ยื่น ภาษี ทํา งาน 2 ที่

โดยปกติทำงานประจำก็ต้องยื่นภาษีหากต้องเสียภาษี ก็เป็นการเสียภาษีในรูปแบบเงินได้บุคคลธรรมดา

และเมื่อมีรายได้เพิ่มมาจากการ “ขายของออนไลน์” ก็เป็นการเสียภาษีในรูปแบบบุคคลธรรมดาเช่นกัน ถือว่าเป็นรายได้ของบุคคลคนเดียวกัน 
แต่แตกต่างกันที่ประเภทของรายได้ !!

1. หากมีรายได้หลายทางแล้วล่ะก็ คำถามแรกที่เราต้องถามตัวเอง คือ รายได้แต่ละประเภทของเรานั้น ถือเป็นเงินได้ประเภทไหนตามประมวลรัษฏากรบ้าง ปัจจุบันนี้ เงินได้ทางกฎหมายถูกแบ่งออกเป็น 8 ประเภท ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฏากร ตามนี้

▪️  เงินได้ประเภทที่ 1 คือ เงินได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน โบนัส ต่างๆ
▪️  เงินได้ประเภทที่ 2 คือ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ เช่น ค่านายหน้า งานที่รับจ้างทำตามสัญญาจ้างเป็นครั้งคราวไป
▪️  เงินได้ประเภทที่ 3 คือ เงินได้ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล
▪️  เงินได้ประเภทที่ 4 คือ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไรต่างๆ
▪️  เงินได้ประเภทที่ 5 คือ เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินต่างๆ
▪️  เงินได้ประเภทที่ 6 คือ เงินได้จากวิชาชีพอิสระต่างๆ เช่น วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป (แพทย์) วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นที่กฎหมายกำหนด
▪️  เงินได้ประเภทที่ 7 คือ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ เช่น การรับเหมาก่อสร้าง
▪️  เงินได้ประเภทที่ 8 คือ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือเงินได้อื่นๆที่ไม่ได้ระบุไว้ใน 7 ประเภท

2. รายได้จากเงินเดือน คือรายได้ประเภทที่ 1 ส่วนรายได้จากการขายของออนไลน์ คือเป็นรายได้ประเภทที่ 8 เป็นรายได้ที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีจึงต้องยื่นภาษี

3. มนุษย์เงินเดือนที่ทำการขายของออนไลน์ จะเสียภาษีในรูปแบบ “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา”

4. การคำนวณภาษีเงินได้แบบบุคคลธรรมดาของ  “มนุษย์เงินเดือนที่ทำการขายของออนไลน์” มี 2 วิธี เป็นทางเลือก คือ

วิธีที่ 1️ คำนวณภาษีแบบขั้นบันได
หลักการ : (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย

สำหรับพนักงานประจำที่ขายของออนไลน์ไปด้วย ถือว่ามีรายได้ 2 ประเภท แต่ละประเภทนำมาหักค่าใช้จ่ายต่างกัน

▪️  รายได้จากงานประจำ (ประเภทที่ 1) หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
▪️  รายได้จากขายของออนไลน์ (ประเภทที่ 8) มี 2 วิธี

วิธีแรก หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 60% ใช้ได้ในกรณีที่ขายของออนไลน์แบบซื้อของมาขาย
วิธีที่สอง หักค่าใช้จ่ายตามจริง ใช้ในกรณีที่ผลิตสินค้าเอง แต่วิธีนี้จะต้องมีการทำบัญชีรายรับรายจ่าย และเก็บเอกสารอย่างรอบคอบ

ตัวอย่างการคำนวณหักค่าใช้จ่าย  
เงินเดือน : 30,000/เดือน รายได้ต่อปี 30,000×12 = 360,000 หักค่าใช้จ่าย 360,000-100,000 = 260,000 บาท     
เงินจากการขายของออนไลน์: 70,000/เดือน รายได้ต่อปี 70,000×12 = 840,000 หักค่าใช้จ่าย 60% 840,000-504,000 = 336,000 บาท

หลังจากนั้นก็ให้นำเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายจากทั้ง 2 ประเภทมารวมกัน แล้วค่อยนำไปหักค่าลดหย่อน (260,000+336,000 = 596,000 บาท) ให้นำ (596,000 – ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย!!

วิธีที่ 2️ คำนวณภาษีแบบเหมา
เงินได้ x 0.5% จะสามารถใช้วิธีนี้ได้ก็ต่อเมื่อมีรายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือนเกิน 1 ล้านบาทต่อปี

สำหรับใครที่มีรายที่ไม่ใช่เงินเดือนเกิน 1 ล้านบาท (เข้าเกณฑ์วิธีที่ 2) ต้องคำนวณดูทั้ง วิธีที่ 1 และวิธีที่ 2 ควบคู่กันไป วิธีไหนได้ภาษีที่ต้องจ่ายมากกว่า ก็ให้ใช้วิธีนั้นในการคำนวณ

สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ที่มีเงินได้หลายทาง ก็คือ
▪️  การตรวจสอบข้อมูลเงินได้และค่าใช้จ่ายของตัวเองให้ถูกต้องเสียก่อนที่จะคำนวณภาษีนั่นเองครับ 
▪️  และถ้าเรามีเงินได้อื่นนอกจากเงินเดือน เราต้องใช้แบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 90  ในการยื่นแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ใช่ แบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 91

ถ้ายังไม่แน่ใจ มีข้อสงสัย 
คลิกทางนี้เลย : //rd.go.th/272.html

ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล

|

17 มี.ค. 2565 เวลา 22:05 น. 2.9k

ยื่นภาษีปี 2564 สำหรับคนที่ทำงานหลายอาชีพ มีรายได้จากหลายทาง เช่น รับจ้างทั่วไป รับงานอิสระ หรือขายของ รวมไปถึงการเข้าร่วมโครงการภาครัฐฯ คนละครึ่ง เราชนะ หรือเรารักกัน จะต้องเสียภาษีอย่างไร เกณฑ์การเสียภาษี วิธีคำนวณภาษี ยื่นแบบเมื่อไร สรุปมัดรวมที่นี่

ในช่วงวิกฤตโควิด-19  ธุรกิจอาจไม่มีความมั่นคง มนุษย์เงินเดือนที่เคยได้รับรายได้ก็อาจไม่มีความแน่นอน ทำให้หลายคนหาอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้เพิ่มเช่น รับจ้างทั่วไป รับงานอิสระ หรือขายของ รวมไปถึงการเข้าร่วมโครงการภาครัฐฯ คนละครึ่ง เราชนะ หรือเรารักกัน แต่ไม่ว่าจะเป็นรายได้ประเภทใดก็ตาม ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อยื่นแบบฯ เสียภาษี
 

และเข้าโค้งท้ายของการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2564  สำหรับผู้ที่ทำงานหลายอาชีพและมีรายได้หลายทาง กรมสรรพากร ได้แนะนำแนวทางการยื่นเสียภาษีว่า  ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่ารายได้ที่ได้รับจัดเป็นรายได้ประเภทไหน สามารถหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีใด้เท่าไร และเรามีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง ต้องรวบรวมหลักฐานทั้งหมดเตรียมไว้ให้ครบ แล้วนำมายื่นแบบฯ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ประเภทรายได้

  • 1.เงินเดือน มาตรา 40 (1) การหักค่าใช้จ่าย หักเหมา 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  • 2.รับจ้างทั่วไป รับงานอิสระ มาตรา 40 (2) การหักค่าใช้จ่าย หักเหมา 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  • 3.ขายสินค้า มาตรา 40 (8) การหักค่าใช้จ่าย หักเหมา 60% หรือหักตามจริง (มีเอกสารหลักฐาน)

นอกจากนี้หากมีรายได้จากการขายสินค้าที่เข้าร่วมโครงการรัฐ เช่น เราชนะ คนละครึ่ง ม.33 เรารักกัน เป็นรายได้ที่ต้องนำมายื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ

  • 1. เงินที่ได้จากลูกค้าผ่านโครงการรัฐ
  • 2. เงินสนับสนุนที่ได้จากรัฐ
  • 3. เงินได้ที่มาจากยอดขายอื่น ๆ

เกณฑ์การเสียภาษี

  • คนโสด มีรายได้เกิน 60,000 บาทต่อปี
  • มีคู่สมรสรายได้รวมกัน 120,000 บาทต่อปี 

วิธีคำนวณภาษี

  • วิธีปกติ = รายได้สุทธิ (รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน) x อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • หากมีรายได้มากกว่า 120,000 บาทต่อปี  (ไม่รวมเงินเดือน) ใช้สูตรคำนวณ = รายได้สุทธิ x 0.5% แล้วเปรียบเทียบกับวิธีคำนวณตามปกติ หากวิธีนี้มีภาษีเกิน 5,000 บาทให้เสียภาษีตามวิธีที่สูงกว่า (หากไม่เกิน 5,000 บาทให้เสียภาษีตามวิธีการคำนวณปกติ)

กำหนดเวลายื่นแบบ ฯ

  • ภาษีครึ่งปี ภ.ง.ด.94 กำหนดยื่นตั้งแต่ 1 กรกฏาคม- 30 กันยายน ของปีนั้นๆ โดยนำเงินได้ที่ไม่ใช้เงินได้ มาตรา 40 (1) (2) ตั้งแต่เดือน มกราคม - มิถุนายน ของปีนั้นมารวมคำนวณภาษี
  • ภาษีประจำปี ภ.ง.ด.90 กำหนดยื่นตั้งแต่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม ของปีถัดไปโดยนำเงินได้ทุกประเภท ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ธ.ค. ของปีนั้น มารวมคำนวณภาษีและนำภาษีที่ชำระตาม ภ.ง.ด.94 มาเครดิตภาษีได้

อย่างไรก็ตาม ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการต่างๆ หรือผู้ที่มีรายได้จากการขายสินค้าและบริการเกินปีละ 1.8 ล้านบาท ต้องยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับจากวันที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือยื่นผ่านเว็บไซต์สรรพากร www.rd.go.th 

ทั้งนี้เมื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แล้วมีหน้าที่

1.เมื่อขายสินค้า/บริการ จะต้องออกใบกำกับภาษีและเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากลูกค้าเพื่อนำส่งสรรพากร 

2.ต้องจัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และยื่นแบบ ภ.พ.30 ทุกเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

อ้างอิงข้อมูล : กรมสรรพากร

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้