การที่ภูมิภาคเอเชียใต้ตั้งอยู่ในเขตมรสุมทำให้เกิดผลเสียอย่างไร


�ѡɳ������ҡ�Ȣͧ����µ��ѹ�͡��§��
1.ࢵ�����ҡ�� �����ҡ�Ȣͧ����µ��ѹ�͡��§�� ���� 2ࢵ �ѧ���
1.1 ࢵ�����ҡ�Ȼ����͹������������ҡ��Ẻ������ࢵ��͹ ���ҡ����͹ͺ����
��������٧ ������ʹ�� �ת�ѹ�������ҵ��繻�����ࢵ��͹ �� ����ѡ ����ҧ �ҧ����
��л�����ອ���ó �����駾ת��������������觷��� ��� �о���� ���������ѹ �����ҡ��Ẻ��龺
㹾�鹷�����dzࢵ�ٹ���ٵ� ���� ������� �Թⴹ���� ���� ���Ի�Թ�� �ԧ����
1.2 ࢵ�����ҡ����͹������� ���ҡ����͹�ҡ�Ĵ���͹�س������٧�ش�·�������������ҧ
33 �֧ 40 ͧ�������� ��ࢵ�����ء�蹡ѹ ��㹾�鹷�����dz�˹������ٹ���ٵ� ���� ���� ��
����٪� ��� ������´���
2.�Ѩ��·���յ�������ҡ�� �˵ط������µ��ѹ�͡��§�� ���ҡ����͹��н����ء�������Ѻ�Ѩ���
�ѧ���仹��
2.1 ����駵���еԨٴ ���ͧ�ҡ�����Ҥ��������������ҧ��鹷�ͻԤ�Ϳ᤹����Ѻ��鹷�ͻԤ�Ϳ
᤻�Ԥ͹ �ѹ��ࢵ�����ҡ����͹�ͧ�š ������������ҡ����͹������������ҡ��Ẻ������ࢵ��͹ ���
�����������㹵��˹觷�����Ѻ�ʧᴴ��ͧ�ç�ҡ�ǧ�ҷԵ��ҹ����ش��ͺ 1 ��
2.2 ��ȷҧ����Ш� ����Шӷ��Ѵ��ҹ����µ��ѹ�͡��§�� ����
1) ����Ш�Ĵ������������ ����
(1) ����������ѹ����§�� �Ѵ���������ҧ��͹����Ҥ� �֧��ҧ��͹���Ҥ� �ҡ
�����ط��Թ��¼�ҹ�����ѹ���ѹ���������dz�蹴Թ�˭�ͧ����µ��ѹ�͡��§�� �������Ѵ��ҹ��鹹���ѹ���ҧ�˭�֧���͹�Ӫ����С�����ҡ����蹨ҡ�����Ҵ��� ������Դ�����ء
��������Ҵѧ����� �������dz�Ҥ���觵��ѹ���ͧ���� �� ����٪� ���´���
(2) ����������ѹ�͡��§�˹�� �Ѵ���������ҧ��͹��Ȩԡ�¹�֧��͹����Ҿѹ��
�������Ѵ�ҡ����蹴Թ�˭��ҧ��ջ�����ŧ�����������������ط��Թ��� �Ӥ���������
���˹����������
���ҧ�á�� ���ͧ�ҡ�����Ѵ��ҹ�����·�����չ�Өҡ�����µԴ�Ҵ��� �֧�Դ�����ء�Ĵ�˹�Ƿҧ��觵��ѹ�͡�ͧ�Ҥ��ͧ������������
2) �����ط���Դ����dz���Ũչ�� ����ռš�з���������Ҥ����µ��ѹ�͡��§��






เป็นเวลากว่าหนึ่งเดือนแล้วที่ตาลีบันสามารถยึดครองอัฟกานิสถานได้สำเร็จ และเมื่อช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมาอัฟกานิสถานได้จัดตั้งรัฐบาลรักษาการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนของตาลีบัน ดูจะขัดกับความคาดหวังของนานาชาติที่ต้องการให้รัฐบาลมาจากหลายกลุ่มการเมืองและชาติพันธุ์ แต่หลังจากอัฟกานิสถานมีรัฐบาลรักษาการไม่นาน ก็เริ่มมีการเจรจาเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ และเรียกร้องให้นานาชาติส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมหลังเผชิญวิกฤตอย่างหนัก

หนึ่งในประเทศที่ยื่นมือเข้าไปช่วยอัฟกานิสถานคือจีน ซึ่งมีบทบาทและพูดคุยกับกลุ่มตาลีบันมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพูดคุยครั้งหลังสุดที่จัดขึ้นก่อนตาลีบันยึดกรุงคาบูลไม่กี่สัปดาห์ที่เมืองเทียนจิน ประเทศจีน ที่น่าสนใจกว่านั้น จีนเป็นไม่กี่ประเทศที่ยังคงภารกิจทางการทูตในอัฟกานิสถาน และผู้นำของตาลีบันหลายคนได้เดินทางมาพบและพูดคุยกับทูตจีนประจำอัฟกานิสถานอย่างเปิดเผย

ส่วนคำถามที่ว่าทำไมจีนยังสนใจอัฟกานิสถานนั้น บทความ‘”การลงทุนมีความเสี่ยง” เหตุไฉน จีนถึงกล้าลงทุนในอัฟกานิสถาน?’ ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนแล้ว ฉะนั้นจึงอยากชวนท่านผู้อ่านพิจารณาประเด็นสถานภาพของอินเดียที่ได้รับผลกระทบอย่างมากจากการขึ้นมามีอำนาจของตาลีบัน และที่สำคัญกว่านั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในอัฟกานิสถานส่งผลให้สมดุลในเอเชียใต้มีความเปลี่ยนแปลงอย่างมากด้วย

อัฟกานิสถานในฐานะจุดเชื่อมของภูมิภาคเอเชีย

เป็นที่ถกเถียงกันอยู่มากว่า สรุปแล้วอัฟกานิสถานจัดอยู่ในภูมิภาคใดของทวีปเอเชียกันแน่ บ้างก็ว่าเอเชียกลาง บ้างก็ว่าเอเชียใน แต่ในบทความชิ้นนี้จะจัดอัฟกานิสถานเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียใต้ เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นอาจเพราะอัฟกานิสถานเป็นส่วนหนึ่งของ‘สมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคเอเชียใต้ (South Asian Association for Regional Cooperation: SAARC)‘ ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าการจัดอัฟกานิสถานอยู่ในภูมิภาคอื่นๆ จะเป็นเรื่องผิดอันใด เพราะขึ้นอยู่กับว่าจะพิจารณาจากมิติด้านใด

ที่สำคัญไปกว่านั้น ความสับสนในการจัดตำแหน่งแห่งที่ของอัฟกานิสถานในภูมิภาคเอเชียถือเป็นเครื่องยืนยันได้อย่างน่าสนใจว่า ประเทศนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อภูมิภาค โดยเฉพาะการเป็นจุดเชื่อมระหว่างเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันตกหรือตะวันออกกลาง เอเชียกลาง ยูเรเชีย และเอเชียใต้ ความพิเศษในเชิงภูมิศาสตร์ส่งผลให้อัฟกานิสถานมีความสำคัญอย่างมากต่อภูมิรัฐศาสตร์และภูมิศาสตร์เศรษฐกิจของเอเชีย

มีบันทึกทางประวัติศาสตร์หลายชิ้นที่ระบุว่าดินแดนแห่งนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อเส้นทางการค้าสายไหมของจีน ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นพื้นที่การปะทะกันทางอารยธรรมของอินเดีย จีน และเอเชียตะวันตกอีกด้วย ในขณะที่ปัญหาการก่อการร้ายที่เริ่มก่อตัวอย่างเป็นรูปร่างในช่วงปี 2001 ส่งผลให้ดินแดนแห่งนี้ถูกจับตามองอีกครั้ง โดยเฉพาะการเข้ามาของสหรัฐอเมริกา ตลอดเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา การคงอยู่ของสหรัฐอเมริกามีส่วนช่วยให้ดินแดนแห่งนี้มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้นและยังส่งผลต่อภาพรวมของภูมิรัฐศาสตร์เอเชียด้วย

ลักษณะภูมิรัฐศาสตร์ดังกล่าวเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันหลังการกลับมามีอำนาจของตาลีบัน และการถอนทหารของสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรที่สิ้นสุดลงไปเมื่อสิ้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา นำมาซึ่งสภาพสูญญากาศทางความมั่นคงในอัฟกานิสถาน แน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อภูมิรัฐศาสตร์ของเอเชียด้วย โดยเฉพาะในเอเชียใต้ซึ่งถือว่าอินเดียมีบทบาทอย่างมากในภูมิภาคมาโดยตลอด แม้จะเผชิญการท้าทายจากปากีสถานอยู่บ่อยครั้ง แต่อินเดียยังคงสถานะนำภายในภูมิภาคไว้ได้

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้จึงนำมาซึ่งคำถามว่า การขึ้นมามีอำนาจของตาลีบันจะส่งผลอย่างไรบ้างต่อภูมิรัฐศาสตร์ของเอเชียใต้ในฐานะที่อัฟกานิสถานเคยเป็นพันธมิตรที่สำคัญของอินเดียในการลดทอนอิทธิพลของปากีสถาน แต่ดูเหมือนทุกอย่างจะเปลี่ยนไปหมดเมื่อตาลีบันขึ้นมามีอำนาจ เพราะนอกจากตาลีบันจะใกล้ชิดกับปากีสถานแล้ว ดูเหมือนว่ารัฐบาลชุดใหม่ยังคาดหวังให้จีนเข้ามามีบทบาทภายในประเทศมากยิ่งขึ้น ซึ่งกระทบโดยตรงต่อผลประโยชน์ของอินเดียในภูมิภาคแห่งนี้ เพราะก่อนหน้านี้จีนก็ขยายอิทธิพลของตัวเองเข้ามาในเอเชียใต้อย่างต่อเนื่อง

สถานะที่ไม่มั่นคงของอินเดียกับอิทธิพลจีนที่เพิ่มขึ้นในอัฟกานิสถาน

ดังที่เขียนไว้ข้างต้นว่าความเปลี่ยนแปลงในอัฟกานิสถานครั้งนี้ส่งผลอย่างมากต่ออินเดีย เพราะอินเดียลงทุนและให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมประเทศแห่งนี้มาอย่างต่อเนื่อง จนเรียกได้ว่าโครงการพัฒนาของอินเดียในอัฟกานิสถานนั้นครอบคลุมทุกจังหวัดของประเทศ และคิดเป็นเงินลงทุนมากถึง 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เหตุผลที่อินเดียลงเงินจำนวนมากไปกับอัฟกานิสถานมาจาก 2-3 ปัจจัยสำคัญ

ประการแรก หากมองมิติในด้านการก่อการร้ายและความมั่นคงของอินเดีย สายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างอินเดียและรัฐบาลอัฟกานิสถานก่อนหน้านี้ช่วยลดอิทธิพลของกลุ่มตาลีบันที่มีต่อกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในแคชเมียร์ ซึ่งอินเดียเชื่อเสมอมาว่าตาลีบันมีแนวคิดให้ความช่วยเหลือกลุ่มดังกล่าวเพื่อปลดปล่อยแคชเมียร์ให้เป็นเอกราช

ในอีกด้านหนึ่ง อินเดียมียุทธศาสตร์ต้องการเชื่อมโยงเศรษฐกิจของเอเชียใต้และเอเชียกลางเข้าหากันผ่านโครงการลงทุนหลายชนิด แม้ว่าจะต้องเผชิญอุปสรรคจากปากีสถาน อินเดียก็ตัดสินใจลงทุนในอิหร่านเพื่อใช้ท่าเรือ Chabahar ในการเชื่อมโยงอินเดียกับเอเชียกลางผ่านทางอัฟกานิสถาน ซึ่งโครงการมีความก้าวหน้าไปมากพอสมควรแล้ว และประการสุดท้าย อินเดียคาดหวังให้อัฟกานิสถานคัดง้างอำนาจของปากีสถานภายในภูมิภาคเอเชียใต้ ซึ่งก็เป็นไปด้วยดีมาโดยตลอด

ยุทธศาสตร์เชื่อมโยงอินเดีย-อิหร่าน-อัฟกานิสถาน ที่อินเดียพยายามผลักดัน ภาพโดย RaviC

เมื่อพิจารณาจากเหตุปัจจัยข้างต้น อินเดียได้รับผลกระทบอย่างหนักจากความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น ต้องไม่ลืมว่าอินเดียมีท่าทีเป็นปฏิปักษ์ต่อตาลีบันอย่างมากนับตั้งแต่ตาลีบันมีอำนาจในปี 1996 อย่างที่ได้กล่าวไว้ว่าตาลีบันมีแนวโน้มสนับสนุนขบวนการเคลื่อนไหวในแคชเมียร์ ซึ่งถือเป็นภัยทางด้านความมั่นคงอย่างมากต่ออินเดีย และสำคัญที่สุดคือ ความสัมพันธ์ระหว่างตาลีบันและปากีสถานทำให้ยุทธศาสตร์การขยายความร่วมมือของอินเดียไปยังเอเชียกลางอาจต้องเผชิญกับปัญหาครั้งสำคัญในสภาพเช่นนี้

แต่นั่นยังไม่เลวร้ายเท่าการที่ตาลีบันแสดงออกอย่างชัดเจนว่าต้องการให้จีนเข้ามามีบทบาททางเศรษฐกิจภายในอัฟกานิสถานมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าจีนมีข้อแลกเปลี่ยนที่สำคัญคือการจัดการกลุ่มเคลื่อนไหวเติร์กตะวันออกซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อมณฑลซินเจียงของจีน และรัฐบาลของตาลีบันต้องมาจากความร่วมมือจากทุกฝ่าย

แม้ว่าจีนจะเข้าไปลงทุนในอัฟกานิสถานมานานแล้ว ทั้งในโครงการเหมืองแร่ทองแดงและสัมปทานน้ำมันดิบ แต่โครงการเหล่านี้ต้องเผชิญปัญหาอย่างมากจากความขัดแย้งภายในอัฟกานิสถาน ฉะนั้นจีนจึงไม่ได้ปิดช่องทางการเจรจากับตาลีบันในเรื่องเศรษฐกิจ เพราะอย่างที่ระบุไว้แล้วว่าอัฟกานิสถานมีความสำคัญอย่างมากต่อเส้นทางสายไหมในอดีตของจีน และในปัจจุบันก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตามจีนจะยังคงรอเวลาไปสักพักก่อนเพื่อดูสถานการณ์ภายในอัฟกานิสถานให้มีเสถียรภาพมากกว่านี้ ที่สำคัญไปกว่านั้น จีนเองก็ยังคงไม่ไว้วางใจตาลีบันได้อย่างสนิทใจจนกว่าจะได้เห็นการกระทำที่ชัดเจนมากกว่านี้ แต่เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าการกลับมามีอำนาจของตาลีบันในอัฟกานิสถานนั้นเพิ่มโอกาสให้กับจีนในการเติมเต็มยุทธศาสตร์ข้อริเริ่มแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative: BRI)   

แน่นอนว่าความสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่กำลังก่อรูปขึ้นนี้ยังผลกระทบอย่างมากต่อภูมิรัฐศาสตร์เอเชียใต้ ซึ่งในอดีตนั้นอินเดียถือว่าผูกขาดความเป็นผู้นำในการให้ความช่วยเหลือและลงทุนทางเศรษฐกิจ แต่การขยายอิทธิพลเช่นนี้ของจีนกำลังกระทบสถานะนำของอินเดียในภูมิภาคอย่างมาก

กรงเล็บมังกรเหนือภูมิภาคเอเชียใต้

บทบาทและอิทธิพลของจีนที่เพิ่มขึ้นในอัฟกานิสถานยังส่งผลกระทบต่อภาพรวมความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียใต้ เพราะการขึ้นมามีอำนาจของตาลีบันส่งผลให้อินเดียสูญเสียพันธมิตรที่สำคัญในภูมิภาคไป (อินเดียเป็นผู้ผลักดันให้อัฟกานิสถานเข้าร่วม SAARC) จากเดิมที่อินเดียใช้อัฟกานิสถานเพื่อสกัดกั้นปากีสถาน แต่เมื่อตาลีบันกลับมามีอำนาจเช่นนี้ จึงกลายเป็นว่าอินเดียต้องเผชิญหน้ากับปากีสถาน-อัฟกานิสถาน-จีนในสมรภูมิภูมิรัฐศาสตร์เอเชียใต้ ซึ่งสร้างความกังวลอย่างยิ่งต่ออินเดียทั้งเชิงเศรษฐกิจและความมั่นคง โดยเฉพาะการที่จีนจะขยายยุทธศาสตร์ BRI ในเอเชียใต้ได้สะดวกขึ้น 

เพราะนับจนถึงวันนี้มีเพียง 2 ประเทศในเอเชียใต้เท่านั้นที่ไม่สนใจเข้าร่วมยุทธศาสตร์ BRI นั่นคืออินเดียและภูฏาน โดยอินเดียมีความกังวลต่อโครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน (China–Pakistan Economic Corridor: CPEC) ซึ่งพาดผ่านพื้นที่พิพาทอย่างแคชเมียร์ ปัจจัยนี้ส่งผลให้อินเดียยังคงปฏิเสธที่จะเป็นส่วนหนึ่งกับยุทธศาสตร์ดังกล่าว

ที่สำคัญ แม้ว่าจีนจะอธิบายว่า BRI เป็นยุทธศาสตร์เชื่อมโยงทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ในทางหนึ่ง BRI มีส่วนอย่างมากต่อการขยายอิทธิพลของจีนไปยังประเทศต่างๆ ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์นี้ผ่านการลงทุนจำนวนมหาศาลในโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งปัจจุบันเอเชียใต้ถือเป็นพื้นที่การลงทุนที่สำคัญของจีน ไม่ว่าจะเป็นใน เนปาล บังคลาเทศ มัลดีฟส์ ศรีลังกา หรือปากีสถาน

ความแนบชิดทางเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มเอเชียใต้กับจีนที่มากขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมความสัมพันธ์ทางการเมืองของประเทศเหล่านี้กับจีนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ลักษณะเช่นนี้สั่นคลอนสถานะนำของอินเดียในภูมิภาคเอเชียใต้อย่างมาก เพราะตอนเหนือต้องเผชิญกับจีนโดยตรง ในขณะที่ทางใต้ต้องเผชิญกับท่าเรือ Hambanthota ที่จีนได้รับสัมปทานจากรัฐบาลศรีลังกาในการบริหารจัดการ และมีความเป็นไปได้ว่าจีนอาจใช้เป็นจุดแวะพักของเรือรบจีนในพื้นที่มหาสมุทรอินเดียในอนาคต

ซ้ำเมื่อหันไปทางตะวันตก อินเดียก็ต้องเผชิญกับปากีสถานคู่ปรับคนสำคัญ หนำซ้ำอิหร่านที่อินเดียหมายมั่นปั้นมือจะใช้เป็นทางเชื่อมเข้าไปยังเอเชียกลางก็มีสายสัมพันธ์กับจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องภายหลังถูกสหรัฐอเมริกาคว่ำบาตร และล่าสุดจีนก็ผลักดันอิหร่านเข้ามาเป็นสมาชิกถาวรในองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Organization: SCO) ไม่ต่างกันสถานการณ์ทางฝั่งตะวันออกของอินเดียก็ไม่ได้ดีนักเพราะทั้งบังคลาเทศ และพม่าต่างก็หันหน้าเข้าหาจีนทั้งสิ้น

โครงการพัฒนาท่าเรือของจีนในเอเชียใต้และเพื่อนบ้านของอินเดีย ภาพจาก SP’s Naval Force

ฉะนั้นเมื่อพิจารณาในจุดนี้ จะเห็นได้ว่าพญามังกรอย่างจีนกำลังสยายปีกเข้ามาบินเหนือภูมิภาคเอเชียใต้มากยิ่งขึ้น และกำลังค่อยๆ ใช้กรงเล็บอันแหลมคม ซึ่งประกอบด้วยเงินลงทุนที่มีมากมหาศาล และเทคโนโลยีราคาถูกที่จับต้องได้ เข้าไปตะครุบประเทศต่างๆ ที่เคยเป็นพันธมิตรที่แนบชิดกับอินเดีย ส่งผลให้อินเดียกำลังอยู่ในสภาพที่อยู่ท่ามกลางแรงกดดันของอิทธิพลจีน

ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าอินเดียจะสูญเสียสถานะนำภายในภูมิภาคไปอย่างสิ้นเชิง เพราะอินเดียก็ยังมีไพ่ในมืออีกหลายใบที่สามารถหยิบขึ้นมาใช้เพื่อรักษาสมดุลกับจีนภายในภูมิภาคได้ โดยอำนาจทางเศรษฐกิจที่หลายประเทศในภูมิภาคนี้ยังคงมีอินเดียเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญ ยิ่งไปกว่านั้นอินเดียยังสามารถดึงความช่วยเหลือจากมหาอำนาจภายนอกที่ขัดแย้งกับจีนเข้ามาช่วยได้ ซึ่งเราจะเห็นได้จากความร่วมมือ QUAD

อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่าความเปลี่ยนแปลงภายในอัฟกานิสถานนั้นยังผลสำคัญต่อสมการภูมิรัฐศาสตร์และภูมิศาสตร์เศรษฐกิจของเอเชียใต้ โดยเฉพาะบทบาทของตัวแปรอย่างจีนที่เพิ่มขึ้นจนมีนัยยะสำคัญต่อภูมิภาค ฉะนั้นเอเชียใต้จะกลายเป็นอีกหนึ่งสมรภูมิที่มหาอำนาจจะเข้ามาปะทะและแย่งชิงผลประโยชน์กันไม่แตกต่างจากที่กำลังเกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก ภูมิรัฐศาสตร์ ความขัดแย้งจีน-อินเดีย อินเดีย-จีน เอเชียใต้ อินเดีย

นักเรียนรัฐศาสตร์ ผู้สนใจศึกษา 'อินเดีย' ในมิติการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม

ภูมิภาคเอเชียใต้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นอย่างไร

ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียใต้ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง (เช่นที่ราบสูงเดกกันในประเทศอินเดีย) และยังมีที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา (ในประเทศอินเดีย) ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ (ในประเทศปากีสถาน) และที่ราบลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร (ในประเทศบังกลาเทศ) ทางตอนเหนือของเอเชียใต้ติดกับที่ราบสูง ...

พื้นที่บริเวณใดของภูมิภาคเอเชียใต้เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมที่สำคัญ

ภูมิภาคเอเชียใต้มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน อารยธรรมโบราณได้พัฒนาขึ้นในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำสินธุ ช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองสูงสุดของภูมิภาคคือ ช่วงก่อนหน้าศตวรรษที่ 17 เมื่อราชวงศ์โมกุล ขยายพระราชอาณาจักรขึ้นสู่ภาคเหนือของอนุทวีป การล่าอาณานิคมของชาติยุโรปได้นำไปสู่การเข้ายึดครองของผู้รุกรานใหม่นำโดยโปรตุเกส ฮอลแลนด์ ...

ภูมิภาคเอเชียใต้เป็นที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่าอะไร

ภูมิภาคตะวันออกกลาง ( ภูมิภาคนี้ยังเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า อนุทวีปอินเดีย ) 💥รู้หรือไม่ : ทวีปเอเชียใต้นอกจากเป็นที่ตั้งของประเทศอัฟกานิสถาน ก็ยังเป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน และมัลดีฟส์ อีกด้วย

สภาพภูมิศาสตร์ของภูมิภาคต่างๆในทวีปเอเชียมีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานของประชากรในภูมิภาคหรือไม่อย่างไร

ในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกจะมีการกระจายตัวของประชากรแตกต่างกันออกไป เช่น บริเวณที่ราบลุ่ม แม่น้ำ มักจะมีประชากรอยู่หนาแน่นในขณะเดียวกันบริเวณทะเลทรายที่แห้งแล้ง หรือบริเวณขั้วโลก ที่มีอากาศหนาวเย็นจะมีมนุษย์ตั้งถิ่นฐานอยู่น้อย ดังนั้นลักษณะทางภูมิประเทศ จึงมีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้