ข่าว การ ทิ้ง ข้อมูลไว้บนโลกออนไลน์

  • Digital Footprint ส่งผลกับชีวิตเราอย่างไร
  • วิธีหลีกเลี่ยงการทิ้งรอยเท้าทางดิจิทัล

ไม่ว่าจะในโลกความจริงหรือโลกดิจิทัล การกระทำมีผลของมันเสมอ เช่นเดียวกับพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ต การใช้งานโซเชียลมีเดียในแพลตฟอร์มต่าง ๆ สามารถทิ้งร่องรอยและประวัติการใช้งานของเราเอาไว้ ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของเราได้


Digital Footprint คืออะไร?

Digital Footprint คือ รอยเท้าบนโลกดิจิทัล รวมทั้งพฤติกรรมการใช้งานโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Facebook, Twitter, Instagram และ YouTube การพิมพ์ข้อความคอมเมนต์ การโพสต์ข้อความ วิดีโอ เขียนบล็อก การเข้าสู่เว็บไซต์ การกดไลก์เพจ หรือแชร์ข้อความ พฤติกรรมการใช้งานต่าง ๆ เหล่านี้จะถูกบันทึกไว้ ให้ติดตามร่องรอยถึงตัวเราได้ ซึ่งทำให้ทั้งผู้ประสงค์ร้ายสามารถเข้าถึงเข้ามูลได้ ขณะเดียวกันผู้ที่ต้องการสืบค้นประวัติของคุณก็สามารถสืบค้นได้เช่นกัน


Digital Footprint มีด้วยกัน 2 ประเภท

หากจะให้อธิบาย Digital Footprint อย่างเข้าใจและเห็นภาพแล้วนั้น จะพบว่าสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ Passive Digital Footprint และ Active Digital Footprint


Passive Digital Footprint

เป็นข้อมูลทางดิจิทัลที่เราทิ้งไว้โดยไม่เจตนา โดยไม่ตั้งใจ ไม่รู้ตัวว่าได้ทิ้งร่องรอยไว้บนอินเทอร์เน็ต เช่น IP Address รวมทั้งการค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ต่าง ๆ เป็น Search History หรือแม้กระทั่งพาสเวิร์ดคอมพิวเตอร์ พาสเวิร์ดเข้าเว็บไซต์ที่ถูกบันทึกไว้อัตโนมัติ


Active Digital Footprint

เป็นข้อมูลทางดิจิทัลที่เปิดเผยโดยเจตนา เช่น การโพสต์ลงบนโซเชียลมีเดียส่วนตัวแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Facebook, Twitter, Instagram และ YouTube หรือการส่งอีเมล การเขียนบล็อก การคอมเมนต์เป็นข้อความหรือรูปภาพ ซึ่งสามารถสืบค้นและส่งผลต่อชีวิตเราได้


Digital Footprint กับโลกการทำงาน

Digital Footprint ที่แสดงถึงพฤติกรรมการใช้งานโซเชียลมีเดียของเรา ยังส่งผลต่อการทำงานได้ด้วย เพราะปัจจุบันหลายองค์กรนอกจากขอดูประวัติการทำงานผ่าน Resume หรือ Portfolio แล้ว ยังเข้าไปสืบค้นประวัติของคุณผ่านโซเชียลมีเดีย เพื่อประกอบการพิจารณารับเข้าทำงาน เพื่อให้เข้าถึงและรู้จักตัวตนของผู้สมัครมากยิ่งขึ้น ว่ามีความเหมาะสมกับองค์กรหรือไม่
โดยจากผลสำรวจของ CareerBuilder พบว่า ผู้ประกอบการกว่า 70% ยอมรับว่าใช้โซเชียลมีเดียในการค้นหาข้อมูลผู้สมัครประกอบการพิจารณา โดยกว่า 40% ปฏิเสธที่จะรับผู้สมัครเข้าทำงานหากโพสต์ภาพ วิดีโอ หรือข้อมูลในทางไม่เหมาะสม ฉะนั้นการที่จะโพสต์ ไลก์ แชร์ หรือคอมเมนต์ใด ๆ ขอให้คงความเป็นมืออาชีพ และมีความคิดสร้างสรรค์ไว้เป็นหลัก


วิธีการหลีกเลี่ยงการทิ้ง Digital Footprint

การใช้งานอินเทอร์เน็ตและโซเชียลอย่างระมัดระวัง คือสิ่งที่จะช่วยหลีกเลี่ยงการทิ้งร่องรอย Digital Footprint ได้ โดยเราอาจแบ่งออกเป็นตามการใช้งานแบบ Active และ Passive ซึ่งสามารถนำไปปฏิบัติได้ดังนี้


Active Digital Footprint

  • การโพสต์หรือการคอมเมนต์สามารถส่งผลดีและผลเสียต่อชีวิตของเราได้ ฉะนั้นเตือนตัวเองเสมอก่อนจะเขียนอะไรลงไป ใช้สติ และวิจารณญาณ และเขียนในเชิงที่สร้างสรรค์แทน
  • ถึงจะลบโพสต์หรือคอมเมนต์ไปแล้ว แต่รอยเท้าดิจิทัลนี้ก็ยังสามารถสืบค้นได้และอยู่ตลอดไปในโลกออนไลน์ จึงต้องเพิ่มความระมัดระวัง
  • ก่อนจะรับใครเป็นเพื่อน ไม่ว่าจะเป็นช่องทางออนไลน์ไหน ให้พิจารณาให้ดี เพราะเราอาจไปเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวให้กับมิจฉาชีพหรือแฮ็กเกอร์ล้วงความลับแบบไม่รู้ตัว


Passive Digital Footprint

  • แจ้งยกเลิกอีเมลที่ไม่ได้ใช้งาน
  • ตั้งค่าความเป็นส่วนตัวใน Account ต่าง ๆ
  • หลีกเลี่ยงการคลิกเข้าไปในเว็บไซต์ที่ไม่ใช่ Official Account เพื่อตอบแบบสอบถาม เพราะจะเป็นการดึงข้อมูลส่วนตัวของเราไปได้
  • หลีกเลี่ยงการโพสต์ที่เป็นสินทรัพย์ส่วนตัวที่จะทำให้สูญเสียทรัพย์สิน เช่น โพสต์อวดบ้าน อวดรถ เป็นต้น และหลีกเลี่ยงการแชร์โลเคชัน เพื่อให้มิจฉาชีพเข้าถึงได้ง่าย
  • ทำการตั้งค่าระบบความปลอดภัยเพื่อป้องกันอุปกรณ์สื่อสารและคอมพิวเตอร์ของคุณจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ และมีการแบ็กอัปข้อมูลไว้เสมอ
  • ปิดโหมดบลูทูธเมื่อไม่ได้ใช้งาน เพราะเป็นช่องทางดึงข้อมูลส่วนตัวจากมิจฉาชีพ
  • หมั่นอัปเดตระบบปฏิบัติของโทรศัพท์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์เสมอ
  • ตรวจสอบระบบ Wi-fi สาธารณะก่อนใช้งาน ไม่ใช้ Wi-fi ที่ให้เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว

จะเห็นว่าพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียของเรามีความสำคัญมากทีเดียว สามารถส่งผลต่อความปลอดภัย การดำเนินชีวิต และอนาคตการทำงานได้เลยทีเดียว ฉะนั้นก่อนคลิกทุกครั้งให้คิดก่อนนะครับ


ขอบคุณข้อมูลจาก

  • เว็บไซต์ The Matter
  • เว็บไซต์ HR Note Asia
  • เว็บไซต์ Cyfence

รอยเท้าดิจิทัล ภัยร้ายในสื่อสังคมออนไลน์

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ‘โลกโซเชียล’ ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนในปัจจุบัน ที่ไม่ว่าจะเป็นด้านข่าวสาร ความบันเทิง การเรียน การทำงาน รวมไปถึงการใช้ชีวิตต่าง ๆ เราก็สามารถที่จะโพสต์หรือแชร์ข้อมูลต่าง ๆ ให้กระจายไปถึงผู้อื่นได้ด้วยความรวดเร็ว

และด้วยความรวดเร็วของสื่อโซเชียลนี่แหละที่เปรียบเสมือนดาบสองคม ที่หากเราใช้อย่างระมัดระวังมันก็จะเกิดผลดีกับตัวเรา แต่หากเราปล่อยปะละเลย ใช้สื่อด้วยความประมาท มันก็พร้อมที่จะบาดและทำร้ายเราได้เช่นเดียวกัน วันนี้เราจึงพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ ‘รอยเท้าดิจิทัล’ ภัยร้ายที่อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิต

รอยเท้าดิจิทัลคืออะไร

คำว่ารอยเท้าดิจิทัลฟังดูเผิน ๆ เหมือนกับไม่ใช่พิษร้ายแรงอะไร แต่จริง ๆ แล้ว รอยเท้าดิจิทัล หรือ Digital footprint คือร่องรอยที่บุคคลทิ้งไว้ขณะท่องเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ต อาทิ เว็บไซต์ อีเมล รวมไปถึงแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ที่ผ่านการยืนยันตัวตนและป้อนข้อมูลเพื่อเข้าสู่ระบบ โดยรอยเท้าดิจิทัลจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

รอยเท้าดิจิทัลที่เกิดโดยไม่เจตนา (passive digital footprint)

  • เป็นข้อมูลที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีการบันทึกไว้โดยไม่ได้เจตนา อาทิ ประวัติการค้นหาออนไลน์ที่ถูกบันทึกไว้ผ่านโปรแกรมค้นหา หรือ search engines

รอยเท้าดิจิทัลที่เกิดโดยเจตนา (active digital footprint)

  • เป็นข้อมูลที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจงใจจะบันทึกข้อมูลส่วนตัวเอาไว้ในระบบ อาทิ การเขียนบล็อก การโพสต์ข้อความในสื่อโซเชียล การกดไลก์ในแอปพลิเคชั่น ไปจนถึงการแชร์รูปภาพและข้อความต่าง ๆ ทั้งหมดที่กล่าวมาล้วนเป็นรอยเท้าที่ผู้ใช้ได้ทิ้งเอาไว้ และหากเรายิ่งเล่นมันมากเท่าไหร่ รอยเท้าของเราก็จะยิ่งโตมากขึ้นเท่านั้น

[advanced_iframe iframe_hide_elements=”header,footer,#filterWrapper,.bread”  src=”//www.shopat24.com/it/notebook-pc/?show=all&filter.from_PRICE=5000&filter.to_PRICE=14000&sortBy=si&filter.initial_from_PRICE=4830&filter.initial_to_PRICE=39150&view=6/&utm_source=blog&utm_medium=iframe” change_iframe_links=”a” change_iframe_links_target=”_blank”]

ซึ่งแน่นอนเลยว่าเมื่อข้อมูลดิจิทัลของเราได้มีการเผยแพร่ออกไปก็ยากที่จะนำมันออกจากระบบ เพราะถึงแม้เราจะลบหรือปิดแหล่งข้อมูลออกไป แต่คนอื่น ๆ ที่กำลังให้ความสนใจคุณ อาจกำลังแกะรอยจากระบบดาต้าเบส (Database) ที่ไว้ใช้บันทึกข้อมูลกิจกรรมของคุณอยู่ตลอดเวลานั่นเอง

ข่าวสารจาก : BBC NEWS

ใช้สื่อโซเชียลอย่างไรให้ปลอดภัยมากที่สุด

  • ปกป้องชื่อเสียงของตัวเอง : เรื่องไหนที่ไม่มีความจำเป็น ก็ไม่ควรที่จะเผยแพร่ลงบนพื้นที่สาธารณะ เพราะข้อมูลเหล่านี้อาจส่งผลไปถึงการศึกษา ตลอดจนการสมัครงานของผู้ใช้
  • สร้างขอบเขตภายในพื้นที่ส่วนตัว : จำกัดข้อมูลที่มีความเป็นส่วนตัว เช่น ข้อมูลการศึกษา, ที่อยู่อาศัย, สถานที่ทำงาน, ข้อมูลด้านสุขภาพ ฯลฯ เพื่อป้องกันมิจฉาชีพที่จะเข้ามาสวมรอย
  • หลีกเลี่ยงการโพสต์ทรัพย์สินหรือของมีค่า : ของมีค่าเหล่านี้ถือเป็นชนวนชั้นดีที่อาจไปล่อตาล่อใจมิจฉาชีพ เมื่อคุณไม่ทันได้ระวังคุณอาจจะตกเป็นเป้าสายตา และเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางออนไลน์ได้
วิธีใช้สื่อโซเชียลให้ปลอดภัยที่สุด
  • ไม่ตั้งรหัสผ่านง่ายเกินไป : รหัสผ่านเปรียบเสมือนกุญแจสำคัญ ดังนั้นควรเลือกตั้งรหัสผ่านเฉพาะตัว ซับซ้อน และยากที่บุคคลอื่นจะสามารถเดาได้
  • ระมัดระวังการใช้บลูทูธ : ถึงแม้ว่าบลูทูธจะเป็นตัวช่วยที่มีความสะดวกสบาย แต่มันก็เป็นช่องทางที่ทำให้ผู้ไม่หวังดีแทรกซึมเข้ามาได้เช่นกัน (ควรปิดบลูทูธเมื่อไม่ใช้งาน)
  • ระมัดระวังเว็บไซต์หลอกลวงข้อมูล : หากเป็นเว็บไซต์ที่ไม่คุ้นเคย หรือมี URL ของเว็บไซต์ที่แปลกตาไปจากเดิม ควรหลีกเลี่ยงการกรอกข้อมูลส่วนตัวลงไป เพราะนั่นอาจเป็นวิธีการล้วงความลับเพื่อนำไปเปิดบัญชีอินเทอร์เน็ตแบงกิง

ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจโพสต์รูปภาพ ข้อความ หรือแชร์สิ่งต่าง ๆ ลงบนพื้นที่สาธารณะ คุณจำเป็นจะต้องคำนึงถึงผลลัพธ์ที่กำลังตามมา เพราะในอนาคตสิ่งที่คุณกำลังทำไปแบบไม่ได้คิดอะไร อาจจะเป็นภัยร้ายที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตได้เช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม:

  • XIAOMI ก้าวขึ้นเบอร์ 2 ตลาดสมาร์ทโฟนในไทย
  • iPhone 13 จะใช้หน้าจอ AMOLED 120Hz ผลิตโดย Samsung
  • ลือ! Apple Watch Series 8 อาจวัดแอลกอฮอล์ในเลือดได้
  • ส่อง! สมาร์ทโฟน Huawei P50 จอกว้าง ชิปเซ็ต Kirin 9000
  • Apple เปิดตัว AirTag อุปกรณ์ค้นหาและติดตามอัจฉริยะ ราคาเริ่มต้นไม่ถึงพัน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้