ภูพิงคราชนิเวศน์ อ่านว่าอะไร

พระตำหนังภูพิงค์ราชนิเวศน์
ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
พระราชนิเวศน์แห่งนี้ ตั้งอยู่บนดอยบวกห้า ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ความสูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๓๗๓.๑๙๗ เมตร ในเนื้อที่โดยรอบพระตำหนักประมาณ ๔๐๐ ไร่ นั้น แบ่งเป็นบริเวณที่ เปิดให้นักท่องเที่ยว ได้ชื่นชมประมาณ ๒๐๐ ไร่

พระตำหนังภูพิงค์ราชนิเวศน์ 

ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

พระราชนิเวศน์แห่งนี้ ตั้งอยู่บนดอยบวกห้า ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ความสูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๓๗๓.๑๙๗ เมตร ในเนื้อที่โดยรอบพระตำหนักประมาณ ๔๐๐ ไร่ นั้น แบ่งเป็นบริเวณที่ เปิดให้นักท่องเที่ยว ได้ชื่นชมประมาณ ๒๐๐ ไร่

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ในปีพ.ศ. ๒๕๐๔ และพระราชทานนาม พระตำหนักองค์นี้ว่า  ภูพิงคราชนิเวศน์  พระตำหนักแห่งนี้ ใช้เป็นที่ประทับในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานมาประทับแรม ที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทรงงาน และเยี่ยมเยียนราษฎรในเขตภาคเหนือ รวมทั้งเพื่อรับรองพระราชอาคันตุกะที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทยในโอกาสต่างๆ การที่ทรงเลือกสร้างที่จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากมีอากาศเย็นสบาย ภูมิประเทศสวยงาม อีกทั้งเคยเป็นเมืองหลวงมาก่อน  

กรมทรัพยากรน้ำบาดาล โดยศูนย์ประสานงานด้านน้ำบาดาลเพื่อสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้มอบหมายให้สำนักทรัพยากรน้ำบาดาลเขต 1 ลำปาง ดำเนินการ

เจาะบ่อน้ำบาดาล จำนวน 26 บ่อ  ความลึกระหว่าง 10-310 เมตร ปริมาณน้ำเฉลี่ย 150 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน

ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำดื่ม 2 ระบบ

ประโยชน์ที่ได้รับ กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้เป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา วิจัย และการพัฒนาด้านต่างๆ ของพระตำหนังภูพิงค์ราชนิเวศน์  รวมทั้งได้ใช้เพื่อการอุปโภค-บริโภค ของเจ้าหน้าที่ภายในพระตำหนังภูพิงค์ราชนิเวศน์  ด้วย

พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ตั้งอยู่บนดอยบวกห้า ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง ใช้เส้นทางเดียวกันกับพระธาตุดอยสุเทพ พระตำหนักฯอยู่เลยจากวัดพระธาตุดอยสุเทพ เป็นระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร พระตำหนักภูพิงค์ฯ เป็นพระตำหนักประทับในวโรกาสที่เสด็จแปรพระราชฐานมาประทับแรมที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในเขตภาคเหนือ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ใช้เป็นที่รับรองพระราชอาคันตุกะที่เสด็จฯเยือนประเทศไทยซึ่งแต่เดิมจะประทับรับรองแต่ในพระนครหลวงเท่านั้น โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2504 ในครั้งแรกได้ก่อสร้างเฉพาะองค์พระตำหนักที่ประทับและเรือนรับรองเท่านั้น ส่วนอาคารอื่นๆได้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมต่อมาในภายหลัง ภายในพระตำหนักฯ มีสถานที่น่าชม ดังนี้ เรือนปีกไม้ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ เรือนรับรอง พลับพลาผาหมอนและสวนเฟิร์น อ่างเก็บน้ำ พระตำหนักต่างๆ และหอพระ โดยระหว่างเส้นทางเยี่ยมชมจะผ่านสวนกุหลาบเป็นระยะ

    โดยปกติแล้วจะเปิดให้ประชาชนเข้าชมทุกวัน แต่ทั้งนี้จะงดการเข้าชมพระตำหนักฯ ระหว่างเสด็จแปรพระราชฐาน (ประมาณเดือนมกราคมถึงต้นเดือนมีนาคม) นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อสอบถามที่ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ โทร. 0 5322 3065 หรือ website: www.bhubingpalace.org จำหน่ายบัตรทุกวัน เวลา 8.30-11.30 และ 13.00-15.30 น. ค่าเข้าชม คนไทย : ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท (กรุณาแต่งกายสุภาพ) และมีบริการรถไฟฟ้านำชม ค่าบริการ 300 บาท/คัน(ไม่เกิน 3 ท่าน)

ข้อมูลเพิ่มเติม:ททท.เชียงใหม่ 0 5324 8604, 0 5324 8607, 0 5324 8605
//www.tourismthailand.org/chiangmai

แก้ไขล่าสุด 2016-04-22 17:33:12 ผู้ชม 26305

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ

พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ การเดินทางมายังพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์แห่งนี้ใช้เส้นทางเดียวกันกับวัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ ซึ่งเป็นทางขึ้นเขาคดเคี้ยวลาดชันพอสมควร แต่ด้วยการสร้างถนนที่มีช่องทางจราจรหลายช่อง ก็ทำให้การเดินทางขึ้นเขาดอยสุเทพไม่ใช่เรื่องยากมากนัก เมื่อมาถึงวัดพระธาตุดอยสุเทพให้ตรงไปเรื่อยๆ ตามถนน จะมาถึงลานจอดรถหน้าพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ เป็นอีกจุดหนึ่งที่มีรถเข้า-ออกกันเยอะมาก นักท่องเที่ยวที่มาสักการะองค์พระธาตุดอยสุเทพส่วนใหญ่จะแวะมาชมพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ด้วยเสมอ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์จะปิดพักกลางวันเวลา 11.30 - 13.00 น. เป็นประจำทุกวัน เว้นแต่จะมีกรณีพิเศษจะเปิดโดยไม่พักกลางวัน

พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์
ณ ยอดสูงดอย "บวกห้า" ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางตะวันตกประมาณ 22 กิโลเมตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างพระราชนิเวศน์ขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2504 เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับทรงต้อนรับพระราชอาคันตุกะ และได้กลายเป็นที่ประทับในคราวที่เสด็จแปรพระราชฐาน เพื่อทรงเยี่ยมเยียนเหล่าพสกนิกรทางภาคเหนือเป็นประจำเสมอมา
พระสาสนโสภณ วัดบวรนิเวศวิหาร (คือสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ในกาลต่อมา) ได้ถวายชื่อเพื่อมีพระราชวินิจฉัย 2 ชื่อ คือ "พิงคัมพร" และ "ภูพิงคราชนิเวศน์" เมื่อมีพระราชวินิจฉัยแล้วจึงพระราชทานนามว่า "พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์"
พระตำหนักทรงไทย งามสง่า อยู่ท่ามกลางแมกไม้อันร่มรื่น ประดับประดาด้วยสวนหย่อม ลำธาร สระน้อยๆและโขดหิน แต่งแต้มด้วยไม้ดอกต่างชนิด ต่างสี หลากกลิ่น แต่ที่เป็นเอกลักษณ์ของพระราชนิเวศน์แห่งนี้ ก็คือ กุหลาบหลากหลายพันธุ์ที่เบ่งบานอวดสีสันให้ดอกโตชนิดที่ไม่เคยพบเห็นที่ใดมาก่อน
ผู้ใดที่ได้มีโอกาสไปชมภูพิงคราชนิเวศน์ในฤดูหนาว จะต้องตื่นตาตื่นใจกับกุหลาบหลากสี หลายร้อยพันธุ์ ที่ส่งกลิ่นหอมตลบและประชันขันแข่งความงามกันอยู่ทั่วบริเวณพระราชนิเวศน์แห่งนี้ ส่งผลให้ภูพิงคราชนิเวศน์สดสวยราวอุทยานสวรรค์
ที่มา //www.bhubingpalace.org/main.php

ซื้อบัตรเข้าชมพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ เมื่อจอดรถในลานจอดรถเป็นที่เรียบร้อยแล้วก่อนที่จะเดินเข้าไปชมพระตำหนักต้องซื้อบัตรเข้าชมให้เรียบร้อยก่อน ห้องจำหน่ายบัตรเป็นอาคารที่อยู่ตรงข้ามกับทางเข้าพระตำหนัก ราคาคนไทย 20 บาท ที่ห้องจำหน่ายบัตรจะมีป้ายแสดงพันธุ์กุหลาบต่างๆ ที่ปลูกประดับรอบๆ บริเวณพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ กุหลาบเป็นสาเหตุหลักอย่างหนึ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวสนใจเข้าเยี่ยมชมพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ เพราะมีปลูกไว้มากมายหลายสายพันธุ์ หลากสี หลายกลิ่น ในพื้นที่ที่กว้างขวางมากของพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์

แผนผังพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ภาพจากเว็บไซต์พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ เป็นแผนผังแสดงสถานที่ต่างๆ ในพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ควรศึกษาไว้ก่อนที่จะเริ่มต้นเดินเข้าไปภายใน สถานที่ต่างๆ ในพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ได้แก่
1.เรือนปีกไม้ เป็นเรือนที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราขกุมารี หรือพระราชอาคันตุกะและผู้ได้รับพระกรุณาธิคุณฯ โปรดเกล้าให้พัก
2. เรือนรับรอง เป็นอาคาร 2 ชั้น สร้างแบบไทยประยุกต์ ใช้เป็นที่พักของพระราชอาคันตุกะ และข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ที่ตามเสด็จฯ นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่รับรองแขกในระหว่างที่ขอเข้าเฝ้าฯ หรือร่วมงานพระราชทานเลี้ยง
3. พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์
4.พลับพลาผาหมอนและสวนเฟิร์น เป็นเนินเขาเตี้ยๆ แต่เดิมใช้เป็นที่ปลูกต้นไม้แบบสวนป่าธรรมชาติ มีกระท่อมแบบชาวเขา สร้างด้วยไม้ไผ่หลังคามุมแฝก ใข้เป็นที่ประทับพักผ่อนพระราชอิริยาบถและเสวยพระกระยาหารในบางครั้ง ต่อมาได้มีการสร้างพลับพลาที่ประทับทำด้วยไม้สักทองแทนกระท่อมชาวเขา ส่วนสวนเฟิร์นธรรมชาติรอบผาหมอนได้ดำเนินงานในปี พ.ศ. 2536 โดยมีการนำเอาเฟิร์นชนิดต่างๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาออกแบบตกแต่งใหม่ให้กลมกลืนกับธรรมชาติมาที่สุด ต้นเฟิร์นหลายต้นที่ปลูกในบริเวณนี้ประมาณว่ามีอายุระหว่าง 60-100 ปี ซึ่งเป็นเฟิร์นพวกกูดต้น Tree Ferns วงศ์ Cyatheaceace
5. อ่างเก็บน้ำ/น้ำพุ ทิพย์ธาราของปวงชน เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่กักเก็บน้ำไว้ใช้ในบริเวณพระตำหนัก ริมอ่างเก็บน้ำด้านข้างมีพลับพลาที่ประทับสร้างด้วยไม้สักทอง รอบๆ อ่างเก็บน้ำ จะเป็นสวนดอกไม้เมืองหนาวที่จัดเป็นทั้งแบบประดิษฐ์ และแบบธรรมชาติ
6. พระตำหนักสิริส่องภูพิงค์ มีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า พระตำหนักยูคาลิปตัส ก่อสร้างตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงให้นำไม้ยูคาลิปตัสมาทดลองใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างที่พักอาศัยในรูปแบบ Log Cabin โดยกองทัพภาคที่ 3 เป็นเจ้าของโครงการดำเนินงาน เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2534 ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรี เป็นประธานในพิธียกเสาเอกเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2534 และก่อสร้างพร้อมตกแต่งแล้วเสร็จต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2535
7. พระตำหนักพยัคฆ์สถิต เป็นพระตำหนักยูคาลิปตัสแบบ Log Cabin อีกหลังหนึ่งที่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชเสาวนีย์ ให้สร้างขึ้น เพื่อพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร สำหรับทรงใช้เป็นที่ประทับโดยก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2536 มีนายกิตติ คุปตะวินิจ เป็นสถาปนิคผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง
8. พระตำหนักพฤกษาวิสุทธิคุณ เป็นอาคาร 2 ชั้น มีชั้นใต้ดิน ตั้งอยู่บนเนิน เป็นสถาปัตยกรรมไทยภาคกลางผสมกับภาคเหนือ เป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
9. สวนกุหลาบ
10. หอพระ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปไว้ทรงสักการะ เมื่อเสด็จแปรพระราชฐานมาประทับแรม เป็นหอขนาดเล็กแบบไทยล้านนาประยุกต์ ยกพื้น

จุดเริ่มต้นเดินชมพระตำหนัก เมื่อนำบัตรเข้าชมมาแสดงตรงประตูทางเข้าแล้ว เจ้าหน้าที่จะตรวจดูแลการแต่งกายของนักท่องเที่ยว ภายในพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ไม่อนุญาตให้ผู้แต่งกายไม่สุภาพได้แก่กางเกงขาสั้น รองเท้าแตะ เสื้อแขนกุด ฯลฯ เข้าชม โดยจะมีผ้านุ่งให้บริการซึ่งต้องนำมาคืนเมื่อกลับออกมา จากนั้นเดินไปตามเส้นทางเดินหรือใช้บริการรถไฟฟ้านำเที่ยวของพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จะผ่านร้านค้าจำหน่ายเครื่องดื่ม ของที่ระลึก ฯลฯ

เรือนรับรองพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ เดินชมดอกไม้มาเรื่อยๆ จะพบเห็นดอกไม้มากมายหลายชนิดหลากสี ปลูกไว้ทั้งเป็นกระเช้า กระถาง หรือเป็นแปลง ที่ได้รับความนิยมมากจะเป็นแปลงกุหลาบ ในที่สุดก็จะมาถึงเรือนรับรอง

ดอกไม้มากมายหลากสี สิ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวตื่นตาตื่นใจกันอย่างมากคือดอกไม้ตามเส้นทางเดินที่ปลูกไว้ทั่วบริเวณ มีหลายจุดหลายมุมที่คนอยากจะถ่ายรูปคู่กับดอกไม้จำนวนมากนี้ ดอกไม้ที่จะเห็นได้บ่อยๆ ก็มี เจอราเนียม แฟนซี กุหลาบซีโฟม กุหลาบปิแอร์เดอรองซาร์ด ฯลฯ กุหลาบขาวสวยๆ ก็จะมีไวท์มาสเตอร์พีซ แต่มีไม่บ่อยนัก

บริการถ่ายรูป เป็นมุมที่จัดไว้เป็นพิเศษใกล้ๆ เรือนรับรอง มีบริการถ่ายรูป ราคารูปละ 50 บาทที่มุมที่จัดไว้นี้

พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จากเรือนรับรองเข้ามาไม่ไกลมากนักก็จะเห็นพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ มีทางเดินเข้าไปด้านหน้า แต่อาคารและพระตำหนักต่างๆ ในพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จะไม่อนุญาตให้เข้าไป รวมทั้งแปลงดอกไม้ทุกแปลงที่เราเห็นก็ไม่ให้เดินเข้าไปในแปลงดอกไม้โดยเด็ดขาด ทุกจุดจะมีเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลอยู่

พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ สวนกุหลาบสีเหลืองจำนวนมากปลูกไว้ด้านหน้าพระตำหนัก นอกจากนี้ยังมีดอกไม้ชนิดอื่นๆ อีกมากมายสุดจะบรรยายได้หมด

โคมญี่ปุ่น

กุหลาบเฟิรสต์ไพรซ์ First Prize สีชมพูเหลือบ ดอกขนาดใหญ่มาก ประมาณ 5-6.5 นิ้ว มีกลิ่นหอมเล็กน้อย ทรงพุ่มสูง 120-135 ซม. กว้าง 150 ซม. ลำต้นใหญ่แข็งแรง หนามขนาดใหญ่

กุหลาบปิแอร์เดอรองซาร์ด Pierre De Ronsard ดอกประมาณ 3 นิ้ว สูง 6-8 ฟุต

กุหลาบซีโฟม Sea Foam ดอกขนาดใหญ่ 2-2.5 นิ้ว กลีบซ้อนกัน 35-50 กลีบ มีกลิ่นหอมปานกลาง ทรงพุ่มสูง 80-100 ซม. ลำต้นแข็งแรง ดอกพวง หนามใหญ่

ทางเดินไปพลับพลาผาหมอน จากด้านหน้าพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จะมีทางเดินตามเส้นทางบนเนินเขาไปยังอ่างเก็บน้ำและพระตำหนักสิริส่องภูพิงค์บนยอดเนินเขา เส้นทางนี้หากไม่มีบันไดเป็นขั้นๆ ก็จะไม่ต่างอะไรกับเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติในป่าตามอุทยานแห่งชาติต่างๆ เพราะพันธุ์ไม้ตามเส้นทางเดินคงสภาพเหมือนสวนป่าธรรมชาติไม่นานก็จะถึงพลับพลาผาหมอน พักให้หายเหนื่อยแล้วเดินต่อไปยังอ่างเก็บน้ำทางไม่ชันมากนัก

ฟิวเชีย เป็นดอกไม้ที่พบเห็นได้มากช่วงทางเดินจากพลับพลาผาหมอนไปยังอ่างเก็บน้ำ

บันไดช่วงสุดท้าย มาถึงบันไดตรงช่วงนี้ก็จะมีร้านค้าบริการ ก่อนที่จะเดินขึ้นบันไดที่เป็นเส้นตรงไปยังอ่างเก็บน้ำ

ก่อนถึงอ่างเก็บน้ำพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ถึงศาลาหลังนี้ก็เป็นขอบของอ่างเก็บน้ำแล้วครับ บริเวณศาลาที่พักนี้ปลูกดอกไม้สวยๆ มากมายหลายสี ก่อนที่จะเดินกันต่อไปหลายๆ คนก็จะนั่งพักชมดอกไม้กันให้หายเหนื่อยก่อน

อ่างเก็บน้ำพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่มากครับ สร้างน้ำพุไว้หลายจุดในอ่างเก็บน้ำ มีการแสดงน้ำพุประกอบจังหวะดนตรีให้ชมอย่างสวยงาม รอบอ่างเก็บน้ำมีดอกไม้เยอะมาก อีกด้านหนึ่งของอ่างเก็บน้ำก็จะมองเห็นพระตำหนักสิริส่องภูพิงค์ หรือพระตำหนักยูคาลิปตัส เดินเลยจากอ่างเก็บน้ำไปด้านซ้ายมือก็จะเป็นทางลงกลับไปที่ประตูทางเข้าพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ มีทางแยกขวามือสำหรับไปชมสถานที่อื่นๆ ได้แก่ พระตำหนักพยัคฆ์สถิต พระตำหนักพฤกษาวิสุทธิคุณ หอพระ เป็นต้น แต่ละสถานที่ก็จะมีสวนกุหลาบสวยๆ ให้ชมกันอีกด้วย แต่สำหรับทริปนี้ขอเอาภาพมาให้ชมกันเท่านี้ก่อน แล้วจะมาเพิ่มเติมส่วนที่เหลือในโอกาสหน้าครับ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้