การผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ประโยชน์

ฮอร์โมน อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากตับอ่อนเพื่อใช้ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไป โดยอินซูลินทำหน้าที่ให้เซลล์ต่าง ๆ ดึงน้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงาน หากตับอ่อนผลิตอินซูลินน้อยกว่าความต้องการของร่างกาย จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นและนำไปสู่การเป็นโรคเบาหวานได้ รวมถึงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ของโรคเบาหวานด้วย ทั้งนี้ การฉีดอินซูลินทดแทนเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานไม่ให้สูงเกินไป โดยมักฉีดที่หน้าท้อง สะโพก ด้วยไซริงค์ ปากกาฉีดยา หรืออินซูลินปั๊ม (Insulin Pump)

ฮอร์โมน อินซูลิน คืออะไร

อินซูลิน คือ ฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ผลิตจากตับอ่อน มีหน้าที่หลักในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยอินซูลินจะกระตุ้นให้เซลล์ต่าง ๆ ดึงน้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์เพื่อเผาผลาญเปลี่ยนเป็นพลังงาน รวมถึงนำน้ำตาลส่วนเกินไปสะสมไว้ที่ตับในรูปแบบของไกลโคเจน (Glycogen) เพื่อเป็นเเหล่งพลังงานสำรอง ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานที่ตับอ่อนมีความผิดปกติในการผลิตอินซูลิน จึงมีน้ำตาลในเลือดสูงและพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานได้ฮอร์โมน

หากตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ลดลง หรือน้อยกว่าความต้องการของร่างกาย การจัดการระดับน้ำตาลในเลือดอาจบกพร่อง และส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนเมื่อมีค่าตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป จะเรียกได้ว่า ถึงเกณฑ์ของโรคเบาหวาน

ทั้งนี้ หากเป็นโรคเบาหวานแล้วเเต่ไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปลอดภัย จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของกภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานขึ้นตา ระบบปลายประสาทเสื่อม หลอดเลือดตีบหรืออุดตัน แผลติดเชื้อเรื้อรัง

ฮอร์โมน อินซูลินกับการรักษาโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเนื่องจากตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ลดลง วิธีหนึ่งที่ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง หรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงจนเกินไป คือ การฉีดฮอร์โมน อินซูลิน ทดแทนเข้าสู่ร่างกาย

โดยทั่วไปเเล้ว ตำเเหน่งของร่างกายที่เเนะนำให้ฉีดฮอร์โมนอินซูลิน คือ ท้องแขนส่วนบน หน้าท้อง สะโพก หรือก้น โดยอาจเลือกใช้ได้ทั้งไซริงค์ ปากกาฉีดอินซูลิน หรืออินซูลินปั๊ม

ฮอร์โมน อินซูลิน ชนิดต่าง ๆ

ฮอร์โมน อินซูลินที่ใช้ฉีดในผู้ป่วยเบาหวานมีหลายชนิด โดยจำแนกตามคุณสมบัติความเร็วในการออกฤทธิ์ และระยะเวลาออกฤทธิ์ อาจแบ่งได้ดังนี้

  • อินซูลินชนิดออกฤทธิ์เร็ว (Rapid-acting Insulin) เริ่มออกฤทธิ์ภายในไม่กี่นาที หลังจากฉีด และออกฤทธิ์นาน 3-5 ชั่วโมง ควรฉีดยาก่อนมื้ออาหาร 5-15 นาที มักใช้ร่วมกับอินซูลินที่ออกฤทธิ์นาน
  • อินซูลินชนิดออกฤทธิ์สั้นหรือปกติ (Regular or Short-acting Insulin) ออกฤทธิ์เต็มที่หลังฉีดประมาณ 30 นาที และออกฤทธิ์นาน 5-8 ชั่วโมง ควรฉีดยาก่อนมื้ออาหาร 30 นาที
  • อินซูลินชนิดออกฤทธิ์ปานกลาง (Intermediate-acting Insulin) ออกฤทธิ์ภายใน 2-4 ชั่วโมงหลังฉีด และออกฤทธิ์นาน 10-18 ชั่วโมง อาจใช้วันละ 1-2 ครั้ง ขึ้นกับผู้ป่วยเเต่ละราย เเละมักใช้ร่วมกับอินซูลินที่ออกฤทธิ์สั้น
  • อินซูลินชนิดออกฤทธิ์นาน (Long-acting Insulin) เริ่มออกฤทธิ์ภายใน 1-2 ชั่วโมงหลังฉีด และออกฤทธิ์ต่อเนื่องยาวนาน 24 ชั่วโมง จึงใช้วันละครั้ง มักใช้ร่วมกับอินซูลินที่ออกฤทธิ์เร็วหรือสั้น
  • อินซูลินแบบผสม (Premixed Insulin) เป็นอินซูลินที่ผสมระหว่างอินซูลิน 2 ชนิด โดยส่วนมากเเล้วจะเป็นการผสมระหว่างอินซูลินออกฤทธิ์เร็วหรือสั้นกับอินซูลินออกฤทธิ์ปานกลางเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยจะฉีดวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารมื้อเช้าเเละเย็น ซึ่งจะสามารถควบคุมระดับน้ำตาลที่เพิ่มสูงขึ้นหลังรับประทานอาหารในเเต่ละมื้อ เเละควบคุมระดับน้ำตาลโดยรวมของร่างกายได้

ฮอร์โมน อินซูลิน ส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

เมื่อฉีดฮอร์โมน อินซูลิน อาจเกิดผลข้างเคียงได้ดังนี้

  • รู้สึกคัน หรือมีรอยแดง รอยช้ำบริเวณผิวหนังที่ฉีดฮอร์โมน อินซูลิน
  • มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น
  • ผิวหนังบริเวณที่ฉีดหนาตัวขึ้นเป็นไต ซึ่งอาจพบได้หากฉีดยาที่ตำเเหน่งเดิมซ้ำ ๆ
  • อาการแพ้อินซูลิน อาจมีผื่นขึ้น คันตามร่างกาย หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว

นอกจากนี้ ฮอร์โมน อินซูลินยังมีฤทธิ์ทำให้โพแทสเซียมที่อยู่ในกระเเสเลือดเข้าสู่เซลล์งมากขึ้น จึงอาจทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำได้ (Hypokalemia) ได้ โดยอาจมีอาการเป็นตะคริว กล้ามเนื้ออ่อนแรง ใจสั่น หัวใจเต้นผิดปกติ เเต่อย่างไรก็ตาม ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำมักพบเมื่อใช้ยาอินซูลินฉีดเข้าทางเส้นเลือดดำ ซึ่งจะต้องเป็นการให้ยาอินซูลินในโรงพยาบาลอีกทั้งการฉีดอินซูลินร่วมกับการอดอาหาร หรือการออกกำลังกายหักโหม อาจทำให้ผู้ป่วยเบาหวานเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ทั้งนี้ อาการน้ำตาลในเลือดต่ำ ได้แก่ อารมณ์แปรปรวน รู้สึกอยากอาหารมากเป็นพิเศษ มือสั่น เวียนศีรษะ สับสน สายตาพร่าเบลอ หรือง่วงซึม ทั้งนี้ หากเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ผู้ป่วยควรรีบเเก้ไขอาการโดยการทานน้ำหวาน ลูกอม เพื่อบรรเทาอาการเฉพาะหน้าก่อน เเละควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ ่เช่น การขับรถ ทำงานในที่สูง

ฮอร์โมน อินซูลิน มีข้อควรระวังในการใช้อย่างไร

ฮอร์โมน อินซูลินแม้จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินปกติแต่มีข้อควรระวังในการฉีด ดังต่อไปนี้

  • การฉีดฮอร์โมน อินซูลินอาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียง หรืออาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ในบางราย ดังนั้น ก่อนฉีด ควรสอบถามคุณหมอให้ครบถ้วนเกี่ยวกับผลข้างเคียงรวมทั้งอาการแพ้ หรืออาการผิดปกติอื่น ๆ ซึ่งอาจพบได้หลังจากฉีดฮอร์โมน อินซูลิน
  • ไม่ควรเปลี่ยนชนิดของอินซูลิน หรือปรับขนาดยาอินซูลินเองโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากคุณหมอ
  • ก่อนฉีดอินซูลินด้วยไซริงค์หรือปากกา ควรดึงผิวหนังบริเวณที่จะฉีดให้ตึงก่อนแทงเข็ม เพื่อป้องกันการฉีดอินซูลินเข้าสู่กล้ามเนื้อเพราะอาจทำให้อินซูลินถูกดูดซึมเข้าสู่กระเเสเลือดอย่างรวดเร็ว จนอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้
  • หากมีอาการน้ำตาลต่ำ หรือตรวจระดับน้ำตาลในเลือดได้ต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ควรงดการฉีดอินซูลินในช่วงเวลานั้นไป เพราะจะยิ่งทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง เเละทำให้เกิดอันตราย เช่น ชัก หรือ หมดสติ
  • ร่างกายของเด็กและผู้สูงอายุ อาจไวต่อฤทธิ์ของอินซูลินมากกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้น การฉีด อินซูลินให้ผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นเด็กหรือผู้สูงอายุ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้มาก หรือเร็วกว่าปกติ ดังนั้นจึงควรฉีดอินซูลินตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด
  • หากคุณเเม่ที่ตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร ที่เป็นโรคเบาหวาน ควรปรึกษาคุณหมอก่อนฉีดอินซูลินเนื่องจาก ต้องเลือกอินซูลินชนิดที่ได้รับการรับรองว่าปลอดภัยให้ใช้ระหว่างตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตรเข้าสู่ร่างกายเท่านั้น เนื่องจากสามารถส่งผลผ่านรกหรือน้ำนมไปยังลูกน้อยได้

การดูแลตัวเองด้วยวิธีอื่น ๆ เมื่อเป็นโรคเบาหวาน

นอกจากการฉีดฮอร์โมน อินซูลินแล้ว ผู้ป่วยเบาหวานควรดูแลสุขภาพด้วยวิธีการต่อไปนี้ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมาย

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และหลีกเลี่ยงของหวานหรืออาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง เนื่องจากคาร์โบไฮเดรตจะถูกย่อยเปลี่ยนเป็นน้ำตาลเมื่อเข้าสู่ร่างกาย และทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หรือประมาณ 30 นาที/วัน เป็นเวลา 5 วันต่อสัปดาห์ นอกจากจะทำให้ร่างกายเเข็งเเรงเเล้ว ยังการออกกำลังกายสม่ำเสมอยังช่วยกระตุ้นให้เซลล์ต่าง ๆ ตอบสนองต่อฮอร์โมน อินซูลินได้ดีขึ้นอีกด้วย
  • นอนหลับให้เพียงพอ เเนะนำให้นอนหลับประมาณ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน และหลีกเลี่ยงการนอนดึก เพราะเมื่อนอนน้อยหรือนอนดึก ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ออกมามากกว่าปกติ ซึ่งมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และยังทำให้การจัดการน้ำตาลในเลือดช่วงเวลาดังกล่าวรวมถึงระหว่างวันแย่ลงด้วย
  • หลีกเลี่ยงหรืองดเลิกบุหรี่ เพราะสารนิโคตินในบุหรี่จะทำให้หลอดเลือดหดตัว และทำให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการหลอดเลือดอุดตันหรือตีบ มีเลือดหมุนเวียนไหลไปหล่อเลี้ยงบริเวณปลายนิ้วมือหรือเท้าได้น้อยลง จนอาจเกิดปัญหาสุขภาพมือหรือเท้าตามมา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้