ผู้มีส่วนสำคัญในการเจรจาสนธิสัญญาไทย-สหรัฐ พ.ศ. 2468

ในปลายรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ชาวต่างชาติผู้มีบทบาทสำคัญอย่างมาก ที่เข้ามารับราชการในประเทศสยาม คือ ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) ซึ่งเป็นผู้ที่ช่วยให้สยามรอดพ้นจากการถูกเอารัดเอาเปรียบ จากสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมในสมัยจักรวรรดินิยม ทำให้ในหลวงรัชกาลที่ 6 พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น “พระยากัลยาณไมตรี”

ต่อมา ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ ยังเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ ในการร่วมร่างเค้าโครงรัฐธรรมนูญ ฉบับของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เมื่อปี พ.ศ. 2469 อีกด้วย

ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ เกิดที่เมืองเซาธ์เบธเลเฮม ในเพนซิลเวเนีย เรียนจบด้านกฎหมายจากฮาร์วาร์ด เมื่อปี พ.ศ. 2455 และเริ่มงานด้านกฎหมายด้วยการเป็นผู้ช่วยอัยการแห่งนิวยอร์กเคาตี

ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ ได้รับข้อเสนอจากคณบดีโรงเรียนกฎหมายฮาร์วาร์ด ให้ไปเป็นที่ปรึกษาการต่างประเทศของพระเจ้าแผ่นดินสยาม ซึ่งเขาตอบตกลงด้วยอยากเผชิญกับความแปลกใหม่ จึงได้เข้ามารับราชการในเมืองสยามเมื่อปี พ.ศ. 2466 ช่วงปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6

ขณะนั้นสยามกำลังถูกเอารัดเอาเปรียบ จากสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมในสมัยจักรวรรดินิยม โดยเฉพาะปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ซึ่งสัญญาที่เป็นปัญหาหนัก ก็คือ “สนธิสัญญาเบอร์นี” ในรัชกาลที่ 3 และ “สนธิสัญญาเบาริ่ง” ที่ทำในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งประเทศสยามมีข้อเสียเปรียบอยู่หลายจุด

จากการที่สยามเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้สหรัฐอเมริกายินยอมยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตกับสยาม แต่กับชาติพันธมิตรอื่น ๆ อย่างเช่นฝรั่งเศส หรืออังกฤษ การเจรจาในการแก้ไขสนธิสัญญากลับเป็นไปอย่างยากลำบาก เนื่องจากทั้งสองชาติต่างก็พยายามรักษาผลประโยชน์ของตนอย่างเต็มที่

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงแต่งตั้ง ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ ให้เป็นผู้แทนประเทศสยามไปเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญากับชาติต่าง ๆ ในยุโรป โดยเริ่มออกเดินทางไปปฏิบัติงานในปี พ.ศ. 2467 และด้วยความสามารถทางการทูตของ ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ ทำให้การเจรจาแก้ไขสนธิสัญญากับประเทศต่าง ๆ ประสบผลสำเร็จ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระยากัลยาณไมตรี”

กระทั่งในปี พ.ศ. 2468 ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ ก็ได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการของสยาม และเดินทางกลับประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ยังคงติดต่อกับประเทศสยามอยู่เสมอด้วยความสัมพันธ์อันดี

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใช้ในประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2469 ซึ่ง ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ คือผู้มีบทบาทสำคัญในการร่วมร่างเค้าโครงรัฐธรรมนูญนี้

ก่อนหน้าที่จะมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้นั้น ในหลวงรัชกาลที่ 7 ได้มีพระราชหัตถเลขาเป็นคำถามถึง ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ 9 ข้อ โดยคำถาม 4 ข้อแรกนั้น ว่าด้วยการปกครองระบอบประชาธิปไตย

ซึ่งในข้อ 3 ในหลวงรัชกาลที่ 7 ทรงตั้งคำถามว่า “หากประเทศนี้จำเป็นต้องมีระบบรัฐสภาเข้าสักวันหนึ่ง การปกครองในระบบรัฐสภาแบบแองโกล – แซกซัน นั้นเหมาะสมกับชาวตะวันออกหรือไม่?”

และคำถามข้อ 4 ทรงตั้งคำถามว่า “ประเทศนี้พร้อมหรือยังที่จะมีการปกครองในระบบผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชน?”

พร้อมกันนี้ ในหลวงรัชกาลที่ 7 ทรงให้พระราชวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วยว่า “ในคำถามที่ 3 นั้นข้าพเจ้าเองยังไม่แน่ใจนัก ส่วนคำถามที่ 4 โดยความเห็นส่วนตัวข้าพเจ้าขอย้ำว่าไม่”

เมื่อ ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ ได้อ่านแล้ว จึงได้ถวายความเห็นเกี่ยวกับโครงสร้างที่เหมาะสมของรัฐบาลสำหรับสยามในสมัยนั้นกลับมาว่า

ข้าพเจ้าไม่คิดว่าการพิจารณาให้มีระบบรัฐสภา โดยสมาชิกมีที่มาจากประชาชนนั้น เป็นสิ่งที่พึงปฏิบัติได้ในสยาม ณ เวลานี้ ระบบรัฐสภาที่สามารถทำงานได้นั้น ขึ้นอยู่กับผู้ลงคะแนนเสียงที่มีการศึกษา หากปราศจากการควบคุมอย่างชาญฉลาดโดยประชาชนแล้ว องค์กรเช่นนี้ย่อมเสื่อมทรามลง กลายเป็นองค์กรทุจริตและเผด็จการอำนาจเป็นแน่ จนกว่าประชาชนทั่วไปในสยามจะได้รับการศึกษาที่สูงกว่าที่เป็นอยู่ มันคงอันตรายเกินไปที่จะตั้งรัฐสภาภายใต้การควบคุมของประชาชน

พร้อมกันนี้ ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ ยังได้แนบร่างรัฐธรรมนูญ 12 มาตรา ที่เขาเรียกว่า “Outline of Preliminary Draft” หรือเค้าโครงเบื้องต้นว่าด้วยโครงสร้างของรัฐบาล ซึ่งตามความเห็นของเขาถือเป็นร่างรัฐธรรมนูญการปกครองที่เหมาะกับสยามที่สุดในขณะนั้น

แต่สุดท้าย กลับเกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 เสียก่อน รัฐธรรมนูญฉบับของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ มีส่วนช่วยในการร่างนั้น จึงไม่ได้นำออกมาประกาศใช้

ทั้งนี้ แม้ ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ จะพ้นจากหน้าที่ในสยามไปแล้ว เขาก็ยังได้รับการยอมรับนับถือจากรัฐบาลสยามเป็นอย่างยิ่ง และยังได้เดินทางกลับมาเยี่ยมเมืองไทยอยู่หลายครั้ง กระทั่งในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2515 พระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ ก็ได้ถึงแก่อนิจกรรมที่บ้านพักในกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา

จะเห็นได้ว่า ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ ได้ทำคุณประโยชน์ด้านการต่างประเทศให้แก่สยามเป็นอย่างมาก เป็นผู้ดำเนินการเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ทำให้ประเทศสยามรอดพ้นจากการถูกเอารัดเอาเปรียบ และเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการร่วมร่างเค้าโครงรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 7 ที่ทรงมุ่งหวังให้ประเทศสยามมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

และจากพระราชหัตถเลขาที่มีถึง ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ ก็เป็นสิ่งยืนยันว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงให้ความสำคัญเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญการปกครองที่ถูกต้องและเหมาะสมกับประเทศสยาม ทรงต้องการให้ประชาชนได้เรียนรู้และเข้าใจถึงการปกครองในระบอบใหม่อย่างแท้จริง เพื่อให้แน่ใจว่าประเทศสยาม พร้อมสำหรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้