หลักการบริหารสถานศึกษา 4 ด้าน

ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ให้คำนิยามของทฤษฎี หมายถึง ความเห็น การเห็น การเห็นด้วยใจ ลักษณะที่คิดคาดเดาตามหลักวิชา เพื่อเสริมเหตุผลและรากฐานให้แก่ปรากฏการณ์หรือข้อมูลในภาคปฏิบัติ ซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างมีระบบ

การบริหาร หมายถึง การใช้ศาสตร์และศิลป์ อย่างมีกลยุทธ์ในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ โดยการใช้ทรัพยากรทางการบริหารเข้ามาดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ

ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ในยุคปฏิรูปการศึกษา 

ภายใต้รูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ในยุคของการบริหารจัดการศึกษาไทยในปัจจุบัน ท่ามกลาง กระแส แห่งความเป็น โลกาภิวัฒน์ (Globalization) ซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไขการปรับเปลี่ยนการแข่งขัน เพื่อสร้างข้อได้เปรียบ และความมุ่งมั่นของสังคม ที่ดำเนินไป อย่างรวดเร็ว รุนแรง และมีความ หลากหลายนั้น ต่างก็ส่งผลกระทบต่อวงวิชาชีพ โดยเฉพาะด้านการศึกษา ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการ ปรับเปลี่ยนบริบท และ โครงสร้างการบริหาร ของการบริหารจัดการศึกษาภายใต้สาระแห่งบทบัญญัติของกฎหมายการศึกษา ที่เรียกว่า “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542” เป็นการจัด โครงสร้าง การบริหาร การศึกษา โดยยึดหลักของการ มีเอกภาพเชิงนโยบาย หลากหลาย ในการปฏิบัติ โดยเน้นระบบการกระจายอำนาจ และการยึดหลักการมีส่วนร่วม ของท้องถิ่นเป็นสำคัญ

สาระสำคัญของ พระราชบัญญัต ิการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. 2542 นั้นได้เสนอแนวคิดและ วิธีการจัดการศึกษาที่ท้าทายหลายด้าน จึงเป็นเสมือนกฎหมายปฏิรูปการศึกษา ดังจะเห็นได้ว่าใน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาตินี้ให้ความสำคัญกับการปฎิรูปในด้านต่างๆ คือ ปฏิรูประบบ การศึกษา ให้สอดรับซึ่งกันและกันทั้งระบบ ปฏิรูปแนวการจัดการศึกษาโดยให้ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ปฏิรูปหลักสูตรและเนื้อหาสาระ วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน ปฏิรูประบบการบริหา รและการจัดการศึกษาทั้งหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองท้องถิ่น และเอกชนโดยเน้นเรื่อง การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วม ปฏิรูประบบครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา มุ่งเน้นให้มีการยกระดับสถานภาพของวิชาชีพครู การพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพครู ปฏิรูประบบทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา เพื่อระดมทรัพยากรมาให้เพื่อการศึกษา ปฏิรูประบบประกัน คุณภาพการศึกษา เน้นเรื่องของการประกันคุณภาพภายในและให้มีการรับรองและประเมินผลมาตรฐานจากองค์กรภายนอก และปฏิรูปสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มุ่งให้มีการผลิตใช้สื่อและเทคโนโลยีในรูปแบบที่หลากหลายที่มีคุณภาพ( สำนักนางปฏิรูปการศึกษา 2544 :15-18)

การปฏิรูปการศึกษามุ่งให้เกิดคุณภาพทั้งในด้านผลผลิต กระบวนการจัดการ และปัจจัยต่างๆ โดยมุ่งหวังให้การจัดการศึกษา พัฒนาทั้งระบบ ( Whole School Approach : WSA) บุคคลที่มี ความสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ก็คือ ผู้บริหารสถานศึกษา เพราะต้อง เป็นผู้นำและผู้ประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ยที่มีความสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการเรียน การสอน และการเรียนรู้ รวมทั้งประสานสัมพันธ์ ระดมและจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ( สุพล วังสินธ์. 2545 : 29) ผู้บริหารสถานศึกษาจึงเปรียบได้ว่าเป็นจอมทัพสำคัญที่จะนำพาองค์กรให้ก้าวไปในกระแสแห่งการปฏิรูปได้อย่างมีเกียรและศักดิ์ศรี ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางบริบท (Context) หลากหลายส่วนนั้น น่าจะเปรียบได้กับ“ ผู้บริหารมืออาชีพ ” จึงจะเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันที่จะทำหน้าที่สำคัญให้ไปสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์โดยการกำหนดเป็นยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสู่การปฏิบัติที่แสดงให้เห็นศักยภาพ คุณภาพ เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารจัดการศึกษาภายในสถานศึกษาแห่งนั้น

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา

ผู้บริหารหรือผู้นำหรือผู้จัดองค์การ หรือหัวหน้างาน ไม่ว่าหน่วยงานเล็กหรือหน่วยงานใหญ่ หน่วยงาน ราชการหรือเอกชนก็ตาม ย่อมมีบทบาทที่เป็นผลต่อการสำเร็จหรือประสิทธิภาพของงานเป็นอย่างยิ่ง บางครั้ง การจัดองค์การ แม้จะไม่เรียบร้อยถูกต้องอยู่บ้าง ก็อาจได้รับผลงานสูงได้ หากผู้บริหารมีคุณลักษณะที่ดี แต่ถ้าคุณลักษณะ หรือพฤติกรรมในการนำของผู้บริหารไม่ดี แม้การจัดองค์การถูกต้อง หรือดีเพียงใดก็ตาม ผลงาที่เกิดขึ้นของหน่วยงานนั้นๆ ย่อมสมบูรณ์ได้ยาก ดังนั้นผู้บริหารหรือผู้นำจะต้องมีคุณสมบัติเหมาะสม มีพฤติกรรม ในการนำที่ถูกต้อง เหมาะสมเพราะความสำเร็จของงานทุกด้านขององค์การ ขึ้นอยู่กับผู้บริหาร หรือผู้นำ ซึ่งจะวินิจฉัยสั่งการ หรือตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆ เพื่อให้งานเกิดประสิทธิภาพ ซึ่งคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ของผู้บริหารหรือผู้นำนั้น ควรที่จะประกอบด้วยเรื่องที่สำคัญ ได้แก่ คุณลักษณะด้านบุคลิกภาพ คุณลักษณะด้านความเป็นผู้นำ คุณลักษณะด้านความรู้ทางวิชาการ และ คุณลักษณะด้านความสามารถในการบริหาร

คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา จะต้องมีความรู้ ความสามารถในการบริหาร จัดการ มีวิสัยทัศน์ในการบริหารการศึกษาให้ทันสมัยกับการเปลี่ยนแปลง มีภาวะผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์เป็นที่ยอมรับ ของผู้เกี่ยวข้อง และมีความเป็นประชาธิปไตย เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทุกคนมีความรู้ ความสามารถ บุคลิกลักษณะ และคุณสมบัติตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างแท้จริง ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพในยุคปฏิรูปการศึกษา ควรมีลักษณะที่สำคัญ คือ นักพัฒนา นักแก้ปัญหา นักตัดสินใจ นักประนีประนอม นักการฑูต นักวางแผน นักปกครอง และนักปราชญ์

ตัวอย่างเอกสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ แก่ครู นักปฏิบัติการ บุคลากรในโรงเรียน ในการปฏิบัติหน้าที่การให้บริการแก่ นักเรียน ประชาชน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ให้สอดคล้องกับโครงสร้างการบริหารงานโรงเรียนตามแนวการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา ของ สพฐ.

1.ด้านการบริหารงานวิชาการ
การบริหารงานวิชาการเป็นภารกิจที่สำคัญของการบริหารโรงเรียนตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.  2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2)พ.ศ.2545   ถือเป็นงานที่มีความสำคัญที่สุและเป็นหัวใจของการจัดการศึกษา   ซึ่งทั้งผู้บริหาร โรงเรียน คณะครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ต้องมีความรู้ความเข้าใจ ให้ความสำคัญ และมีส่วนร่วมในการวางแผน กำหนดแนวทางปฏิบัติการประเมินผล และการปรับปรุงแก้ไขอย่างเป็น ระบบและต่อเนื่อง มุ่งให้กระจายอำนาจในการบริหารจัดการไปให้สถานศึกษาให้มากที่สุด  ด้วยเจตนารมณ์ที่จะให้สถานศึกษาดำเนินการได้โดยอิสระ  คล่องตัว  รวดเร็ว  สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน  โรงเรียน  ชุมชน  ท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย  ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญทำให้สถานศึกษามีความเข้มแข็งในการบริหารและจัดการ  สามารถพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ตลอดจนการวัดผล  ประเมินผล  รวมทั้งปัจจัยเกื้อหนุนการพัฒนาคุณภาพนักเรียน  โรงเรียน  ชุมชน  ท้องถิ่น  ได้อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ

2.ด้านการบริหารงานทั่วไป
เป็นภารกิจหนึ่งของโรงเรียนในการสนับสนุน  ส่งเสริมการปฏิบัติงาน ของโรงเรียนให้บรรลุตามนโยบาย  และมาตรฐานการศึกษาที่โรงเรียนกำหนดให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล  เช่น  การดำเนินงานธุรการ  งานเลขานุการคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  งานพัฒนาระบบและเครือข่าย  ข้อมูลสารสนเทศ  การประสานและพัฒนาเครือข่ายการศึกษา  การจัด ระบบการบริหารและพัฒนาองค์กร  งานเทคโนโลยีสารสนเทศ การส่งเสริม  สนับสนุนด้านวิชาการ  งบประมาณ  บุคลากรและบริหารทั่วไป  การดูแลอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม  การจัดทำสำมะโนผู้เรียน  การรับนักเรียน  การส่งเสริมและประสานงานการศึกษาในระบบ นอกระบบ  และ ตามอัธยาศัย  การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา  งานส่งเสริมงานกิจการนักเรียน  การประชาสัมพันธ์ งานการศึกษา การส่งเสริมสนับสนุน  และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษา  งานประสานราชการกับเขตพื้นที่การศึกษาและหน่วยงานอื่น  การจัดระบบการควบคุมในหน่วยงาน  งานบริการสาธารณะ

3.การบริหารงบประมาณ
การบริหารและการจัดการศึกษาของโรงเรียนนิติบุคคล  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้โรงเรียนจัดการศึกษาอย่างเป็นอิสระ  คล่องตัว  สามารถบริหารการจัดการศึกษาได้สะดวด  รวดเร็ว  มีประสิทธิภาพแ1ละมีความรับผิดชอบโรงเรียนนิติบุคคล  นอกจากมีอำนาจหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ข้างต้นแล้ว  ยังมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฏระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของโรงเรียนขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา

4.การบริหารงานบุคคลการบริหารงานบุคคล
การหาทางใช้คนที่อยู่ร่วมกันในองค์กรนั้น ๆให้ทำงานได้ผล ดีที่สุด  สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด  ในขณะเดียวกันก็สามารถทำให้ผู้ร่วมงานมีความสุขมีความพอใจ ที่จะให้ความร่วมมือและทำงานร่วมกับผู้บริหาร เพื่อให้งานขององค์กรนั้นๆ สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

ดาวโหลดไฟล์ที่นี่

ขอบคุณข้อมูล : //สื่อการสอนฟรี.com/ดาวน์โหลดไฟล์-ตัวอย่างเ/?fbclid=IwAR0o9HDYqUDpuCACQapAq0kBf_C_OFud4epfymswxJD0MYmSEx4IY6eWmZY

Tags

กลุ่มงาน 4 งาน การบริหาร การบริหารงานงบประมาณ การบริหารงานทั่วไป การบริหารงานบุคคล การบริหารงานวิชาการ คู่มือการบริหาร งาน 4 ฝ่าย งานสี่ฝ่าย ดาวโหลดไฟล์

ภารกิจ 4 ด้านของการบริหารสถานศึกษาคือข้อใด

1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) การวัดประเมินผลและการเทียบโอนผลการเรียน 4) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา

งานบริหาร 4 ฝ่ายในโรงเรียนมีอะไรบ้าง

1.งานพัฒนาหลักสูตร 2.งานพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3.งานวัดผลประเมินผล การศึกษา 4.งานทะเบียนและเทียบโอนผล

หลักการบริหาร 4M ในสถานศึกษาคืออะไร

จากที่กล่าวมานั้นเป็นหลักการ 4M ประกอบด้วย ก าลังคน (Man) งบประมาณ (Money) วัสดุ (Materials) และการจัดการ (Management) เป็นหลักการส าคัญของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารจัดการ ทรัพยากรการศึกษาในสถานศึกษาในยุค Thailand 4.0 จะท าให้การบริหารในสถานศึกษามีความคล่องตัวสูง และจัดการทรัพยากรการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก ท า ...

การบริหารในสถานศึกษา มีกี่ด้าน

การบริหารการศึกษาแบ่งงานออกเป็น 6 ด้าน คือ ความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับ สถานศึกษา หลักสูตรและการสอน บุคลากรในสถานศึกษากิจกรรมนักเรียน สิ่งอำนวย ความ สะดวกทางกาย การเงินและธุรการ (แคมพ์เบลล์ และคณะ (Campbell et al, 1972 : 16)

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้