การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา

sponsored links

เอาใจเขามาใส่ใจเรา

คำว่า “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” เป็นคำสุภาษิตไทยที่สอนหรือชี้นำให้ผู้คนไม่เอาแต่ใจตนเอง ไม่เห็นแก่ตัว แต่ให้นึกถึงจิตใจของผู้อื่น หรือผู้ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการกระทำของเรา

ตัวอย่างของ “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” ก็เช่น การขับรถแบบปาดซ้ายปาดขวา หรือชอบเบียดเปลี่ยนช่องจราจรด้านหน้าแบบเห็นแก่ตัว โดยไม่สนใจต่อเพื่อนร่วมทางที่รักษากฏจราจรและขับตามกันมาอย่างปกติ แบบนี้เราเรียกว่าคนเห็นแก่ตัว ไม่เอาใจเขามาใส่ใจเรา

อีกตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ เมื่อเพื่อนของเราประสบปัญหาธุรกิจ ล้มละลาย แทนที่เราจะเห็นใจ แต่กลับพูดจากเยาะเย้ยถากถาง หรือนินทาเขาให้ผู้อื่นฟัง โดยไม่สนใจเลยว่าเจ้าตัวจะรู้สึกขายหน้า อับอาย หรือขาดความมั่นใจในการอยู่ร่วมในสังคมนั้นๆ

ดังนั้นคนโบราณจึงได้กำหนดคำนี้ขึ้นเพื่อเป็นสิ่งเตือนใจให้เราคิดให้รอบคอบก่อนจะทำอะไร ว่าจะกระทบต่อจิตใจของผู้อื่นหรือไม่…

หลายครั้งที่เราเห็นคนอื่นทุกข์ใจ หรือต้องเผชิญหน้ากับเรื่องไม่ดี แล้วเรารู้สึกเห็นใจ ความรู้สึกแบบนั้นใช่ Empathy ไหม? 

Empathy คือความสามารถที่ช่วยให้เราเข้าใจผู้อื่น ต่างคนต่างความคิด ไม่ผิดที่เราจะเห็นต่างกัน แต่ถ้าความขัดแย้งเหล่านั้นนำมาสู่ปัญหา ส่งผลกระทบต่อร่างกายหรือจิตใจของใคร ลองเปิดใจ แล้วเอาเขามาใส่ใจเรา 

มาทำความเข้าใจ empathy แล้วมาต่อที่เข้าใจคนอื่นไปพร้อมกัน

Empathy คืออะไร ต่างจาก Sympathy ยังไง

Sympathy คือความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ทั้งความรู้สึกเศร้า เสียใจ เห็นใจ เมื่อเห็นคนอื่นต้องเผชิญกับเหตุการณ์ไม่ดี 

Empathy คือความสามารถในการเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในความรู้สึก หรือสถานการณ์คนอื่นเผชิญ ทำให้เข้าใจเหตุผล และความรู้สึกจากมุมมองของคนคนนั้นจริงๆ เพราะฉะนั้นจึงต่างกับ sympathy ตรงที่เป็นความรู้สึกเห็นใจ ที่เกิดจากการเอาใจเขามาใส่ใจเรานั่นเอง

ประเภทของ Empathy

  • Cognitive Empathy ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกนึกคิด ในจิตใจของคนที่กำลังเผชิญอะไรบางอย่าง รู้และเข้าใจว่าเขากำลังอยู่ในสภาวะอารมณ์แบบไหน ไปจนถึงสภาพจิตใจในขณะนั้น
  • Affective Empathy (Emotional Empathy) ความสามารถในการเข้าใจอารมณ์ของผู้อื่น เสมือนว่าเอาความรู้สึกของเขามาอยู่ในใจของเราจริงๆ ทำให้สามารถเข้าหาและพูดคุยกับคนคนนั้นได้อย่างถูกวิธี
  • Compassionate Empathy ความสามารถในการเข้าอกเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น รับรู้ถึงอารมณ์และความรู้สึกเหล่านั้น ทำให้เรายื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ หรือทำอะไรบางอย่างที่ทำให้เขารู้สึกดีขึ้น

วิธีแสดงความห่วงใย ในรูปแบบ Empathy

  • รับฟังอย่างตั้งใจ จะทำให้เราเข้าใจความรู้สึกนึกคิด เหตุผลและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมากขึ้น รวมไปถึงสังเกตสีหน้า ท่าทางของผู้พูด จะทำให้เราเข้าใจและให้กำลังใจได้ถูกวิธี
  • ไม่ตัดสินถูก-ผิด แม้ว่าเราจะเอาความรู้สึกของเขามาใส่ในใจเรา แต่อย่าเอาความรู้สึกและมุมมองส่วนตัวของเราไปตัดสินเรื่องราวที่เกิดขึ้น การมี empathy ควรจะมองสิ่งที่เกิดขึ้นในมุมมองของคนที่เผชิญเหตุการณ์จริงๆ
  • ให้กำลังใจและอยู่ข้างๆ ในยามที่เขาต้องการ นอกจากการรับฟังแล้ว การให้กำลังใจ และทำให้เขารับรู้ได้ว่าเราอยู่ตรงนี้เสมอถ้าเขาต้องการ ก็จะช่วยให้อีกฝ่ายไม่รู้สึกว่าอยู่ตัวคนเดียว
  • ให้ความช่วยเหลือเท่าที่ทำได้ เมื่อเราทั้งเห็นใจและเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น อย่างน้อยเราจะรู้ว่าควรจะช่วยเหลืออย่างไร นอกจากให้กำลังใจแล้ว ลองหยิบยื่นความช่วยเหลือที่สามารถทำได้ด้วยความเต็มใจ

ที่มา verywellmind

psychologytoday

inc.com

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้