โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน วิธีการ

70 ปี แห่งการครองราชสมบัติของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหิตลาธิเบศรรามาธิบดีจักรีนฤบดินทรสยามมินทราธิราชบรมนาถบพิตร ทรงมีโครงการพระราชดำริกว่า 4,000 โครงการ เพื่อพสกนิกรมาตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ อันนำมาซึ่งประโยชน์สุขของปวงชนชาวไทยและแผ่นดินไทย ดังพระราชปณิธานปฐมบรมราชโองการ

“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

โครงการกว่า 4,000 โครงการ ที่ทรงทำเพื่อประชาชนมีหลากหลายด้านและหนึ่งในด้านต่างๆ นั้น คือ โครงการพระราชดำริทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญทางด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน ดังมีพระราชดำรัสว่า

“…ถ้าคนเรามีสุขภาพเสื่อมโทรม ก็จะไม่สามารถพัฒนาชาติได้ เพราะทรัพยากรที่สำคัญของประเทศชาติ ก็คือพลเมืองนั่นเอง…” 

1.โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน

โครงการนี้เกิดขึ้นเมื่อพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎรในโครงการชาวเขา ได้ทอดพระเนตรเห็นว่ามีราษฏรที่มารอรับเสด็จนั้นเจ็บป่วยเป็นอันมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แพทย์ประจำพระองค์ที่ตามเสด็จฯ ตรวจและรักษาคนไข้ ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2512 เป็นต้นมา จึงเป็นที่มาของโครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน ซึ่งนอกจากจะทรงให้คณะแพทย์ตรวจรักษาราษฏรแล้ว ยังทรงให้มีการอบรมหมอหมู่บ้าน ซึ่งจะช่วยให้ราษฎรมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน รู้จักวิธีรักษาพยาบาลแบบปัจจุบัน และรู้จักวิธีติดต่อกับหน่วยราชการ ในกรณีที่เกินขีดความสามารถด้วยตนเองได้ อันเป็นการช่วยแก้ปัญหาในระยะยาวอีกด้วย ซึ่งโครงการหน่วยแพทย์พระราชทานนี้ เป็นการช่วยแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของราษฎรที่อยู่ในท้องถิ่นห่างไกล ซึ่งส่วนใหญ่จะมีฐานะยากจน และขาดความรู้ในการดูแลรักษาตนเอง ทำให้ราษฎรมีโอกาสได้รับการรักษาอย่างถูกต้องโดยไม่ต้องเสียทุนทรัพย์ใดๆ

2.หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่พระราชทาน

ในปี พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชปรารภว่า

“เวลาพระองค์มีปัญหาเกี่ยวกับฟันก็มีทันตแพทย์ดูแลรักษาแล้วเวลาราษฎรที่อยู่ห่างไกล จะมีทันตแพทย์ช่วยรักษาหรือเปล่า”

ต่อมาทรงทราบว่าทันตแพทย์นั้นมีน้อยและมีอยู่ตามโรงพยาบาลประจำจังหวัดเท่านั้น บางจังหวัดก็ไม่มี พระองค์จึงทรงรับสั่งว่า

“การที่จะให้ราษฎรที่ยากจนที่มีปัญหาเรื่องฟัน หยุดการทำนาทำไร่ เดินทางไปหาแพทย์นั้น เป็นสิ่งที่ยากยิ่ง ในทางตรงกันข้าม หากเป็นการให้บริการเคลื่อนที่ไปสู่ประชาชน ก็จะเป็นการแก้ปัญหาได้ทางหนึ่ง”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสแก่ ทันตแพทย์ สี สิริสิงห์ ทันตแพทย์ประจำพระองค์ว่า

“ฉันต้องการให้หมอช่วยไปดูแลบำบัดทุกข์ให้แก่นักเรียนและประชาชน ที่อยู่ในท้องถิ่นกันดารห่างไกลหมอ และจะออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมดตามความจำเป็น โดยให้จัดหน่วยเคลื่อนที่ไปโดยรถยนต์และตระเวนไปตามถนนหนทาง ตามหมู่บ้าน ที่อยู่ห่างไกล ชนบท”

หน่วยทันตกรรมพระราชทานจึงถือก่อกำเนิดขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ จัดซื้อรถยนต์ พร้อมอุปกรณ์และเครื่องมือทำฟัน มีทันตแพทย์อาสาออกปฏิบัติงานโดยเริ่มครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2512 โดยมี ทันตแพทย์ สี สิริสิงห์ เป็นหัวหน้าทีม เพื่อส่งทันตแพทย์อาสาสมัครออกช่วยเหลือ บำบัดโรคเกี่ยวกับฟัน ตลอดจนสอนการรักษาอนามัยของปากและฟันแก่เด็ก นักเรียนและประชาชน ที่อยู่ในท้องที่ทุรกันดาร โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ และได้รับความร่วมมือจากทันตแพทย์โรงพยาบาลต่างๆ ในการออกปฏิบัติการภาคสนาม

3.โครงการศัลยแพทย์อาสาราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย

เป็นโครงการที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2518 หลังจากที่เปิดโครงการแพทย์พิเศษตามพระราชประสงค์ใน พ.ศ. 2517 แพทย์ที่อาสาสมัครซึ่งเป็นแพทย์อาวุโสและมีประสบการณ์มาก เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็น ที่จะต้องมีศัลยแพทย์อาสาไปช่วยปฏิบัติงาน ณ โรงพยาบาลประจำจังหวัดสกลนคร ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จแปรพระราชฐาน ประทับที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จึงได้มีการศึกษาหาข้อมูล และความต้องการของโรงพยาบาลและหน่วยงานต่างๆ ในด้านศัลยกรรม และรวบรวมจัดทำทำเนียบศัลยแพทย์อาสา แล้วก่อตั้งวิทยาลัยศัลยแพทย์ขึ้น ภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับวิทยาลัยศัลยแพทย์ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ และเปลี่ยนชื่อเป็น ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย ในเวลาต่อมา

4.โครงการแพทย์ หู คอ จมูก และโรคภูมิแพ้พระราชทาน

เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2522 เนื่องจากมีพสกนิกรเป็นจำนวนมากที่เจ็บป่วยด้วยโรคหู คอ จมูก และโรคภูมิแพ้ ซึ่งจำเป็นต้องรับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาเหล่านี้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดหน่วยแพทย์อาสาสมัครในโรคดังกล่าว ผลักดันออกไปปฏิบัติหน้าที่ประจำโรงพยาบาลประจำจังหวัด ที่เสด็จแปรพระราชฐาน โดยอาศัยแพทย์หู คอ จมูกอาสาสมัครจาก โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลประจำจังหวัดนครราชสีมา และโรงพยาบาลประจำจังหวัดนครพนม ผลัดเปลี่ยนกันมาปฏิบัติราชการชุดละ 2 สัปดาห์ เริ่มที่จังหวัดนราธิวาสก่อน ต่อมาจึงขยายการปฏิบัติงานไปที่จังหวัดสกนนครและที่โรงพยาบาลค่ายกาวิละ จังหวัดเชียงใหม่

พระมหากรุณาธิคุณทางด้านการแพทย์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าพระองค์ทรงนำพาพสกนิกรไปสู่ความมีสุขภาพที่ดี และทรงไม่ทอดทิ้งพสกนิกร

“…ฉันต้องการให้หมอช่วยไปดูแล บำบัดทุกข์ให้แก่เด็กนักเรียนและประชาชน ที่อยู่ในท้องถิ่นทุรกันดารห่างไกลหมอ และจะออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดตามความจำเป็น โดยให้จัดหน่วยเคลื่อนที่ไปบนรถยนต์ และตระเวนไปตามถนนหนทาง ตามหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลชนบท…”

นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาแพทย์ศาสตร์ตอนหนึ่งว่า

“…จึงใคร่ขอร้องให้ทุกๆ คนตั้งใจ และพยายามปฏิบัติหน้าที่ให้ได้ผลสมบูรณ์จริงๆ อย่าปล่อยให้กำลังของชาติต้องเสื่อมถอยลง เพราะประชาชนเสียสุขภาพอนามัย…”

นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นต่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่าอย่างหาที่สุดไม่ได้ ในพระเมตตาของพระองค์ ในความตั้งพระทัยมั่นในการขจัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่พสกนิกร อีกทั้งเป็นการสืบทอดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์ไทย และสมเด็จพระบรมราชชนนี พระมารดาของการแพทย์ชนบท ที่ทรงมีหน่วยแพทย์ พอสว. เพื่อช่วยเหลือพสกนิกรให้ท้องถิ่นทุรกันดารด้วยเช่นกัน

โครงการหน่วยแพทย์พระราชทานทำอย่างไร

การปฏิบัติงาน.
ลงทะเบียน-ซักประวัติ.
พบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษา.
พบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน.
รับยา.
ซักประวัติในกรณีแพทย์เห็นควรส่งต่อเพื่อการรักษา.
สรุปผลการตรวจรักษาและถวายรายงาน.
ผู้ป่วยที่ขอพระราชทานเข้าเป็นคนไข้ในพระราชานุเคราะห์เข้าเฝ้าฯ.

โครงการหน่วยแพทย์พระราชทานทำเพื่ออะไร

โครงการแพทย์หลวงพระราชทาน เริ่มเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ เพื่อ ตรวจรักษาราษฎรในท้องถิ่นทุรกันดาร โดยไม่คิดมูลค่า และถ้าจำเป็นก็จัดส่งไปยังโรงพยาบาลในจังหวัดต่างๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จแปรพระราชฐานประทับแรม และในท้องถิ่น ต่างๆ ที่ห่างไกลตัวเมืองมาก ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดเจ้าหน้าที่แพทย์ พยาบาล เครื่องมือ ...

โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน แก้ปัญหาอะไร

โครงการดังกล่าวประกอบด้วยการบำบัดรักษาจากคณะแพทย์พระราชทาน และอบรมหมอหมู่บ้าน เป็นการช่วยแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของราษฎรที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและมีอุปสรรคที่ระบบปกติยากจะดูแลได้ทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ราษฎรส่วนใหญ่มีฐานะยากจนและขาดความรู้ในการดูแลรักษาตนเอง โครงการแพทย์หลวงเคลื่อนที่พระราชทาน

โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน ที่ไหน

แพทย์พระราชทานดังกล่าว จะจัดชุดทำงานตามสถานที่ต่าง ๆ ดังนี้ ๑. โรงพยาบาลประจำจังหวัดที่พระราชนิเวศน์ตั้งอยู่ ได้แก่ โรงพยาบาลสกลนคร โรงพยาบาลนราธิวาส และโรงพยาบาลค่ายกาวิละ จังหวัดทหารบกเชียงใหม่ ๒. บริเวณที่ตรวจโรคหน้าภูพานราชนิเวศน์ และทักษิณราชนิเวศน์ ๓. ตามเสด็จพระราชดำเนินไปรักษาพยาบาลยังหมู่บ้านต่าง ๆ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้