ความ รู้ เกี่ยว กับ งาน สำรวจ

การสำรวจ

การสำรวจ  ( Surveying)

การสำรวจเป็นการหาตำแหน่งที่แน่นอนของจุดและความสัมพันธ์ของตำแหน่งของจุดที่อยู่บนหรืออยู่ใต้ผิวโลกหรืออยู่ในอวกาศ  โดยมีพิกัดกำกับ หรือเป็นการวัดระยะราบ  ระดิ่งระหว่างวัตถุหรือจุด การวัดมุมราบ มุมสูง การวัดระยะและทิศทาง  ของเส้นนั้น ค่าที่วัดได้จาการสำรวจจะนำมาคำนวณหาระยะจริง มุม ทิศทาง ตำแหน่ง ค่าระดับ เนื้อที่ และปริมาตร  ค่าที่ได้จะนำไปสร้างเป็นแผนที่ได้หรือนำไปเขียนแบบสำรวจเพื่อกำหนดแบบแผนแม่บท  ใช้ในการออกแบบก่อสร้างและคำนวณราคา

กาสำรวจแบ่งเป็นสาขาใหญ่ๆ ดังนี้

1.  การสำรวจภาคพื้นดิน  (Earth  surface Surveying)  เป็นการสำรวจโดยใช้เครื่องมือสำรวจทั่วไป เช่น การสำรวจด้วยโซ่ (Chain  Surveying)  การสำรวจด้วยกล้อง Thcodolite  และเทปวัดระยะ การสำรวจด้วยกล้อง ETS (Electroic total station)  การหาทิศเหนือโดยใช้วิธีทางดาราศาสตร์ และGyoattachment หรือ Autogyroattachment  ถ้าใช้เครื่องรับดาวเทียมมหาทิศจะต้องตั้งห่างกันไกล ตามความละเอียดของเครื่องรับสัญญาญดาวเทียม (GPS Reciever)

2.  การสำรวจทางอากาศ  (Aerial  Survey)  เป็นการสำรวจโดยการบินถ่ายรูปทางอากาศ ปัจจุบันได้พัฒนาไปใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิคส์ และรังสีอินฟราเรด หรือเรดาร์โดยใช้วิธีการ Scan  แล้วเก็บภาพไว้ในระบบเทปวีดีทัศน์นอกจากนั้นยังมีการสำรวจโดยใช้ระบบความเฉื่อย (Inertial Surveying) การสำรวจหาความสูงต่ำของพื้นที่ โดยการใช้เลเซอร์ติดตั้งบนเครื่องบิน (Airborne Laset Terrian Profiler) การหาความสูงและถ่ายภาพด้วยระบบเรดาร์  (Airborne Radar Profilet)

3.  การสำรวจด้วยดาวเทียม (satellite Surveying)  การสำรวจด้วยดาวเทียมจะมีหลายอย่างเช่น  การใช้ดาวเทียมเพื่อการกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System = Gps ) และการใช้ดาวเทียมถ่ายรูปผิวโลกโดยการสะแกนเหมือนกับใช้บนเครื่องบิน  ดาวเทียมที่ใช้ เช่น ดาวเทียมLandsat,Spot

นอกจากนั้นยังใช้ดาวเทียมไปถ่ายภาพดาวเคราะห์ต่างๆ ถ้ามองเห็นพื้นผิวก็จะใช้ระบบอินฟาเรด ถ้ามองไม่เห็นเช่นดาวพระศุกร์ก็จะใช้ระบบเรดาร์เพื่อนำมาทำแผนที่  เราเรียกระบบนี้ว่า Satellite Photography และ C- and S-band radat system  การหาระยะเส้นฐานระยะไกล (Very long BaselineIntergerometry = VLBI)

ปัจจุบันมีวิชาที่ต้องศึกษาการสำรวจด้วยดาวเทียมก็คือ  ยีออเดซี่ดาวเทียม  (Satellite Geodesy)

4.  การสำรวจใต้ดิน  (Undetground  Survying)  เป็นการเจาะสำรวจเพื่อหาแร่ธาตุและทรัพยากรต่าง ๆ ปริมาณแร่หรือน้ำมันสำรอง  การสำรวจเพื่อการเจาะอุโมงค์ การสำรวจทางธรณีวิทยา  เพื่อหาโครงสร้างของเปลือกโลก ทั้งนี้การกำหนดตำแหน่งโดยทางการสำรวจจะมีความสำคัญต่อการสำรวจชนิดนี้เป็นอย่างมาก

5.  การสำรวจทางสมุทรศาสตร์  เป็นการสำรวจหาความเร็วของกระแสน้ำ ทิศทางของกระแส การหาความสูงของท้องทะลเพื่อการเดินเรือ เพื่อทำแผนที่ทางทะเล   การหาอุณหภูมิของทะเลเพื่อใช้ประโยชน์ในการประมง

หลักการสำรวจทางภาคพื้นดิน   การกำหนดจุดในทางสำรวจนี้  จุดที่กำหนดขึ้นจะต้องมีควมสัมพันธ์กันโดยวัดออกจากจุดคงที่ที่ทราบค่าพิกัดหรือจุดที่กำหนดขึ้นอย่างน้อย  2 จุด

การสำรวจจะทำจากส่วนใหญ่ไปหาส่วนเล็ก  ตามขั้นของการสำรวจนั้นจะต้องทำการสำรวจขั้น Geodetic ก่อนแล้วจึงสำรวจแบบ Plane  survey  ซึ่งการสำรวจขั้น  Geocdetic  จะใช้เครื่องมือที่มีความละเอียด  วิธีการและข้อกำหนดที่ละเอียด  ส่วนมากจะเป็นการทำการสามเหลี่ยมซึ่งคลุมเนื้อที่ได้มาก  เป็นการสร้างจุดบังคับแผนที่ให้คลุมส่วนใหญ่ต่อจากการทำสามเหลี่ยมก็เป็นการทำวงรอบ  ซึ่งเป็นการกำหนดจุดบังคับคลุมพื้นที่ที่ต้องสำรวจขนาดเล็กลง

 วิชาพื้นฐานการสำรวจ

ในการสำรวจพื้นราบ  (plane  Surveying)  นักศึกษาจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับวิชาเราขาคณิต  ตรีโกณมิติ  ฟิสิกส์  ดาราศาสตร์  และคณิตศาสตร์ต่าง ๆ เกือบทุกเรื่อง  ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจการปรับแก้งานสำรวจและกฎ สูตรต่างๆ ทางการสำรวจ

ในปัจจุบันเครื่องคำนวณหรือ  computer  เข้ามามีบทบาททางการสำรวจ  ซึ่งอาจจะมากกว่าสาขาวิชาอื่น ๆ มาฉะนั้นนักสำรวจหรือช่างสำรวจ  จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องคำนวณตั้งแต่เครื่องคิดเลขธรรมดา  Pocket  computer  และ Micro computer  รวมทั้ง Computer  ขนาดใหญ่ ทั้งนี้เพราะต้องใช้เก็บข้อมูลต่างๆ รวมทั้งโปรแกรมการคำนวณ และการ Plot   รูป แผนที่ต่าง ๆ

2.4  หน่วยการวัดมุม

หน่วยการวัดมุมมีหลายชนิด  ซึ่งกล้อง digital  Theodolite หรือ Electronic Thedolite  สามารถจะวัดได้ทุกระบบตามที่ต้องการ  หน่วยการวัดมุมมีดังนี้

1.  SEXAGESIMAL SYSTEM  ระบบนี้เป็นระบบอังกฤษ คือ ระบบมุมมีหน่วยเป็นองศา  (Degree)  ลิปดา (Minute) พิลิปดา (Second) 1 มุมฉากมีค่าเท่ากับ  90  องศา

ถ้ามาตราส่วนขนาดกลางใช้แผนที่สี่เหลี่ยมผืนผ้าแทนสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีขนาดมาตราส่วน 1: 50000 เช่นขนาดของแผนที่  12  × 18  ลิปดา  ก็จะใช้ขนาดมาตราส่วนที่โตกว่า เช่น 1: 2500

การใช้กระดาษ   A 1 ถ้าขนาดของพื้นที่  10×20 กม. จะใช้มาตราส่วน 1: 2500  ถ้าขนาดของพื้นที่ 20 ×  40 กม. จะใช้มาตราส่วน 1: 50000 ๙งเป็นขนาดของแผนที่  40 × 80 ซม. และ

60 × 84  ซม. ด้านยาวของแผนที่จะวางยาวในแนวออก – ตก ได้ส่วนสัญลักษณ์ต่าง ๆ  จะหมายเหตุไว้ข้างล่าง

บางมาตราส่วนจะใช้เนื้อที่ของแผนที่เท่ากับ  50 × 50 ซม.  :ซึ่งเท่ากับ มาตราส่วน

1: 20000 จะคลุมพื้นที่  10 × 10 กม. ถ้าใช้ขนาดกระดาษให้เหมาะสมจะสามารถแทนพื้นที่ขนาด

8 × 16 กม. ได้

1.  มาตราส่วนแผนที่ที่ใช้ในงานต่าง ๆ

  งานวิศวกรรมต่าง ๆ

ใช้ในงาน

มาตราส่วน

ใช้ในงาน

มาตราส่วน

การสำรวจเมือง

การสำรวจเพื่อ

การออกแบบ

1 : 50000

1  : 20000

1  : 10000

1  :  5000

1  :  2500

1 : 2500

1 : 2000

1 : 1250

1 : 1000

1 : 500

ผังบริเวณ

งานก่อสร้าง

งานเขียนแบบ

แบบขยายส่วนสำคัญ

1 : 1250

1 : 1000

1 : 500

1 : 200

1 : 100

1 : 50

1 : 20

1 : 10

1 : 5

1 : 1

2.  งานรังวัดที่ดิน  (กรมที่ดิน)

แผนที่ระวางใช้มาตราส่วน 1/4000, 1/2000, 1/1000, 1/500

มาตราส่วนในการสร้างต้นร่างแผนที่เฉพาะแปลง  ใช้มาตราส่วนตามเกณฑ์ดังนี้

เนื้อที่

มาตราส่วน

1 –  49             ตารางวาใช้

50 –  100         ตารางวาใช้

101 – 400       ตารางวาใช้

           1 – 5               ไร่ใช้

5 -50                 ไร่ใช้

50 – 250          ไร่ใช้

250 – 1000       ไร่ใช้

มากกว่า 1000    ไร่ใช้

1  :  125

1  :  250

1  :  500

1  :  1000

1  :  2000

1  :  4000

1  :  8000

1  :  16000  ขึ้นไป

3.   ลักษณะของงานสำรวจ  งานสำรวจจะแบ่งออกเป็น  3  ส่วนคือ

1.  งานสนาม  (Field  work)

2.  งานสำนักงาน  (Office  work)

3.  การรักษาและปรับแก้เครื่องมือ  (Care  and  Adjustment of the Instrument)

งานสนาม   เอกลักษณ์ของการสำรวจนี้จำเป็นจะต้องวัดค่าต่าง ๆ เช่น ระยะ  วัดมุม วัดหาความสูง เพราะฉะนั้น  ในงานสนาม  ผู้ที่เป็นช่างสำรวจจะต้องมีความรู้เรื่องการวัดอย่างแม่นยำและแน่นอน เพราะงานสนามหรืองานสำนักงานจะสมบูรณ์หรือไม่ขึ้นอยู่กับสิ่งต่าง ๆ หลายอย่างดังนี้

1. วางแผนการกำหนดแบบสำรวจหรือแผนที่  เช่น ข้อกำหนดของการสำรวจ ระบบพิกัดที่ใช้  การเตรียมเครื่องมือเพื่อให้เหมาะกับงาน  หรือถูกต้องตามข้อกำหนด

2. ระวังรักษาเครื่องมือโดยเฉพาะเวลาโยกย้ายในเวลาทำงาน  รวมทั้งการปรับแก้เครื่องมือให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

3. กำหนดสถานที่จะทำ BM  หมุดรอบวง หมุดการสามเหลี่ยม ในสถานที่มั่นคง แข็งแรง มีสิ่งสำคัญเป็นจุดอ้างอิงเพื่อสะดวกในการค้นหา  เช่น สะพาน เจดีย์

4. การกำหนดหมุดจะต้องกำหนดให้คลุมพื้นที่สำรวจให้ทั่วถึง ไม่ว่าจะเป็นหมุดทางราบหรือทางดิ่ง

5. จดหรือบันทึกค่ารังวัดต่าง ๆ ด้วยความระมัดระวัง

6. ทำการวัดมุม วัดระยะหรือส่องค่าระดับด้วยความระมัดระวัง

7. ทำหารส่องดาวหรือดวงอาทิตย์   หรือใช้ Gyroattachment  เพื่อหาทิศเหนือจริง หรือใช้เครื่องมือหาพิกัดของหมุดแรกออกหรือเข้าบรรจบ เพื่อหาพิกัดฉาก และพิกัดภูมิศาสตร์

8. ควรจะคำนวณตรวจสอบค่าต่าง ๆ ที่ได้ทำเสร็จแล้ว เพื่อให้แน่ใจว่างานนี้ถูกต้องก่อนเข้ากรม

9. การให้ระดับและให้แนวในการก่อสร้าง หรืองานวิศวกรรมทั่วไปจะต้องทำด้วยความแม่นยำทั้งการคำนวณและการส่องกล้อง ตลอดจนการตรวจสอบเขตกรรมสิทธิ์ก่อนการก่อสร้าง

10. จะต้องแก้ไขแบบสำรวจ หรือสำรวจใหม่ เมื่อพบข้อผิดพลาดขึ้นซึ่งเรียกว่า Asbuilt  Survey

     การสำรวจภาคพื้นดิน  (Land  Surveying)

การสำรวจสามารถแบ่งออกได้หลายอย่างซึ่งรวมการสำรวจจากภาพถ่ายทางอากาศสิ่งที่ต้องคำนึงถึงการสำรวจก็คือ  วิธีการสำรวจและคำนวณ เครื่องมือที่ใช้จะยากง่ายแตกต่างหันไป การแบ่งชนิดของการสำรวจภาคพื้นดิน จะมีดังนี้

1.  การสำรวจขั้นสูง  (Geodetic  Surveying)

เป็นวิธีการสำรวจที่คิดความโค้งของโลกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  เช่น  ระยะทางจะต้องเป็นระยะบนระดับน้ำทะเลปานกลาง  หรือที่ผิวของรูป Ellipsoid  ค่าระดับจะต้องเป็นค่าที่ผิว ความสูงที่ได้จะเป็นความสูง  ทิศทางก็จะเป็นภาคของทิศจริง ซึ่งคิดที่ผิว Sphetoid  การสำรวจชนิดนี้จะใช้กับบริเวณกว้างขวาง   ใช้คณิตขั้นสูงในการคำนวณ และการคำนวณจะต้องอ้างอิงกับโครงข่ายที่มีความละเอียดและจุดบังคับโครงข่ายจะใช้เป็นหมุดบังคับแผนที่  การสำรวจชนิดนี้สามารถจะวัดขนาด และรูปร่างของโลกได้ สมารถจะตรวจสอบข้อมูลดาวเทียมหรือตรวจสอบพิกัดดาวเทียมได้เช่นกัน ปัจจุบันคอมพิวเตอร์และซอฟแวร์เป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจขั้นสูงรวมทั้งการรังวัดทางดาราศาสตร์ และการสำรวจดาวเทียม

2.  การสำรวจพื้นราบ (Plane Surveying)

เป็นการสำรวจโดยคิดว่าโลกแบบราบ  เพราะฉะนั้นจึงใช้กับพื้นที่ขนาดเล็ก  เช่น การสำรวจเพื่อการก่อสร้างและการสำรวจเพื่อการรังวัดที่ดิน ซึ่งจะกล่าวถึงในตำราเล่มนี้เป็นส่วนมาก

3.  เป็นการสำรวจทางภูมิประเทศ (Topographic  Survey)

เป็นการสำรวจเพื่อกำหนดตำแหน่งทางราบและทางดิ่ง เพื่อให้ได้รายละเอียดจากสิ่งมนุษย์สร้างและที่มีในธรรมชาติในบริเวณที่ต้องสำรวจ ปัจจุบันจะทำการสำรวจเพื่อทำเป็นแผนที่มูลฐาน (Base  Map) เพื่องานสารสนเทศภูมิศาสตร์  การสำรวจแผนที่ภูมิประเทศ จะสามารถนำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศมาใช้ในปัจจุบันนี่ภาพถ่ายดาวเทียมที่ประเทศที่มีดาวเทียม

โดยเฉพาะในปัจจุบันสามารถสแกนภาพถ่ายทางอากาศเข้าไปเก็บในคอมพิวเตอร์ได้ เราเรียกว่า  Image  processing

4 .  การสำรวจทางอุทกศาสตร์ (Hydrograpinic Survey)

เป็นการสำรวจหาความเร็วของกระแสน้ำ  ความลึกของท้อองทะเล การทำแผนที่ฝั่งทะเล ท้องทะเลเพื่อที่จะใช้ทำแผนที่เดินเรือ ในปัจจุบันการสำรวจจะรวมการสำรวจนอกจากชายฝั่งเพื่อหาน้ำมันและแก๊ส นอกจากนั้นข้อมูลการสำรวจยังใช้ในการออกแบบและก่อสร้างท่าเรือ เส้นทางเดินเรือในแม่น้ำ การป้องกันมลพิษในแม่น้ำ การวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเล

5.  การสำรวจเพื่อการเอกสารกรรมสิทธิ์ที่ดิน (Cadastral Survey)

เป็นการสำรวจเพื่อบันทึกขอบเขตเมือง  อำเภอ  ตำบล  และเขตกรรมสิทธิ์ที่ดิน ซึ่งในเมืองไทยจะเน้นการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินซึ่งกรมที่ดิน  เป็นผู้รับผิดชอบ และดำเนินการวางเส้นโครงแผนที่ กำหนดหมุดบังคับ โดยใช้ดาวเทียม และทำแผนที่ในระบบ UTM

6.  การสำรวจเพื่องานวิศวกรรม (Engincering Surveying)

เป็นการสำรวจเพื่อการออกแบบก่อสร้าง การสำรวจจะเป็นการทำแผนที่ภูมิประเทศซึ่งจะทราบพิกัดฉาก และค่าระดับ  ถ้าเป็นการสำรวจพื้นที่ขนาดเล็กก็คิดว่าเป็นพื้นราบ เช่น การสร้างตึก ถนน  อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก  ถ้าเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ก็จะใช้การสำรวจขั้นสูง

การสำรวจจะแบ่งขั้นตอนออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

1. ขั้นการออกแบ

2. ขั้นก่อนการก่อสร้าง

3. ขั้นการติดตามความก้าวหน้าในการก่อสร้าง

 การสำรวจตรวจสอบ

การสำรวจเส้นทาง (Route  surveying)

เป็นการสำรวจเพื่อกำหนดหมุดบังคับทางราบ (horizontal Control) ซึ่งจะบอกค่าพิกัด ปละหมุดบังคับทางดิ่ง (vertical  Control) ซึ่งเราเรียกว่าหมุดหลักฐาน  การระดับ (มฐ = BM = Beench Mark) นอกจากกำหนดหมุดแล้วยังมีการวางแนวศูนย์กลาง  ซึ่งจะเป็นแนวตรงหรือแนวโค้งก็ได้ เช่นถนน ทางรถไฟ สำหรับการสื่อสารก็จะมีแนวของเคเบิงใยแก้ว (fiber optic) นอกจากนั้นยังมีแนวของสายไฟฟ้าแรงสูง

การสำรวจเหมืองแร่ (Mine Surveying)

ปัจจุบันจะมีการสำรวจทางอวกาศ โดยใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมเพื่อสำรวจทางธรณีวิทยา  สำรวจใต้ดินเพื่อหาโครงสร้างของเปลือกโลก และแหล่งแร่ กาสำรวจภาคพื้นดินเพื่อทำแผนที่และกำหนดหมุดบังคับทางราบทางดิ่ง เอการเจาะอุโมงค์ การทำแผนที่ใต้ดิน

2.16 การสำรวจพิเศษอื่นๆ

1.  การสำรวจทางธรณีวิทยา (Geolgical Survey)  เป็นการสำรวจเพื่อหาแร่ธาตุเช่นชนิดของหินการเก็บตัวอย่างหิน จะต้องบอกพิกัดจุดที่เก็บมาด้วย ปัจจุบันเครื่อง Gps receiver แบบมดดือถือจะสมารถบอกพิกัดภูมิศาสตร์และพิกัด UTM ได้ทำให้ได้ตำแหน่งที่แน่นอน

2.  การสำรวจดิน (Soil Survey) เป็นการสำรวจเก็บตัวอย่างชนิดของดิน  เพื่อการเกษตร เพื่อใช้วางแผนปรับปรุงบำรุงดิน ในการเก็บตัวอย่างก็จะต้องหาพิกัดมาด้วย ซึ่งอาศัยเครื่อง GPS receiver ปัจจุบันสามารถใช้ดาวเทียมถ่ายภาพเพื่อหาชนิดของดินได้ ชนิดของดินจะแสดงด้วยพื้นที่บนแผนที่

3.  การสำรวจทางโบราณคดี (Archacological Survey)  เป็นการสำรวจทำแผนที่โบราณสถาน และรายละเอียดต่าง ๆ  ของโบราณวัตถุ  การสำรวจที่ถูกหลักวิชาการสำรวจนั้น เจ้าหน้าที่จะต้องสามารถกำหนดเขตโดยกำหนดพิกัดเพื่อป้องกันการบุกรุก มีอำนาจในการออกเอกสารสิทธิ์ของกรมศิลปากรเอง

4 . การสำรวจป่าไม้ (foresty Survey)  เป็นการสำรวจเพื่อกำหนดขอบเขตของป่าไม้ที่แน่นอน  มีพิกัดควบคุม และควรสามารถออกเอกสารสิทธิ์ของกรมฯ นอกจากนั้นการสำรวจเพื่อการจำแนกป่า เพื่อปรับปรุงป่า  แบ่งเขตสัมปทานเขตอุทยานแห่งชาติ ปละเขตอนุรักษ์สัตว์ป่า

5 . การสำรวจเพื่อทำแผนที่ทางทหาร (Military Survey)  การทำแผนที่ทางทหาร  สามารถทำการสำรวจทางอวกาศ โดยเฉพาะภาพถ่ายจากดาวเทียมเครื่องบินการสำรวจภาคพื้นดิน  การสำรวจทางอุทกศาสตร์  เพื่อนำมาทำแผนที่ทางทหาร  ในประเทศไทยมีกรมแผนที่ทหารเป็นผู้รับผิดชอบ

การสำรวจด้วยเข็มทิศ  (compass surveying)

การสำรวจด้วยเข็มทิศนี้เป็นการสำรวจเบื้องต้นที่ต้องการผลงานหยาบ ๆ ใช้ในพื้นที่ที่ไม่กว้างขวางมากนักปัจจุบันเนื่องจากพื้นที่มีความสำคัญมากขึ้น การทำแผนที่ด้วยเข็มทิศมีความสำคัญน้อยลง   แต่ในแง่การศึกษาการทำสำรวจด้วยเข็มทิศจะใช้เป็นหลักการสำรวจด้วยกล้องวัดมุม ๆ ไม่ว่าจะเป็นชนิด Glass Scale หรือ Electronic

ถ้าหากว่าแม่เหล็กมีรูปร่างและขนาดเล็กมีความยาวมากกว่าส่วนกว้าง  ซึ่งเรียกว่า ถ้าถูกแขวนลอยอย่างอิสระ ปลายเข็มแม่เหล็กจะชี้ไปในแนวเหนือใต้ ซึ่งจะขนานกับเส้นแรงแม่เหลกฌลก เส้นนี้จะใช้แทนเมอริเดียนแม่เหล็กหรือทิศเหนือแม่เหล็ก

4.2  ชนิดของเข็มทิศ

1. Poket Compass เป็นเข็มทิศขนาดเล็กที่พกพาไปได้สะดวก

2. เข็มทิศเดินเรือ  เป็นเข็มทิศชนิดพิเศษที่ Support 4 อัน สองอันแรกจะอยู่บนสองอันหลัง

3. Surbeyor’s Compass

4. Tubular Compass หรือ Trough Compass

5. Transit Compass

6. Compass Theodolite

7.  เข็มทิศแบบดิจิตอลฃ

อ้างอิง : //www.htc.ac.th/sv/page11sara.html

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้