แผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี ในปี พ.ศ. ใด

คณะรัฐมนตรีรับทราบแผนอนุรักษ์พลังงาน และแนวทาง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ในช่วงปี 2551-2554 ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตามแผนอนุรักษ์พลังงานในช่วงปี 2548-2550
การดำเนินงานตามแผนอนุรักษ์พลังงาน ในช่วงปี 2548-2550 ในด้านต่างๆ ทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม และการจัดการด้านการใช้พลังงานที่ครอบคลุมอาคารสำนักงาน ธุรกิจและการบริการ สถานที่ราชการ บ้านอยู่อาศัย และภาคขนส่ง และการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนประเภทต่างๆ สามารถลดการใช้พลังงานได้ 1,518 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ในขณะที่ด้านการพัฒนาพลังงานทดแทนได้เพิ่มปริมาณการใช้พลังงานทดแทนได้ถึง 3,713 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ คิดเป็นมูลค่าพลังงานที่ประหยัดได้รวม 105,531 ล้านบาท โดยในปีที่ผ่านมาการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 70 จากระดับ 3.4 ล้านลิตรต่อวัน เป็น 6 ล้านลิตรต่อวัน และสำหรับน้ำมันไบโอดีเซลบี 100 ได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1,654 หรือ 16.5 เท่า จากระดับ 24,000 ลิตรต่อวัน เป็น 421,000 ลิตรต่อวัน และการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 2 และ บี 5 อยู่ในระดับ 18.4 และ 2.8 ล้านลิตรต่อวัน ตามลำดับ
นอกจากนั้น มาตรการการให้ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ได้เป็นจุดเริ่มต้นของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่หลากหลาย เช่น ขยะ พลังน้ำขนาดเล็ก พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ นอกเหนือจากพลังงานชีวมวลที่มีมา โดยภายใต้นโยบายนี้ได้ทำให้เกิดโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่จะขายเข้าสู่ระบบในอนาคตได้ไม่ต่ำกว่า 1,120 เมกะวัตต์
2. สรุปแผนอนุรักษ์พลังงาน และแนวทาง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ในช่วงปี 2551-2554
จากผลการดำเนินงานในปี 2550 ทำให้ทราบศักยภาพและแนวทางการดำเนินการที่ชัดเจนในช่วงปี 2551 - 2554 โดยสรุปแล้วแผนอนุรักษ์พลังงานยังคงเดิม แต่มีการปรับเป้าหมายและการดำเนินการให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังรายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย สรุปสาระสำคัญดังนี้
2.1 แผนอนุรักษ์พลังงานในช่วงปี 2551-2554 กำหนดเป้าหมายจะลดปริมาณการใช้พลังงานลง 7,820 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ หรือคิดเป็นร้อยละ 10.8 ของความต้องการใช้พลังงานทั้งหมดของประเทศในปี 2554 และกำหนดเป้าหมายการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้แทนพลังงานเชิงพาณิชย์ 8,858 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ หรือคิดเป็นร้อยละ 12.2 ของความต้องการใช้พลังงานในปี 2554
2.2 แผนอนุรักษ์พลังงานประกอบด้วย 4 ด้านหลัก คือ (1) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (2) การใช้พลังงานทดแทน (3) การพัฒนาบุคลากร และ (4) การประชาสัมพันธ์ โดยสรุปแนวทางดำเนินการในแต่ละด้านได้ดังนี้
(1) ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
ภาคอุตสาหกรรม และการจัดการด้านการใช้พลังงาน โดยครอบคลุมอาคารสำนักงาน ธุรกิจและการบริการ สถานที่ราชการ และบ้านอยู่อาศัย โดยสานต่องานด้านนโยบาย เช่น เร่งรัดการจัดการออกกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อให้โรงงานและอาคาร ปรับปรุงการใช้พลังงานในกิจการให้เป็นปอย่างมีประสิทธิภาพ และเร่งประกาศให้มาตรฐานประสิทธิภาพการใช้พลังงานขั้นต่ำและขั้นสูงมีผลบังคับใช้กับเครื่องจักร อุปกรณ์ และวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงานที่ผลิตและใช้ในประเทศ รวมทั้งการติดฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพอุปกรณ์ไฟฟ้า (ฉลากเบอร์ 5) และรณรงค์ให้เกิดการใช้หลอดตะเกียบแทนหลอดไส้ที่ยังมีในระบบจำนวน 30 ล้านหลอด ตลอดจนสนับสนุนการใช้หลอดผอมมากที่ใช้ไฟฟ้าเพียง 28 วัตต์ แทนหลอดผอมที่ใช้ไฟฟ้า 36 วัตต์
นอกจากนั้นได้เพิ่มมาตรการส่งเสริมรูปแบบใหม่ เช่น การจัดการด้านการใช้พลังงานโดยวิธีประกวดราคา การจัดตั้งกองทุนเพื่อร่วมลงทุนและส่งเสริมการลงทุนให้โครงการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน และการประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก ระบบ Cogeneration เป็นต้น ส่งเสริมการฝึกอบรมทักษะเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน จัดตั้งศูนย์บริการให้คำปรึกษาด้านการอนุรักษ์พลังงานให้กระจายอยู่ทั่วประเทศเพื่อให้คำปรึกษาได้รวดเร็วและสามารถนำไปปฏิบัติได้ผลจริง พร้อมทั้งสนับสนุนให้หน่วยงานของภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันดำเนินการอนุรักษ์พลังงานในโรงงาน อาคารและบ้านอยู่อาศัย ในระยะ 5 ปีข้างหน้า คาดว่าจะลดการใช้พลังงานได้ถึง 4,406 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ/ปี
ภาคขนส่ง ส่งเสริมการลงทุนในโครงการพัฒนาระบบขนส่ง เร่งรัดการจัดการจราจรและการขนส่งทั้งการขนส่งคนและสินค้า การจัดเตรียมพื้นที่จอดและจรเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ขนส่งสาธารณะ สนับสนุนการขนส่งสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ระบบโลจิสติกส์ การขนส่งทางรถไฟ และทางเรือ เป็นต้น ให้ความรู้กับประชาชนเพื่อความร่วมมือประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง การเลือกใช้น้ำมันเชื้อเพลิงให้ถูกประเภท การส่งเสริมการใช้รถยนต์ประหยัดพลังงาน (eco-car) ในระยะ 5 ปีข้างหน้า คาดว่าจะช่วยให้ลดการใช้น้ำมันและเชื้อเพลิงอื่นๆ ได้ถึง 3,413 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ/ปี
(2) ด้านการใช้พลังงานทดแทน โดยเร่งผลักดันให้เกิดการลงทุนและพัฒนาพลังงานทดแทนที่เหมาะสมกับประเทศไทย ดังนี้
- ส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพ จากฟาร์มสุกร โรงงานแป้งมันสำปะหลัง และน้ำเสียจากโรงงาน เป็นต้น โดยมีเป้าหมายจะผลิตก๊าซชีวภาพ 1,060 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ทดแทนพลังงานเทียบเท่าน้ำมันดิบปีละ 397,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 6,970 ล้านบาทต่อปี ทำให้เป้าหมายก๊าซชีวภาพทางด้านไฟฟ้าเพิ่มขึ้น จาก 30 MW เป็น 60 MW และด้านความร้อนเพิ่มขึ้น จาก 186 ktoe เป็น 370 ktoe
- ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ การแปรรูปขยะเป็นพลังงาน การส่งเสริมวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นพลังงาน ส่งเสริมพลังงานจากลม และแสงอาทิตย์ โดยมีแผนปฏิบัติการและรายละเอียดวิธีดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในแต่ละด้านที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
- กำหนดเป้าหมายมาตรการส่งเสริมการใช้เอทานอล 2.4 ล้านลิตรต่อวัน โดยประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อให้ประชาชนเข้าใจเกี่ยวกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ และรักษาส่วนต่างราคาเพื่อจูงใจผู้ใช้ เพิ่มแรงจูงใจแก่ผู้จำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ส่งเสริมให้มีรถยนต์ที่สามารถใช้ E20 เป็น 150,000 คัน ในปี 2544 และให้รถจักรยานยนต์ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์
- กำหนดเป้าหมายมาตรการส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซล 3 ล้านลิตรต่อวัน โดยเร่งรัดมาตรการบังคับบริษัทน้ำมันทุกแห่งขายน้ำมันไบโอดีเซลบี 2 (ดีเซล 98% ไบโอดีเซล 2%) แทนน้ำมันดีเซลในปั๊มน้ำมันทั่วประเทศในวันที่ 1 กุมภาพันธุ์ 2551 ส่งเสริมการผลิตและใช้ไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มที่เหลือจากการบริโภคในปี 2552 และปี 2553 เร่งส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันในปี 2551 เพื่อให้ไบโอดีเซลเพียงพอกับความต้องการที่จะผสมกับดีเซลหมุนเร็ว 5% ในปี 2554
จากมาตรการต่างๆ นั้น จะทำให้มีการผลิตพลังงานทดแทนมากขึ้น ในระยะ 5 ปีข้างหน้า คาดว่าจะช่วยให้ลดการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ได้ถึง 8,858 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ/ปี
แม้กระทรวงพลังงานได้เร่งส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนอย่างเต็มที่แล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอ เมื่อเทียบกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี ดังนั้น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์จะเป็นทางเลือกหนึ่งของประเทศในอนาคต โดยในช่วงปี 2551-2553 จะมีการดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ครบถ้วนและการยอมรับของประชาชน อันจะนำไปสู่การตัดสินใจอนาคตของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ถูกต้องต่อไป
(3) ด้านการพัฒนาบุคลากร เพื่อเพิ่มจำนวนและคุณภาพของบุคลากรให้เพียงพอในการนำเป้าหมายของแผนอนุรักษ์พลังงานไปสู่การปฏิบัติ โดยให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี โท และเอก ทั้งในและต่างประเทศ การนำอาจารย์และนักศึกษาที่มีพื้นฐานทางวิศวกรรมมาเข้ารับการฝึกอบรมด้านพลังงานจัดตั้งเป็นทีมเทคนิคเข้าไปให้คำปรึกษาแนะนำกับโรงงานเพื่อการประหยัดพลังงาน การร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการบูรณาการความรู้เรื่องพลังงานอยู่ในหลักสูตรประถมศึกษาและมัธยมศึกษา และส่งเสริมการเรียนการสอนและห้องปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนในระดับอุดมศึกษา
(4) ด้านการประชาสัมพันธ์ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปทราบถึงความสำคัญและผลกระทบของการใช้พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ และเผยแพร่วิธีประหยัดพลังงานที่ทำได้ง่ายในชีวิตประจำวัน การให้ความรู้ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานทางเลือก เช่น ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ น้ำมันไบโอดีเซล ถ่านหิน นิวเคลียร์ เป็นต้น เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญของการกระจายแหล่งเชื้อเพลิง การพัฒนาพลังงานทดแทนน้ำมัน การเลือกใช้พลังงานใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับประเทศ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ มีความเข้าใจ เกิดความมั่นใจและมีทัศนคติที่ดีต่อพลังงานแต่ละรูปแบบ และยอมรับในนโยบายของรัฐ พร้อมให้การสนับสนุน ร่วมมือกับภาครัฐในการพัฒนาเลือกใช้พลังงานที่เหมาะสม
2.3 ตามแผนอนุรักษ์พลังงานในช่วงปี 2551 — 2554 จะใช้เงินจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในกรอบวงเงินรวม 87,849 ล้านบาท เข้าไปช่วยเหลือ อุดหนุนหรือใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนเพื่อเร่งรัดให้การดำเนินงานเกิดผลสัมฤทธิ์บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ประกอบด้วย 3 แผนงาน ได้แก่ 1) แผนพลังงานทดแทน วงเงิน 7,332 ล้านบาท 2) แผนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน วงเงิน 80,267 ล้านบาท และ 3) แผนงานบริหารทางกลยุทธ์ วงเงิน 250 ล้านบาท โดยกองทุนฯ มีเงินที่จะได้รับคืนเนื่องจากเป็นเงินทุนหมุนเวียนรวม 4,400 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน 2,000 ล้านบาท โครงการส่งเสริมการลงทุน (ESCO) 500 ล้านบาท และโครงการส่งเสริมการใช้หลอดผอมใหม่ (T5) 1,900 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 ธันวาคม--จบ--

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้