้เหมาะสมกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มด้วยนะครับ ซึ่งตรงนี้มันก็จะข้ามไปที่เรื่องของ Positioning แล้ว

ทั้งนี้ ในทางทฤษฎีอาจมีขั้นตอนละเอียดกว่านี้ แต่เพื่อแสดงให้ทุกท่านเห็นถึงขั้นตอนคร่าวๆ ผมจึงขออธิบายไว้ใน scope เท่านี้ก่อนนะครับ

ซึ่งใครอ่านมาถึงตรงนี้ ผมคิดว่าคุณน่าจะเห็นนะครับว่าเรื่องทั้งหมดนี้มันเชื่อมโยงกันหมดเลย

หวังว่าทุกท่านคงจะพอเห็นภาพว่า การที่ธุรกิจรู้จักแบ่งส่วนตลาด ก่อนที่จะเลือกกลุ่มเป้าหมายนั้น มีประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างไรบ้าง และถ้าไม่ทำคุณจะเสียประโยชน์อย่างไร

การทำ segmentation ที่ดี จะช่วยให้คุณทำการตลาดได้แบบถูกคน ถูกทิศถูกทาง แสดงศักยภาพของธุรกิจได้อย่างเต็มที่ ใช้งบประมาณที่คุณมีได้อย่างคุ้มค่า และมีโอกาสเกิดผลลัพธ์ในแบบที่คุณคาดหวังเพิ่มมากขึ้น

หากใครยังไม่เคยลองแบ่งส่วนตลาดมาก่อนเลย ผมอยากให้ลองฝึกฝนทำกันดูนะครับ มันจะช่วยให้คุณมองเห็นภาพลูกค้าและแนวทางในการดำเนินธุรกิจคุณชัดขึ้น #อย่างแน่นอน

มีประโยชน์ฝากช่วยแชร์ด้วยนะครับ #MaxideaStudio

Share on facebook

Facebook

Share on twitter

Twitter

Share on email

Email

ประชาสัมพันธ์

สำหรับท่านใดที่อ่านบทความนี้แล้ว สนใจเรียนรู้เกี่ยวกับการทำโฆษณา Facebook Ads ต้องการพัฒนาความสามารถในการใช้โฆษณาเฟสบุคเพื่อเพิ่มยอดขาย และ สร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง ทางเรามีคลาสสอนทำโฆษณาเฟสบุ๊ค  “แบบกรุ๊ปขนาดเล็ก” เนื้อหาอัดแน่นตลอด 2 วันเต็ม

Demographic Segmentation คืออะไร

Demographic Segmentation คือ การแบ่งส่วนตลาดโดยจัดจำแนกข้อมูลประชากรศาสตร์โดยพื้นฐานทั่วไป ตัวอย่าง เช่น อายุ , เพศ , สถานภาพสมรส , ขนาดครอบครัว , อาชีพ , ระดับการศึกษา , รายได้ , เชื้อชาติ , สัญชาติ และศาสนา ซึ่งการแบ่งส่วนตลาดวิธีนี้สามารถจำกัดการเจาะจงกลุ่มลูกค้าได้อย่างครบถ้วน

Segmentation มีเกณฑ์อะไรบ้าง

เกณฑ์ในการแบ่งส่วนตลาด เกณฑ์ประชากรศาสตร์(demographic) เกณฑ์ภูมิศาสตร์(geographic) เกณฑ์จิตวิทยา (psychographic) เกณฑ์พฤติกรรมศาสตร์(behavior) เกณฑ์ด้านเทคโนโลยี (Technology Based)

Geographic มีอะไรบ้าง

ภูมิศาสตร์ได้ถูกจำแนกออกเป็น 2 แขนงหลัก ได้แก่ ภูมิกายภาพ (Physical Geography) และ ภูมิศาสตร์มนุษย์ (Human Geography) อย่างไรก็ตาม การศึกษาด้านภูมิศาสตร์มีความจำเป็นต้องอาศัยการสังเกต (Observation) การสำรวจ (Exploration) การวัด (Measurement) และนำเสนอข้อมูลพื้นที่ออกมา และสื่อที่นิยมที่สุดในการแสดงปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ...

Segmentation แบ่งยังไง

Segmentation คือการแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มต่างๆ ที่มีลักษณะเหมือนกันในแต่ละกลุ่ม เหตุผลหลักที่นักการตลาดทั้งหลายจะต้องทำการ Segmentation เพราะ เป็นส่วนหนึ่งของ STP หรือ Segmentation (แบ่งกลุ่มลูกค้า) > Targeting (เลือกกลุ่มเป้าหมาย) > Positioning (วางตำแหน่งของแบรนด์) เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าเราต้องเลือกกลุ่มเป้าหมายใด ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้