ใบรับรองแพทย์ สมัครงาน ตรวจอะไรบ้าง

ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ตรวจอะไรบ้าง

โดย | ก.พ. 14, 2020 | บทความสุขภาพ

“ ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ตรวจอะไรบ้าง จะต้องตรวจเอดส์ไหม กังวลมาก ” สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีแล้ว การจำกัด จำนวนคนที่จะรู้เรื่อง ผลเลือดของตน รวมถึงโอกาสในการทำสิ่งต่าง ๆ อย่างคนปกติทั่วไป ถือเป็นสิ่งที่มีผลต่อจิตใจ ดังนั้น ในการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน หากข้อกำหนด ในการตรวจสุขภาพของบริษัท จะรวมการตรวจเอชไอวีเข้าไปด้วยนั้น ก็จะยิ่งมีผลต่อจิตใจ และ เป็นสิ่งที่ บั่นทอนความรู้สึกของผู้ป่วย

การตรวจเชื้อเอชไอวี เป็นสิ่งที่ อยากให้ทุกคน ให้ความสำคัญ โดยเฉพาะผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ควรจะตรวจอย่างยิ่ง แต่ทั้งนี้ ก็เป็นเรื่องส่วนบุคคล เป็นความพึงพอใจ และความสบายใจที่จะตรวจ เรื่องนี้ จึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ใคร ๆ ก็ไม่มีสิทธิ์ ที่จะไปสุ่มตรวจผู้อื่น หรือบังคับให้ผู้อื่นตรวจได้

การ ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ตรวจอะไรบ้าง โดยทั่วไป
เพศชาย
• ตรวจร่างกายโดยแพทย์ (PE)
• เอกซเรย์ปอดและหัวใจ (CXR)
• ตรวจความสำบูรณ์ของเลือด (CBC)
• ตรวจความผิดปกติในปัสสาวะ (U/A)
• ตรวจปัสสาวะหาสารเสพติด (Amphetamine)
• ตรวจการมองเห็น สั้น/ยาว/ตาบอดสี (V/A)
เพศหญิง
• ตรวจร่างกายโดยแพทย์ (PE)
• เอกซเรย์ปอดและหัวใจ (CXR)
• ตรวจความสำบูรณ์ของเลือด (CBC)
• ตรวจความผิดปกติในปัสสาวะ (U/A)
• ตรวจปัสสาวะหาสารเสพติด (Amphetamine)
• ตรวจการตั้งครรภ์ (Preg Test)
• ตรวจการมองเห็น สั้น/ยาว/ตาบอดสี (V/A)
นอกจากการตรวจสุขภาพหลักๆ โดยทั่วไปแล้ว อาจมีการกำหนด ให้ผู้สมัครงานตรวจสุขภาพ อย่างอื่นเพิ่มเติม โดยขึ้นอยู่กับตำแหน่งงาน และขึ้นอยู่กับ ข้อกำหนดของบริษัท

แล้วสรุปว่า ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ตรวจเอดส์ไหม
ผลตรวจเชื้อเอชไอวี ถูกกำหนดให้ เป็นความลับส่วนบุคคล ห้ามมิให้ผู้ใดนำไปเปิดเผย โดยไม่ยินยอม หากบริษัทให้ผู้สมัครงาน ตรวจหาเชื้อเอชไอวี โดยใช้เป็นเงื่อนไข ในการจ้างงาน จะถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน  หากไม่ได้รับการยินยอม ของบุคคล อีกทั้ง การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ก็มิได้ระบุ อยู่ในข้อกฎหมายแรงงาน เป็นเพียงสิ่งที่บริษัท จัดตั้งเงื่อนไขขึ้นมาเอง ถึงแม้จะเป็นเช่นนี้ แต่อย่างไรก็ตาม การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ในเงื่อนไขใดๆ ก็ถือเป็นสิทธิส่วน (นิติ) บุคคลขององค์กรต่างๆ เช่นกัน เพื่อเป็นการป้องกันองค์กร และป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งหากผู้สมัคร มีการท้วงติง และไม่ยินยอมที่จะตรวจ ทางบริษัทก็มีสิทธิ์ ที่จะปฏิเสธการว่าจ้าง แต่หากมาตรวจ ทราบภายหลังการว่าจ้างไปแล้ว ทางบริษัท ไม่มีสิทธิ์ที่จะไล่บุคคลนั้นออก

ประเด็นการ ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน หรือ การตรวจสุขภาพประจำปี โดยการตรวจเลือดหาเอชไอวีด้วยนั้น ยังคงเป็นประเด็นที่ ถูกถกเถียงกันมากในสังคม ถึงแม้จะมีหลายๆ หน่วยงาน ที่ออกมาพูด แล้วว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ มีกฎหมายออกมาคุ้มครองโดยตรง มีเพียง พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตราที่ 7 โดยมีความว่า “ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล เป็นความลับส่วนบุคคล ผู้ใดจะนำไปเปิดเผย ให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้” ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ แต่ที่ผ่านมา ก็ไม่ได้มีการร้องเรียนอย่างจริงจัง เนื่องจากผู้เสียหายนั้น ไม่กล้าที่จะแสดงตน

การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ในส่วนของ การตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีนั้น คงขึ้นอยู่กับ ข้อกำหนดของทางบริษัท สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ต้องการจะสมัครงานใดๆ และกลัวว่า จะมีการตรวจเอชไอวีด้วย แนะนำให้อ่านรายละเอียด ในด้านการตรวจสุขภาพ ให้เข้าใจก่อนสมัคร หรือ หากมีการระบุที่ไม่ชัดเจน ให้สอบถามกับแผนกงาน Human Resources หรือ ที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า HR เพื่อให้ทราบรายละเอียดที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ทางเว็บไซต์ Thaihivtest.com ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจ ให้กับผู้ติดเชื้อเอชไอวีให้สามารถก้าวผ่านเรื่องนี้ไปให้ได้ และเป็นกำลังใจ ให้กับหน่วยงานที่กำลังดำเนินการในเรื่อง สิทธิมนุษยชในด้านนี้ ให้ประสบผลสำเร็จโดยเร็ว

"ใบรับรองแพทย์" หรือ ใบแพทย์ เอกสารสำคัญที่ใช้เพื่อรับรองสุขภาพร่างกายและจิตใจ มักใช้ยื่นประกอบการพิจารณากฎเกณฑ์ต่างๆ เช่น ยื่นลาป่วย ยื่นสมัครงาน ยื่นเคลมประกันชีวิต และยื่นขอทำใบขับขี่ เป็นต้น ซึ่งใบรับรองแพทย์แต่ละประเภทก็อาจจะมีรายละเอียด และข้อกำหนดที่แตกต่างกัน จึงควรศึกษาข้อมูลก่อนจะยื่นขอใบรับรองแพทย์แต่ละประเภท

ความหมาย และความสำคัญของใบรับรองแพทย์

แพทยสภาให้ความหมายของใบรับรองแพทย์ ไว้ว่า เป็นเอกสารประเภทหนึ่ง โดยทั่วไปจะเขียนในกระดาษที่เป็นแบบฟอร์มเฉพาะ (ปัจจุบันหลายแห่งปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์) อาจมีคำว่าใบรับรองแพทย์ หนังสือรับรองใบแพทย์ หรือข้อความอื่นที่แสดงว่าเป็นเอกสารที่ออกจากแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม

ใบรับรองแพทย์ยังใช้ยืนยันว่า แพทย์ได้ทำการตรวจร่างกาย หรือตรวจโรคให้กับผู้หนึ่งผู้ใดแล้ว หลังจากนั้นจึงออกใบรับรองว่าได้ "มาตรวจจริงๆ" ซึ่งใบรับรองแพทย์แต่ละประเภทก็จะมีจุดประสงค์ในการใช้ที่แตกต่างกัน โดยจำแนกตามเหตุผลหลักๆ ที่ผู้ป่วยต้องการนำไปใช้ ยกตัวอย่างเช่น

1. เกี่ยวข้องกับการมาตรวจรักษา
2. เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่าย (ค่ารักษาพยาบาล)
3. เกี่ยวข้องกับการลางาน (ลาป่วย)
4. เกี่ยวข้องกับทางประกัน (เรียกร้องสิทธิ์ทางประกันภัยประเภทต่างๆ)
5. เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้อง หรือดำเนินการทางคดี 

อย่างไรก็ตาม ทางแพทยสภายังไม่มีการจำแนกประเภทของใบรับรองแพทย์ไว้อย่างชัดเจน โดยกำหนดให้เป็นไปตามดุลยพินิจของแพทย์เอง

ใบรับรองแพทย์ 5 โรคคืออะไร?

แต่เดิมใบรับรองแพทย์เพื่อการรับรองสุขภาพที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน ถูกเรียกว่า "ใบรับรองแพทย์ 5 โรค" เนื่องจากเมื่อก่อนมีโรคที่จำเป็นต้องให้แพทย์รับรองอยู่จำนวน 5 โรค ได้แก่
1. วัณโรคในระยะแพร่เชื้อ
2. โรคเท้าช้าง
3. โรคที่เกิดจากสารเสพติด
4. โรคพิษสุราเรื้อรัง
5. โรคอื่นๆ ที่เรื้อรังหรือร้ายแรง

นับแต่ปลายปี 2551 เป็นต้นมา แพทยสภาได้ปรับเปลี่ยนให้มีการรับรองแบบฟอร์มในใบรับรองแพทย์ให้เหลือเพียง 3 โรคเท่านั้น เพื่อเป็นการยืนยันว่าผู้มาตรวจไม่ได้มีโรคแสดงอาการชัดเจนที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียน และการทำงาน แต่ทั้งนี้ การจะตรวจกี่โรคนั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับต้นสังกัดของผู้มาตรวจ ว่าต้องการให้ตรวจโรคใดบ้าง เพื่อให้การตรวจร่างกายรับรองสุขภาพตรงตามจุดประสงค์มากที่สุด

ตัวอย่างแบบฟอร์มใบรับรองแพทย์ (ที่มา : แพทยสภา)

ใบรับรองแพทย์ สำหรับลาป่วย
พนักงานบริษัท หรือลูกจ้างหน่วยงานต่างๆ อาจเกิดความสงสัยว่า กรณีป่วยไข้ จำเป็นต้องยื่นใบรับรองแพทย์ต่อนายจ้างหรือไม่ ซึ่งทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้ว่า หากลาป่วยไม่ถึง 3 วัน ไม่ต้องแสดงใบรับรองแพทย์ เพราะบางครั้งการที่ลูกจ้างเจ็บป่วยเพียง 1-2 วัน ก็อาจไม่ได้ไปสถานพยาบาลเสมอไป แต่อาจจะซื้อยามากินเอง และพักผ่อนเพื่อให้อาการดีขึ้นก็ได้

ใบรับรองแพทย์ สำหรับสมัครงาน
การสมัครงานในปัจจุบัน หลายองค์กรขอใบรับรองแพทย์จากตัวผู้สมัคร เมื่อผ่านขั้นตอนการสัมภาษณ์งาน และกำลังจะรับเข้าทำงาน เพื่อยืนยันว่า มีความพร้อมด้านสุขภาพในการปฏิบัติงาน ซึ่งแต่ละองค์กรก็อาจจะกำหนดการตรวจร่างกายว่า ควรตรวจโรคใดเป็นพิเศษบ้าง  

ใบรับรองแพทย์ สำหรับทำใบขับขี่
หนึ่งในเอกสารที่ต้องเตรียมให้พร้อมสำหรับยื่นขอทำใบขับขี่ ก็คือ "ใบรับรองแพทย์" และต้องเป็นใบรับรองแพทย์ตามแบบที่แพทยสภารับรอง เพื่อให้มีข้อมูลการตรวจที่ครบถ้วนสมบูรณ์ และเป็นรูปแบบที่ถูกต้อง

สำหรับคนที่สงสัยว่าใบรับรองแพทย์ มีอายุกี่วัน คำตอบคือ มีอายุไม่เกิน 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่ไปขอใบรับรองแพทย์จนถึงวันที่มาสมัครทำใบขับขี่ โดยจะต้องแจ้งโรงพยาบาล สถานพยาบาล หรือคลินิก ให้ชัดเจนด้วยว่า ขอใบรับรองแพทย์สำหรับประกอบการขอรับใบขับขี่ 

ใบรับรองแพทย์ ถือเป็นเอกสารที่หลายคนอาจจำเป็นต้องใช้ในกรณีต่างๆ การทำความเข้าใจประเภท รายละเอียด รวมถึงเงื่อนไขต่างๆ จะช่วยให้ขอใบรับรองแพทย์ได้ตามวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ การจะขอใบรับรองแพทย์แต่ละครั้ง ก็ควรขอจากสถานพยาบาลที่แพทยสภาให้การรับรองอย่างถูกต้อง.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้