การฟังและการดูเพื่อจับใจความสําคัญมีความสําคัญอย่างไร

               หลักการจับใจความสำคัญของเรื่องที่ฟังและดู
           การสรุปความจับประเด็นสำคัญ จากการฟังการดูสื่อต่าง ๆ นั้น ผู้ฟังผู้ดูจะต้องสามารถจับใจความและสรุปความ (เนื้อหา) จากสื่อที่ได้ดูได้ฟังได้ เพราะเป็นสัญญาณว่าผู้ดูผู้ฟังสามารถรับสารได้สัมฤทธิ์ผล นอกจากนี้ยังจะต้องสามารถเลือกดูหรือฟังสื่อได้ตามจุดประสงค์และสามารถวิเคราะห์สาระสำคัญของเรื่องที่ได้ฟังหรือดูได้

     1.  การสรุปความจับประเด็นสำคัญจากการฟังการดูสื่อต่าง ๆ
           หลายคนคงเคยฟังและดูสื่อชนิดต่าง ๆ มามากมาย บางชนิดก็เป็นการสื่อสารทางเดียวบางชนิดก็สามารถโต้ตอบได้ ไม่ว่าสื่อนั้นจะมีลักษณะใดก็ตาม เราก็ยังคงต้องพยายามสรุปความ จับประเด็นสารที่ส่งมาเพราะนั่นคือหนทางสู่การพัฒนาปัญญาของเรานั่นเอง

             1.1 การฟังการดูเพื่อสามารสรุปความหรือจับประเด็นสำคัญของสารในการฟังและการดูเพื่อสรุปความหรือจับประเด็นสำคัญนั้น ผู้เรียนจะต้องใช้ความรู้และทักษะการจับใจความสำคัญเข้ามาช่วย บางครั้งอาจใช้การตั้งคำถาม ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร แล้วจากนั้นก็วิเคราะห์สารที่ได้รับว่าเป็นอะไร เขาต้องการนำเสนอสิ่งใด
           1.2 ปัจจัยที่ทำให้ได้รับสารด้วยการฟังการดูมีประสิทธิภาพ ได้แก่
                     1) ความสนใจ
                     2) สมาธิ
                     3) มารยาท
                     4) ความพร้อม(ร่างกายและจิตใจ)
                     5) ประสบการณ์
            1.3 ข้อพึงปฏิบัติเพื่อให้การฟังการดูมีประสิทธิภาพ ได้แก่
                     1) การมีจุดมุ่งหมาย
                     2) สร้างสมรรถภาพการฟังการดู
                     3) สร้างศรัทธาต่อผู้ส่งสาร
                     4) การสร้างทักษะทางภาษา
                     5) การฟังหรือดูต้องนำไปใช้ประโยชน์ได้
                     6) นำไปสู่ความคิดที่ดี (เกิดปัญญา)

   2. แนวทางการพัฒนาทักษะการฟังการดูสื่อต่าง ๆ
               มนุษย์รับสารด้วยการฟังการดูสื่อต่าง ๆ เป็นปกติวิสัย  ซึ่งการฟัง  การดูในแต่ละครั้งนั้น  จะเกิดประโยชน์  เกิดปัญหามากน้อยเพียงใด  ก็ขึ้นอยู่กับทักษะ  ความรู้  ความสามารถของผู้รับสารซึ่งจำเป็นต้องพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงสุดมีแนวทางดังนี้
               2.1  การฟังการดูสื่อที่ให้ความรู้
               เนื้อหาสาระของสารที่ส่งมานั้นมีรูปแบบต่าง ๆ บ้างเป็นบทความ  บ้างเป็นสรุปเหตุการณ์  บ้างเป็นบทสัมภาษณ์  ซึ่งมีผู้รับสารมีแนวปฏิบัติ  เพื่อให้การฟังมีประโยชน์อย่างแท้จริง ดังนี้
                    1)  สามารถประเมินได้ว่าตนกำลังรับสารประเภทใด 
                    2)  ตั้งใจฟังหรือดูด้วยความตั้งใจ  
                    3)  ควรฝึกแยกข้อเท็จจริง  ข้อคิดเห็น
                    4)  ประเมินประโยชน์
                    5)  พิจารณาการใช้ถ้อยคำในสารว่าถูกต้อง
                    6)  ควรจดบันทึกและจับประเด็นสำคัญ
               2.2  การฟังสื่อที่จรรโลงใจ
               คำว่า "จรรโลงใจ"  ในที่นี้คือ  เนื้อหาที่สนุกสนาน  ผ่อนคลายอารมณ์  เกิดจินตนาการและความซาบซึ้ง  อาจเป็นการฟังเพลง  ฟังพระเทศนา  ชมละครหรือภาพยนต์ เนื้อหาประเภทนี้จะช่วยยกระดับจิตใจผู้รับสารซึ่งมีแนวทางการดูหรือฟัง  ดังนี้
                    1)  ต้องทราบว่าตนดูเรื่องอะไร  และตั้งจุดประสงค์จะดูหรือฟังเพื่ออะไร
                    2)  ต้องทำความเข้าใจเนื้อหาสาระในสิ่งที่ฟังหรือดูว่ามีคุณค่าด้านใด
                    3)  กรณีเป็นสื่อประเภทบันเทิงควรปล่อยใจให้ผ่อนคลายไปตามเรื่องราวที่ฟังหรือดู
                    4)  พิจารณาความสมเหตุสมผลของสาร
                    5)  พิจารณาภาษาที่ใช้ว่าเหมาะสมกับรูปแบบเนื้อหาหรือผู้รับสารหรือไม่

                    6)  นำข้อคิดข้อเสนอแนะไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิต

        2.3 การฟังการดูสื่อที่โน้มน้าวใจ
           เรื่องราวโน้มน้าวใจนั้นอาจมาจากการฟัง  ดู  จากสื่อมวลชน  สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือการดูโฆษณาก็ได้  ซึ่งจุดประสงค์ที่ส่งมาถึงเรานั้น  จำเป็นจะต้องพินิจเป็นพิเศษว่า  มีจุดประสงค์เพื่อ  ชวนเชื่อ  ปลุกปั่น  ยุยง  อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด  บางครั้งเป็นโฆษณาสินค้าหรือชักชวนให้คล้อยตาม ซึ่งบางครั้งอาจเสียรู้  ถูกหลอกลวง  ซึ่งเป็นผลเสีย  ดังนั้น การดูสื่อประเภทนี้ควรมีวิจารณาญาณให้ดีซึ่งมีข้อแนะนำ  ดังนี้

              หลักเกณฑ์ในการเลือกฟังและดูสื่อต่าง ๆ
                    1)  รายการวิทยุ  โทรทัศน์จะมีประจำสถานนีประจำวัน  จึงควรศึกษาวัน  เวลาของรายการที่ต้องการ  และจัดเวลาให้ตรงกับสื่อที่จะออกอากาศนั้น  ตารางออกอากาศจะมีลงตามหน้าที่บันเทิงของหนังสือพิมพ์  เช่น  เดลินิวส์  ไทยรัฐ ฯลฯ
                    2)  รายการต่าง ๆ จะมีพิธีกรประจำแต่ละคนมีเอกลักษณ์ในการดำเนินรายการเฉพาะตน  ควรเลือกรายการที่มีพิธีกรที่เหมาะสมที่สุดในการปฏิบัติตน
                    3)  เนื้อหาในรายการที่เลือกต้องไม่ขัดกับศีลธรรม  ประเพณีอันดีงามของไทย  และไม่มองเมา  งมงาย
                    4)  การฟัง  ดู  จากแถบบันทึกเสียง  วีดีทัศน์  คอมพิวเตอร์  ต้องศึกษาวิธีใช้ก่อน
                    5)  การดูจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์  เช่น อินเตอร์เน็ต ควรศึกษาชื่อเว็บไซด์ที่มีเนื้อหาสาระสร้างสรรค์เพิ่มพูนความรู้


                    6)  วิเคราะห์ข้อความ  พิจารณาภาษาภาพ  การนำเสนอว่าเหมาะสมหรือไม่  หรือน่าเชื่อถือเพียงใด
                                    


Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้