การใช้อินเทอร์เน็ตในที่สาธารณะให้ปลอดภัยปฏิบัติอย่างไร

คอมพิวเตอร์สาธารณะ (Public Computer) ส่วนใหญ่นั้นเปิดให้บริการฟรีแก่ผู้ที่ต้องการใช้งาน เพื่อเข้าใช้ อินเทอร์เน็ต (Internet) อย่างเช่นการ เปิดเว็บไซต์ ค้นคว้าข้อมูล ใช้ทำงาน หรือ ใช้เล่น โซเชียลมีเดีย (Social Media) หรือทำอะไรก็ได้ และเพื่อน ๆ เคยลองคิดไหมว่า ตอนที่เราใช้งานคอมพิวเตอร์สาธารณะอยู่นั้น เราระวังตัวเรื่องความปลอดภัยในการใช้งานมากน้อยแค่ไหน ?

บทความเกี่ยวกับ ข้อควรระวัง อื่นๆ

เพราะเพียงแค่เราเข้าไปใช้บริการและล็อกอินด้วยบัญชีผู้ใช้งานส่วนตัว อย่างบัญชีอีเมล, เว็บไซต์, บัญชีโซเชียลเน็ตเวิร์กต่าง ๆ เท่ากับว่าเราตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกดักขโมยข้อมูลจากบุคคลรอบ ๆ พื้นที่นั้น และเสี่ยงจากการถูกแฮกผ่านระบบคอมพิวเตอร์ในโลกออนไลน์

ด้วยเหตุนี้เอง บทความนี้เราจะมาแนะนำ 7 ข้อควรระวังเมื่อเราใช้งานคอมพิวเตอร์ในที่สาธารณะ ที่ควรจดจำไว้หากเราจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะ ทิปส์เหล่านี้จะช่วยให้ข้อมูลส่วนตัวของคุณปลอดภัยมากขึ้น

1. หลีกเลี่ยงการกรอกข้อมูลส่วนตัว บนคอมพิวเตอร์สาธารณะ

หากเรานั่งอยู่ในพื้นที่สาธารณะและกำลังนั่งกรอกข้อมูลส่วนตัว หรือ ข้อมูลสำคัญลงไปบนคอมพิวเตอร์ เราอาจจะเสี่ยงต่อการถูกจับตามองจากผู้คนที่อยู่บริเวณโดยรอบนั้นได้ง่ายมาก ๆ อีกทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ในที่สาธารณะนั้นยังเสี่ยงต่อการโดน มัลแวร์ (Malware) ดักจับรหัสและข้อมูลบนแป้นคีย์บอร์ด (Keylogger) อีกด้วย

ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการกรอกข้อมูลเหล่านั้นลงบนคอมพิวเตอร์สาธารณะ และควรใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวกับเน็ตเวิร์กที่มีความปลอดภัยในการกรอกข้อมูลเหล่านั้น และควรเช็คให้แน่ใจว่าเครื่องที่เราใช้งานนั้นมีโปรแกรมที่ช่วยปกป้องข้อมูลอย่าง โปรแกรมแอนตี้ไวรัส (Antivirus Software) หรือเครื่องที่ใช้นั้นใช้ โปรแกรมแท้ หรือ ซอฟต์แวร์ถูกลิขสิทธิ์ (Licensed Software) หรือไม่ เพื่อลดความเสี่ยงที่เราจะถูกขโมยข้อมูลไปโดยไม่รู้ตัว 

2. ไม่ควรบันทึกบัญชีผู้ใช้งาน บนคอมพิวเตอร์สาธารณะ

คอมพิวเตอร์ที่มีบัญชีของผู้ใช้งานก่อนหน้านี้อยู่ อาจจะถูกคนที่มาทีหลังเข้ามาสอดส่องประวัติ หรือ ทำอะไรไม่ดีก็ได้ เช่นโพสต์ข้อความในทางไม่ดีลงในบัญชีส่วนตัวของเรา, แอบเข้ามาอ่านประวัติแชทส่วนตัว, ทักไปยืมเงินเพื่อนของเรา, และอีกสารพัดเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งเราเองก็คงไม่อยากให้เกิดเรื่องแบบนั้นขึ้น 

เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ควรลบข้อมูลภายในเครื่องที่เราเคยดาวน์โหลดไว้ โดยทุกครั้งที่เราบันทึกไฟล์ควรจะเก็บไว้ในอุปกรณ์เก็บข้อมูลส่วนตัว อย่าง แฟลชไดร์ฟ (USB Flash drive) หรือบันทึกไฟล์ลงใน พื้นที่จัดเก็บข้อมูลออนไลน์ (Cloud Storage) และสุดท้ายอย่าลืมลงชื่อออก (Logout) จากระบบทั้งในเว็บเบราว์เซอร์และบัญชีอีเมลบนคอมพิวเตอร์ทุกครั้ง เพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลในภายหลัง

3. ไม่ควรปล่อยหรือออกห่างหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่

เพียงแค่เราลุกไปเข้าห้องน้ำในช่วงเวลาสั้น ๆ ในขณะที่เปิดหน้าจอคอมทิ้งไว้เฉย ๆ เพียงแค่ 5-10 นาทีก็เพียงพอที่คนร้ายจะเข้ามาขโมยข้อมูลของเราโดยที่เราไม่ทันสังเกต อาจจะเป็นไฟล์งานสำคัญ, ข้อมูลส่วนตัว, หรือเลวร้ายกว่านั้นก็อาจจะถูกติดตั้งระบบดักฟังเจาะข้อมูล กว่าจะรู้อีกทีก็สายไปเสียแล้ว

ดังนั้นอย่าลืมลงชื่อออก (Logout) หรือ ปิดคอมพิวเตอร์ (Shutdown) ก่อนที่เราจะลุกไปทำธุระที่อื่น เสร็จธุระแล้วค่อยกลับมาใช้ใหม่ก็ยังไม่สาย ไม่ต้องกลัวว่าจะโดนแย่งที่นั่งเพราะข้อมูลของเรานั้นมีค่ามากกว่าเวลาที่เสียไป

4. อย่าลืมลบประวัติกิจกรรมต่าง ๆ บนเว็บไซต์

ถ้ามีคนแอบมาส่องประวัติการใช้งานเว็บไซต์ที่เราเคยเปิด เราก็คงจะรู้สึกไม่ดีใช่ไหมล่ะ ? ดังนั้นทุกครั้งที่ใช้งานเสร็จ อย่าลืมลบประวัติกิจกรรม (Browser History) ต่าง ๆ เพื่อป้องกันบุคคลอื่นเข้ามาส่องกิจกรรมของเราทีหลัง ส่วนวิธีการเข้าไปลบประวัตินั้นสามารถทำได้ง่ายๆ

โดยการกด "ปุ่มลัด CTRL + SHIFT + DEL" เพื่อเปิดหน้าต่างลบประวัติข้อมูลการเข้าชม สามารถใช้ปุ่มนี้ได้ทั้งบน เว็บเบราว์เซอร์ อย่าง Google Chrome, Mozila Firefox, Internet Explorer, Microsoft Edge และเว็บเบราว์เซอร์ ตัวอื่น ๆ

5. ปิดการใช้งาน ฟังก์ชันบันทึกรหัสผ่าน อย่างสม่ำเสมอ

ฟังก์ชันบันทึกรหัสผ่านนั้นอาจจะสะดวกและช่วยประหยัดเวลาบนเครื่องเรา แต่คงไม่ดีแน่ถ้ารหัสของเราถูกจำอยู่บนเครื่องคนอื่น ดังนั้นก่อนจะเข้าใช้งาน ควรเข้าไปเช็คและปิดฟังก์ชันนี้ทุกครั้ง โดยให้เข้าไปที่การตั้งค่า (Settings) และมองหาแท็บ การจดจำรหัสผ่าน (Auto Complete) หรือ กรอกรหัสอัตโนมัติ (Auto Fill) และทำการปิดฟังก์ชันนี้เพื่อไม่ให้เว็บจดจำรหัสผ่านของเรา

6. เปลี่ยนรหัสผ่านในที่ปลอดภัย

หากเราเคยลงชื่อเข้าใช้บัญชีอีเมล หรือ บัญชีโซเชียลฯ บนเครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ มาก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสำคัญ หรือ ไม่สำคัญก็ตาม การทำแบบนั้นเท่ากับว่าเราได้ทำให้บัญชีที่เราใช้งานมีความเสี่ยงเป็นที่เรียบร้อย

ทางที่ดี ควรเปลี่ยนรหัสผ่านของบัญชีทั้งหมดทันที และ ควรทำในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือ มือถือส่วนตัว เท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าถึงจากภายนอก และป้องกันการดักจับของข้อมูลที่เราต้องการเปลี่ยน เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลและรหัสผ่านชุดใหม่ของเราจะปลอดภัย

7. เก็บเอกสารข้อมูลสำคัญไว้ข้างตัวอยู่เสมอ

บางครั้งเราจำเป็นต้องกรอกแบบฟอร์มข้อมูลโดยใช้ข้อมูลจากเอกสารส่วนตัวที่เรามีอยู่ อย่างสำเนาบัตรประชาชน สมุดบัญชี ข้อมูลทะเบียนบ้าน หรือ เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับภาษี เราไม่ควรวางทิ้งไว้โดยพลการ หากเราจำเป็นต้องกรอกข้อมูลเหล่านั้นควรรีบทำให้เสร็จในทันที และพกติดตัวไว้ตลอด เพราะถ้าหากเราลืมทิ้งไว้ เพียงแค่ไม่นาน อาจจะมีผู้ไม่ประสงค์ดีแอบนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ได้ง่าย ๆ ไม่ต่างจาก แฮกเกอร์ (Hacker) เลยล่ะ

สรุป ข้อควรระวัง ! เมื่อใช้งานคอมพิวเตอร์สาธารณะ

เหตุผลที่เราควรระวังเมื่อใช้งานคอมพิวเตอร์สาธารณะ เพราะไม่ว่าระบบความปลอดภัยของเครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกสร้างมาดีแค่ไหน ก็ไม่อาจจะปกป้องข้อมูลที่เกิดจากความผิดพลาดของผู้ใช้งาน (User Error) ได้ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมการใช้งานของเราเอง

ดังนั้นสิ่งที่ทำได้ก็คือ การฝึกวิธีการใช้งานที่ปลอดภัย ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว, ไม่บันทึกบัญชีของเราบนเครื่องที่ไม่รู้จัก, เก็บประวัติและรหัสผ่านของเราให้ดี ทำสิ่งเหล่านี้ให้ติดเป็นนิสัย และหมั่นเรียนรู้ อัปเดตข่าวสารใหม่ ๆ ด้วยวิธีพวกนี้จะช่วยให้เราดูแลความปลอดภัยของตัวเราให้ห่างจากความเสี่ยงบนโลกออนไลน์และโลกในชีวิตจริงของเราได้มากขึ้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้