เช็คยังไงว่าเรามีประกันอะไรบ้าง

การเงิน

สมาคมประกันชีวิตไทย เชิญชวนประชาชนใช้บริการตรวจสอบ “กรมธรรม์ของฉัน”

27 ต.ค. 2564 เวลา 19:06 น.16.1k

สมาคมประกันชีวิตไทยขอเชิญชวนประชาชนใช้บริการตรวจสอบ “กรมธรรม์ของฉัน” ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Portable Device) เพียงเพิ่มเพื่อนผ่าน Line Official Account (@OICConnect) ก็สามารถตรวจสอบสถานะกรมธรรม์ที่ท่านมีอยู่ได้โดยง่าย สะดวกและรวดเร็ว  

นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย  เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ร่วมกับภาคธุรกิจประกันภัยจัดทำแพลตฟอร์มกลางเชื่อมผ่านข้อมูลของบริษัทประกันภัยกับสำนักงาน คปภ. เพื่อเปิดให้ประชาชนสามารถเข้ามาตรวจสอบกรมธรรม์ของตนเองอย่างสะดวกและรวดเร็ว ผ่านช่องทางบริการ ”กรมธรรม์ของฉัน” หรือ My Policy  

สำหรับบริการ ”กรมธรรม์ของฉัน” หรือ My Policy  มีขั้นตอนการลงทะเบียนใช้งานง่ายๆ โดย 

1.   ค้นหาและ Add Line Official Account (@OICConnect)  

ลงทะเบียนทำการยืนยันตัวตนด้วยภาพถ่ายบัตรประชาชน และภาพถ่ายตนเองคู่กับบัตรประชาชน  

ใส่หมายเลขโทรศัพท์ เพื่อขอรับรหัส OTP  

เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยแล้วก็สามารถกดเลือกใช้บริการ “กรมธรรม์ของฉัน” หรือ My Policy ได้ทันที โดยระบบจะทำการเชื่อมต่อฐานข้อมูลกรมธรรม์ที่ท่านถือครอง ทั้งกรมธรรม์ประกันชีวิตและกรมธรรม์ประกันวินาศภัยที่ยังมีความคุ้มครอง รวมถึงกรมธรรม์ที่หมดอายุไม่เกิน 1 ปี ซึ่งในหน้าแรก “กรมธรรม์ของฉัน” นั้น จะระบุข้อมูลเกี่ยวกับ ชื่อแบบประกันภัย, ประเภทประกันภัย, เลขกรมธรรม์, วันที่เริ่มสัญญา, และวันครบกำหนดสัญญา ทั้งนี้ หากต้องการดูข้อมูลเพิ่มเติม ยังสามารถกดเข้าไปดูรายละเอียดกรมธรรม์เพื่อตรวจสอบสิทธิ และสถานะกรมธรรม์, จำนวนเบี้ยประกันภัยที่ต้องชำระต่อปี, ความคุ้มครองอื่นๆ ตลอดจนผลประโยชน์ของกรมธรรม์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะทำให้ท่านสามารถวางแผนบริหารความเสี่ยง การต่ออายุกรมธรรม์ รวมถึงวางแผนซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตเพิ่มเติมได้อีกด้วย ทั้งนี้ หากผู้เอาประกันภัยตรวจพบว่าข้อมูลกรมธรรม์ของตนเองยังไม่ถูกต้อง ครบถ้วน สามารถติดต่อสอบถามไปทางบริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ผู้เอาประกันภัยมีกรมธรรม์ได้โดยตรง  ซึ่งข้อมูลกรมธรรม์ของฉันจะเป็นความลับเฉพาะตัวบุคคลเท่านั้น นอกจากนี้แล้ว ยังมีบริการเสริมอื่นๆ อีก เช่น  

 - ตรวจสอบสถานะใบอนุญาตตัวแทนประกันภัย และนายหน้าประกันภัย   

- ตรวจสอบตำแหน่งที่ตั้งสำนักงาน คปภ. (ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค)   

- ตรวจสอบที่ตั้งสำนักงานใหญ่บริษัทประกันภัย 

ทั้งนี้ บริการ “กรมธรรม์ของฉัน หรือ My Policy” ได้เปิดให้ประชาชนเข้าใช้บริการได้ตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป ในโอกาสนี้ สมาคมประกันชีวิตไทยจึงขอเชิญชวนประชาชนทุกท่านเข้ามาใช้บริการ “กรมธรรม์ของฉัน หรือ My Policy” ซึ่งแพลตฟอร์มกลางนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจของภาคอุตสาหกรรมประกันภัย เพื่อยกระดับการเชื่อมโยงข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนทุกคนอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป 

หลายๆ คนประกอบอาชีพเป็นพนักงานประจำ ซึ่งในทุกๆ เดือนเงินส่วนหนึ่งจะถูกนำจ่ายไปเป็นค่าประกันสังคม เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองต่างๆ จากสิทธิประกันสังคมจากภาครัฐบาล

แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าประกันสังคมนั้นให้สิทธิประโยชน์อะไรกับเราได้บ้าง และจะทำการตรวจสอบได้อย่างไร? บทความนี้เงินติดล้อจะขอแนะนำวิธีเช็คสิทธิประกันสังคมออนไลน์ ให้คุณสามารถทำการตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ด้วยตัวเองได้ภายในเวลาไม่นาน

มาดูกันเลยครับว่าต้องทำอย่างไร!

เช็คสิทธิประกันสังคมออนไลน์ ทำอย่างไร?

เงินติดล้อจะพาคุณมาเช็คสิทธิประกันสังคมออนไลน์กันทีละขั้นตอน ตามนี้เลยครับ

  1. เข้าสู่เว็บไซต์ประกันสังคมออนไลน์ >>> www.sso.go.th

  2. เมื่อเข้าสู่หน้าระบบสมาชิกผู้ประกันตน กดที่ปุ่ม “สมัครสมาชิก”

  3. กดยอมรับข้อตกลงการให้บริการ แล้วกดปุ่มถัดไป

  4. กรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบ จากนั้นกดถัดไป

  5. กดปุ่ม “คลิกที่นี่ เพื่อขอรับรหัส OTP” จากนั้นนำ SMS บนมือถือมาใส่ในช่องรหัส จากนั้นกดปุ่มยืนยัน

  6. หากลงทะเบียนสำเร็จ ระบบจะแสดงผลดังนี้

  7. จากนั้นให้ไปที่หน้าเข้าสู่ระบบ กรอกรหัสตามที่สมัครไปในข้างต้น

  8. กดปุ่มที่ “ผู้ประกันตน”

  9. เท่านี้ก็สามารถตรวจสอบข้อมูลสิทธิประกันสังคมออนไลน์ได้เรียบร้อยแล้วครับ

สิทธิประกันสังคมช่วยอะไรเราได้บ้าง

หลายๆ คนอาจจะไม่รู้ว่าสิทธิประกันสังคมนั้นสามารถช่วยเหลืออะไรได้บ้าง เดี๋ยวเงินติดล้อจะทำการสรุปสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมแบบคร่าวๆ ให้ ตามนี้เลยครับ

  • กรณีประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย

    ได้รับการให้บริการทางการแพทย์จนสิ้นสุดการรักษา รวมถึงการบำบัดไต ปลูกถ่ายอวัยวะ บริการด้านทันตกรรม และเงินทดแทนขาดรายได้ขณะเจ็บป่วย

  • กรณีทุพพลภาพ

    • ค่ารักษาพยาบาล + เงินทดแทนขาดรายได้
    • ค่าใช้จ่ายในกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายของผู้ทุพพลภาพ ทั้งร่างกาย จิตใจ และอาชีพ เป็นจำนวนไม่เกิน 40,000 บาทต่อราย
    • ค่าอวัยวะเทียม + อุปกรณ์
    • ค่าพาหนะรับ - ส่งผู้ทุพพลภาพ 500 บาทต่อเดือน
  • กรณีเสียชีวิต

    รับค่าทำศพ 40,000 บาท + เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต

  • เงินสมทบค่าคลอดบุตร

    • ค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายไม่จำกัดจำนวนครั้ง เบิกได้ 13,000 บาทต่อครั้ง
    • ผู้ประกันตนฝ่ายหญิงจะได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรอีกในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นเวลา 90 วัน (เบิกได้ไม่เกิน 2 ครั้ง)
    • ค่าตรวจและรับฝากครรภ์ ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด
  • เงินสมทบชราภาพ

    • อายุครบ 55 ปี สมทบไม่ครบ 180 เดือน (15 ปี) ได้บำเหน็จ
    • อายุครบ 55 ปี สมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไป (15 ปี) ได้บำนาญ
    • ถ้าค่าจ้างเกินกว่าเดือนละ 15,000 บาท สมทบไม่ครบ 180 เดือน (15 ปี) จะได้บำนาญเดือนละ 3,000 บาท หากส่งเกิน 180 เดือน (15 ปี) จะได้เพิ่มปีละ 225 บาท
  • เงินสงเคราะห์บุตร

    บุตรตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตร 600 บาทต่อเดือนต่อคน ครั้งละไม่เกิน 3 คน

  • เงินสมทบกรณีว่างงาน

    กรณีเลิกจ้าง: ได้เงินทดแทน 50% ของค่าจ้างปีละไม่เกิน 180 วัน (6 เดือน)

    กรณีลาออก: ได้เงินทดแทน 30% ของค่าจ้างปีละไม่เกิน 90 วัน (3 เดือน)

    เหตุสุดวิสัย: ได้เงินทดแทน 50% ของค่าจ้างปีละไม่เกิน 180 วัน (6 เดือน)

ไม่ได้ทำงานประจำ ทำประกันสังคมได้หรือไม่?

สำหรับหลายๆ คนที่ไม่มีงานประจำก็สามารถมีสิทธิประกันสังคมได้ครับ! ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ เจ้าของกิจการ หรือแม้แต่ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป (แต่ไม่เกิน 65 ปี) ก็สามารถทำได้

โดยจะนับเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 มีสิทธิประโยชน์ให้เลือกจ่ายด้วยกันอยู่ 3 ทางเลือก ได้แก่

  • ทางเลือกที่ 1: จ่ายเงินสมทบ 70 บาทต่อเดือน สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี ได้แก่
    • กรณีประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย ทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาทต่อวัน ไม่เกินปีละ 30 วัน
    • กรณีทุพพลภาพ ทดแทนการขาดรายได้ 500 - 1,000 บาทต่อเดือน ไม่เกิน 15 ปี
    • กรณีเสียชีวิต รับค่าทำศพ 20,000 บาท และได้เพิ่มอีก 3,000 บาทหากจ่ายเงินสมทบเกิน 60 เดือน
  • ทางเลือกที่ 2: จ่ายเงินสมทบ 100 บาทต่อเดือน สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี ได้แก่
    • กรณีประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย ทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาทต่อวัน ไม่เกินปีละ 30 วัน
    • กรณีทุพพลภาพ ทดแทนการขาดรายได้ 500 - 1,000 บาทต่อเดือน ไม่เกิน 15 ปี
    • กรณีเสียชีวิต รับค่าทำศพ 20,000 บาท และได้เพิ่มอีก 3,000 บาทหากจ่ายเงินสมทบเกิน 60 เดือน
    • บำเหน็จชราภาพ 50 บาทต่อเดือน ออมเพิ่มได้ 1,000 บาทต่อเดือน
  • ทางเลือกที่ 3: จ่ายเงินสมทบ 300 บาทต่อเดือน สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5 กรณี ได้แก่
    • กรณีประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย ทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาทต่อวัน ไม่เกินปีละ 90 วัน
    • กรณีทุพพลภาพ ทดแทนการขาดรายได้ 500 - 1,000 บาทต่อเดือนตลอดชีวิต
    • กรณีเสียชีวิต รับค่าทำศพ 40,000 บาท
    • บำเหน็จชราภาพ 150 บาทต่อเดือน ออมเพิ่มได้ 1,000 บาทต่อเดือน
    • เงินสงเคราะห์บุตร 200 บาทต่อเดือนต่อคน ครั้งละไม่เกิน 2 คน

โดยสามารถจ่ายเงินสมทบเพื่อเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้ ผ่านสำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ โทรศัพท์สายด่วน 1506 และจุดให้บริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสต่างๆ

สรุป

ประกันสังคมเป็นหนึ่งในการประกันตนพื้นฐานที่ทุกๆ คนควรมี เนื่องจากไม่มีใครรู้ว่าอุบัติเหตุนั้นจะเกิดขึ้นกับตัวเมื่อไหร่ การมีประกันป้องกันไว้จะช่วยให้คุณหมดห่วงด้านค่าใช้จ่ายไปได้ในระดับหนึ่ง แล้วก็อย่าลืมศึกษาวิธีเช็คสิทธิประกันสังคมออนไลน์เพื่อตรวจสอบสิทธิของตัวเองกันด้วยนะครับ

นอกจากประกันสังคมที่เป็นหลักประกันขั้นพื้นฐานจากภาครัฐบาลแล้ว อย่าลืมใส่ใจความปลอดภัยบนท้องถนนจากอีกหนึ่งประกันจากรัฐบาล นั่นก็คือ พ.ร.บ. รถยนต์นั่นเองครับ ศึกษาการซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่บทความนี้เลยครับ

หรือเลือกช่องทางที่ง่ายกว่า ด้วยการต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน “เงินติดล้อ” จัดการได้ง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก เพียง 5 ขั้นตอน ไม่เกิน 5 นาที รถของคุณก็จะสามารถต่อ พ.ร.บ. ใหม่เอี่ยมได้เรียบร้อย!

สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันตามระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือของคุณ ตามลิงก์นี้เลยครับ

  • ระบบปฏิบัติการ IOS (Iphone)
  • ระบบปฏิบัติการ Android (โทรศัพท์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ Iphone)

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการซื้อ พ.ร.บ. ผ่านแอปพลิเคชันเงินติดล้อได้ที่ >>> //www.tidlor.com/th/ntlapp.html#ctp

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้