หา งาน คู่ สามี ภรรยา ขับ รถ 2561 ชลบุรี

ธรรมดาแล้วหากหญิงชายจดทะเบียนสมรสเป็นสามีภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ด้วยกันนั้นย่อมเป็นสินสมรสร่วมกันจึงทั้งหมดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1474 

แต่ถึงแม้หญิงชายไม่ได้จดทะเบียนสมรสด้วยกัน แต่ได้อยู่กินร่วมกันฉันสามีภรรยา ร่วมกันทำมาหาได้ด้วยกัน หรือร่วมทุกข์ร่วมสุขกันในลักษณะของหุ้นส่วนชีวิต หากมีทรัพย์สินที่เกิดขึ้นระหว่างนั้น ย่อมถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์รวมที่ทั้งสองฝ่ายมีสิทธิ์เช่นเดียวกัน 

การฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวม  ในคดีที่มีข้อเท็จจริงลักษณะเช่นนี้ เป็นเรื่องที่มีเกิดขึ้นบ่อยมาก ดังนั้นในวันนี้ผมจึงได้นำข้อกฎหมาย ตัวอย่างคดีการฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวม มาเผยแพร่ให้เพื่อนๆรับชมและเป็นคู่มือในการทำงานครับ 

ข้อกฎหมาย-อธิบาย-คำพิพากษาศาลฎีกา

ข้อกฎหมาย 

 มาตรา 1357  ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากัน

มาตรา 1363 เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ มีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้ เว้นแต่จะมีนิติกรรมขัดอยู่ หรือถ้าวัตถุที่ประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร ก็เรียกให้แบ่งไม่ได้

  สิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินนั้น ท่านว่าจะตัดโดยนิติกรรมเกินคราวละสิบปีไม่ได้

            ท่านว่าเจ้าของรวมจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้

มาตรา 1634  การแบ่งทรัพย์สินพึงกระทำโดยแบ่งทรัพย์สินนั้นเองระหว่างเจ้าของรวม หรือโดยขายทรัพย์สินแล้วเอาเงินที่ขายได้แบ่งกัน

            ถ้าเจ้าของรวมไม่ตกลงกันว่าจะแบ่งทรัพย์สินอย่างไรไซร้ เมื่อเจ้าของรวมคนหนึ่งคนใดขอ ศาลอาจสั่งให้เอาทรัพย์สินนั้นออกแบ่ง ถ้าส่วนที่แบ่งให้ไม่เท่ากันไซร้ จะสั่งให้ทดแทนกันเป็นเงินก็ได้ ถ้าการแบ่งเช่นว่านี้ไม่อาจทำได้หรือจะเสียหายมากนักก็ดี ศาลจะสั่งให้ขายโดยประมูลราคากันระหว่างเจ้าของรวมหรือขายทอดตลาดก็ได้

คำอธิบาย

การที่ชายและหญิงได้อยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยา ถึงแม้มิได้จดทะเบียนสมรสกัน ทรัพย์สินที่ได้มานั้นย่อมไม่ถือว่าเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1474 

แต่อย่างไรก็ตามหากปรากฎว่าระหว่างที่อยู่กินร่วมกันนั้น มีทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน เช่น

ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ร่วมกันทำมาหาได้ ประกอบธุรกิจร่วมกัน  หรือต่างคนต่างทำงานประจำ ต่างคนต่างประกอบธุรกิจของตนเองแต่นำเงินที่ได้มาใช้จ่ายในครอบครัว ซื้อทรัพย์สินร่วมกัน 

หรือแม้จะเป็นกรณีที่ฝ่ายชายแต่ฝ่ายเดียวเป็นฝ่ายทำมาหาได้ เป็นฝ่ายประกอบธุรกิจ ฝ่ายหญิงไม่ได้ทำมาหาได้ร่วมกันก็ตาม แต่หากฝ่ายหญิงเป็นแต่เพียงอยู่บ้าน ดูแลงานบ้าน อบรมดูแลลูก จัดการกิจการต่างๆในบ้านแต่เพียงผู้เดียว

กฎหมายก็ถือว่าทรัพย์สินที่งอกเงยขึ้นมาระหว่างนั้น ไม่ว่าจะเป็นชื่อใครก็ตาม ถือเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันของฝ่ายชายและหญิง

เพราะกฎหมายถือว่า การที่ฝ่ายหญิงดูแลจัดการงานบ้าน อบรมดูแลลูก ก็เป็นการทำให้ฝ่ายชายได้มีโอกาสทำหน้าที่การงานของตนเองได้อย่างเต็มที่ หากไม่มีฝ่ายหญิงคอยเป็นหลังบ้านที่ดี ฝ่ายชายก็ไม่สามารถประกอบการงานได้อย่างเต็มที่เช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นหลักการที่เรียกว่า การเป็นหุ้นส่วนชีวิตซึ่งกันและกัน 

ดังนั้นแล้วการที่ชายหญิง หรือแม้กระทั่งเป็นคู่รักร่วมเพศ เช่นระหว่างชายกับชาย หรือหญิงกับหญิง ถ้าหากได้อยู่กินกันอย่างคนรัก อยู่กินกันอย่างเป็นครอบครัว มีการแบ่งหน้าที่ในครอบครัวกันอย่างชัดเจน มีการเอื้อเฟื้อสนับสนุนซึ่งกันและกัน เช่นนี้ย่อมถือว่าเป็นหุ้นส่วนชีวิต และทรัพย์สินที่งอกเงยขึ้นมาระหว่างการเป็นหุ้นส่วนชีวิต ก็ถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์รวมของทั้งสองฝ่าย

โดยมีตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา ดังต่อไปนี้ 

ฎ.684/2508โจทก์จำเลยแต่งงานกันตามประเพณีนิยม (ไม่ได้จดทะเบียนสมรส)อยู่กินกันฉันสามีภริยาทำมาหากินร่วมกันมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นมานี้ย่อมเป็นของโจทก์จำเลยร่วมกัน จำเลยมีสิทธิขอแบ่งได้ครึ่งหนึ่ง

 ตามที่จำเลยอ้างว่าการสมรสระหว่างโจทก์จำเลยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอแบ่งเงินที่ทำมาหาได้ในระหว่างอยู่กินร่วมกับจำเลยนั้นได้พิเคราะห์แล้วเห็นว่า โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอแบ่งก็แต่เฉพาะทรัพย์ที่จำเลยได้มาโดยโจทก์มิได้ร่วมในการหาได้มาด้วยเท่านั้น แต่ในคดีนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า หลังจากที่โจทก์จำเลยอยู่กินร่วมกันและช่วยกันประกอบการค้าหาเลี้ยงชีพอย่างสามีภริยาแล้ว มีเงินฝากในธนาคารออมสินเพิ่มขึ้นจากจำนวนที่จำเลยได้ฝากไว้แต่เดิม 11,782.11 บาท โดยฟังไม่ได้ว่าเป็นเงินที่จำเลยหาได้มาแต่ฝ่ายเดียวโดยโจทก์มิได้มีส่วนช่วยหาจึงต้องแบ่งครึ่งกัน 

ฎ.516/2508หญิงชายอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส ได้ร่วมกันซื้อนาและทำกินเป็นการแสดงเจตนาให้ถือได้ว่าเป็นเจ้าของร่วมกัน ส่วนเงินที่ซื้อฝ่ายใดจะยืมใครมาเป็นอีกเรื่องหนึ่งไม่เกี่ยวกับตัวทรัพย์ เพราะหญิงชายนั้นระคนปนทรัพย์กันใช้สอยและทำมาหากินด้วยกัน ต้องถือว่าต่างสิทธิเป็นเจ้าของคนละครึ่ง (อ้างฎีกาที่ 303/2488)

ฎ.561/2510ผู้ตายมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก่อน ต่อมาภริยาได้แยกร้างไปอยู่ต่างหากโดยมิได้หย่าขาดจากกัน โจทก์ผู้ตายจึงมาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา โดยมิชอบด้วยกฎหมาย โจทก์กับผู้ตายได้ช่วยกันทำมาหากินโดยภริยาเก่ามิได้มาร่วมปะปนด้วย โจทก์ได้นำทรัพย์ของโจทก์มาให้ผู้ตายหาดอกผล และได้ทำการค้าขาย ช่วยผู้ตายเก็บค่าเช่า ดังนี้ ถือได้ว่าผู้ตายและโจทก์ทำนามาได้ร่วมกัน จึงเป็นเจ้าของร่วมและมี่ส่วนเท่ากัน เมื่อผู้ตาย ตายภรรยาเก่าจึงไม่มีสิทธิในทรัพย์ส่วนที่เป็นของภรรยาใหม่แต่อย่างใด

ฎ.83/2512 การที่ชายหญิงแต่งงานกันโดยมิได้จดทะเบียนสมรส. แม้ทางกฎหมายจะไม่ถือว่าเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย. ก็หากระทบกระเทือนถึงสิทธิในทรัพย์สินที่ชายหญิงจะพึงมีพิงได้ตามกฎหมายทั่วไปไม่.

ในระหว่างที่ผู้ร้องกับจำเลยยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน.แต่ตามพฤติการณ์ที่ผู้ร้องกับจำเลยปฏิบัติต่อกัน. เช่นผู้ร้องไปทำมาค้าขายโดยตนเอง. ส่วนจำเลยเลี้ยงบุตรเป็นแม่บ้าน. และผู้ร้องออกเงินซื้อที่ดินปลูกตึกและสิ่งปลูกสร้างลงในที่ดิน. แล้วผู้ร้องจำเลยกับบุตรก็เข้าอยู่ด้วยกันตลอดมา. ก็เป็นการแสดงว่าผู้ร้องกับจำเลยได้ร่วมกันทำมาหากินแสวงหาทรัพย์สินมาเป็นสมบัติของผู้ร้องและจำเลยร่วมกัน. ทั้งมีเจตนาที่จะเป็นเจ้าของในทรัพย์พิพาทโดยใช้เป็นที่อยู่อาศัยร่วมกัน. พฤติการณ์ดังกล่าวจึงเห็นได้ว่าบรรดาทรัพย์ที่ผู้ร้องหรือจำเลยหามาได้ระหว่างนั้น แม้จะเป็นด้วยแรงหรือเงินของฝ่ายใดก็ไม่สำคัญ.ก็ต้องถือว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยทั้งสองฝ่ายมีเจตนาที่จะเป็นเจ้าของร่วมกัน. และเมื่อผู้ร้องกับจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกัน. ทรัพย์ทั้งหมดโดยเฉพาะทรัพย์พิพาทจึงเป็นสินบริคณห์ประเภทสินเดิมของผู้ร้องและจำเลยเท่าๆกัน.

ฎ.1512/2519 โจทก์จำเลยอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส และได้ร่วมกันทำมาหากินในการประกอบการค้า ทรัพย์สินที่เกิดขึ้นในระหว่างนั้นย่อมเป็นทรัพย์สินที่โจทก์จำเลยทำมาหาได้มาด้วยกัน ฉะนั้น โจทก์จำเลยจึงต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในทรัพย์เหล่านั้น การแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวจึงต้องแบ่งให้โจทก์จำเลยเท่า ๆ กัน

โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์จำเลยอยู่กินเป็นสามีภรรยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส และได้ร่วมกันประกอบการค้า มีรายได้และเกิดทรัพย์สินขึ้นหลายอย่างดังที่ระบุไว้ในฟ้อง จึงขอแบ่งรายได้และทรัพย์สินตามฟ้องครึ่งหนึ่งให้โจทก์นั้น เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว และจำเลยก็ให้การต่อสู้มาทุกประเด็น แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาอย่างแจ้งชัด ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม

สิทธิการเช่าเป็นทรัพย์สิน และต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมายและสัญญาซึ่งผู้เช่าจะโอนโดยผู้ให้เช่าไม่ยินยอมไม่ได้ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์จำเลยมีสิทธิในการเช่าร่วมกัน ก็ย่อมจะแบ่งสิทธินั้นกันได้ ไม่ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด

 ฎ.3725/2532 แม้โจทก์จะเป็นหญิงแต่ก็มีนิสัยและทำตัวอย่างผู้ชาย คนทั่วไปเข้าใจว่าโจทก์เป็นชาย โจทก์มีความรักใคร่จำเลยฉันชู้สาวจึงพาจำเลยมาอยู่กับโจทก์ในฐานะเป็นแม่บ้านของโจทก์เป็นเวลาเกือบ 20 ปี โดยโจทก์จำเลยได้ร่วมกันทำมาหากินแสวงหาทรัพย์สินซึ่งไม่ว่าจะเป็นด้วยแรงหรือเงินของฝ่ายใดก็ตาม ถือว่าทรัพย์ที่ได้มานั้นเป็นทรัพย์ที่ทั้งโจทก์จำเลยมีเจตนาที่จะเป็นเจ้าของร่วมกัน โจทก์และจำเลยจึงมีส่วนในทรัพย์ที่พิพาททั้งหมดคนละกึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357.  มี ฎ.1593-1594/2544 วินิจฉัยไปในทำนองเดียวกัน 

ฎ.786/2533 การที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ที่พิพาทมาในระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยมิได้จดทะเบียนสมรสนั้นถือว่าเป็นทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน มีกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละครึ่ง แม้ที่พิพาทจะมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่ผู้เดียวก็เป็นการกระทำแทนโจทก์ด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเอาที่พิพาทส่วนของโจทก์ไปจดทะเบียนโอนขายให้จำเลยที่ 2 โดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ ฉะนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 รับโอนที่พิพาทมาจากจำเลยที่ 1 โดยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย จึงเป็นการไม่สุจริต ไม่ผูกพันส่วนของโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินพิพาทด้วย.

ฎ.678/2535ผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภรรยาร่วมกันทำกิจการโรงแรมมีเจตนาเป็นเจ้าของร่วมกัน เงินที่ใช้เป็นทุนปลูกสร้างโรงแรมจะเกิดจากฝ่ายใดหามาไม่สำคัญ ต้องถือว่าโรงแรมเป็นทรัพย์สินร่วมกันระหว่างผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 เมื่อผู้ตายยินยอมให้ใช้ที่ดินดังกล่าวปลูกสร้างโรงแรมเพื่อทำกิจการค้าร่วมกันกับโจทก์ที่ 1โรงแรมจึงไม่เป็นส่วนควบกับที่ดินเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 จำเลยที่ 5 จดทะเบียนสมรสกับผู้ตาย แม้จำเลยที่ 5 จะเลิกร้างกับผู้ตายไปนานแล้ว แต่เมื่อไม่ได้จดทะเบียนหย่ากัน ทรัพย์ที่ผู้ตายได้มาระหว่างที่เป็นสามีภรรยากับจำเลยที่ 5 ย่อมเป็นสินสมรส เงินรายได้จากกิจการโรงแรมรวมทั้งร้านตัดผมที่ได้มาหลังจากที่ผู้ตายถึงแก่กรรมแล้ว มิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตายเพราะมิใช่ทรัพย์ที่มีอยู่ก่อนหรือในขณะที่ผู้ตายถึงแก่กรรม แต่เป็นดอกผลของโรงแรมตกได้แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของโรงแรมตามสัดส่วนแห่งความเป็นเจ้าของโรงแรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 111และมาตรา 1360 และเมื่อเงินดังกล่าวมิใช่มรดกของผู้ตาย แม้ทายาทคนหนึ่งปิดบังหรือยักย้ายเงินส่วนนี้ ทายาทคนนั้นก็ไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดก

ฎ.5438/2537 โจทก์กับจำเลยอยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสแม้ตามกฎหมายจะไม่ถือว่าเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาก็ตาม แต่ก็หากระทบกระเทือนถึงสิทธิในทรัพย์สินที่โจทก์กับจำเลยจะพึงมีพึงได้ตามกฎหมายทั่วไปไม่ โจทก์กับจำเลยอยู่กินและมีบุตรด้วยกัน 4 คน โจทก์เป็นแม่บ้านมีหน้าที่เลี้ยงดูบุตร ส่วนจำเลยเป็นผู้ทำมาค้าขายแล้วออกเงินซื้อที่ดินและบ้านพิพาทใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วยกันตลอดมา พฤติการณ์ย่อมถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยร่วมกันทำมาหากินและมีเจตนาเป็นเจ้าของในทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน แม้จำเลยจะให้การว่าโจทก์กับจำเลยเลิกร้างกันได้ตกลงแบ่งที่ดินและบ้านพิพาท และโจทก์ได้รับส่วนแบ่งเป็นเงิน 400,000 บาทไปจากจำเลยแล้ว แต่เมื่อศาลชั้นต้นชี้สองสถานไม่ได้กำหนดปัญหานี้เป็นประเด็นข้อพิพาท จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้าน ถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อนี้แล้ว การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกประเด็นข้อดังกล่าวขึ้นฎีกา ศาลล่างทั้งสองมิได้พิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2543 ฉ. อยู่กินฉันสามีภริยากับ ช. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสและได้ร่วมกันทำมาหากินโดยการปล่อยเงินกู้ ซื้อขายที่ดินและเป็นนายหน้าขายที่ดิน เงินในบัญชีเงินฝากประจำเป็นทรัพย์สินที่ ช. และ ฉ. ทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา ช. และ ฉ. จึงต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในเงินดังกล่าวและต้องแบ่งให้คนละเท่า ๆ กัน โดยเป็นทรัพย์มรดกของ ช. กึ่งหนึ่ง และเป็นทรัพย์มรดกของฉ. กึ่งหนึ่ง

การที่ ฉ. ฝากเงินประจำไว้แก่ธนาคารจำเลยที่ 2 เงินที่ฝากประจำย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ฝากประจำให้ครบจำนวนเมื่อถึงกำหนดแก่ ฉ.

ฉ. มีเจตนาเงินในบัญชีเงินฝากประจำให้แก่จำเลยที่ 1 และทำหนังสือถึงผู้จัดการจำเลยที่ 2 ให้เพิ่มชื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้แทนการถอนเงินออกมาฝากในนามจำเลยที่ 1 เนื่องจากเงินที่ฝากประจำยังไม่ครบกำหนด หากถอนเงินในขณะนั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย ถือได้ว่า ฉ. มีเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องของฉ. ที่ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะการโอนหนี้อันจะพึงชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง เมื่อได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคหนึ่ง โดย ฉ. ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องการโอนสิทธิเรียกร้องในเงินฝากประจำของ ฉ. ให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นอันสมบูรณ์สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เงินฝากประจำจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 กรณีไม่ใช่เป็นเพียงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากแทน ฉ. เท่านั้น

ฎ.7063/2544ขณะที่ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทจำเลยกับผู้ร้องยังอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา ร่วมกันประกอบกิจการค้าขายเสื้อผ้าจนกระทั่งจดทะเบียนตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดในเวลาต่อมา ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทจึงเป็นทรัพย์ที่ได้มาระหว่างอยู่กินด้วยกัน แม้จะมีชื่อผู้ร้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ก็ต้องถือว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยและผู้ร้องทำมาหาได้ร่วมกันและมีเจตนาเป็นเจ้าของในทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน จำเลยและผู้ร้องจึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน

ฎ.9577/2552ขณะจำเลยได้รับสิทธิในการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง จำเลยอยู่กินฉันสามีภรรยากับโจทก์ โดยยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย แต่สิทธิดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับโจทก์ได้มาขณะอยู่กินด้วยกันแล้ว จึงเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับจำเลย แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าจำเลยสมัครเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองเพียงผู้เดียวก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับนิคม เมื่อโจทก์กับจำเลยมีสิทธิในการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทร่วมกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงกึ่งหนึ่ง แม้ตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 12 วรรคสอง จะบัญญัติว่าที่ดินในนิคมซึ่งได้รับการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีภายในห้าปี ศาลก็พิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทกึ่งหนึ่งได้มิใช่เป็นการบังคับให้จำเลยแบ่งกรรมสิทธิ์รวมให้โจทก์แต่อย่างใด กรณีไม่ขัดกับบทบัญญัติดังกล่าว

ข้อยกเว้น ที่ไม่ใช่เป็นหุ้นส่วนชีวิต 

ถ้าเป็นทรัพย์สินที่ไม่ได้ทำมาหาได้ร่วมกัน ถึงแม้จะมีการคบหากันอย่างคนรัก อยู่กินกันอย่างสามีภรรยา ก็ไม่ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันและไม่เป็นกรรมสิทธิ์รวม

เช่นทรัพย์สินที่ได้มาโดยมรดก ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาโดยการให้โดยเสน่หา 

หรืออยู่ในฐานะเป็นเมียน้อย เป็นบ้านเล็ก หรือเป็นเพียงนางบำเรอ การที่เพียงแต่พูดคุยคบหากัน แต่ไม่ได้มีลักษณะเป็นการอยู่กินกันอย่างครอบครัว ไม่ได้ร่วมกันทำมาหาได้  ไม่ได้มีการแบ่งหน้าที่กันในครอบครัว ก็ไม่ได้มีสิทธิแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในฐานะหุ้นส่วนชีวิตแต่อย่างใด 

ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา

ฎ.1128/2506การที่โจทก์อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยแต่มิได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายนั้น ทรัพย์ที่โจทก์ได้รับมรดกมาในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย จำเลยก็ไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของทรัพย์ร่วมกับจำเลย เพราะการที่โจทก์ได้รับมรดกทรัพย์นั้นมาย่อมไม่ใช่ทรัพย์ที่โจทก์และจำเลยร่วมกันหามา

ฎ.524/2506ผู้ตายมีภริยาชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้วคนหนึ่งต่อมาได้ภริยาน้อยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาอยู่ร่วมด้วยอีกคนหนึ่งดังนี้ ถือว่าภริยาน้อยเข้ามาอยู่ในครอบครัวของผู้ตายในฐานะเป็นบริวารหรือนางบำเรอเท่านั้นจึงหามีสิทธิที่จะเข้ามามีส่วนเป็นเจ้าของรวมในกองทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างผู้ตายกับภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายไม่

การที่สามีเอาที่ดินอันเป็นสินบริคณห์โอนยกให้แก่บุตรโดยเสน่หานั้นเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ภริยาจะขอให้เพิกถอนไม่ได้

และให้ดูคำพิพากษาศาลฎีกาดังต่อไปนี้  

ฎ.12734/2558 พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาไม่ปรากฏว่าขณะแต่งงานกับผู้ตายโจทก์มีเงินหรือทรัพย์สินอะไรที่สามารถขายได้เงินมากพอที่จะนำมาร่วมซื้อที่ดินกับผู้ตาย ก่อนแต่งงานกับผู้ตายไม่ปรากฏว่า โจทก์ซึ่งมีอายุ 19 ปี ประกอบอาชีพที่มั่นคง มีรายได้แน่นอน เพียงแต่ช่วยบิดามารดาค้าขายอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา หลังจากแต่งงานกับผู้ตายแล้วก็ย้ายมาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ไปเรียนเสริมสวยที่โรงเรียนเสริมสวยเกศสยาม โดยไม่ปรากฏว่าใช้เวลาเรียนนานเท่าไร หลังเรียนจบก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ใช้วิชาที่เรียนมาประกอบวิชาชีพหรือประกอบอาชีพใดที่จะได้เงินมาร่วมลงทุนซื้อที่ดินกับผู้ตายกึ่งหนึ่งดังที่เบิกความ ทั้งไม่ปรากฏว่าได้เข้าไปช่วยเหลือกิจการงานหรือธุรกิจใดของผู้ตายเป็นกิจจะลักษณะพอที่จะถือได้ว่าช่วยกันประกอบอาชีพ แม้กระทั่งการเก็บค่าเช่าก็ไม่เคยเกี่ยวข้องทั้งขณะที่ผู้ตายยังมีชีวิตและหลังจากผู้ตายถึงแก่ความตายแล้วก็ตาม

เงินที่ผู้ตายได้มาจากการขายที่ดินโจทก์ก็ไม่เคยได้รับโดยส่วนหนึ่งผู้ตายนำไปให้ผู้อื่นกู้ การที่โจทก์เพียงแต่เบิกความลอยๆ โดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุน ทั้งไม่ปรากฏว่าเคยเรียกร้องให้ผู้ตายใส่ชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินรวมทั้งเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการถือหุ้น ทั้งๆที่โจทก์เพียงอยู่กินกับผู้ตายโดยไม่จดทะเบียนสมรส ในขณะที่ผู้ตายมีบุตรและหญิงอื่นที่เคยอยู่กินฉันสามีภริยามาก่อนถือเป็นเรื่องผิดวิสัยอย่างยิ่ง ฝ่ายจำเลยมีจำเลยที่ 1 เบิกความเป็นพยานยืนยันว่า เงินที่ผู้ตายนำไปซื้อที่ดินทุกแปลงเป็นเงินส่วนตัวของผู้ตายโดยโจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้ตายนำเงินที่ได้จากการขายที่ดินไปซื้ออสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย โดยโจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำนิติกรรมทั้งไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์ไม่เคยได้รับมอบอำนาจจากผู้ตายให้ไปซื้อที่ดินและเก็บค่าเช่า

โจทก์มีฐานะยากจน หลังจากมาพักอาศัยอยู่กับผู้ตายโจทก์ไม่เคยเข้ามาช่วยเหลือกิจการงานของผู้ตาย ผู้ตายประกอบธุรกิจค้าอสังหาริมทรัพย์ และมีรถให้เช่า โดยมีนายมะเดื่อ น้องต่างมารดาของผู้ตาย และนายชงโค เบิกความสนับสนุน ซึ่งนายมะเดื่อเบิกความว่า ผู้ตายประกอบธุรกิจซื้อขายที่ดินมาตั้งแต่ปี 2487 มีตึกแถวบริเวณซอยมหาพฤฒารามปัจจุบันคือซอยสว่าง ประมาณ 100 ห้อง โดยผู้ตายนำมาแบ่งขาย และนายชงโคเบิกความว่า พยานเคยรับราชการที่สำนักงานเขตพระโขนงระหว่างปี 2518 ถึงปี 2533 เคยไปทำหนังสือมอบอำนาจเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินให้ผู้ตายที่บ้านผู้ตายประมาณ 10 ครั้ง โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้โทรศัพท์แจ้งให้ทราบและไปรับพยาน โจทก์ไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับการซื้อที่ดินของผู้ตาย เชื่อว่าผู้ตายประกอบธุรกิจซื้อขายที่ดิน ให้เช่าบ้านและรถยนต์ รวมทั้งให้กู้ยืมเงินก่อนที่จะแต่งงานอยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์มานับสิบปี หลังจากแต่งงานกับโจทก์แล้วผู้ตายก็ยังคงประกอบธุรกิจเดิมโดยที่โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจต่างๆของผู้ตายที่ทำมาแต่เดิมให้พอฟังว่าร่วมกันทำมาหากินก่อร่างสร้างตัวกับผู้ตาย ส่วนบัญชีเงินฝากที่ผู้ตายเปิดร่วมกับโจทก์ก็เพิ่งเปิดเมื่อปี 2525 หลังจากผู้ตายอยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์สิบปีเศษ และเป็นช่วงที่ผู้ตายเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลพญาไทก่อนที่จะถึงแก่ความตายเพียง 1 ปีเศษ ไม่ใช่ช่วงเวลาที่ผู้ตายจะร่วมประกอบธุรกิจการค้าใดๆกับโจทก์ได้อีก จะมีก็เพียงเรื่องขายที่ดินซึ่งก็ปรากฏว่าผู้ที่ดำเนินการให้แก่โจทก์ก็คือจำเลยที่ 1 การเปิดบัญชีร่วมกับโจทก์ในช่วงดังกล่าวจึงน่าจะเป็นเพียงเพื่อการเบิกถอนเงินในกรณีจำเป็นในการรักษาพยาบาลและดำรงชีพในช่วงเวลานั้นมากกว่า ซึ่งเป็นเวลาหลังจากที่ผู้ตายซื้อที่ดินและหุ้นดังกล่าวแล้ว  โจทก์มิได้มีส่วนร่วมทำมาหาได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้แบ่งที่ดินและหุ้นดังกล่าวอันเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย

หลักการบรรยาย ฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวม กรณีสามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส 

1.จะต้องบรรยายว่า ตัวเราและตัวจำเลยมีฐานะเป็นสามีภรรยา ด้วยคบหากันตั้งแต่เมื่อไหร่ เริ่มอยู่กินกันตั้งแต่เมื่อไหร่ หากมีการแต่งงานก็ให้บรรยายข้อเท็จจริงประกอบไปด้วย 

2.ให้บรรยายว่า ระหว่างอยู่กินกัน มีการแบ่งหน้าที่กันในครอบครัวอย่างไร เช่น ทั้งสองฝ่ายต่างคนต่างทำมาหาได้นำเงินที่ได้มาใช้ร่วมกันในครอบครัว  หรือฝ่ายชายเป็นคนทำงานแต่เพียงคนเดียว ฝ่ายหญิงเป็นคนดูแลบ้านดูแลลูก หรือเป็นการประกอบธุรกิจร่วมกัน 

3.ต้องบรรยายว่าทรัพย์สินที่จะฟ้องขอแบ่ง เป็นทรัพย์สินอะไร ได้มาอย่างไร และเหตุใดจึงเป็นกรรมสิทธิ์รวมที่เรามีสิทธิ์ได้รับ 

4.บรรยายว่าทรัพย์สินที่ฟ้องขอแบ่งมีมูลค่าประมาณเท่าไหร่ และเรามีส่วนด้วยกึ่งหนึ่ง คิดเป็นมูลค่าเท่าไหร่ 

5.ในช่วงท้ายของการบรรยายฟ้องให้ขอให้ดำเนินการแบ่งทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมดังกล่าว โดยใช้หลักในการฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1363 -1364 กล่าวคือขอให้ดำเนินการแบ่งกันเองก่อน หากแบ่งไม่ได้ให้ประมูลขายระหว่างกัน และหาประมูลขายกันไม่ได้ก็ให้นำขายทอดตลาดนำเงินที่ได้มาแบ่งกัน 

ตัวอย่างคำฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวม 

ตัวอย่างแรกกรณีอยู่กินกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสและได้เช่าซื้อรถร่วมกัน 

ข้อ ๑.โจทก์และจำเลยได้อยู่กินฉันสามีภรรยา โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันมาตั้งแต่ประมาณปี ๒๕๕๒ จนถึงประมาณเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๙ข้อ 

๒. เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๕ ระหว่างที่โจทก์และจำเลยยังอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา โจทก์และจำเลยได้ร่วมกันทำสัญญาเช่าซื้อแบบลีสซิ่ง รถยนต์ HONDA CITY สีดำ หมายเลขทะเบียน ๑ กม ๓๙๐๓ กรุงเทพมหานคร จากบริษัท ไทยพาณิชย์ลิสซิ่งจำกัด โดยราคาเช่าซื้อรวมดอกเบี้ยเป็นเงินจำนวนประมาณ ๘ แสนบาทเศษ ซึ่งมีเงินดาวน์งวดแรก เป็นเงินจำนวน ๒ แสนบาท โดยโจทก์และจำเลยได้ใช้เงินที่รวมกันเก็บไว้ชำระมาชำระเงินดาวน์งวดแรกดังกล่าว และตกลงผ่อนชำระค่าเช่าซื้อทุกวันที่ ๑๕ ของเดือน เดือนละ ๘,๒๖๐ บาท จนกว่าจะครบถ้วน โดยโจทก์และจำเลยตกลงใช้ชื่อจำเลยเป็นผู้เช่าซื้อ และใช้ชื่อโจทก์ลงชื่อเป็นผู้ค้ำประกัน

ข้อ ๓. ปรากฏว่าภายหลังโจทก์และจำเลย ได้ช่วยกันนำรายได้ระหว่างที่อยู่กินกันฉันสามีภริยา ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ให้แก่บริษัทไทยพาณิชย์ลิสซิ่งจำกัดทุกเดือนตลอดมา ตั้งแต่งวดวันที่ 15 กุมพันธ์ 2555 ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2559 เป็นจำนวน 51 งวด รวมเป็นเงิน 421,260 บาท โดยรวมเป็นเงินที่โจทก์และจำเลยได้ชำระให้แก่  บริษัท ไทยพาณิชย์ลิสซิ่งจำกัด เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 621,260 บาท ดังนั้นสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ HONDA CITY สีดำ หมายเลขทะเบียน ๑ กม ๓๙๐๓ กรุงเทพมหานครระหว่าง จำเลย กับ บริษัท ไทยพาณิชย์ลิสซิ่งจำกัด เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมระหว่างโจทก์และจำเลยคนละกึ่งหนึ่ง เนื่องจากได้นำเงินเก็บและรายได้ของทั้งโจทก์และจำเลยระหว่างที่อยู่กินกันฉันสามีภริยาชำระค่าวางดาวน์และค่าเช่าซื้อดังกล่าว ด้วยเจตนาจะให้สิทธิเช่าซื้อและกรรมสิทธิ์รถยนต์คันดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกัน

 ซึ่งหลังจากโจทก์และจำเลยเลิกรากันแล้ว โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยแบ่งสิทธิการเช่าซื้อรถยนต์คันกล่าวให้แก่โจทก์ โดยขายสิทธิเช่าซื้อรถยนต์คันดังกล่าวแล้วนำเงินมาชำระให้แก่โจทก์ หรือชำระเงินให้แก่โจทก์ตามส่วนที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์ แต่จำเลยเพิกเฉยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยมีหน้าที่แบ่งสิทธิเช่าซื้อรถยนต์คันกล่าวให้แก่โจทก์ โดยการขายสิทธิเช่าซื้อและนำเงินที่ได้มาแบ่งให้แก่โจทก์ หรือชำระเงินให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์มีสิทธิ คือจำนวนกึ่งหนึ่งของเงินจำนวน 621,260 บาท คิดเป็นเงินจำนวน 310,810 บาท แต่โจทก์ติดใจเรียกร้องเพียง 300,000 บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ซึ่งถือเป็นทุนทรัพย์ในคดีนี้

โจทก์และจำเลยได้ทำการเช่าซื้อรถยนต์ ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อ ที่อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีมูลคดีนี้เกิดที่ ในอำนาจของศาลนี้

อนึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับสัญญาเช่าซื้อ หลักฐานการผ่อนชำระได้อยู่ที่จำเลยทั้งหมด ซึ่งโจทก์จะหมายเรียกมาในชั้นพิจารณาต่อไป

จำเลยไม่มีทางอื่นที่จะบังคับเอากับจำเลยได้ จึงนำคดีมายื่นต่อศาลเพื่อขอบารมีศาลเป็นที่พึ่งบังคับเอากับจำเลยต่อไป

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

คำขอท้ายฟ้อง

 ๑. ให้จำเลยขายสิทธิเช่าซื้อรถยนต์รถยนต์ HONDA CITY สีดำ หมายเลขทะเบียน ๑ กม ๓๙๐๓ กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เช่าซื้อจาก บริษัท ไทยพาณิชย์ลิสซิ่งจำกัด และนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง หากไม่อาจขายได้ ให้นำออกประมูลกันเอง หรือขายทอดตลาด นำเงินที่มาแบ่งกันคนละกึ่งหนึ่ง หรือหากสภาพแห่งหนี้ไม่อาจเปิดช่องให้ทำได้ ให้จำเลยชำระเงินจำนวน 300,000 บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราร้อย 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

  ๒.  ให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์

ตัวอย่างที่ 2 กรณีอยู่กินด้วยกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส และได้ออกรถมาผ่อนหมดแล้วได้แบ่งรถไปคนละคัน แต่ฝ่ายจำเลยไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ 

         ข้อ 1.โจทก์และจำเลยได้อยู่กินฉันสามีภรรยา โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันมาตั้งแต่ประมาณปี 2551 ถึงประมานเดือนมีนาคม 2556

  ข้อ2. เมื่อประมาณเดือนมกราคม 2556 ระหว่างที่โจทก์และจำเลยยังอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา โจทก์ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ MITSUBISHI แบบLANCER JT 1.6 A/T รุ่นปี 2005  สีดำ หมายเลขทะเบียน สฎ9576 กรุงเทพมหานคร จากธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน)โดยราคาเช่าซื้อรวมดอกเบี้ยเป็นเงินจำนวนประมาณ 5 แสนบาทเศษ ซึ่งมีเงินดาวน์งวดแรก เป็นเงินจำนวน 10,000บาท โดยโจทก์เป็นผู้ชำระเงินดาวน์งวดแรกดังกล่าว และเป็นผู้ชำระค่าผ่อนชำระค่าเช่าซื้อทุกวันที่ 25 ของเดือน เดือนละ 8,747 บาท จนกว่าจะครบถ้วน โดยโจทก์และจำเลยตกลงใช้ชื่อจำเลยเป็นผู้เช่าซื้อ และใช้ชื่อโจทก์ลงชื่อเป็นผู้ค้ำประกัน   รายละเอียดปรากฏตามสำเนารายการจดทะเบียน รถยนต์ MITSUBISHI แบบLANCER JT 1.6 A/T รุ่นปี 2005  สีดำ หมายเลขทะเบียน สฎ9576 กรุงเทพมหานครเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1

ข้อ 3. หลังจากได้ทำการเช่าซื้อรถยนต์คันดันกล่าวได้ไม่นาน โจทก์และจำเลยได้เลิกรากัน และได้ตกลงแบ่งทรัพย์สินกันเรียบร้อยแล้ว โดยจำเลยได้รถยนต์กระบะอีกคันหนึ่งซึ่งมีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ไป ส่วนโจทก์ได้สิทธิในรถยนต์ MITSUBISHI แบบLANCER JT 1.6 A/T รุ่นปี 2005  สีดำ หมายเลขทะเบียน สฎ9576 กรุงเทพมหานคร หลังจากนั้นโจทก์เป็นคนเดียวที่ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ให้แก่ธนาคารเกียรตินาคิน ทุกเดือนตลอดมา ตั้งแต่งวดวันที่ 25 กุมพันธ์ 2556 ถึงวันที่ 25 มกราคม 2561 เป็นจำนวน 60 งวด รวมเป็นเงิน 524,820 บาท โดยรวมเป็นเงินที่โจทก์ได้ชำระให้แก่  ธนาคารเกียรตินาคิน เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 524,820 บาท ดังนั้นกรรมสิทธิ์และสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ รถยนต์ MITSUBISHI แบบLANCER JT 1.6 A/T รุ่นปี 2005  สีดำ หมายเลขทะเบียน สฎ9576 กรุงเทพมหานครระหว่าง จำเลย กับ ธนาคารเกียรตินาคิน จึงเป็นของโจทก์แต่เพียงผู้เดียว เนื่องจากโจทก์เป็นคนชำระค่าวางดาวน์และค่าเช่าซื้อดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียว ด้วยเจตนาจะให้สิทธิเช่าซื้อและกรรมสิทธิ์รถยนต์คันดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ และได้มีการตกลงกันหลังโจทก์เลิกรากับจำเลยแล้วให้ โจทก์เป็นผู้ได้สิทธิรถยนต์คันดังกล่าว รายละเอียดจะนำสืบในใช้พิจารณาต่อไป ซึ่งหลังจากโจทก์และจำเลยเลิกรากันและโจทก์ผ่อนชำระจนครบถ้วนแล้ว ทางธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) ได้โอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ดังกล่าวให้แก่จำเลย และโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์คันกล่าวให้แก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยมีหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์รถยนต์MITSUBISHI แบบLANCER JT 1.6 A/T รุ่นปี 2005  สีดำ หมายเลขทะเบียน สฎ9576 กรุงเทพมหานครให้แก่โจทก์

โจทก์และจำเลย ได้ทำการเช่าซื้อรถยนต์ ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อ ที่อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีมูลคดีนี้เกิดที่ ในอำนาจของศาลนี้

อนึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับสัญญาเช่าซื้อ หลักฐานการผ่อนชำระได้อยู่ที่จำเลยทั้งหมด ซึ่งโจทก์จะหมายเรียกมาในชั้นพิจารณาต่อไป

อนึ่ง คดีนี้เป็นการฟ้องให้จำเลยเปลี่ยนแปลงชื่อทางทะเบียนรถยนต์ ซึ่งกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ดังกล่าวเป็นของโจทก์ตั้งแต่มีการตกลงแบ่งทรัพย์สินกันแล้ว จึงเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจของศาลนี้

ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์แล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย รายละเอียดปรากฏตามหนังสือทวงถามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2

โจทก์ไม่มีทางอื่นที่จะบังคับเอากับจำเลยได้ จึงนำคดีมายื่นต่อศาลเพื่อขอบารมีศาลเป็นที่พึ่งบังคับเอากับจำเลยต่อไป

                                                         ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

คำขอท้ายฟ้อง

         1.ให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ เปลี่ยนแปลงชื่อทางทะเบียน รถยนต์MITSUBISHI แบบLANCER JT 1.6 A/T รุ่นปี 2005  สีดำ หมายเลขทะเบียน สฎ9576 กรุงเทพมหานครให้เป็นชื่อของโจทก์ หากจำเลยไม่กระทำให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย

         2.ให้จำเลยชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์

สรุป 

ข้อกฎหมายเรื่องการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมระหว่างสามีภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสนั้น มีหลักการอยู่ว่า หากทั้งสองฝ่ายได้ตกลงปลงใจอยู่กินกันอย่างครอบครัว ร่วมกันทำมาหาได้ รวมกันก่อร่างสร้างครอบครัวขึ้นมา

ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ระหว่างนั้น ย่อมถือเป็นกรรมสิทธ์รวมที่ทั้งสองฝ่ายมีสิทธิร่วมกัน ถึงแม้จะอยู่ในชื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่เพียงคนเดียว อีกฝ่ายหนึ่งก็สามารถฟ้องขอให้แบ่งได้

แต่ถ้าหากทั้งสองฝ่ายมีการคบหากันก็จริง แต่เป็นไปในลักษณะแบบผิวเผิน ไม่มีการทำมาหาได้ร่วมกัน ไม่ได้อยู่กินกันอย่างครอบครัว เช่นนี้ก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นหุ้นส่วนชีวิตที่มีสิทธิฟ้องแบ่งทรัพย์สินครับ

สุดท้ายนี้ผมหวังว่าบทความและตัวอย่างการทำงานนี้จะเป็นประโยชน์แก่เพื่อนๆและผู้สนใจทุกคนครับ

แสดงความเห็นเกี่ยวกับบทความนี้

comments

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้