โรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีน มีอะไรบ้าง

โรคทางพันธุกรรม คือ คำที่ใช้เรียกโรคที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของดีเอ็นเอ ที่ส่งผลทำให้เซลล์ทำงานผิดปกติและถ่ายทอดไปยังบุตรหลานรุ่นสู่รุ่น ดีเอ็นเอนั้นประกอบด้วย ยีนที่รวมตัวกันจนกลายเป็นโครโมโซม ที่มีลักษณะเป็นแท่งเกลียว สำหรับผู้หญิงจะมีโครโมโซม XX ส่วนผู้ชายจะมีโครโมโซม XY โดยปกติแล้วโครโมโซมจะมีจำนวน 23 คู่ หรือ 46 แท่ง ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ เช่น ผิว ใบหน้า สีผม ความสูง จากพ่อแม่สู่ลูก แต่หากโครโมโซมมีความผิดปกติ ก็อาจส่งผลให้เด็กมีลักษณะผิดปกติตั้งแต่กำเนิดหรืออาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางพันธุกรรมบางอย่างได้

ประเภทของโรคทางพันธุกรรม

ประเภทของโรคทางพันธุกรรม มีดังนี้

  • โรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีนเดี่ยว (Single Gene Disorder) คือ โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่เกิดความผิดปกติของยีน โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่

1. โรคที่เกิดจากยีนเด่น (Autosomal Dominant) คือ การที่ลูกได้รับยีนเด่นซึ่งเป็นยีนที่แสดงลักษณะเด่น เช่น ผมหยิก ห่อลิ้น พับลิ้นได้ ซึ่งจะมีพันธุกรรมผิดปกติ 1 ยีนได้รับมาจากพ่อหรือแม่

2. โรคที่เกิดจากยีนด้อย (Autosomal Recessive) คือ การที่ลูกได้รับยีนด้อยซึ่งเป็นยีนที่ถูกข่มโดยยีนเด่นและจะสามารถแสดงลักษณะออกมาได้ต่อเมื่อมียีนด้อย 2 ยีนอยู่บนโครโมโซม ซึ่งได้รับผิดปกติมาจากพ่อและแม่ที่เป็นพาหะทั้งคู่ หากพ่อหรือแม่เป็นพาหะเพียงแค่คนเดียว ลูกก็อาจจะไม่มีอาการของโรค แต่ก็อาจเป็นพาหะของโรคได้เช่นกัน ตัวอย่างโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากยีนด้อย เช่น โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว โรคซิสติกไฟโบรซีส (Cystic Fibrosis) โรคฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria)

          ทั้งนี้ สไปโนซีรีเบลลาร์อะแท็กเซีย มีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะแสดงอาการต่าง ๆ กันไป รวมทั้งอายุของผู้ป่วยที่เริ่มเป็นโรค และลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรมก็แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของยีนบนโครโมโซมของผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบ

โรคที่เกิดจากยีนเดี่ยวเป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากยีนเดี่ยวที่ผิดปกติ ซึ่งความผิดปกตินี้สามารถส่งผ่านสู่รุ่นลูกได้ หรือสามารถเกิดขึ้นเองในช่วงสร้างเซลล์สืบพันธุ์ ความผิดปกติของยีนเดี่ยวเป็นปัจจัยส่วนมากของอาการต่างๆ รวมถึง ทารกที่มีความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด , เสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย และความผิดปกติทางร่างกาย รวมถึงทั้งทางสุขภาพจิตและสังคม

การวินิจฉัยการกลายพันธุ์ของยีนเดี่ยวในตัวอ่อนก่อนการฝังตัว มีการพัฒนาสำหรับคนไข้ที่มีความเสี่ยงสูงในการส่งผ่านยีนที่มีความผิดปกติไปยังลูกหลาน ซึ่งมีรูปแบบในการส่งผ่านที่แตกต่างกัน เช่น ยีนเด่น ยีนด้อย และ ยีนบนโครโมโซมเพศ

ดังนั้น การตรวจหาความเป็นพาหะในผู้ปกครองผ่านการวินิจฉัยการกลายพันธุ์ของยีนเดี่ยวในตัวอ่อนก่อนการฝังตัว ก่อนจะทำการตั้งครรภ์ สามารถช่วยเหลือและส่งเสริมความเป็นไปได้ในการมีบุตรที่มีสุขภาพแข็งแรงได้

  •     ถ้าทั้งพ่อและแม่เป็นพาหะของยีนเดี่ยวที่ผิดปกติ มีความเป็นไปได้ 1 ใน 4 ที่จะมีบุตรที่เป็นโรค
  •     การอ้างอิงจากประวัติของคนที่เป็พาหะ หรือเป็นโรค จากสมาชิกในครอบครัว ช่วยให้เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการณ์สามารถค้นพบโครโมโซมที่มียีนที่ผิดปกติอยู่ในพ่อหรือแม่ได้
  •     การตรวจสอบการถ่ายทอดของยีน เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการณ์จะดูว่าท่อนหรือบริเวณของโครโมโซมที่มียินที่ผิดปกตินั้น อยู่ในโครโมโซมของตัวอ่อนหรือไม่ ดังนั้น จึงจะสามารถคัดแยกตัวอ่อนที่เป็นโรค พาหะ และปกติได้
  •     ตัวอ่อนจะได้รับยีนที่ผิดปกติมาเพียง 1 ข้างเหมือนพ่อแม่ หรือ จะได้มาทั้งสองข้าง ที่นำไปสู่อาการทางโรค จะได้รับการคัดแยก ตัวอ่อนที่ไม่มียืนที่ผิดปกตินั้น เป็นตัวอ่อนที่ไม่ได้รับการถ่ายทอดยีนที่ผิดปกติ ดังนั้นจึงเป็นตัวอ่อนที่สามารถเป็นตัวเลือกในการนำไปใส่ตัวอ่อน

การตรวจวินิจฉัยตัวอ่อนเพื่อวินิจฉัยโรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีนเดียว (PGD)

มีความแม่นยำค่อนข้างสูง มีความจำเพาะ และเชื่อถือได้ ด้วยวิธีทางตรวจระดับโมเลกุล ข้อมูลทางพันธุศาสตร์จัดสรรหลักฐานโดยตรงให้กับพ่อแม่ที่มียีนที่ผิดปกติและช่วยป้องกันการถ่ายทอดความผิดปกติไปยังลูกหลาน มีวิธีการณ์สองแบบ;
Short tendem repeat (STR) – based on linkage analysis.

เทคนิคนี้ใช้การมุ่งเน้นที่การตรวจจับแต่ละท่อนของโครโมโซม โดยที่ดูท่อนโครโมโซมโดยรอบของยีนที่ผิดปกติ และเปรียบเทียบกับตัวอย่างอื่นๆ ในครอบครัว STR เป็น (ไมโครแซทเทิลไลท์ microsatellite) ที่มีจำนวนซ้ำประมาณ 2 – 13 นิวคลีโอไทน์ ต่อ 100 ครั้งในหนึ่งสายดีเอ็นเอ จำนวนที่ซ้ำกันของนิวคลีโอไทน์จะได้รับการตรวจจับและวิเคราะห์
Karyomapping

เทคนิคเป็นการนำความหลากหลายของนิวคลีโอไทน์เดี่ยวเป็นตัวตรวจจัย ซึ่งมีประมาณ 10 ล้านยีนในมนุษย์ เทคนิคยึดหลักการวิเคราะห์เชื่อมโยงระหว่างครอบครัว (linkage analysis. )เช่นกัน ทว่าข้อดีของเทคนิคนี้คือใช้เวลาในการวินิจฉัยน้อยกว่า มีตัวตรวจจับเยอะกว่า มีซอฟแวร์มาสนับสนุน ลดการเกิดการหลุดหายของท่อนโครโมโซมระหว่างการปฏิการณ์ และ สามารถตรวจโรคพันธุกรรมได้หลากหลายกว่า
การตรวจคัดกรองและวินิจฉัยความผิดปกติทางพันธุกรรมระยะก่อนฝังตัว (PGS) ความผิดปกติทางพันธุกรรมระยะก่อนการฝังตัวคืออะไร

โรคทางพันธุกรรม ในความหมายทั่วไปคือโรคที่มีการถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูก ซึ่งลักษณะของโรคนี้มีสาเหตุได้จาก 2 ปัจจัย ได้แก่การกลายพันธุ์ของระดับโครโมโซม (chromosomal mutation) หรือ การกลายพันธุ์ของยีน (gene mutation)

การกลายพันธุ์ของระดับโครโมโซม สามารถจำแนกได้สองรูปแบบคือ จำนวนของโครโมโซมผิดปกติ เช่น จำนวนเพิ่มขึ้น หรือ ลดลงจากปกติของทั้งโครโมโซม เช่น กลุ่มอาการดาวน์ (trisomy 21) ที่มีโครโมโซมคู่ที่ 21 เพิ่มมา 1 แท่ง หรือ กลุ่มอาการเทอเนอร์ (monosomic X) ที่มีโครโมโซม X ขาดหายไป 1 แท่ง อีกรูปแบบหนึ่งคือ โครงสร้างของโครโมโซมผิดปกติ ได้แก่ การขาดหายไปของชิ้นส่วนโครโมโซม (deletion) การเพิ่มขึ้นมาของบางชิ้นส่วนในโครโมโซม (duplication) การสลับตำแหน่งของชิ้นส่วนโครโมโซมที่ต่างคู่กัน (translocation) และ การสลับตำแหน่งของชิ้นโครโมโซมแท่งเดียวกัน (inversion) ซึ่งความผิดปกติกลุ่มนี้มีอาการทางคลินิกได้หลากหลาย และมีโรคที่เกี่ยวข้องมากมาย

การกลายพันธุ์ของยีน เป็นลักษณะความผิดปกติที่เกิดจากการกลายพันธุ์บนตำแหน่งของยีนที่จำเพาะ ซึ่งความคุมลักษณะบางอย่างของร่างกาย เช่น โรคธาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์บนยีนที่ทำหน้าที่สร้างโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเม็ดเลือดแดง เป็นต้น


ความผิดปกติทางพันธุกรรมระยะก่อนการฝังตัวส่งผลอย่างไร

นอกจากความเสี่ยงในการมีบุตรที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อการพัฒนาการและการดำรงชีวิตที่เป็นปัญหาอย่างยิ่งในอนาคตแล้ว ความผิดปกติทางพันธุกรรมนี้ยังส่งผลต่อ การฝังตัวของตัวอ่อน ไปยังมดลูกของแม่ด้วย ทำให้โอกาสการตั้งครรภ์ลดลง โดยพบว่าแม่ที่มีการตั้งครรภ์เมื่ออายุมากขึ้นจะยิ่งมีโอกาสพบความผิดปกติของตัวอ่อนในลักษณะการกลายพันธุ์ของโครโมโซมสูง ทำให้โอกาสการตั้งครรภ์ต่ำ หรือบางรายพบปัญหาการแท้งซ้ำซากซึ่งเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมในตัวอ่อนเอง กลุ่มมารดาที่มีความเสี่ยงเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับข้อมูลความผิดปกติของตัวอ่อนเพื่อเป็นการตัดสินใจร่วมกันกับแพทย์ หรือในกรณีที่ความผิดปกติเป็นโรคพันธุกรรมที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีน การได้รับการวินิจฉัยในพ่อแม่ว่ามีโอกาสถ่ายทอดโรคดังกล่าวไปยังรุ่นลูกเป็นการเตรียมพร้อมให้กับครอบครัวในกรณีที่ยอมรับบุตรที่จะเกิดมาพร้อมกับความผิดปกติทางพันธุกรรม ดังนั้นหากแม่อยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติดังกล่าว ครอบครัวที่ได้รับการให้คำปรึกษาภาวะมีบุตรยากโดยการใช้เทคโนโลยีเด็กหลอดแก้ว  (IVF)  หรือครอบครัวที่มีประวัติการถ่ายทอดโรคพันธุกรรมชนิดร้ายแรง สมควรอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยโรคพันธุกรรมก่อนการฝังตัวเพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ที่สูงขึ้น และมีบุตรที่มีความปกติ ปราศจากโรคทางพันธุกรรม
เทคนิคการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยโรคพันธุกรรมก่อนการฝังตัว

เทคโนโลยีทางด้านพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลที่มีความก้าวหน้าสูงขึ้น ทำให้การตรวจวินิจฉัยคัดกรองโรคทางพันธุกรรมระยะก่อนฝังตัว  โดยเฉพาะอย่างยิ่งความผิดปกติที่เกิดจากการกลายพันธุ์ในระดับโครโมโซม ในกลุ่มอาการความผิดต่าง ๆ ตามที่กล่าวข้างต้นมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น มีความแม่นยำมากยิ่งสูงและใช้ระยะเวลาในการทดสอบที่รวดเร็ว
ไมโครอะเรย์ (microarray) หรือ array CGH

เทคนิคที่ตรวจสอบความผิดปกติของดีเอนเอทั้งจีโนม โดยอาศัยกระบวนการจับกันของชิ้นดีเอนเอ เป้าหมายที่ติดฉลากสารเรืองแสงกับดีเอนเอโพรบที่ถูกตรึงไว้บนกระจกชนิดพิเศษ

ดังนั้นเมื่อโมเลกุลดีเอนเอเป้าจับกับโมเลกุลดีเอนเอโพรบที่มีความจำเพาะจะเกิดการเรืองแสงแล้วนำวิเคราะห์ความผิดปกติของดีเอนเอและยีนจากเทคนิคนี้ได้

ข้อดีของไมโครอะเรย์ คือ สามารถตรวจความผิดปกติของโครโมโซมได้ครบถ้วนทั้ง 23 โครโมโซม แล้วยังสามารถตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของยีนได้
เครื่องมือวิเคราะห์จีโนมชนิด Next Generation Sequencing (NGS)

สามารถวิเคราะห์และอ่านลำดับนิวคลีโอไทด์หรือรหัสพันธุกรรมในดีเอนเอได้ครบทุกโครโมโซม เทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่มีความละเอียดสูงและมีความแม่นยำสูงที่สุดของการวิเคราะห์สารพันธุกรรมในปัจจุบัน เพราะเครื่องมือ NGS จะทำหน้าที่อ่านรหัสพันธุกรรมโดยตรง ปราศจากการใช้สารเรืองแสงแบบ microarray ดังนั้นการใช้ NGS สามารถบอกความผิดปกติที่โครโมโซมครบทั้งจีโนม แล้วยังสามารถตรวจหาการกลายพันธุ์ของโครโมโซมบางชนิดที่ไม่สารถตรวจพบด้วยเทคนิคอื่นๆ นอกจากนี้ NGS สามารถวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมที่เป็นความผิดปกติในยีนที่สงสัยว่าเป็นโรคซึ่งถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ได้
NGS เทคโนโลยีถอดรหัสพันธุกรรมตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน
การตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อนก่อนการฝังตัว ด้วยเทคโนโลยีถอดรหัสพันธุกรรม illumina-NGS (Next-generation sequencing)

ยีนหรือการเรียงตัวของลำดับนิวคลีโอไทด์ภายในโครงสร้าง DNA หรือสารพันธุกรรมของมนุษย์นั้น กำหนดหน้าที่ควบคุมในกิจกรรมต่างๆ ภายในร่างกาย ยีนที่มีความผิดปกติหรือกลายพันธุ์จึงส่งผลให้เกิดโรคขึ้นในคนที่ได้รับการถ่ายทอดยีนที่ผิดปกตินั้นจากบรรพบุรุษ … (Sequencing Technology Video)

เมื่อเปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์ภายในยีนที่ก่อโรคกับยีนที่ปกติย่อมมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงหากนักวิจัยสามารถอ่านลำดับยีนเหล่านั้นได้ ก็สามารถค้นหายีนก่อโรคที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่มาเปรียบเทียบกับยีนในคนปกติได้  เราสามารถตรวจสอบและค้นหายีนที่เกิดการกลายพันธุ์และก่อโรคนั้นได้ ดังนั้นการค้นหายีน จากการอ่านลำดับของนิวคลีโอไทด์ (DNA sequencing) จึงเป็นเทคนิคที่ตรงไปตรงมามากที่สุด ในการวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรม เทคโนโลยีที่สนับสนุนการอ่านลำดับของนิวคลีโอไทด์ของ DNA ในปัจจุบันมีแนวโน้มที่ถูกมากขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกับความแม่นยำที่สูงขึ้นเทคโนโลยีการอ่านลำดับเบสรุ่นใหม่ (illumina-NGS) ถูกนำมาพัฒนาและประยุกต์ใช้ในการตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมระยะก่อนฝังตัว เพื่อแทนที่เทคนิคเดิมๆ ที่มีข้อจำกัด เช่น การกลายพันธุ์ของโครโมโซมบางชนิด ที่เทคโนโลยีไมโครอะเรย์ ยังไม่มีความแม่นยำในการตรวจสอบ

นอกจากนี้การใช้ illumina-NGS ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับคู่สมรสที่มีความต้องการตรวจคัดกรองความผิดปกติและโรคทางพันธุกรรมได้ง่ายยิ่งขึ้น ภายในระยะเวลาที่สั้นลงเมื่อเทียบกับวิธีดั้งเดิม

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดังกล่าว สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางคลินิกเพื่อคู่สมรสและคนไข้ ที่มีแนวโน้มของโรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น เพื่อทำให้สามารถคัดกรองตัวอ่อนที่ปกติก่อนเข้าสู่การฝังตัวต่อไป
การตรวจ PGS โดยเทคนิค illumina-NGS เหมาะสมกับใครบ้าง

  •     คู่แต่งงานที่มีบุตรยาก
  •     สตรีที่มีอายุมากกว่า 35 ปี (Advanced maternal age) และต้องการมีบุตร
  •     คู่แต่งงานที่มีประวัติการแท้งบุตรหลายครั้งโดยไม่ทราบสาเหตุ
  •     คู่แต่งงานที่เคยทำ IVF หลายรอบไม่ประสบผลสำเร็จ
  •     คู่แต่งงานที่เคยมีประวัตการตั้งครรภ์บุตรที่โครโมโซมผิดปกติ

Scott RT Jr, Ferry K, Su J, Tao X, Scott K, et al. (2012) Comprehensive chromosome screening is highly predictive of the reproductive potential of human embryos: a prospective, blinded, nonselection study. Fertil Steril 97(4): 870–875. 2. Tobias E, Connor JM, Ferguson-Smith (2011) Essential medical genetics. 6th edition: 243–247. Chichester, West Sussex, UK. Wiley-Blackwell. 3. Fiorentino F, Biricik A, Bono S, Spizzichino L, Cotroneo E, et al. (2014) Development and validation of a next-generation sequencing–based protocol for 24-chromosome aneuploidy screening of embryos. Fertil Steril

โรคอะไรที่เกิดจากความผิดปกติของยีน

โรคที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของพันธุกรรม (Complex Disorders หรือ Multifactorial Inheritance) เป็นโรคที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีน โดยมีปัจจัยมาจากวิถีการใช้ชีวิต หรือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งโรคในกลุ่มที่พบได้บ่อยคือ โรคหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ โรคเบาหวาน โรคอ้วน หรือโรคมะเร็งเป็นต้น

โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของออโตโซมมีอะไรบ้าง

2. ความผิดปกติของรูปร่างออโตโซม กลุ่มอาการคริดูชาต์ หรือ แคทครายซินโดรม (cri-du-chat or cat cry syndrome) กลุ่มอาการเพรเดอร์-วิลลี (Prader-Willi syndrome).
กลุ่มอาการดาวน์ หรือ ดาวน์ซินโดรม ( Down's syndrome).
กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ดซินโดรม ( Edward's syndrome).
กลุ่มอาการพาทัวซินโดรม ( Patau syndrome).

โรคที่เกิดจากยีนด้อยบนออโทโซม คือโรคอะไร

2.2 ความผิดปกติที่เกิดจากยีนด้อย (Autosomal Recessive) เป็นโรคที่เกิดจากการได้รับยีนกลายพันธุ์จากพ่อและแม่เป็นพาหะทั้งคู่ เช่น โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เป็นต้น

ความผิดปกติทางพันธุกรรมเกิดจากอะไร

โรคทางพันธุกรรม คือจากพ่อและแม่/พ่อหรือแม่สู่ลูกนั้นเกิดจากการถ่ายทอดของสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ ซึ่งเรามักจะคุ้นตากับภาพโครโมโซมเรียงตัวเป็นแท่งๆ ภายในจะมีสารพันธุกรรมที่เรียกว่า "ยีน" ซึ่งยีนคือหน่วยย่อยของการถ่ายทอดรหัสพันธุกรรม เพื่อสร้างโปรตีนโดยองค์ประกอบเล็กสุดของยีนคือสายดีเอ็นเอนั่นเอง และโรคที่เกิดจากการ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้