ความดันตัวล่างต่ํา ตัวบนสูง

นาย วิศิษฐ์ จันทร์วิเศษ : ผู้ถาม
ผมได้เป็นสมาชิกนิตยสาร “หมอชาวบ้าน” ปีแรก และได้ซื้อหนังสือ ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป ของ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ เมื่ออ่านแล้วผมได้รับความรู้อย่างมากมายคุ้มค่าจริง ๆ ผมได้อ่านเรื่องความดันโลหิตสูง มีบอกไว้ว่าความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ทั้งค่าบนและค่าล่าง บางรายสูงข้างบนอย่างเดียว ( isolated systolic hypertension ) พบในผู้สูงอายุ โรคคอพอกเป็นพิษ ภาวะหลอดเลือดใหญ่แดงตีบ

แต่ผู้ป่วยความดันโลหิตค่าล่างสูงอย่างเดียวผิดปกติ ( diastolic hypertension ) ขอถามว่า
1. มักจะพบกับบุคคลระดับอายุเท่าใด
2. มีสาเหตุ การรักษา และการใช้ยาอย่างไร
3. บางคนบอหกว่าค่าล่างสูงอย่างเดียวอาจมีไขมันในหลอดเลือดจริงหรือไม่
หวังว่าคุณหมอคงจะกรุณาตอบให้เป็นที่เข้าใจด้วย

นพ. สุรเกียรติ อาชานานุภาพ : ผู้ตอบ
ปกติความดันโลหิตจะมี 2 ค่าคือ ค่าบนกับค่าล่าง ค่าบนหมายถึงค่าความดันที่วัดได้ขณะหัวใจบีบตัว ( ในผู้ใหญ่ค่าปกติจะต่ำกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท ) ส่วนค่าล่าง หมายถึงค่าความดันที่วัดได้ขณะหัวใจคลายตัว ( ในผู้ใหญ่ค่าปกติจะต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท )

ถ้าหากมีค่าบนหรือค่าล่าง ค่าใดค่าหนึ่งสูงเกินปกติ ก็ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง
โดยทั่วไปผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงมักจะมีค่าล่างสูง ( ตั้งแต่ 90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ) ร่วมกับค่าบนสูง ( ตั้งแต่ 140 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ) มีน้อยคนที่จะสูงเฉพาะค่าล่าง โดยค่าบนไม่สูงและเนื่อง
จากผู้ป่วยที่มีความดันค่าล่างสูง ไม่ว่าจะมีค่าบนสูงหรือไม่ก็ตาม จะมีสาเหตุ การรักษา และการใช้ยาเหมือน ๆกัน จึงไม่ได้แยกเป็นกลุ่มย่อยออกไปต่างหาก

ส่วนผู่ที่มีความดันค่าบนสูงเพียงอย่างเดียว โดยค่าล่างไม่สูง จะพบในกลุ่มผู้สูงอายุ กับผู้ที่มีความผิดปกติบางอย่าง ( เช่น คอพอกเป็นพิษ หลอดแดงใหญ่ตีบ ) ซึ่งจะมีวิธีการและการใช้ยาแตกต่างจากกลุ่มผู้ป่วยที่มีค่าล่างสูง จึงได้จัดแยกประเภทไว้ต่างหาก

ดังนั้นจึงขอตอบคำถามของคุณเป็นข้อ ๆ ดังนี้ครับ
1. ผู้ป่วยที่มีความดันค่าล่างสูงอย่างเดียว จะพบในคนอายุตั้งแต่ 30-35 ปีขึ้นไป ( เช่นเดียวกับผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงทั้ง 2 ค่า ) และจะพบได้มากขึ้นตามอายุที่สูงขึ้น

2. มีสาเหตุ การรักษา และการใช้ยาเหมือนกับผู้ที่มีค่าความดันสูงทั้ง 2 ค่า
สาเหตุมักเกี่ยวกับกรรมพันธุ์ ( มีพ่อแม่ พี่น้องเป็นด้วย ) หรือน้ำหนักตัวมากเกิน ส่วนความเครียด การกินเค็ม และการดื่มเหล้าจัด จะเป็นปัจจัยทำไห้โรคกำเริบมากขึ้น หรือทำให้การรักษาได้ผลน้อยลง
ส่วนการรักษา ผู้ป่วยจะต้องหาทางลดน้ำหนัก ( ถ้าน้ำหนักเกิน ) หมั่นออกกำลังกาย คลายเครียด ลดอาหารเค็มและอาหารที่มีเกลือโซเดียมสูง ( เช่น ผงชูรส ผงฟู สารกันบูด ) ควรงดเหล้าหรือดื่มแต่ปริมาณเพียงเล็กน้อย และควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะเสริมให้ภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือด ( เช่น งดสูบบุหรี่ ควบคุมโรคเบาหวาน หรือภาวะไขมันเลือดสูงที่อาจพบร่วมด้วย )

ส่วนยาลดความดันมีให้เลือกใช้อยู่หลายชนิด โดยควรปรึกษาแพทย์ ซึ่งจะเลือกชนิดและปรับขนาดของยาได้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจึงควรเลือกติดตามรักษากับแพทย์ใกล้บ้านที่ไว้ใจคนใดคนหนึ่งเป็นประจำ ข้อสำคัญโรคนี้มักจะไม่มีอาการให้รู้สึก ( ได้ชื่อว่า “ นักฆ่าเงียบ ” หรือ “ มัจจุราชมืด ” )

3. ข้อนี้ไม่จริงเสมอไปครับ ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเพียงบางคนเท่านั้นครับที่อาจมีภาวะไขมันในเลือดสูง เบาหวาน หรือโรคเกาต์ร่วมด้วย ซึ่งโรคเหล่านี้อาจเสริมให้เกิดโรคแทรกช้อนทางหัวใจและหลอดเลือดได้มากขึ้น ถ้าพบก็ต้องรักษาโรคเหล่านี้ควบคู่กันไป

ความหมาย ความดันต่ำ

Share:

ความดันต่ำ (Low Blood Pressure/Hypotension) เป็นภาวะความดันโลหิตในหลอดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ หรือมีค่าความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท (mmHg) ในผู้ใหญ่ สำหรับบางรายที่มีภาวะความดันเลือดต่ำ แต่ไม่พบอาการผิดปกติใด ๆ ในทางการแพทย์ยังจัดว่าสุขภาพเป็นปกติดีและไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา

โดยปกติหัวใจจะมีการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายอย่างสม่ำเสมอผ่านหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำ และหลอดเลือดฝอย โดยอาศัยแรงดันภายในหลอดเลือดเป็นตัวช่วยสูบฉีด ซึ่งมีค่าการวัดเป็นมิลลิเมตรปรอท และสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ค่า โดยตัวแรก (หรือตัวบน) เรียกว่า ค่าความดันโลหิตซีสโตลิค (Systolic Pressure) เป็นแรงดันในหลอดเลือดแดงขณะหัวใจบีบตัว และตัวที่สอง (หรือตัวล่าง) เรียกว่าค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิค (Diastolic Pressure) เป็นแรงดันในหลอดเลือดแดงขณะหัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของผู้ใหญ่จะอยู่ระหว่าง 90/60 มิลลิเมตรปรอท และ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ดังนั้น หากวัดค่าความดันโลหิตได้สูงต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท จึงทำให้เกิดภาวะความดันเลือดต่ำ แต่ถ้าค่าที่วัดได้สูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไปจะจัดเป็นภาวะความดันโลหิตสูง

นอกจากนี้ ภาวะความดันโลหิตต่ำยังแบ่งออกได้หลายประเภทตามลักษณะในแต่ละช่วงเวลาที่ค่าความดันโลหิตลดลง เช่น ความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่า (Orthostatic Hypotension) จะเกิดเมื่อมีการเปลี่ยนท่าทางอย่างทันทีทันใดจากการนั่งหรือนอนมาลุกขึ้นยืน หรือจากท่านอนมาเป็นท่านั่ง ความดันโลหิตต่ำหลังรับประทานอาหารมื้อใหญ่ (Postprandial Hypotension) ความดันโลหิตต่ำขณะยืนเป็นเวลานาน (Neurally Mediated Hypotension) หรือความดันโลหิตต่ำรุนแรงจนนำไปสู่อาการช็อก

อาการของภาวะความดันโลหิตต่ำ

ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำกว่าปกติโดยธรรมชาติมักไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ แต่สำหรับผู้ที่เคยมีความดันโลหิตสูงแล้วลดลง แม้อาจไม่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยความดันโลหิตปกติก็ถือว่าเป็นภาวะผิดปกติที่ต้องรักษา ภาวะความดันโลหิตต่ำบางครั้งอาจเป็นผลมาจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอหรือมีความผิดปกติเกิดขึ้นภายในร่างกายจนเป็นผลให้ภาวะความดันโลหิตลดต่ำลง ผู้ป่วยจึงอาจพบอาการได้ดังนี้

  • วิงเวียนศรีษะ หน้ามืด เป็นลม
  • ทรงตัวไม่อยู่
  • มองเห็นภาพไม่ชัด
  • ใจสั่น ใจเต้นแรง
  • อาการมึนงง สับสน
  • คลื่นไส้
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • หายใจตื้นและถี่
  • กระหายน้ำ
  • ตัวเย็น ผิวซีด หนาวสั่น

อาการเหล่านี้มักจะเป็นชั่วคราว สำหรับผู้ป่วยที่เกิดอาการเล็กน้อยสามารถทำให้ดีขึ้นด้วยการดื่มน้ำมาก ๆ หยุดทำกิจกรรมในขณะนั้น ค่อย ๆ นั่งพักหรือนอนลงชั่วครู่ แต่หากเป็นบ่อยหรือรุนแรงขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจดูและหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ เพราะอาจเป็นผลมาจากความผิดปกติด้านอื่นจนเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต

สาเหตุของภาวะความดันโลหิตต่ำ

ความดันโลหิตต่ำเกิดได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่พฤติกรรมการใช้ชีวิต การรับประทานยา ไปจนถึงเป็นผลพวงมาจากความผิดปกติของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ซึ่งสาเหตุของภาวะความดันโลหิตต่ำที่พบได้บ่อยอาจมาจาก

  • พันธุกรรม อาจมีส่วนให้เกิดภาวะความดันต่ำในรุ่นลูกหากพบว่าพ่อแม่มีภาวะความดันโลหิต ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้ว่ามีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • อายุ ความดันโลหิตจะมีความแตกต่างกันในแต่ละวัน โดยปกติจะมีแนวโน้มสูงขึ้นตามอายุที่มากขึ้น
  • การรับประทานยา ยาบางชนิดอาจส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาเบต้า บล็อกเกอร์ (Beta Blocker) ที่รักษาโรคหัวใจ ยารักษาโรคพาร์กินสัน ยากลุ่มไตรไซคลิก (Tricyclic Antidepressants: TCA) ยารักษาผู้ที่มีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ บางรายอาจเกิดขึ้นได้ง่ายเมื่อมีการรับประทานยาชนิดอื่นร่วมกับยาเสพติด แอลกอฮอล์ หรือยารักษาโรคความดันโลหิตสูง   
  • ภาวะขาดน้ำ เมื่อร่างกายสูญเสียน้ำปริมาณมาก เช่น การขับน้ำออกทางผิวหนังในรูปแบบของเหงื่อ การอาเจียน หรือท้องเสีย
  • อาการป่วยหรือปัญหาสุขภาพ โรคประจำตัว ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย หรือสภาวะที่ต้องนอนพักอยู่บนเตียงเป็นระยะเวลานาน อาจนำไปสู่ภาวะความดันโลหิตต่ำขึ้นได้ เช่น
    • โรคโลหิตจาง เกิดจากปริมาณฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ที่เป็นสารสำคัญในเม็ดเลือดมีปริมาณต่ำกว่าปกติหรือมีจำนวนเม็ดเลือดแดงน้อย อันเนื่องมาจากการสูญเสียเลือดปริมาณมากจากการบาดเจ็บรุนแรง ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ ภาวะเลือดออกภายใน สามารถส่งผลให้ภาวะความดันโลหิตลดต่ำลงได้
    • ความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของหัวใจ เช่น ภาวะหัวใจเต้นช้า (Bradycardia) ลิ้นหัวใจมีปัญหา ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งเป็นผลทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ในปริมาณที่ร่างกายต้องการ
    • ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาทอัตโนมัติ ผู้ที่มีความผิดปกติหรือโรคเกี่ยวกับระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System) ซึ่งจะเป็นตัวควบคุมการทำงานหลายส่วนภายในร่างกาย และควบคุมความกว้างและแคบของหลอดเลือด อาจส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ เช่น โรคพาร์กินสัน
    • ปัญหาเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ เช่น ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน ภาวะต่อมหมวกไตทำงานบกพร่อง ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือในบางรายอาจมาจากโรคเบาหวาน
    • การสื่อสารระหว่างหัวใจและสมองผิดพลาด อาจก่อให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำบางประเภท เช่น Neurally Mediated Hypotension เป็นภาวะความดันโลหิตที่เกิดจากการยืนเป็นระยะเวลานาน ทำให้ร่างกายส่งสัญญาณไปยังสมองว่าเกิดภาวะความดันโลหิตสูงมากเกินไป แต่แท้จริงแล้วร่างกายมีความดันโลหิตต่ำ ด้วยเหตุนี้สมองจึงสั่งให้หัวใจลดอัตราการเต้นให้ช้าลง ความดันโลหิตจึงลดต่ำลงกว่าเดิม
  • การบาดเจ็บอย่างรุนแรงหรือภาวะช็อก ความดันโลหิตต่ำอาจเกิดจากการบาดเจ็บที่รุนแรงและเกิดบาดแผลขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่สูญเสียเลือดในปริมาณมาก บางรายที่เกิดอาการช็อกเนื่องจากการได้รับบาดเจ็บสาหัส ก็อาจเกิดความดันต่ำได้ นอกจากนี้ยังเกิดได้จากการติดเชื้อรุนแรง หรืออาการแพ้อย่างรุนแรง เช่น
    • ภาวะติดเชื้อรุนแรงในกระแสเลือด (Septic Shock/Toxic Shock Syndrome) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้สารน้ำในร่างกายไหลออกจากหลอดเลือดเข้าสู่เนื้อเยื่อรอบข้าง
    • ภาวะช็อกจากอาการแพ้ (Anaphylactic Shock) เป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้อย่างเฉียบพลัน ทำให้ร่างกายผลิตสารเคมีที่ชื่อว่า ฮีสตามีน (Histamine) ในปริมาณมาก ทำให้มีปัญหาทางด้านการหายใจ ลมพิษขึ้น มีอาการคัน คอบวม รวมไปถึงความดันโลหิตลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว   
    • ภาวะช็อกจากหัวใจทำงานผิดปกติ (Cardiogenic Shock) ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้เพียงพอ มักเกิดขึ้นในภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

อีกทั้งความดันโลหิตปกติสามารถมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดทั้งวัน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายส่วน เช่น กิจกรรมที่ทำในขณะนั้น ความเครียด อุณหภูมิ อาหาร ช่วงเวลาในระหว่างวัน ล้วนส่งผลต่อค่าความดันโลหิตทั้งสิ้น

การวินิจฉัยความดันโลหิตต่ำ

สิ่งสำคัญที่แพทย์ต้องทราบก่อนทำการรักษา คือ ประเภทและระดับความรุนแรงของภาวะความดันโลหิตต่ำที่ผู้ป่วยเป็น รวมไปถึงสภาวะที่อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ เพื่อการวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง

โดยปกติแพทย์จะสอบถามประวัติทางการแพทย์ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้น การตรวจร่างกายทั่วไป จากนั้นจะมีการตรวจวัดความดันโลหิตของผู้ป่วยว่าอยู่ในระดับปกติหรือไม่ และตรวจหาภาวะช็อก ซึ่งเป็นภาวะที่ค่อนข้างอันตราย

นอกจากนี้ ในรายที่มีอาการรุนแรง มีอาการเกิดขึ้นบ่อย และการดูแลในเบื้องต้นไม่ช่วยให้อาการดีขึ้นอาจจะต้องมีการตรวจด้านอื่นเพิ่มเติมตามลักษณะอาการของผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์เพื่อหาสาเหตุ เช่น

  • การตรวจเลือด (Blood Tests) ขั้นตอนการตรวจใช้เวลาไม่นานและไม่ซับซ้อน ผู้ป่วยจะนอนหรือนั่ง เพื่อเก็บตัวอย่างเลือดไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งทำให้ทราบข้อมูลหลายส่วนในเลือด รวมไปถึงโรคโลหิตจาง หรือระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลหิตต่ำ
  • การตรวจระบบประสาทอัตโนมัติหัวใจด้วยเตียงปรับระดับ (Tilt Table Test) แพทย์จะให้ผู้ป่วยนอนลงบนโต๊ะตรวจเฉพาะที่ออกแบบให้สามารถปรับระดับความลาดเอียงได้ เพื่อตรวจดูค่าความดันโลหิตของผู้ป่วยในขณะที่เปลี่ยนแปลงท่าทาง
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: EKG) การทดสอบสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจในแต่ละจังหวะการเต้นของหัวใจว่ามีความสม่ำเสมอหรือผิดปกติไป
  • การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง (Holter and Event Monitors) เป็นการบันทึกการทำงานของหัวใจตลอดระยะเวลา 24 ชั่วโมงด้วยเครื่องบันทึกการทำงานของหัวใจขนาดเล็กและพกพาได้ง่าย จึงทำให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้เป็นปกติ ทำให้ตรวจพบความผิดปกติได้ง่าย
  • การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Stress Test) เป็นการตรวจดูการทำงานของหัวใจขณะออกกำลังกาย เนื่องจากความผิดปกติของหัวใจบางอย่างสามารถตรวจพบได้ง่ายเมื่อหัวใจทำงานหนักและมีการสูบฉีดมากขึ้น ซึ่งโดนกระตุ้นจากการออกกำลังกาย
  • การตรวจระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System) เป็นการตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงจังหวะการเต้นของหัวใจในขณะทำกิจกรรมบางอย่าง เพื่อวัดค่าความดันโลหิตที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ในขณะผู้ป่วยหายใจเข้าลึก ๆ หรือจุ่มมือลงในน้ำเย็นจัด
  • การตรวจปัสสาวะใน 24 ชั่วโมง (24 Hour Urine Test) แพทย์จะให้ผู้ป่วยเก็บปัสสาวะตลอดในช่วงระยะเวลา 24 ชั่วโมงลงในบรรจุภัณฑ์ที่เตรียมไว้ให้ก่อนนำกลับมาส่งคืนให้แพทย์ เพื่อนำไปตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ในระหว่างนี้ควรเก็บปัสสาวะไว้ในที่เย็น

การรักษาภาวะความดันโลหิตต่ำ

จุดประสงค์ของการรักษาจะเป็นการมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมความดันโลหิตให้กลับมาสู่ภาวะปกติและบรรเทาอาการอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีการตอบสนองต่อการรักษาที่แตกต่างกันออกไปตามหลายปัจจัย เช่น วัย สุขภาพ ความแข็งแรงของร่างกาย หรือการใช้ยา ทั้งนี้ วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับชนิดของภาวะโลหิตต่ำและความรุนแรงของอาการเป็นหลัก

ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำระดับไม่รุนแรงและมีสุขภาพแข็งแรงสามารถควบคุมภาวะความดันโลหิตต่ำได้ด้วยการปฏิบัติตนตามคำแนะนำทั่วไป ดังนี้

  • หากเกิดอาการอันเนื่องมาจากภาวะความดันโลหิตต่ำ ควรนั่งพักหรือนอนลงทันทีที่มีอาการ โดยพยายามยกเท้าให้อยู่สูงกว่าระดับหัวใจ
  • เคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ โดยเฉพาะในช่วงเช้าของวัน เพื่อเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย เช่น ยืดเส้นยืดสายทุกเช้าก่อนลุกขึ้นมาทำกิจกรรมอื่น ๆ ของวัน อาจเป็นการบิดตัว ไข้วขา เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการยืนเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันภาวะโลหิตต่ำที่เกิดจากการสื่อสารผิดระหว่างหัวใจและสมอง (Neutrally Mediated Hypotension)  
  • สวมใส่ถุงเท้าประเภทที่ช่วยเพิ่มความดัน (Support Stockings/Compression Stockings) ซึ่งเป็นถุงเท้าที่ทำมาจากผ้ายืด มีความยืดหยุ่นและรัดแน่น เพื่อช่วยระบบการไหลเวียนของเลือดและเพิ่มความดันโลหิต แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ เพราะอาจไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยทุกราย
  • ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในตอนกลางคืน และจำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจไปกระตุ้นให้เกิดภาวะความดันต่ำได้มากขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ในมื้อเดียว แต่ควรแบ่งรับประทานอาหารทีละน้อยในแต่ละมื้อ

แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตต่ำจากการบาดเจ็บอย่างรุนแรงหรือเกิดภาวะช็อกขึ้น จำเป็นต้องได้รับน้ำเกลือและหาสาเหตุอย่างเร่งด่วนจากแพทย์ รวมไปถึงผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงขึ้นและเป็นอย่างต่อเนื่องก็ควรเข้าพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธีด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติม เช่น

  • การให้น้ำเกลือ (IV Fluids) ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำจากภาวะการขาดน้ำและเกลือแร่ สูญเสียเลือด หรือเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด อาจได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำเพื่อช่วยเพิ่มความดันโลหิตให้สูงขึ้น
  • รักษาต้นเหตุของภาวะความดันโลหิตต่ำ หากแพทย์สงสัยว่าภาวะความดันโลหิตต่ำมาจากความผิดปกติหรือโรคประจำตัว ผู้ป่วยอาจจะต้องมีการตรวจด้านอื่นเพิ่มเติมและการรักษาเฉพาะโรคนั้น ๆ เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำจากฮอร์โมนผิดปกติ อาจต้องได้รับการตรวจจากผู้เชี่ยวชาญด้านฮอร์โมนโดยเฉพาะ และรักษาด้วยการให้ฮอร์โมนทดแทน
  • การรักษาด้วยยา หากการรักษาด้วยการปรับพฤติกรรมตามคำแนะนำและการให้สารน้ำทางเส้นเลือดไม่สามารถบรรเทาอาการ แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยว่าควรใช้ยาในกลุ่มใดที่เหมาะกับผู้ป่วยตามสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิต ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยยาหลายกลุ่ม เช่น
    • แอลฟา อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์ (Alpha Adrenergic Receptor Agonists) ช่วยเพิ่มความดันโลหิต และลดอาการจากภาวะความดันโลหิตต่ำ
    • สเตอรอยด์ (Steroid) ช่วยป้องกันการสูญเสียเกลือแร่ในร่างกาย เพิ่มปริมาณของเหลวและความดันโลหิตให้สูงขึ้น
    • ยาเพิ่มความดันโลหิต (Vasopressors) ออกฤทธิ์บีบหลอดเลือดให้เล็กลง เพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังสมอง และลดอาการจากภาวะความดันโลหิตต่ำอื่น ๆ
    • ยาแอนติไดยูเรติก ฮอร์โมน (Antidiuretic Hormone) ช่วยควบคุมความดันโลหิตและลดการตื่นมาปัสสาวะกลางดึกบ่อย ๆ
    • ยาทางจิตเวช (Antiparkinson Drugs) ช่วยเพิ่มความดันโลหิตให้สูงขึ้นและลดอาการจากภาวะความดันโลหิตต่ำอื่น ๆ     

ภาวะแทรกซ้อนของภาวะความดันโลหิตต่ำ

ภาวะความดันโลหิตต่ำไม่รุนแรงอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในการหกล้มได้มากที่สุด และอาจรุนแรงจนถึงขั้นทำให้สะโพกหักหรือกระดูกสันหลังร้าว โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ และส่งผลให้ความสามารถในการเคลื่อนไหวของร่างกายยากลำบากขึ้น มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา

แต่ในรายที่มีความดันลดต่ำลงจนทำให้เกิดอาการรุนแรงงอาจทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนจนทำให้หัวใจ สมอง หรืออวัยวะต่าง ๆ เกิดความเสียหาย และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้หากได้รับการรักษาไม่ทัน

การป้องกันภาวะความดันโลหิตต่ำ

ภาวะความดันโลหิตต่ำแต่ละชนิดมีสาเหตุการเกิดที่แตกต่างกัน การป้องกันอาจไม่สามารถทำได้เต็มที่ แต่สามารถช่วยลดความเสี่ยงด้วยการการปฏิบัติตนตามคำแนะนำ ดังนี้

  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอในแต่ละวัน เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ เกลือแร่ และเพิ่มปริมาณเลือดให้สูงขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจจะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากขึ้น
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสารอาหารครบถ้วน เน้นอาหารประเภทผัก ผลไม้ ธัญพืช เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
  • การลุกหรือนั่งไม่ควรเปลี่ยนท่าทางอย่างรวดเร็วมากเกินไป
  • ตรวจเช็คความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละมื้อ โดยแบ่งรับประทานเป็นมื้อย่อย ๆ หลายมื้อ และควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น มันฝรั่ง ข้าว พาสต้า และขนมปัง ในปริมาณมาก เพื่อป้องกันความดันโลหิตลดต่ำลงอย่างรวดเร็วหลังรับประทานอาหาร

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้