เมื่อแรงที่เกิดจากความชันของความกดอากาศมีค่ามาก

Page 1 of 5

เมื่อรับรู้ถึงการเปลี่ยนฤดู...ลมจะมาอีกแล้วซินะ...ลมอะไรกันนักหนา

ลม  คือ อากาศที่เคลื่อนที่จากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่งซึ่งเกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความกดอากาศของ 2 พื้นที่ โดยลมจะพัดจากบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำซึ่งมีความกดอากาศสูงเข้าสู่บริเวณที่อุณหภูมิสูงซึ่งมีความกดอากาศต่ำ

บริเวณที่มีอุณหภูมิสูงจะมีความกดอากาศต่ำ เนื่องจากอุณหภูมิสูง อากาศขยายตัวทำให้มีความหนาแน่นต่ำ อากาศจะลอยไปข้างบน ส่วนบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ ความหนาแน่นของอากาศจะมากทำให้เป็นบริเวณที่มีความกดอากาศสูง สำหรับแผนที่อากาศจะใช้เส้นไอโซบาร์ (Isobar) เป็นแนวบอกค่าระดับความกดอากาศสูงหรือต่ำ (การอ่านค่าคล้ายกับการอ่าน Contour line : ดูที่ อ่านและแปลความจากเส้นชั้นความสูง) และใช้อักษร H และ L บอกบริเวณหย่อมความกดอากาศ โดยหย่อมความกดอากาศสูงใช้อักษร H หย่อมความกดอากาศต่ำใช้อักษร L

หากพิจารณาการเคลื่อนตัวของอากาศรอบโลกจะพบว่า บริเวณเขตเส้นศูนย์สูตรเป็นบริเวณที่ได้รับแสงอาทิตย์ตลอดทั้งปีมีอุณหภูมิสูง  อากาศร้อนจะลอยตัวสูงขึ้น(ความกดอากาศต่ำ) ไปจนถึงชั้นบรรยากาศโทรโปสเฟียร์ ซึ่งอากาศจะลอยไม่เกินระดับนี้ อากาศร้อนนี้จึงแผ่ออกไปยังขั้วโลกเหนือและใต้ และเมื่ออากาศร้อนที่แผ่ออกไปปะทะกับอากาศที่เย็นอุณหภูมิก็จะเริ่มลดลงจนถึงบริเวณแถบละติจูด 30° เหนือและใต้ของเส้นศูนย์สูตร อากาศที่เย็นลงเรื่อยๆ (ความกดอากาศสูง) ก็จะจมลงสู่ผิวโลก แต่เนื่องจากอากาศนี้มีความชื้นต่ำจึงทำให้บริเวณนี้แห้ง จึงพบทะเลทรายส่วนใหญ่ของโลกอยู่ในบริเวณนี้

อากาศเย็นที่บริเวณเส้นละติจูด 30° เหนือและใต้ ที่จมตัวลงพื้นผิวโลกเนื่องจากความกดอากาศสูงจะถูกกดและผลักให้ไหลไปยังบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำบริเวณเส้นศูนย์สูตร จนถึงบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตรและหมดกำลังทำให้เกิดเขตลมสงบ หรือลมอ่อน (doldrums)

ในขณะที่อากาศเย็นตัวที่จมลงกลับสู่ผิวโลกที่บริเวณเส้นละติจูด 30° เหนือและใต้ที่จมตัวลงพื้นผิวโลกเนื่องจากความกดอากาศสูงอีกส่วนหนึ่ง จะถูกกดและผลักให้ไหลไปทางขั้วโลกเหนือและใต้ และไปปะทะกับอากาศเย็นจากขั้วโลก แถบบริเวณเส้นละติจูด 60° เหนือและใต้ จึงเรียกบริเวณนี้ว่า แนวปะทะขั้วโลก (polar fronts)  การปะทะกันของอากาศที่มีอุณหภูมิต่างกัน ทำให้อากาศร้อนกว่าลอยตัวขึ้นโดยส่วนหนึ่งไหลย้อนกลับไปทางเส้นศูนย์สูตร ก่อนที่จะจมตัวลงแถบบริเวณเส้นละติจูด 30° เหนือและใต้อีกครั้งทำให้เกิดความกดอากาศสูงที่บริเวณนี้เพิ่มขึ้น อีกส่วนหนึ่งไหลเคลื่อนไปยังเขตขั้วโลกเหนือและใต้ปะทะกับอากาศเย็นขั้วโลกและจมลง แล้วไหลย้อนกลับไปยังบริเวณเส้นละติจูด 60° เหนือและใต้

          แม้ว่าอากาศจะเป็นแก๊ส แต่อากาศก็มีน้ำหนักเช่นเดียวกับของแข็งและของเหลว เราเรียกน้ำหนักของอากาศที่กดทับกันลงมาด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงว่าความกดอากาศ” (Air pressure) ความกดอากาศจะมีความแตกต่างกับแรงที่เกิดจากน้ำหนักกดทับของของแข็งและของเหลวตรงที่ ความกดอากาศมีแรงดันออกทุกทิศทุกทางเช่นเดียวกับแรงดันของอากาศในลูกโป่ง

ภาพที่ 1 บารอมิเตอร์ชนิดปรอท

        อุปกรณ์วัดความกดอากาศเรียกว่าบารอมิเตอร์” (Barometer) หากเราบรรจุปรอทใส่หลอดแก้วปลายเปิด แล้วคว่ำลงตามภาพที่ 1 ปรอทจะไม่ไหลออกจากหลอดจนหมดแต่จะหยุดอยู่ที่ระดับสูงประมาณ 760 มิลลิเมตร เนื่องจากอากาศภายนอกกดดันพื้นที่หน้าตัดของอ่างปรอทไว้ความกดอากาศมีหน่วยวัดเป็น “มิลลิเมตรปรอท” “นิ้วปรอทและมิลลิบาร์โดยความกดอากาศที่พื้นผิวโลกที่ระดับน้ำทะเลปานกลางมีค่าเท่ากับ 760 มิลลิเมตรปรอท (29.92 นิ้วปรอท) หรือ 1013.25 มิลลิบาร์  

  • ในปัจจุบันนักอุตุนิยมวิทยาใช้คำว่า เฮกโตพาสคาล (Hecto Pascal เขียนย่อว่า hPa) แทนคำว่า มิลลิบาร์ แต่แท้จริงแล้วทั้งสองคือหน่วยเดียวกัน 
  • 1 เฮกโตปาสคาล = 1 มิลลิบาร์ = แรงกด 100 นิวตัน/พื้นที่ 1 ตารางเมตร 
    โดยที่แรง 1 นิวตันคือแรงที่ใช้ในการเคลื่อนมวล 1 กิโลกรัม ให้เกิดความเร่ง 1 (เมตร/วินาที)/วินาที


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความกดอากาศ

  • ยิ่งสูงขึ้นไปอากาศยิ่งบางอุณหภูมิยิ่งต่ำ ความกดอากาศยิ่งลดน้อยตามไปด้วยเพราะฉะนั้นความกดอากาศบนยอดเขาจึงน้อยกว่าความกดอากาศที่เชิงเขา
  • อากาศร้อนมีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศเย็นจึงมีความกดอากาศน้อยกว่าเรียกว่าความกดอากาศต่ำ” (Low pressure) ในแผนที่อุตุนิยมจะใช้อักษร “L” สีแดงเป็นสัญลักษณ์ (ดูภาพที่ 2)
  • อากาศเย็นมีความหนาแน่นมากกว่าอากาศร้อน จึงมีความกดอากาศมากกว่า เรียกว่า “ความกดอากาศสูง” (High pressure) ในแผนที่อุตุนิยมจะใช้อักษร “H” สีน้ำเงิน เป็นสัญลักษณ์

การเคลื่อนที่ของอากาศ

        การพาความร้อน (Convection) ในบรรยากาศทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของอากาศทั้งแนวตั้งและแนวราบ 

    • กระแสอากาศแนวตั้ง: 
      • บริเวณความกดอากาศต่ำ (L) อากาศร้อนเหนือพื้นผิว ยกตัวขึ้นแล้วอุณหภูมิลดต่ำลง ทำให้เกิดการควบแน่นเป็นเมฆและฝน  
      • บริเวณความกดอากาศสูง (H) อากาศเย็นด้านบนมีอุณหภูมิต่ำ เคลื่อนเข้ามาแทนที่อากาศร้อนที่อยู่เหนือพื้นผิว ทำให้เกิดแห้งแล้ง เนื่องจากอากาศเย็นมีไอน้ำน้อย 
    • กระแสอากาศแนวดิ่ง: อากาศเย็นมีมวลและความหนาแน่นมากกว่าอากาศร้อน กระแสอากาศจึงเคลื่อนตัวจากหย่อมความกดอากาศสูง (H) ไปยังหย่อมความกดอากาศต่ำ (L) ทำให้เกิดการกระจายและหมุนเวียนอากาศไปยังตำแหน่งต่างๆบนผิวโลกเราเรียกกระแสอากาศซึ่งเคลื่อนตัวในแนวราบว่า ลม” (Wind)

ภาพที่ 2 แผนที่อากาศ

        แผนที่อากาศในภาพที่ 2 แสดงให้เห็นความแตกต่างของความกดอากาศบนพื้นผิวโลก เส้นวงรอบความกดอากาศ เรียกว่า ไอโซบาร์” (Isobars) พื้นที่ใต้เส้นไอโซบาร์เดียวกันมีความกดอากาศเท่ากัน  และความกดอากาศระหว่างเส้นไอโซบาร์แต่ละเส้นจะมีค่าเท่ากัน ดังเช่น เส้นไอโซบาร์แต่ละเส้นจะมีค่าความกดอากาศต่างกัน  มิลลิบาร์ หรือ 6 hPa เป็นต้น เราเรียกแรงซึ่งเกิดจากความกดอากาศที่แตกต่างกันระหว่างเส้นไอโซบาร์ว่า "แรงเกรเดียนของความกดอากาศ" (Pressure-gradiant force)  ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากเกิดจากพื้นผิวโลกแต่ละบริเวณได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากันอุณหภูมิและความดันขอบอากาศจึงแตกต่างกันไปด้วย เราสามารถคำนวณหาแรงเกรเดียนของความกดอากาศ โดยใช้สูตร

 แรงเกรเดียนของความกดอากาศ = ความกดอากาศที่แตกต่าง / ระยะทางระหว่างตำแหน่งทั้งสอง  

        ถ้าหากเส้นไอโซบาร์อยู่ใกล้ชิดกันแสดงว่าความกดอากาศเหนือบริเวณนั้นมีความแตกต่างกันมาก หรือมีแรงเกรเดียนมาก จึงมีลมพัดแรง   แต่ถ้าเส้นไอโซบาร์อยู่ห่างกันแสดงว่าความกดอากาศเหนือบริเวณนั้นมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย  หรือมีแรงเกรเดียนน้อย แสดงว่ามีลมพัดอ่อน 


กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้