ลดต้นลดดอก กับ คงที่ Pantip

 การคิดดอกเบี้ยเงินกู้แบบลดต้นลดดอก

การคิดดอกเบี้ยเงินกู้แบบลดต้นลดดอก (Effective Rate)​​​​​​

ใช้คำนวณดอกเบี้ยของสินเชื่อเกือบทุกประเภท เช่น สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย โดยคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นคงเหลือในแต่ละงวด​​​​​

กรณีทั่วไป

มีสูตรการคำนวณคือ


กรณีกำหนดให้ชำระหนี้เดือนละเท่า ๆ กัน

สมมติว่า ต้องการกู้เงิน 12,000 บาท ระยะเวลาผ่อน 6 เดือน อัตราดอกเบี้ย 24% ต่อปี สถาบันการเงินจะคำนวณจำนวนเงินผ่อนต่องวดจากสูตรดังต่อไปนี้​



ในกรณีนี้สถาบันการเงินปัดยอดเงินต่องวดขึ้นและให้ผ่อนชำระงวดละ 2,150 บาท ยกเว้นเดือนสุดท้ายที่จะให้ผ่อนชำระ 2,093 บาท ซึ่งสามารถจำแนกเป็นสัดส่วนของเงินต้นและดอกเบี้ยในแต่ละงวดตามสูตรที่ได้กล่าวถึงในกรณีทั่วไปได้ดังนี้

 

​อยากรู้ว่าดอกเบี้ยที่ไหนถูกหรือแพง ลองแปลง Flat Rate เป็น Effective Rate ช่วยได้

ในการเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่ต่างประเภทกัน เราไม่สามารถนำตัวเลขอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบเงินต้นคงที่ (Flat Rate) มาเปรียบเทียบโดยตรงกับตัวเลขอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) ได้ เพราะวิธีการคิดดอกเบี้ยแตกต่างกันดังที่ได้อธิบายข้างต้น แต่หากจะแปลงอัตราดอกเบี้ยจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบเงินต้นคงที่เป็นแบบลดต้นลดดอกแบบคร่าว ๆ  ก็สามารถทำได้โดยใช้ 1.8 คูณกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบเงินต้นคงที่

ตัวอย่าง

วัลลภต้องการเช่าซื้อรถยนต์ แต่เขากำลังคิดว่าจะเลือกใช้บริการจากที่ไหนดีระหว่างผู้ให้เช่าซื้อ A และ B

​​

​​​ ผู้ให้เช่าซื้อ​ อัตราดอกเบี้ยต่อปี ​​วิธีคิดดอกเบี้ย
A 4 % เงินต้นคงที่ (Flat Rate)
B 6 % ลดต้นลดดอก (Effective Rate)​

​​​

ถ้าดูกันแค่ตัวเลขก็เหมือนว่า A จะถูกกว่า แต่ที่จริงแล้ว เมื่อวัลลภลองแปลงอัตราดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่ของ A เป็นแบบลดต้นลดดอก ก็จะพบว่า อัตราดอกเบี้ยของ A แบบลดต้นลดดอกโดยประมาณ =  4% x 1.8  =  7.2%

เห็นอย่างนี้แล้ว วัลลภก็ได้รู้ว่าเมื่อคำนวณเป็นแบบลดต้นลดดอกเหมือนกันเพื่อให้เปรียบเทียบกันได้แล้ว ดอกเบี้ยของ A แพงกว่า B ประมาณ 1.2% ต่อปี  ดังนั้น B ก็อาจเป็นทางเลือกที่ดีของวัลลภ หากคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ นอกเหนือจากอัตราดอกเบี้ย เช่น ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ความสะดวกในการชำระเงิน คุณภาพการให้บริการของ A และ B ประกอบด้วยแล้วไม่ได้แตกต่างกันเท่าใดนัก 

ดังนั้น ก่อนกู้เงินหรือขอสินเชื่อจึงต้องศึกษาข้อมูลให้แน่ใจว่าคิดดอกเบี้ยแบบไหน ใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอะไรและเท่าไหร่ โดยแปลงให้เป็นวิธีคิดแบบเดียวกันเพื่อให้เปรียบเทียบได้ว่าถูกแพงต่างกันอย่างไร​

คำถามถามบ่อย

ทำไมอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง เช่น MLR ของแต่ละธนาคารไม่เท่ากัน​

เพราะต้นทุนของธนาคารแต่ละแห่งไม่เท่ากัน ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย เช่น อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก สภาพคล่อง อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่ธนาคารต้องดำรง ซึ่งอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงในแต่ละช่วงเวลา  นอกจากนี้ ในทางปฏิบัติธนาคารก็มักจะใช้ MLR กับทั้งลูกค้ารายใหญ่และรายย่อย​

ทำไมอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงมีบวกหรือลบต่อท้ายด้วย เช่น MLR + X% และทำไม X% ของลูกค้าแต่ละรายจึงไม่เท่ากัน

หากผู้กู้มีความเสี่ยงสูง เช่น ฐานะทางการเงินไม่ค่อยมั่นคง ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น (X%) จากอัตราอ้างอิง เพื่อชดเชยความเสี่ยงของลูกค้าแต่ละรายที่อาจแตกต่างกันไป หรือหากผู้กู้มีความเสี่ยงต่ำ ธนาคารอาจคิดดอกเบี้ยที่ถูกกว่าอัตราอ้างอิงก็ได้ เช่น MLR + X% ซึ่ง X% ของลูกค้าแต่ละรายจึงไม่จำเป็นต้องเท่ากัน และยังขึ้นกับดุลพินิจ หลักเกณฑ์ และวิธีการพิจารณาสินเชื่อที่แตกต่างกันไปของธนาคารแต่ละแห่ง ดังนั้น เราควรสอบถามธนาคารที่เราสนใจหลาย ๆ แห่ง และนำมาพิจารณาเปรียบเทียบว่าธนาคารแห่งไหนมีเงื่อนไขที่ดีและเหมาะสมกับเรามากที่สุด​

​​

ลดต้น ลดดอก ดีกว่าไหม

แม้ว่าการคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกจะมีดีกว่าดอกเบี้ยประเภทอื่นๆ แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นสินเชื่อ ยังไงก็ต้องมีข้อควรระวังเอาไว้! เพราะถ้าหากคุณผิดนัดชำระ หรือจ่ายล่าช้า ดอกเบี้ยก็จะถูกคิดจากยอดเงินต้นคงเหลือไปเรื่อยๆ ซึ่งอาจจะทำให้คุณต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยที่มากขึ้นกว่าเดิมจากแผนการผ่อนชำระที่กำหนดไว้

ดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก คิดยังไง

โดยการคำนวณดอกเบี้ยลดต้นลดดอก มีสูตรการคำนวณง่าย ๆ ดังนี้ เมื่อเราทราบจำนวนดอกเบี้ยที่จะต้องจ่ายในงวดแรกแล้ว ถ้าหากอยากรู้จำนวนเงินต้นว่าลดลงไปเท่าไหร่ สามารถคำนวณได้จากสูตรต่อไปนี้ เงินต้นที่ลดลง = จำนวนเงินที่ต้องจ่ายในงวดนั้น – ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในงวดนั้น

หนี้สินประเภทใดที่คํานวณดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก

การคิดดอกเบี้ยเงินกู้แบบลดต้นลดดอก (Effective Rate)​​​​​​ ใช้คำนวณดอกเบี้ยของสินเชื่อเกือบทุกประเภท เช่น สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย โดยคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นคงเหลือในแต่ละงวด​​​​​

การปล่อยเงินกู้ คิดดอกยังไง

โดยทั่วไปมีสูตรการคำนวณดังนี้ ดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย = เงินต้นคงเหลือ x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x จำนวนวันในงวด / จำนวนวันใน 1 ปี* เงินต้นที่ลดลง = จำนวนเงินที่ต้องจ่ายในงวดนั้น – ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในงวดนั้น เงินต้นคงเหลือ = เงินต้นคงเหลือจากงวดก่อน – เงินต้นลดลง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้