การจัดการเรียนรู้ตามแนวหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ได้กำหนดไว้อย่างไรบ้าง

บทคัดย่อ

           หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีเป้าหมายของหลักสูตรในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และกระบวนการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาโดยได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่ชัดเจน เพื่อใช้เป็นทิศทางในการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนในแต่ละระดับ นอกจากนั้นได้กำหนดโครงสร้างเวลาเรียนขั้นต่ำของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ในแต่ละชั้นปีไว้ในหลักสูตรแกนกลาง และเปิดโอกาสให้สถานศึกษาเพิ่มเติมเวลาเรียนได้ตามความพร้อมและจุดเน้น อีกทั้งได้ปรับกระบวนการวัดและประเมินผลผู้เรียน เกณฑ์การจบการศึกษาแต่ละระดับ และเอกสารแสดงหลักฐานทางการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ และมีความชัดเจนต่อการนำไปปฏิบัติ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551 : คำนำ) 

คำสำคัญ การสอน, การสอนของครูภาษาไทย

บทนำ

          หลักสูตรมีความสำคัญต่อการจัดการศึกษาทุกระบบ เนื่องจากข้อกำหนดต่าง ๆ ของ หลักสูตรจะเป็นมาตรฐานในการจัดการศึกษาของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งทำให้เป็นแนวทางนำไปสู่ การกำหนดเป้าหมายของการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในแต่ละช่วงวัย อีกทั้งยังเป็นแนวทางสำหรับผู้สอน ในการดำเนินการจัดการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายทั้งในด้านความรู้ ในเนื้อหาสาระ ทักษะ กระบวนการเรียนรู้และการคิด ทักษะทางสังคมและที่สำคัญคือคุณภาพทางด้านคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ นอกจากนี้ความสำคัญของหลักสูตรยังมีต่อการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้วยที่จะต้องตอบคำถามได้ว่าการจัดการศึกษานั้นบรรลุความคาดหวังของหลักสูตรหรือไม่ ซึ่งจะเป็นข้อมูลสารสนเทศสำหรับการปรับปรุงหลักสูตรต่อไป

ภารกิจสำคัญของผู้สอน

           การจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพและคุณลักษณะตามเป้าหมายของหลักสูตร ผู้สอนต้องปฏิบัติภารกิจที่สำคัญต่อไปนี้

                     1. ศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่ท้าทายความสามารถของผู้เรียน

                     2. กำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ด้านความรู้และทักษะกระบวนการที่เป็นความคิดรวบยอด หลักการ และความสัมพันธ์ รวมทั้งคุณลักษณะอันพึงประสงค์

                     3. ออกแบบการเรียนรู้และจัดการเรียนรู้ที่นำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย

                     4. จัดเตรียมและเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับกิจกรรม นำภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน

                     5. ประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลาย เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการวัด ธรรมชาติของวิชา และระดับพัฒนาการของผู้เรียน

                     6. วิเคราะห์ผลการประเมินเพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการซ่อมเสริมและพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนของตนเอง

           การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child-centered) เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มีส่วนร่วมและมีบทบาทสำคัญในกระบวนการเรียนรู้ บทบาทของครูจะเปลี่ยนแปลงจากผู้ชี้นำหรือ    ผู้ถ่ายทอดความรู้ไปเป็นผู้ช่วยเหลือ อำนวยความสะดวก ส่งเสริมสนับสนุนผู้เรียนในการแสวงหาความรู้และลงมือปฏิบัติ และสร้างสรรค์ความรู้โดยใช้วิธีต่างๆ หลากหลายรูปแบบ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงความถนัด ความสนใจ และความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการสร้างสรรค์ความรู้และนำความรู้ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

           เทคนิคการสอนที่มีความเหมาะสม สามารถนำมาจัดกระบวนการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาทั้ง ฟัง พูด อ่าน เขียน มีมากมายหลายวิธี แต่ในที่นี้จะยกตัวอย่าง 5 เทคนิคการสอน ได้แก่

           1. การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เป็นการสอนที่ฝึกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการทำงานร่วมกันในกลุ่มที่สมาชิกมีความสามารถแตกต่างกัน โดยจะต้องร่วมมือ ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และมีความรับผิดชอบร่วมกัน

           2. วิธีสอนแบบสตอรีไลน์ (Storyline) กำหนดเส้นทางเดินเรื่องโดยใช้วิธีการผูกเรื่องในแต่ละตอนให้เชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่องตามลำดับเหตุการณ์และมีการใช้คำถามเป็นตัวนำเข้าสู่การทำกิจกรรม

           3. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิด มีวิธีการหลากหลาย เช่น การตั้งคำถามโดยใช้เทคนิคหมวก 6 ใบ การใช้คำถามอย่างสร้างสรรค์

           4. การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร โดย ครู ผู้ปกครอง ผู้บริหาร ชุมชน จัดกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้ผู้เรียนมีสมรรถภาพในการใช้ภาษาทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน เช่น การจัดโต้วาที การคัดลายมือ เขียนเรียงความ ทำโครงงาน ประกวดการอ่าน เป็นต้น

           5. วิธีสอนแบบบูรณาการ (Integration Instruction) เป็นการจัดการเรียนรู้โดยใช้ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในกลุ่มสาระหรือข้ามกลุ่มสาระเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการแสวงหาความรู้ ทำให้ได้ใช้ความคิด ประสบการณ์ และทักษะต่างๆ ทำให้ผู้เรียนเข้าใจลึกซึ้งมากขึ้น

           ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างวิธีการสอน ครูผู้สอนอาจใช้วิธีการสอนอื่นๆ นอกเหนือจากที่ยกตัวอย่าง แต่ทั้งนี้สิ่งสำคัญครูผู้สอนจะต้องทำความเข้าใจในกระบวนการจัดการเรียนรู้ของแต่ละวิธีสอนให้ลึกซึ้ง ก็สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้อย่างสมบูรณ์

การใช้สื่อการเรียนรู้

          สื่อการเรียนรู้เป็นเครื่องมือส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง  สามารถเข้าถึงความรู้ ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกใช้สื่อ ควรเลือกให้มีความเหมาะสมกับระดับพัฒนาการและรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายของผู้เรียน ผู้สอนสามารถจัดทำหรือเลือกใช้สื่อประกอบการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

           การจัดทำ การเลือกใช้ และการประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้ ผู้สอนต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับหลักสูตร วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ เป้าหมายการจัดการเรียนรู้ การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้และการจัดประสบการณ์ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร  สอดคล้องกับตัวชี้วัดและความถูกต้องของเนื้อหาสาระการเรียนรู้ การใช้ภาษาที่ถูกต้อง รูปแบบการนำเสนอที่เข้าใจง่าย ไม่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน และไม่ขัดต่อศีลธรรมความมั่นคงของชาติ

           สื่อเป็นตัวช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีและเร็วขึ้น สื่อจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนจะต้องวางแผนว่าจะใช้สื่อใดประกอบการจัดกิจกรรมเรียนรู้ในแต่ละขั้นตอน     สื่อบางประเภทผู้สอนสามารถผลิตเองได้ แต่สื่อบางประเภทต้องไปจัดซื้อจัดหามาใช้ประกอบการสอน สื่อการเรียนรู้จึงอาจจะมีทั้งสื่อวัสดุ สื่อเอกสาร และสื่อบุคคล สื่อการเรียนรู้ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป  เช่น    

วีดิทัศน์ CAI  หุ่นจำลอง  รูปภาพ  เอกสารประกอบการสอน  เอกสารประกอบการเรียน  บทเรียนสำเร็จรูป  ชุดการสอน  ใบความรู้  ใบงาน  ข่าว  หนังสือสำหรับค้นคว้าฯลฯ  ถ้าเป็นสื่อบุคคลก็มักจะเป็นผู้ที่เชิญมาเป็นวิทยากรให้ความรู้เฉพาะเรื่อง บุคคลที่ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนไปสัมภาษณ์เพื่อเพิ่มความรู้และประสบการณ์  เป็นต้น

           สำหรับแหล่งการเรียนรู้นั้นมีความสำคัญต่อผู้เรียนมาก ซึ่งผู้สอนควรจัดแหล่งการเรียนรู้ให้มากพอและนำผู้เรียนไปเรียนรู้และหาประสบการณ์ตรงในปัจจุบันแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญนอกเหนือจากห้องสมุดท้องถิ่นหรือชุมชน ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ แล้ว ยังมีแหล่งข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดคือการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต  ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลทั่วโลกแต่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตมีทั้งเชื่อถือได้และข้อมูลที่ต้องนำมาตรวจสอบความถูกต้อง  ดังนั้นครูผู้สอนจึงต้องเป็นผู้ที่ให้คำแนะนำกับผู้เรียน และแนะนำเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือได้ให้กับนักเรียน

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

           การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ต้องยึดหลักการสำคัญคือ การประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และเพื่อการประเมินเพื่อตัดสินระดับผลการเรียนที่เกิดขึ้นจริงของผู้เรียน  การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ประสบผลสำเร็จนั้น ผู้สอนจำเป็นต้องพัฒนาและวัดประเมินผลผู้เรียนตามตัวชี้วัดเพื่อให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ สะท้อนสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ซึ่งเป็นเป้าหมายของหลักสูตร และเป็นเป้าหมายหลักของการวัดประเมินผลการเรียนรู้ทุกระดับชั้นเรียน  จึงต้องดำเนินการวัดและประเมินผลทั้งก่อนพัฒนา  ระหว่างการพัฒนา  และภายหลังการพัฒนา  เพื่อความมั่นใจในระดับคุณภาพที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนแต่ละคน  หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงได้กำหนดเกณฑ์แกนกลางเป็นข้อกำหนดขั้นต่ำของการจบหลักสูตร

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ดำเนินการ ดังนี้

          1) การประเมินผลก่อนเรียน

           การประเมินผลก่อนเรียนเป็นการประเมินความพร้อม ความรู้พื้นฐาน และความรอบรู้ของนักเรียน  เพื่อตรวจสอบพื้นฐานความรู้  ทักษะ  และความพร้อมด้านต่างๆ ของผู้เรียน  เพื่อนำผลการประเมินมาปรับปรุง ซ่อมเสริม เตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนทุกคน  ผู้สอนจะได้พิจารณาจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับพื้นฐานของผู้เรียนตามแนวทางที่หลักสูตรกำหนด  โดยไม่นำผลการประเมินก่อนเรียนไปใช้พิจารณาตัดสินผลการเรียน

           2) การประเมินผลระหว่างเรียน

           การประเมินผลระหว่างเรียนเป็นการประเมินเพื่อมุ่งตรวจสอบพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนในการบรรลุถึงตัวชี้วัดตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้สอนวางแผนไว้   เพื่อนำข้อมูลจากการประเมินไปพัฒนาปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของผู้เรียน  หรือส่งเสริมให้ผู้เรียนปฏิบัติกระบวนการเรียนรู้ จนเต็มศักยภาพ   นอกจากนี้ยังนำมาใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน   การประเมินผลระหว่างเรียนจึงต้องกระทำอย่างรอบคอบ รัดกุม ตามแนวปฏิบัติต่อไปนี้

                (1)  กำหนดหน่วยการเรียนรู้ในรายวิชาที่จะสอน นำแต่ละหน่วยมาจัดทำแผนการเรียนรู้ โดยกำหนดตัวชี้วัดและแนวทางการประเมินผลให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดนั้นๆ พร้อมทั้งระบุภาระงานที่จะมอบหมายให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติให้บรรลุตามตัวชี้วัดอย่างมีประสิทธิภาพ

                (2)  เลือกวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับภาระงาน หรือกิจกรรมที่กำหนดให้ผู้เรียนปฏิบัติ ควรเป็นวิธีการประเมินที่สะท้อนให้เห็นระดับความรู้ ความสามารถ ทักษะ ตลอดจนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนที่เป็นผลจากการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนอย่างแท้จริง

           3) การประเมินผลหลังเรียน

           การประเมินผลหลังเรียนเป็นการประเมินเพื่อสรุปผลการเรียน มุ่งตรวจสอบความสำเร็จของผู้เรียน เมื่อจบการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการเรียน หรือเมื่อสิ้นสุดการเรียนรายวิชาปลายปี ปลายภาค การประเมินหลังการเรียนจะประเมินผู้เรียนในเรื่องที่ได้เรียนจบแล้ว เพื่อตรวจสอบผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นตามตัวชี้วัดของผู้เรียน และนำผลการประเมินไปเปรียบเทียบกับผลการประเมินก่อนเรียน ช่วยให้ผู้สอนสามารถประเมินศักยภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนได้อย่างมั่นใจ และยังสะท้อนประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนได้อย่างชัดเจน

           ข้อมูลจากผลการประเมินหลังเรียน ผู้สอนควรนำไปศึกษาวิเคราะห์เพื่อใช้ในการปรับปรุง แก้ไข ซ่อมเสริมผู้เรียนให้บรรลุตัวชี้วัดชั้นปีตามเกณฑ์ที่กำหนด หรือใช้ปรับปรุงแก้ไขวิธีการเรียนของผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และยังใช้ประกอบการปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ การสร้างนวัตกรรม และการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research) เพื่อพัฒนาผู้เรียนต่อไป

การประเมินผลการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ

         หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งให้ผู้เรียนมีสมรรถนะสำคัญ ได้แก่ ความสามารถ  ในการสื่อสาร ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และความสามารถในการแก้ปัญหา จึงกำหนดให้มีการประเมินผลความสามารถด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนของผู้เรียนทุกคน โดยผู้สอน      ต้องฝึกฝนและมอบหมายให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติควบคู่ไปกับการจัดการเรียนรู้ในแต่ละวิชาทั้ง 8 สาระ และต้องทำการประเมินผลทุกชั้นปีโดยใช้เกณฑ์ตัดสินผลให้ระดับคุณภาพตามภาระงานที่ผู้เรียนปฏิบัติจริง

การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

           คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หมายถึง คุณลักษณะด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสำนึก สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ตามที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดไว้ 8 ประการ คือ  1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์  2. ซื่อสัตย์สุจริต  3. มีวินัย  4. ใฝ่เรียนรู้        5. อยู่อย่างพอเพียง   6. มุ่งมั่นในการทำงาน   7. รักความเป็นไทย       8. มีจิตสาธารณะ

           ผู้สอนสามารถจัดทำเป็นพฤติกรรมบ่งชี้ หรือพฤติกรรมที่ต้องการให้ผู้เรียนแสดงออกแล้วบูรณาการคุณลักษณะเหล่านี้ควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของกลุ่มสาระต่างๆ ทั้งกิจกรรมในชั้นและนอกชั้นเรียน และต้องดำเนินการประเมินผลรายภาค รายปี ของแต่ละวิชาเพื่อให้มีการสั่งสมและพัฒนาพฤติกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง และนำผลมาประเมิน มาสรุปผลอีกครั้งหนึ่งเมื่อจบปีสุดท้ายของแต่ละระดับการศึกษา เพื่ออนุมัติจบหลักสูตร

การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

           กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  เป็นกิจกรรมที่สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนเข้าร่วมปฏิบัติทุกระดับชั้น  เพื่อพัฒนาความสามารถของตนเอง ตามความถนัด  ความสนใจ ให้เต็มศักยภาพ โดยมุ่งพัฒนาองค์รวมของความเป็นมนุษย์ ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม เสริมสร้างผู้เรียนให้มีศีลธรรม จริยธรรม  มีระเบียบวินัย  ปลูกฝังจิตสำนึกของการทำประโยชน์เพื่อสังคม  สามารถบริหารจัดการตนเอง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนประกอบด้วย  กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน  (กิจกรรมชุมนุม ชมรม กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์  และรักษาดินแดน)  กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

           สถานศึกษา และผู้สอนต้องดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างมีเป้าหมายมีรูปแบบและลักษณะที่เหมาะสม สนองตอบความสนใจ ความถนัด และความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน และต้องทำการประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมเหล่านั้นด้วยวิธีการที่หลากหลายตามสภาพจริง       โดยบูรณาการร่วมกับการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระต่างๆ อย่างเหมาะสมและจัดให้มีการประเมินทุกระดับชั้นปี ผู้เรียนต้องผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนดจึงจะผ่านเกณฑ์การจบหลักสูตรแต่ละระดับการศึกษา

การออกแบบหลักสูตร และการเรียนการสอนอิงมาตรฐานการเรียนรู้

           การออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียนนั้น ผู้สอนต้องศึกษาวัตถุประสงค์ของท้องถิ่นชุมชน วิเคราะห์ความต้องการและความจำเป็นของแต่ละท้องถิ่น สถานศึกษา รวมถึงวิธีการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานตัวชี้วัดที่กำหนดไว้  ในหลักสูตรแกนกลางฯ ผู้สอนอาจเริ่มต้นจากการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนด หรือโดยการกำหนดหัวข้อที่เป็นประเด็นปัญหาที่น่าสนใจ และมีคุณค่าแก่การเรียนรู้ของผู้เรียน หรือเริ่มจากเนื้อหาในบทเรียนที่มีอยู่เดิม แล้วเชื่อมโยงหัวข้อความรู้จากบทเรียนนั้นๆ ว่าสอดคล้องกับมาตรฐานตัวชี้วัดข้อใดบ้าง

           ปัจจุบันนิยมออกแบบการเรียนการสอนในรูปแบบ Backward Design ซึ่งเป็นการออกแบบหลักสูตรที่มีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนไปสู่มาตรฐานตัวชี้วัดค่อนข้างชัดเจน โดยยึดเอาผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนตามมาตรฐานตัวชี้วัดเป็นตัวตั้ง จึงต้องเริ่มจากการวิเคราะห์มาตรฐานตัวชี้วัด เพื่อกำหนดเป็นเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ก่อน แล้วจึงกำหนดชิ้นงานที่ต้องการให้ผู้เรียนปฏิบัติ พร้อมทั้งกำหนดเกณฑ์ในการประเมินผลงาน แล้วจึงกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกันตามลำดับ การออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design จึงเป็นการออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีเป้าหมายชัดเจน และผู้สอนต้องสามารถวางแผนดำเนินการพัฒนาผู้เรียนไปสู่เป้าหมายด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจจริง

            การออกแบบการเรียนรู้เป็นหลักฐานร่องรอยในการประเมินความสามารถของครูผู้สอนว่า ครูได้จัดการเรียนรู้ตรงกับเจตจำนงที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2545) และสอดคล้องกับหลักการของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 หรือไม่  การออกแบบการเรียนรู้ จึงเป็นภาระงานที่ครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยเลือกใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning theory) และทฤษฎี     การสอน (Instructional theory) เป็นแนวทางจัดการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการเรียนรู้และความต้องการของผู้เรียน รวมทั้งการพัฒนาสื่อประกอบการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การทดลองใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ และการวัดประเมินผลกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดขึ้นทั้งหมด โดยใช้วิธีการวิจัยเป็นเครื่องมือพัฒนาเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้แบบต่างๆ ให้มีคุณภาพตามเจตจำนงของ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 ครูผู้สอนจึงต้องพัฒนาระบบการเรียนการสอนและการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักการสำคัญต่อไปนี้

แนวการจัดการเรียนการสอน

           1. ต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ตามมาตรา 22

           2. ต้องยึดถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด

           3. ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนแต่ละคนสามารถพัฒนาตนเองตามธรรมชาติ  และเต็มตามศักยภาพ

           4. ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และส่งเสริมการเรียนรู้ บูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละช่วงวัยการศึกษา

แนวการจัดกระบวนการเรียนรู้

           1.จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล

           2. ฝึกฝนทักษะการคิด กระบวนการคิด การจัดการเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ ใช้ความรู้ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาของตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้

           3. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น เกิดนิสัยรักการอ่าน และการใฝ่รู้ใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่อง

           4. จัดการเรียนการสอน โดยผสมผสานสาระการเรียนรู้ด้านต่างๆ ให้สมดุลกัน และมุ่งปลูกฝังคุณธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ไว้ทุกรายวิชา

           หลังจากที่ครูผู้สอนได้จัดกระบวนการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้แล้ว  ครูผู้สอนจะต้องมีการบันทึกหลังจากการใช้แผนการจัดการเรียนรู้นั้น  เพื่อมาสรุปผลจากการใช้แผน  โดยการบันทึกผลจากการใช้  ปัญหา  อุปสรรค  แนวทางการแก้ไข  เพื่อประเมินการใช้แผนว่าแผนที่ใช้ประสบผลสำเร็จ  ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์  หรือแผนที่ใช้ยังมีปัญหาอุปสรรคที่ควรปรับปรุงแก้ไข  จะได้หาแนวทางการปรับปรุงและนำไปสู่การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนต่อไป

สรุป

           หลักสูตรมีกรอบและทิศทางที่ชัดเจน มีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้โดยให้ผู้สอนได้ออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียนได้โดยตรง ผู้สอนต้องศึกษาวัตถุประสงค์ วิเคราะห์ความต้องการและความจำเป็นของแต่ละท้องถิ่น สถานศึกษา รวมถึงวิธีการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนสำคัญของการจัดทำหลักสูตรอิงมาตรฐาน เพราะหน่วยการเรียนรู้จะแสดงรายละเอียดของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการใช้สื่อการเรียนรู้ และแหล่งการเรียนรู้ การประเมินผลที่จะนำมาตรฐานตัวชี้วัดไปสู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอย่างแท้จริง

เอกสารอ้างอิง

บุญเลิศ  วิวรรณ์ และ คณะ. (2544). แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนว Blackword Desing.

          ชั้นมัธยมศึกษาปืที่2 ช่วงชั้นที่3. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2533). การพัฒนาหลักสูตรแบบครบวงจร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์

           มหาวิทยาลัย.

ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

           กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้แก่อะไรบ้าง

การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาปี2551.
มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าในตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง.
มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต.

การจัดการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 มีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร

จุดหมาย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ให้หลักการที่สำคัญในการจัดการเรียนรู้ไว้อย่างไรบ้าง

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหลักการที่สำคัญ ดังนี้ ๑. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐาน การเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และ คุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล

สาระสำคัญของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คือข้อใด

1. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล 2. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและมีคุณภาพ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้