โครงการ แก่ปัญหาน้ำเน่าเสีย ร. 9

     “การใช้วิธีทางธรรมชาติแต่เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอในการบำบัดน้ำเสียให้ดีขึ้น จำเป็นต้องใช้เครื่องเติมอากาศลงไปในน้ำ โดยทำเป็นระบบสระเติมอากาศ (Aerated Lagoon)”

พระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

    “ บึงพระราม 9 ” จัดได้ว่าเป็นบึงขนาดใหญ่อยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ประมาณ 130 ไร่ และมีความยาวถึง 1,300 เมตร มีปัญหาภาวะมลพิษน้ำเน่าเสียอย่างรุนแรงเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากคลองลาดพร้าวเป็นคลองระบายน้ำหลักคลองหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ซึ่งรับน้ำเสียมาจากแหล่งชุมชนที่อยู่สองฝั่งคลอง ดังนั้นในปี 2533 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรมีพระราชดำริ ว่า “ การใช้วิธีทางธรรมชาติแต่เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอในการบำบัดน้ำเสียให้ดีขึ้น จำเป็นต้องใช้เครื่องเติมอากาศลงไปในน้ำ โดยทำเป็นระบบสระเติมอากาศ (Aerated Lagoon) ”

    พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชดำริ ในการแก้ไขปัญหาน้ำเสียในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการทางธรรมชาติผสมผสานกับการใช้เครื่องกลเติมอากาศโดยให้หน่วยงานกรมชลประทาน สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กรมที่ดิน รัฐบาลญี่ปุ่นและกรุงเทพมหานครร่วมมือกันดำเนินโครงการฯ จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2532

    นอกจากนี้ ยังพระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติม ให้ทดลองบำบัดน้ำเสียโดยวิธีการเติมอากาศในบึงพระราม 9 โดยในเบื้องต้นได้มีหลายหน่วยงานร่วมกันดำเนินงานประกอบด้วยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กรมชลประทานและกรุงเทพมหานคร สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้จัดหาที่ดินประมาณ 53 ไร่ อยู่ติดกับคลองลาดพร้าวฝั่งตะวันตกใกล้กับบริเวณที่คลองลาดพร้าวบรรจบกับคลองแสนแสบเป็นที่ก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียบึงพระราม 9 โดยกรมชลประทาน และกรุงเทพมหานคร ร่วมกันทำการสำรวจ และทำการออกแบบ และรัฐบาลญี่ปุ่นให้ความช่วยเหลือด้านการก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียบึงพระราม 9 จนแล้วเสร็จและส่งมอบให้สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2532 เพื่อดูแลและเดินระบบบำบัดน้ำเสียต่อไป

     โรงบำบัดน้ำเสียบึงพระราม 9 เป็นโรงบำบัดน้ำเสียแบบสระเติมอากาศ (Aerated Lagoon)โดยใช้ เครื่องเติมอากาศ แบบทุ่นลอย ขนาด 11 กิโลวัตต์ จำนวน 3 เครื่อง น้ำเสียจากคลองลาดพร้าว ถูกสูบเข้าบ่อเติมอากาศ (Aeration Pond ) และได้รับเพิ่มออกชิเจน โดยเครื่องเติมอากาศซึ่งทำงานคราวละเครื่อง (จากที่มีอยู่ 3 เครื่อง) ตลอด 24 ชั่วโมง สลับกันไปเป็นเวลาประมาณ 16 ชั่วโมง เพื่อให้เกิดการย่อยสลายสารอินทรีย์ที่ปนเปื้อนในน้ำเสียด้วยแบคทีเรีย จากนั้นจึงไหลถ่ายเทไปยังบ่อตกตะกอนซึ่งเป็นบ่อกึ่งไร้สารอากาศ ( Facultative Pond)และเก็บกักในบ่อนี้นานประมาณ 2 วันแล้วไหลเข้าสู่บ่อปรับสภาพ (Maturation Pond) ก่อนปล่อยลงสู่คลองลาดพร้าวในอัตราเฉลี่ยของการบำบัดได้ 28,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน  

การดำเนินงาน

    ในปี พ.ศ. 2535 สำนักการระบายน้ำได้จัดทำโครงการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียของโรงบำบัดน้ำเสียบึงพระราม 9 เพื่อให้สามารถรับสภาพความเน่าเสียของน้ำในคลองลาดพร้าวได้มากขึ้นเป็น 10 เท่า คือสามารถบำบัดได้ถึง 255,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน โดยการติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดสูบ 60 ลูกบาศก์เมตร/นาที เพิ่ม 3 เครื่อง และติดตั้งเครื่องเติมอากาศเพิ่มอีก 4 เครื่อง และเนื่อง จากโครงการก่อสร้างทางด่วนพิเศษสายรามอินทรา - อาจณรงค์ พาดผ่านบริเวณบ่อสูบน้ำและอาคาร สำนักงานโรงบำบัดน้ำเสียบึงพระราม 9 จึงต้องมีการสร้างบ่อสูบน้ำเสีย และอาคารสำนักงานใหม่ ซึ่งขณะนี้ก็ได้ทำการปรับปรุงเรียบร้อยแล้ว

    อีกทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้จัดทำระบบบำบัดน้ำเสียบึงพระราม 9 ตามระบบสระเติมอากาศ (Aerated Lagoon) ประกอบด้วย บ่อบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ (บ่อติดตั้งเครื่องจักรกลเติมอากาศ) และบ่อบำบัดน้ำเสียแบบกึ่งไร้อากาศ (บ่อตกตะกอนและกำจัดตะกอน)ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะใช้เวลาประมาณ 20 ชั่วโมง

    ปัจจุบัน นอกจากโครงการบึงพระราม 9 จะใช้ประโยชน์ในด้านการบำบัดน้ำเสียจาก คลองลาดพร้าวตามพระราชดำริแล้ว บริเวณพื้นที่โดยรอบบึงยังเป็นที่อยู่อาศัย ของชุมชนประมาณ 500 หลังคาเรือน ซึ่งได้มีส่วนร่วมใช้ประโยชน์จากบึงน้ำแห่งนี้ในชีวิตประวัน ทั้งในด้านการใช้น้ำจากบึงในช่วงปลายซึ่งผ่านกระบวนการบำบัด จนมีสภาพที่ใสสะอาด ปราศจากความสกปรกเน่าเหม็น และไม่เป็นที่น่ารังเกียจแต่ประการใด เพื่อใช้สำหรับการชำระล้างทำความสะอาด และยังใช้เป็นแหล่งในการจับสัตว์น้ำอาทิ เช่น ปลา กุ้ง ฯลฯ ที่มีอยู่ในบึงตามธรรมชาติอีกด้วย

    ในปี พ.ศ. 2537 สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินการพัฒนาสภาพสิ่งแวดล้อมของบึงพระราม 9 ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย โดยการจัดสร้างถนนแอสฟัลต์ผสมร้อนพร้อมไหล่ทางลาดยาง และติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง โดยรอบบริเวณบึงทั้งหมด เพื่อทำให้ชุมชนบริเวณโดยรอบบึงพระราม 9 ซึ่งเป็น พื้นที่ในโครงการพระราชดำรินี้ ได้รับการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้มีความสวยงาม และสะดวกปลอดภัย สำหรับชุมชนผู้อยู่อาศัย และสำหรับผู้ที่จะเข้าใช้ประโยชน์จาก บึงพระราม 9 ในอนาคต

ประโยชน์ที่ได้รับ

    บำบัดน้ำเสียให้มีคุณภาพดีขึ้น จากเดิมค่า BOD ประมาณ 19 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็น ค่า BOD ประมาณ 9 มิลลิกรัมต่อลิตร อันจะทำให้สิ่งแวดล้อมและชุมชนรอบบึงพระราม 9 มีคุณภาพที่ดีขึ้น

อ้างอิง :

  • สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
  • TNN24 ออกอากาศทางทีวีช่อง 16

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้