ชื่อ เจ้าของบ้าน มี ได้กี่คน

Q :อนาคตไหมเพราะปัจจุบันอาศัยอยู่กับพ่อแม่ และในอนาคตมีแนวโน้มจะทำเป็นบ้านเช่า

A :ดังนี้

1.บุคคล คนหนึ่งจะเป็นเจ้าของบ้านและที่ดิน คอนโดมิเนียม กี่แห่งกี่หลังก็ได้ หากมีกำลัง
ซื้อเพียงพอ การเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวก็จะระบุชื่อไว้ในโฉนดที่ดินหรือ
เอกสารสิทธิ์รูปแบบอื่น ๆ

2.บุคคลใด บุคคลหนึ่งในเวลาเดียวกันจะมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ได้เพียง 1 บ้านเลขที่
เท่านั้น เป็นซ้อนกันไม่ได้ การย้ายเข้าย้ายออกต้องดำเนินการภายในเวลา 15 วัน เอาเป็นว่า
ต้องมีชื่อที่อยู่ในทะเบียนบ้านที่แน่นอน อ้างอิงได้

3.บุคคลใด บุคคลหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าบ้านที่ไหน เจ้าบ้านต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียน
บ้าน เท่ากับว่า เป็นเจ้าบ้านได้เพียง 1 แห่ง 1 ทะเบียนบ้าน

ความรับผิดชอบ
เจ้าของบ้าน ต้องรับผิดชอบดูแลทรัพย์สินของตนเอง มิให้เสื่อมสภาพจนสร้างความเดือด
ร้นแก่ผู้อื่น ๆ อาทิ บ้านพัง บ้านเก่า จนอาจจะเกิดอันตรายต่อบุคคลอื่นๆ ซึ่งโดยปกติวิสัย
เจ้าของย่อมดูแลทรัพย์สินของตนเอง มิให้เสื่อมค่าอยู่แล้วเจ้าของบ้านต้องดูแลทรัพย์สิน
ของตนเอง มิให้ใครเข้ามาครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต ปกติเจ้าของก็ต้องทำอยู่แล้ว
เช่นกันเจ้าของบ้านย่อมไม่ต้องการให้ใครเข้ามาใช้ประโยชน์โดยที่ตนเองไม่ได้รับผลตอบ
แทน

เจ้าบ้านมีหน้าที่ดูแล บุคคลต่าง ๆ ที่อยู่อาศัยในบ้าน ทั้งมีทะเบียนบ้านร่วมกันและไม่ได้
โยกย้ายทะเบียนบ้านเข้ามา มีหน้าที่แจ้งย้ายเข้าย้ายออก แจ้งเกิด แจ้งตายเจ้าบ้านไม่จำเป็น
ต้องเป็นเจ้าของบ้าน อาทิ การเช่า ผู้เช่าสามารถเป็นเจ้าบ้านได้ แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของบ้าน
ไม่ได้กรรมสิทธิ์ แต่ได้ใช้สิทธิตามสัญญาการเช่าที่ระบุไว้ อาทิ เช่าอยู่อาศัย เช่าทำการค้า
เช่าทำสำนักงาน เป็นต้น

สรุป 1.ถ้าหมั่นไปดูแลบ้านของตนเอง ก็ไม่มีปัญหาหรอก 2.ถ้าจะให้เช่าต้องทำ
สัญญา (หาได้ตามสำนักงานที่ดิน) อย่างเป็นทางการ มีรายละเอียดที่จำเป็นทำไว้ 2 ชุด
เหมือนกันมีการออกใบเสร็จรับเงินเงินมัดจำ เงินค้ำประกันเฟอร์นิเจอร์ (อาจจะมีหรือไม่มี
ก็ได้)เงินค่าเช่าประจำเดือน เป็นหลักฐานหวังว่าช่วยสร้างความกระจ่างได้
.............................................................................................................................................>

หัวข้อ :: “เจ้าบ้าน” กับ “เจ้าของบ้าน” ใครมีสิทธิดีกว่า


“เจ้าบ้าน” กับ “เจ้าของบ้าน” ใครมีสิทธิดีกว่า

เมื่อเปิดทะเบียนบ้าน ท.ร. ๑๔ ดูจะมีคำว่า “เจ้าบ้าน” ปรากฏอยู่ซึ่ง คำว่า“เจ้าบ้าน” นั้น บางคนอาจเข้าใจว่า“เจ้าบ้าน” เป็นเจ้าของในตัวบ้านเลขที่นั้น
ความหมายของ “เจ้าบ้าน” ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ คือ “ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะอื่นใดก็ตาม” โดยมีหน้าที่แจ้งต่างๆ เกี่ยวกับกฎหมายทะเบียนราษฎร เช่น แจ้งเกิด ตาย ย้ายเข้า - ย้ายออก ปลูกบ้านใหม่ หรือรื้อบ้าน ฯลฯ ซึ่งการเป็นเจ้าบ้านมิได้หมายความว่าจะต้องเป็นกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือตัวบ้านนั้น ผู้ที่ครอบครองบ้านอาจเป็นผู้เช่า ผู้อาศัย ผู้ดูแลบ้าน ดังนั้น ทะเบียนบ้าน ท.ร. ๑๔ จึงมิใช่เอกสารที่จะอ้างถึงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิใด ๆ ในที่ดิน รวมทั้งตัวบ้านนั้น
ส่วน “เจ้าของบ้าน”ซึ่งเป็น “เจ้าของกรรมสิทธิ์” ในตัวบ้าน และที่ดิน หรืออาจเฉพาะตัวบ้าน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คือ ผู้ทรงกรรมสิทธิ์ หรือผู้มีอำนาจที่จะใช้สอย จำหน่าย จ่ายโอน ได้ดอกผล กับทั้งติดตามและเอาคืน ซึ่งทรัพย์สินของตนรวมถึงขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย พิจารณาจาก ผู้มีชื่อตามเอกสารสิทธิ์ต่างๆ เช่น โฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย ฯลฯ การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร สัญญาจ้างสร้างบ้าน และอื่นๆ
เมื่อพิจารณาให้ดีจะเห็นว่า ความหมายของ “เจ้าบ้าน” และ “เจ้าของบ้าน” ทั้งสองอย่างนั้นมีความเหมือนกันในเรื่องของความเป็นเจ้าของ หรือเป็นผู้มีอำนาจ ในการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้อื่นเข้ามามีชื่อในทะเบียนบ้านหรือเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านหลังที่ตนเป็นเจ้าของบ้านหลังนั้น ๆ
ฉะนั้น ความแตกต่างของ “เจ้าบ้าน” และ “เจ้าของบ้าน” ก็คือ อำนาจการครอบครองตามที่กฎหมายกำหนดไว้คนละฉบับ “เจ้าบ้าน” จะเป็นผู้ครอบครองบ้านในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือมิใช่เจ้าของเจ้าของบ้านก็ได้ มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายทะเบียนราษฎรเท่านั้น และมิได้ทำให้เกิดสิทธิในการครอบครอง “บ้าน” ตามกฎหมายอื่น ส่วน “เจ้าของบ้าน” เป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือเจ้าของบ้าน ซึ่งกฎหมายการทะเบียนราษฎรไม่ได้บังคับว่าจะต้องเป็นเจ้าบ้าน และการที่ให้บุคคลอื่นทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้านก็มิได้ทำให้สิทธิการครอบครองบ้านเสียไป ในกรณีที่เจ้าของบ้านไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าบ้าน สามารถให้ผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าบ้านแทนตนเองได้ นั่นเอง
ปัจจุบันได้มี พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.๒๕๓๔ และแก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๓๔วรรคสี่ ได้บัญญัติว่า "การกําหนดเลขประจําบ้านตามวรรคหนึ่งและการจัดทําทะเบียนบ้านตามมาตรา ๓๖ มีวัตถุประสงค์เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและคุ้มครองสิทธิพื้นฐานของประชาชนผู้ใดจะอ้างการกําหนดเลขประจําบ้านหรือการจัดทําทะเบียนบ้านเพื่อแสดงว่าตนมีสิทธิในที่ดินหรือเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินมิได้"

ดังนั้น ผู้ใดจะอ้างการกําหนดเลขประจําบ้านหรือการจัดทําทะเบียนบ้าน เพื่อแสดงว่าตนมีสิทธิในที่ดินหรือเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินมิได้ ซึ่ง "เจ้าบ้าน" ก็ได้ระบุไว้ในทะเบียนบ้านเพื่อแสดงว่าตนมีสิทธิในที่ดินหรือเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
เมื่อเจ้าของบ้านซึ่งมีกรรมสิทธิ์ได้ให้ผู้เช่าหรือผู้อาศัย มาพักอาศัยในบ้านและย้ายทะเบียนบ้านมา ณ บ้านเลขที่นั้น โดยให้เป็น "เจ้าบ้าน" ท่านที่เป็น“เจ้าของบ้าน” อย่าตกใจว่า “เจ้าบ้าน” จะมีสิทธิเหนือท่าน ในกรรมสิทธิ์ของบ้าน เว้นแต่ “เจ้าบ้าน” จะแสดงออกมาว่าเจตนาจะยึดถือครอบครองบ้านเพื่อตน แล้วทำผิดสัญญาเช่า ให้รีบดำเนินการฟ้องร้องดำเนินคดี มิฉะนั้น “เจ้าบ้าน” อาจได้เป็น“เจ้าของบ้าน” ที่มีสิทธิดีกว่าก็ได้

บทความโดย นายสมคิด ใหมคำ
นิติกรชำนาญการ องค์การบริหารส่วนตำบลสร้างมิ่ง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร

ใส่ชื่อเจ้าของบ้าน2คนได้ไหม

โดยในทะเบียนราษฎร ได้กำหนดไว้แล้วว่า บุคคลคนหนึ่งสามารถมีภูมิลำเนาได้เพียงภูมิลำเนาเดียวเท่านั้น จึงเป็นเหตุให้ผู้เป็นเจ้าของบ้าน สามารถมีชื่อเป็นเจ้าของบ้านได้เพียงที่เดียว ส่วนบ้านที่เหลือ ผู้เป็นเจ้าของบ้านจะต้องทำการแต่งตั้งเจ้าบ้านขึ้นมาเพื่อให้มีหน้าที่ดูแลการย้ายเข้าย้ายออกของผู้อยู่อาศัยภายในบ้านนั้น ๆ

1คนสามารถอยู่ได้กี่ทะเบียนบ้าน

1.บุคคล คนหนึ่งจะเป็นเจ้าของบ้านและที่ดิน คอนโดมิเนียม กี่แห่งกี่หลังก็ได้ หากมีกำลัง ซื้อเพียงพอ การเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวก็จะระบุชื่อไว้ในโฉนดที่ดินหรือ เอกสารสิทธิ์รูปแบบอื่น ๆ 2.บุคคลใด บุคคลหนึ่งในเวลาเดียวกันจะมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ได้เพียง 1 บ้านเลขที่

ทะเบียนบ้านไม่มีคนอยู่ได้ไหม

ตามกฎหมายแล้วทุกคนจะมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านได้แค่ที่เดียวไม่ว่าจะเป็นเจ้าบ้านหรือผู้อาศัย หากเราซื้อบ้านไว้หลายหลังสามารถปล่อยทะเบียนบ้านว่างไว้ได้ โดยการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวจะถูกระบุชื่อไว้ในโฉนดที่ดินหรือเอกสารสิทธิ์รูปแบบอื่น ๆ แทน

ใครเป็นเจ้าของบ้าน

ส่วน “เจ้าของบ้าน”ซึ่งเป็น “เจ้าของกรรมสิทธิ์” ในตัวบ้าน และที่ดิน หรืออาจเฉพาะตัวบ้าน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คือ ผู้ทรงกรรมสิทธิ์ หรือผู้มีอำนาจที่จะใช้สอย จำหน่าย จ่ายโอน ได้ดอกผล กับทั้งติดตามและเอาคืน ซึ่งทรัพย์สินของตนรวมถึงขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย พิจารณาจาก ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้