กรณีใดเป็นสิทธิประกันสังคมตามมาตรา 33 ที่ผู้ประกันตนจะได้รับ

ประกันสังคม มีความสำคัญกับคนทำงานมากกว่าที่คิด ไม่เพียงให้สิทธิประโยชน์และความคุ้มครองในการใช้ชีวิตเท่านั้น แต่ยังเป็นหลักประกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นตลอดชีวิตการทำงานด้วย แต่หลายคนก็ยังไม่รู้ว่าประกันสังคมมาตรา33 มีความสำคัญอย่างไร ให้สิทธิอะไรบ้าง ตามมาอ่านกันได้เลย

  • ทำไมต้องทำประกันสังคม ม.33
  • สิทธิประโยชน์ และความคุ้มครอง
  • สมทบเงินไว้ ให้ได้รับสิทธิ
  • สุข-ทุกข์ ก็ได้รับสิทธิความคุ้มครอง
  • สะดวกสบาย ส่งเงินง่าย เช็กได้ทุกเมื่อ

Link ที่เกี่ยวข้อง

ทำไมต้องทำประกันสังคม ม.33

คนทำงานหลายคนอาจจะยังไม่ค่อยเห็นความสำคัญของประกันสังคม แต่ในทางกลับกัน ประกันสังคมจะเป็นแหล่งพึ่งพาในวันที่ต้องการความช่วยเหลือ ให้ผู้ประกันตนมีรายได้เจือจุน เสมือนเป็นหลักประกันที่ช่วยสร้างความมั่นคงในการใช้ชีวิต แถมด้วยสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองต่าง ๆ ให้กับคนทำงาน คนทำงานจึงต้องสมทบเงินเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน

ผู้ที่มีสิทธิสมัครเป็นผู้ประกันตนม.33 จะต้องเป็นมนุษย์เงินเดือนที่ทำงานตามบริษัทเอกชนทั่วไป หรือพนักงานประจำที่มีนายจ้าง ซึ่งมีช่วงอายุ 15-60 ปีบริบูรณ์ โดยนายจ้างจะเป็นผู้แจ้งขึ้นทะเบียนต่อสำนักงานประกันสังคมให้ลูกจ้าง ซึ่งความคุ้มครองที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จะได้รับมีดังนี้

สิทธิประโยชน์ และความคุ้มครอง

  • ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย 
  • คลอดบุตร 
  • ทุพพลภาพ 
  • เสียชีวิต 
  • สงเคราะห์บุตร  
  • ชราภาพ 
  • ว่างงาน

สมทบเงินไว้ ให้ได้รับสิทธิ

สำนักงานประกันสังคมกำหนดให้จ่ายเงินเข้าประกันสังคม โดยคำนวณจาก 5% ของเงินเดือน (คำนวณจากฐานเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท) ดังนั้น ผู้ประกันตนจึงจ่ายเงินสมทบสูงสุด ไม่เกิน 750 บาท/เดือน นอกจากนี้ นายจ้าง และรัฐบาล จะร่วมจ่ายเงินสมทบในแต่ละเดือนให้ด้วย

ตัวอย่างการคำนวณเงินสมทบ

เงินเดือนอัตราเงินสมทบ (%)จำนวนเงินสมทบ
(บาท/เดือน)
15,000
(คำนวณจากฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท)
ลูกจ้าง (5%) 750
นายจ้าง (5%) 750
รัฐบาล (2.75%) 412.5
ยอดรวมเงินสมทบ ลูกจ้าง + นายจ้าง + รัฐบาล 1,912.5

* ยอดรวม เงินสมทบ (เงินที่ผู้ประกันตนจ่ายเอง + เงินสมทบที่ได้จากนายจ้าง และรัฐบาล) สามารถขอรับเงินคืนได้เมื่อถึงวัยเกษียณ

เมื่อวันที่ 10 พค. 2565 มีการแก้ไขสิทธิประโยชน์ ประกันสังคมกรณีชราภาพ เพิ่ม “หลักการ 3 ขอ(ขอเลือก-ขอคืน-ขอกู้) เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ โดยผู้ประกันตนสามารถนำเงินชราภาพออกมาใช้ก่อนได้ ซึ่งมีรายละเอียด คือ

  1. ขอเลือก – ผู้ประกันตน (อายุ 55 ปีบริบูรณ์) สามารถเลือกรับ เงินบำเหน็จ หรือ เงินบำนาญชราภาพได้
  2. ขอคืน – ผู้ประกันตน (ก่อน อายุ 55 ปีบริบูรณ์) สามารถนำเงินสะสมกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ได้
  3. ขอกู้ – ผู้ประกันตนสามารถนำเงินสะสมกรณีชราภาพไปเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินได้

นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ อื่น ๆ เช่น

  • ขยายอายุผู้ประกันตน จาก 60 ปี เป็น 65 ปี
  • เพิ่ม เงินสงคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร จาก 90 วัน เป็น 98 วัน
  • เพิ่ม เงินทดแทนขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ จาก 50% เป็น 70%
  • เพิ่ม ความคุ้มครองกรณีสงเคราะห์บุตร ต่ออีก 6 เดือน

สุข-ทุกข์ ก็ได้รับสิทธิความคุ้มครอง

ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิความคุ้มครองใน 7 กรณีหลัก ดังนี้

 สิทธิประโยชน์เงื่อนไขการได้รับความคุ้มครอง
กรณีเจ็บป่วย
  • รักษาพยาบาลในโรงพยาบาล/สถานพยาบาล ตามสิทธิ
  • ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
  • ได้รับค่าทำฟัน 900 บาท / ปี
  • ค่าตรวจสุขภาพทั่วไปประจำปี
  • ได้รับการบำบัดกรณี ต่อไปนี้
    • ทดแทนไตกรณีไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
    • ปลูกถ่ายไขกระดูก
    • การผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ (หัวใจ ปอด ตับ ตับอ่อน)
    • เปลี่ยนอวัยวะ
    • อุปกรณ์ในการบำบัดรักษา
  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ สูงสุด 250 บาท ( ไม่เกิน 90 วัน/ครั้ง และ 180 วัน/ปี)
จ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนเดือนที่เกิดเหตุทุพพลภาพ
กรณีคลอดบุตร
  • ได้รับเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 15,000 บาท/การคลอด 1 ครั้ง แต่ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
  • เงินสงเคราะห์การหยุดงาน 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย*เป็นเวลา 90 วัน เบิกได้ไม่เกิน 2 ครั้ง
  • ค่าตรวจและรับฝากครรภ์ตามอายุครรภ์
*ผู้ประกันตนชายจะได้รับเฉพาะเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 15,000 บาท
จ่ายเงินสมทบครบ 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนเดือนที่คลอด
กรณีทุพพลภาพ
  • ทุพพลภาพไม่รุนแรง คือ มีระดับความสูญเสีย ร้อยละ 35 แต่ไม่ถึงร้อยละ 50 จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาตามประกาศฯ กำหนด
  • ทุพพลภาพรุนแรง คือ มีระดับความสูญความสูญเสียตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้าง*เป็นรายเดือน ตลอดชีวิต
จ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนเดือนที่เกิดเหตุทุพพลภาพ
กรณีเสียชีวิต
  • ค่าทำศพ 50,000 บาท
  • ไม่ได้รับเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต

จ่ายเงินสมทบครบ 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือนก่อนเสียชีวิต
  • ค่าทำศพ 50,000 บาท
  • ได้รับเงินสงเคราะห์ เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย* 2 เดือน
จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน
  • ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท
  • ได้รับเงินสงเคราะห์ เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย* 6 เดือน
จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป
กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 บาท/ 1 คน แต่ไม่เกิน 3 คน
(เด็กแรกเกิด จนถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์)
จ่ายเงินสมทบครบ 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือนก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน
กรณีชราภาพ เงินบำเหน็จชราภาพ ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ เฉพาะส่วนที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเข้ามา แต่จะไม่ได้เงินส่วนที่นายจ้างสมทบมาให้ จ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน
(จ่ายเงินสมทบ 1-11 เดือน)
ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ ทั้งส่วนที่ผู้ประกันตนสมทบ และส่วนที่นายจ้างสมทบให้ จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป
(จ่ายเงินสมทบ 12-179 เดือน)
เงินบำนาญชราภาพ ได้รับเงินบำนาญ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย* 60 เดือนสุดท้าย โดยจะได้รับเป็นรายเดือน
จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 180 เดือน
(ต้องจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน หรือ 15 ปี)
ได้รับเงินบำนาญเพิ่มอีก 1.5% ทุก ๆ 1 ปี (ได้รับเพิ่มจาก 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย* 60 เดือนสุดท้าย)
จ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน

อ่านเพิ่มเติม กรณีชราภาพ


กรณีว่างงาน
  • กรณีถูกเลิกจ้างจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในช่วงว่างงาน 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย* ครั้งละไม่เกิน 180 วัน
  • กรณีที่ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ช่วงว่างงาน 30% ของค่าจ้างเฉลี่ย* ครั้งละไม่เกิน 90 วัน
  • การว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย เช่น การเกิดโรคระบาด (ตัวอย่างเช่น การแพร่ระบาดของ COVID-19) จนเป็นเหตุให้นายจ้างต้องหยุดกิจการชั่วคราว หรือหน่วยงานภาครัฐสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว ทำให้ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
หมายเหตุ:
ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานและรายงานตัวทาง เว็บไซต์ DOE ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างฯ เพื่อรักษาสิทธิในการรับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีว่างงาน หรือ รายงานตัวกรณีว่างงานได้ที่ DGA Contact Center 02-612-6060
ส่งเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน

อ่านเพิ่มเติม กรณีว่างงาน


*ฐานเงินเดือนสูงสุดที่นำมาใช้คำนวณ ไม่เกิน 15,000 บาท

สะดวกสบาย ส่งเงินง่าย เช็กได้ทุกเมื่อ

การสมทบเงินเข้ากองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตน ม.33 นั้น ไม่ต้องจ่ายด้วยตัวเอง เพราะบริษัทจะเป็นคนจัดการให้ โดยหักจากเงินเดือนทุกเดือน ผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบจำนวนเงินสมทบ หรือสิทธิการรักษาพยาบาลและเรื่องต่าง ๆ ผ่านทาง แอปพลิเคชันทางรัฐ   และช่องทาง ต่อไปนี้

โทร 1506
(ตลอด 24 ชั่วโมง)

วันนี้คุณรู้สิทธิประโยชน์ของมนุษย์เงินเดือนครบถ้วนแล้วหรือยัง? ถ้ายังลองศึกษาข้อมูลและติดตามข่าวสารที่จะได้รับจากประกันสังคมมาตรา33 จากช่องทางที่สะดวก เพื่อจะได้เข้าใจสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ผู้ประกันตนทุกคนจะได้รับ ไม่ว่าคุณจะเจ็บป่วย คลอดบุตร พิการ เสียชีวิต หรือแม้แต่ชราภาพ เมื่อเข้าใจรายละเอียดเป็นอย่างดีแล้ว จะช่วยให้ใช้สิทธิได้โดยไม่เสียสิทธิดี ๆ ที่จะได้จากประกันสังคมไป

Link ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้