เหตุผล การ ลา ออก จาก งาน

ปัจจุบันคนส่วนใหญ่มักจะบอกว่า ‘เด็กรุ่นใหม่ไม่ค่อยอดทนเลย ทำงานไม่นานก็ลาออกแล้ว’ ซึ่งการลาออกนั้นก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ปกติมาก ๆ ของการทำงานในทุกที่ และเป็นสิทธิที่พนักงานทุกคนมีติดตัว และสามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเองอยู่แล้ว ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งเล็กหรือใหญ่แค่ไหนก็ตาม

แต่การลาออกนั้นส่วนใหญ่ก็มักจะมีปัญหาตามมาคือในเรื่องของ ‘เหตุผล’ ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลส่วนตัว หรือเหตุผลที่มาจากองค์กรเองก็ตาม ซึ่งบางครั้งมันก็ดูสมเหตุสมผล แต่หลายครั้งก็อาจจะไม่ใช่เลย ในบทความนี้เราจึงได้รวบรวม 5 เหตุผลยอดฮิตที่พนักงานมักจะใช้ลาออกกัน มาดูดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

เงินเดือนน้อย ต้องการขอปรับเงินเดือนขึ้น

เงินเดือนเป็นปัจจัยหลักสำหรับบางคนที่จะเป็นตัวตัดสินว่าจะอยู่ต่อหรือจะลาออก หากปัจจุบันลองไปอ่านกระทู้ตามเว็บไซต์ต่าง ๆ หรือประสบการณ์การลาออกในโซเชียลมีเดีย หลายคนมักจะออกมาแชร์ไปในทิศทางเดียวกันว่า ‘การย้ายงานเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้เงินเดือนเพิ่มได้เร็วที่สุด และหลายครั้งมักจะได้เยอะกว่าที่เดิมมาก ๆ’

ถ้าเกิดมีพนักงานมาลาออกด้วยเหตุผลที่ว่าเงินเดือนของเขาน้อยเกินไป เราอยากให้คุณและเขาลองเปิดใจคุยกันก่อนว่า เงินเดือนที่เขาได้รับมันเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมกันอย่างไรบ้าง แต่ถ้าเขาบอกว่างานเยอะขึ้น แล้วเขาสามารถสร้างอิมแพ็คให้กับบริษัทได้จริง แต่ก็ยังคงได้รับเงินเดือนเท่าเดิม การเพิ่มเงินเดือนให้กับเขาก็เลยเป็นเรื่องที่เหมาะสมแล้วที่ควรจะทำ และถูกกว่าการจ้างคนใหม่เข้ามาทำงานโดยที่ไม่รู้ว่าเขาเก่งจริงหรือเปล่าอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม สำหรับพนักงานบางคน เราก็ต้องดูด้วยว่า เขาเป็นคนประเภท Money Driven มากกว่า Growth Driven หรือเปล่า ถ้าเป็นคนประเภท Money Driven แล้วมีบริษัทอื่นมายื่นข้อเสนอที่ดีกว่า เขาก็อาจไปจากเราอยู่ดี

ภาพจาก gannett-cdn

บริษัทลดโบนัส

บางครั้งในช่วงแรก ๆ ที่เข้ามาทำงาน บริษัทมีการแจกโบนัสดีอย่างต่อเนื่อง แต่ช่วงหลัง ๆ บางบริษัทก็อาจจะมีการลดโบนัสลง หรือไม่มีโบนัสให้ก็อาจทำให้พนักงานไม่อยากทำงานอยู่ที่บริษัทนั้นอีกแล้ว จริง ๆ ในมุมบริษัท โบนัสอาจจะเป็นจำนวนเงินที่น้อยมาก ๆ แต่สำหรับพนักงานบางคน มันเป็นจำนวนเงินที่มหาศาลมากที่ทำให้เขาสามารถนำเงินไปต่อยอดลงทุน ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และแบ่งเบาภาระครอบครัวได้แบบสบาย ๆ เลย

ถ้าเป็นไปได้เราอยากให้ทุกบริษัทมีการจ่ายโบนัสพนักงาน (ไม่จำเป็นต้องออกมาในรูปแบบเงิน) เพราะโบนัสนี่แหละที่จะเข้ามาเป็นตัวกระตุ้นชั้นดีที่ทำให้พนักงานรู้สึกอยากทำงานให้ออกมาดีอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่แค่ทำงานให้เสร็จตามเวลาก็พอ แต่งานจะต้องออกมาดี มีคุณภาพ สามารถสร้างอิมแพ็ค และผลประกอบการให้กับบริษัทได้อีกด้วย (ผลประกอบการดีก็จะสะท้อนกลับมาเป็นโบนัสให้พนักงานเอง)

โดยวิธีที่เราอยากจะแนะนำ เพื่อให้พนักงานทุกคนได้รับโบนัสง่าย ๆ คือ การลองสร้างชาเลนจ์จูงใจให้พนักงานทำงานได้ตามเป้าหมาย เช่น ตั้ง Mission ว่าให้พนักงานสร้างคอนเทนต์ที่สร้างยอดขายได้ 100 ยอดขาย จากนั้นก็แจกเป็นเครดิตสะสมแต้มไปเรื่อย ๆ เพื่อนำไปแลกรับโบนัสตอนปลายปี ซึ่งการทำแบบนี้ นอกจากจะเป็นการสร้างความท้าทายให้กับพนักงานแล้ว ยังเป็นการเพิ่มยอดผลประกอบการและกำไรให้บริษัทไปในตัวด้วย

ภาพจาก freepik

หมด Passion / Burnout ไม่อยากทำงานแล้ว

หลายคนทำงานที่เดิมมานานก็อาจกำลังรู้สึกว่าทำแต่งานซ้ำ ๆ เดิม ๆ ทุกวัน โดยที่ไม่มีอะไรใหม่ ๆ มาท้าทาย หรือไม่รู้สึกว่าตัวเองเติบโตในสายงานนั้นแล้ว ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เขารู้สึกหมด Passion หรือ Burnout จนอยากรู้สึกลาออกได้ ซึ่งถ้าหากพนักงานกำลังรู้สึกแบบนี้ บริษัทควรต้องหาทางแก้ไขโดยด่วน

ให้ลองสังเกตว่าพนักงานคนนั้นมีอาการที่แสดงออกถึงความเครียด หมดพลัง หรือคิดอะไรใหม่ ๆ ไม่ออกแล้วหรือไม่ ถ้าเกิดว่าเป็นแบบนั้นอาจจะให้ Team Lead ลองเรียกพนักงานคนนั้นมาพูดคุยอย่างตรงไปตรงมา ลองวาง Career Path ให้กับเขา สนับสนุนในสิ่งที่เขาอยากทำ ให้ลองทำชาเลนจ์อะไรใหม่ ๆ ที่หลากหลาย โดยเฉพาะการลงลึกในสายงานของตัวเองมากกว่าพื้นฐานทั่วไป เมื่อทำแบบนั้นพนักงานก็จะรู้สึกไม่เบื่อและรู้สึกว่ามันมีสิ่งที่ท้าทายเขารออยู่ การเป็นคนที่เก่งแบบเฉพาะทางจริง ๆ มันก็ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ 

นอกจากนั้น การชื่นชมให้กำลังใจเขาก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยเติมไฟให้เขาได้อีกหนึ่งวิธี ถ้าเขาทำงานได้ดี ก็ควรจะชมบ้าง ไม่จำเป็นต้องวางฟอร์มจัด เพราะนั่นจะยิ่งทำให้พนักงานรู้สึกว่าเขาทำงานได้ไม่ดีพอหรือเปล่า หากเป็นแบบนั้นนาน ๆ เข้า เขาก็จะรู้สึกหมดไฟในที่สุดนั่นเอง

แต่จริง ๆ บางครั้งคนที่รู้สึกกำลังหมดไฟในการทำงาน เขาก็อาจจะไม่รู้ตัวเองก็ได้ว่าที่ผ่านมาเขาทำอะไรมาบ้าง แล้วสร้างอิมแพ็คให้กับบริษัทมาแค่ไหนแล้ว ถ้าหากบริษัทมีตัวช่วยที่ทำให้เห็นว่าเขาก็ทำงานได้ออกมาดีมาก ๆ เขาก็อาจจะไม่รู้สึกแบบนั้นก็ได้

ภาพจาก vipvorobjev

ชอบการทำงานแบบ Remote Working มากกว่าเข้าออฟฟิศ

ตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมาที่มีเหตุการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ครั้งใหญ่ก็ทำให้หลายบริษัทมีนโยบายให้พนักงานทำงานแบบ Remote Working หรือทำงานจากที่บ้านได้ แต่เมื่อเหตุการณ์เริ่มกลับมาดีขึ้น บางบริษัทก็เรียกให้พนักงานกลับมาทำงานที่ออฟฟิศแบบ 100% ด้วยเหตุนี้จึงทำให้พนักงานหลายคนไม่อยากกลับไปทำงานแบบนั้นอีกแล้ว จนบางคนตัดสินใจลาออกไปเลยก็มี

สำหรับวิธีแก้ไขก็คือ บริษัทควรมีนโยบายการทำงานแบบ Hybrid หรือแบบผสมระหว่างการ Remote Working และการเข้าออฟฟิศ เช่น เข้าบริษัท 3 วัน และ Remote Working 2 วัน แต่ก่อนอื่นบริษัทก็จำเป็นต้องมีการวางระบบที่ดีก่อน ด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างถูกต้องเหมาะกับการทำงานแต่ละอย่าง ซึ่งการทำงานแบบ Hybrid นอกจากจะช่วยตอบสนองความต้องการของพนักงาน, ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการเดินทางแล้วยังช่วยรักษาบรรยากาศที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงานไม่ให้ห่างเหินกันเกินไปอีกด้วย

Tip: ถ้าหากกังวลในเรื่องความสัมพันธ์ของทีม บริษัทก็สามารถจัด Company Night นัดให้พนักงานออกมาเจอกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น กินข้าว หรือไปเล่นกีฬาร่วมกันได้ เพื่อเป็นการอุดช่องว่างของความสัมพันธ์ของพนักงานได้ส่วนหนึ่ง

ภาพจาก uplers

ไม่มี Work-Life Balance ที่ดี

แน่นอนว่าพอนอกเวลางานแล้วทุกคนอยากมีเวลาเป็นของตัวเอง เพื่อไปใช้ชีวิตส่วนตัว ไปทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ พักผ่อน หรือหาความรู้เพิ่มเติมในส่วนอื่น ๆ มากขึ้น Work-Life Balance จึงเป็นสิ่งที่พนักงานส่วนใหญ่ต้องการ

บริษัทจึงควรมีการคำนึงถึง Work-Life Balance ของพนักงานแต่ละคนไว้ด้วย อย่างการมี Task Management ที่ดี เพราะถ้าหากบริษัทมีการจัดการที่ไม่ดี เช่น พนักงานคนหนึ่งสามารถทำงานได้มากสุด 3 งานต่อสัปดาห์ แต่จัด Task มาให้เขาทำ 5 งาน พนักงานคนนั้นก็อาจจะโฟกัสและทำงานที่ได้รับมอบหมายมาทั้งหมดได้ไม่เต็มที่ก็ได้ (ทั้ง ๆ ที่อีก 2 งานก็อาจจะไม่ได้รีบขนาดนั้น)

หรือในอีกกรณีหนึ่ง บริษัทควรรับสมัครทีมมาให้พอกับจำนวนงานที่มีอยู่ ไม่ให้งานไปกองที่คนใดคนหนึ่งมากเกินไป เพราะถ้าพนักงานคนที่ต้องรับภาระงานนั้นเยอะอาจจะรู้สึกว่าตัวเองต้องทำงานให้เสร็จทันเวลา ทำให้ต้องแบกงานกลับไปทำหลังเลิกงานหรือแม้กระทั่งวันหยุด เพื่อให้กระบวนการทุกอย่างราบรื่นไปได้ด้วยดี ไม่ให้เกิดปัญหาคอขวดมาติดที่ตัวเอง

นอกจากนั้น บริษัทควรจะต้องมีการแยกแพลตฟอร์มคุยงานออกจากชีวิตส่วนตัวกันอย่างชัดเจน เช่น ไม่ใช้ Line คุยงาน แต่มาใช้ Workchat แทน ไม่ทวงหรือสั่งงานในวันหยุด มีการวาง Roadmap ของแต่ละสัปดาห์อย่างชัดเจน ดูว่ามีอะไรที่ต้องทำให้สำเร็จในสัปดาห์นั้นบ้าง ใครเป็นคนทำ เพราะถ้าเราเห็นว่าใครที่ทำงานเยอะเกินไปก็สามารถแบ่งงานไปให้ทีมคนอื่นช่วยได้

ดังนั้น Work-Life Balance ก็ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้การทำงานออกมาอย่างมีประสิทธิภาพเหมือนกัน เพราะถ้าชีวิตมีแต่งาน พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่มีเวลาไปทำสิ่งใหม่ ๆ หรือหาความรู้เพิ่มเติม การสร้างสรรค์ก็จะเกิดขึ้นได้ยาก และสิ่งที่จะตามมาคือ ภาวะหมดไฟในการทำงาน นำไปสู่การลาออกในท้ายที่สุดนั่นเอง

ภาพจาก hult

สรุปทั้งหมด

การลาออกนั้นเป็นสิทธิ์โดยชอบธรรมของพนักงานทุกคน แต่บริษัทก็มีสิทธิ์ที่จะรับฟังเหตุผลจากพนักงานเช่นเดียวกันว่าทำไมพวกเขาถึงลาออก (หรือที่เราเรียกว่า Exit Interview) เพราะถ้าเกิดว่าการลาออกนั้นมีสาเหตุมาจากการจัดการขององค์กรเอง นี่ก็เป็น Feedback ที่ดีที่จะใช้ปรับปรุงที่จะนำไปปรับปรุงแก้ไข  เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาแบบเดียวกัน

เพราะถ้าบริษัทมีอัตราการลาออกที่สูง พนักงานที่เหลืออยู่ก็อาจจะเริ่มไม่มั่นใจในตัวบริษัทเองแล้วก็ได้ อาจทำให้ส่งผลกระทบอะไรอีกมากมายตามมา ดังนั้นถ้าเกิดการลาออกจริง ๆ ก็อยากให้ทั้งบริษัทและพนักงานพูดคุยกันอย่างเปิดใจจริง ๆ การจบลงอย่างสวยงาม ย่อมดีกว่าการมีเรื่องติดค้างคาใจกันและกัน เพราะในอนาคตก็มีโอกาสที่จะกลับมาร่วมงานกันอีกครั้งก็ได้ ดังนั้นรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันไว้ก็ถือว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดแล้ว

เขียนเหตุผลในการลาออกยังไงดี

เหตุผลที่ดีพอจะลาออกจากงาน.
1.อยากเติบโต ... .
2.บรรยากาศ งาน ผู้คน เป็นพิษ ... .
3.อยากเปลี่ยนสายงาน ... .
1.งานคือเงิน เงินคืองาน และเราต้องใช้เงิน! ... .
2.เป็นคนเบื่อง่าย.

ทำไมเราถึงลาออกจากงาน

พนักงานส่วนใหญ่ลาออกจากงานด้วยเหตุผลหลายประการ อาจเป็นไปได้ตั้งแต่ผู้จัดการไม่ดี เพื่อนร่วมงานไม่ดี ไม่ได้รับการยอมรับจากที่ทำงาน เงินเดือนกับหน้าที่ความรับผิดชอบสวนทางกัน มองไม่เห็นความก้าวหน้าในการทำงานและอื่นๆ อีกมากมาย

ข้อใดน่าจะเป็นเหตุผลดีที่สุดในการลาออกจากงาน

ตัวอย่าง 20 เหตุผล ดีๆ ในการลาออก.
1. ลาออก เพราะ ต้องกลับมาดูแลครอบครัว ... .
2. ลาออก เพราะ ต้องการเรียนต่อ ... .
3. ลาออก เพราะ ปัญหาสุขภาพ ... .
4. ลาออก เพราะ ต้องกลับไปดูแลธุรกิจของครอบครัว ... .
5. ลาออก เพราะ ต้องการบวช ไปศึกษาธรรมะ ... .
6. ลาออก เพราะ ต้องย้ายถิ่นฐาน ... .
7. ลาออก เพราะ เป้าหมายในชีวิตไม่ตรงกับ เป้าหมายของบริษัท.

บอกหัวหน้ายังไงว่าจะลาออก

ไหน ๆ คุณก็ตัดสินใจลาออกแล้ว คุณก็ควรบอกเจ้านายด้วยตัวเอง บอกถึงเหตุผลที่ทำให้คุณตัดสินใจไปทำงานที่บริษัทใหม่ เช่น ความก้าวหน้ามากกว่า เงินเดือนมากกว่า การเดินทางที่สะดวก ฯลฯ ทั้งนี้ คุณควรทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร โดยแจ้งล่วงหน้าไปยังบริษัทอย่างน้อย 1 เดือนด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณกลัวที่จะเผชิญหน้าเจ้านาย และคนใน ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้