“ผู้ผลิต”ในพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551

นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมาย เมื่อปี 2551 สืบเนื่องจากสินค้าเกษตรหลายชนิดทั้งที่ผลิตขึ้นในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ ยังไม่มีมาตรฐานใช้บังคับ เป็นเหตุให้สินค้าเกษตรด้อยคุณภาพและไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ประชาชนขาดความเชื่อถือ และส่งผลลกระทบต่อการประกอบกิจการ ค้าสินค้าเกษตรของไทย ทำให้ไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่เศรษฐกิจของประเทศโดยรวม จึงสมควรให้มีกลไกในการกำหนดมาตรฐานและการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร เพื่อยกระดับสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัย และป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดแก่ประชาชนหรือแก่กิจการค้าสินค้าเกษตรหรือเศรษฐกิจของประเทศ

สาระสำคัญของพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 ประกอบด้วย

1) การกำหนดให้มีคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรขึ้น เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนนโยบาย แผนงานและมาตรการเกี่ยวกับการส่งเสริมและดำเนินการเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าเกษตร

2) การกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.) แบ่งเป็น มาตรฐานบังคับ และมาตรฐานทั่วไป

โดยปัจจุบัน มกอช. ได้มีการกำหนดมาตรฐานบังคับแล้ว จำนวน 7 เรื่อง ได้แก่

1) หลักปฏิบัติสำหรับกระบวนการรมผลไม้สดด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มกษ. 1004-2557

2) เมล็ดถั่วลิสง : ข้อกำหนดปริมาณอะฟลาทอกซิน มกษ. 4702-2557

3) การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มผลิตลูกกุ้งขาวแวนนาไมปลอดโรค มกษ. 7432-2558

4) การปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตทุเรียนแช่เยือกแข็งเพื่อการส่งออก มกษ. 9046-2560

5) การปฏิบัติที่ดีสำหรับศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ มกษ. 6401-2558

6) หลักปฏิบัติสำหรับการผลิตเชื้อเห็ด มกษ. 2507-2559

7) การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่ไข่ มกษ. 6909-2562 และมีการกำหนดมาตรฐานทั่วไปแล้ว รวมทั้งสิ้น 383 เรื่อง แบ่งเป็น มาตรฐานสินค้า 131 เรื่อง มาตรฐานระบบ 149 เรื่อง และมาตรฐานข้อกำหนดทั่วไป 58 เรื่อง

3) ผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้า สินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ โดยในกรณีที่มีกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานบังคับสำหรับสินค้าเกษตรใด ผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาต จาก มกอช. หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่ได้รับมอบหมาย

4) การตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน ในกรณีที่สินค้าเกษตรใดเป็นมาตรฐานบังคับ ผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้า จะต้องขอรับการตรวจสอบรับรองจากผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน (หน่วยตรวจสอบรับรองของรัฐ/เอกชน) ส่วนกรณีสินค้าเกษตรตามมาตรฐานทั่วไป ผู้ผลิตจะขอรับการตรวจสอบรับรองหรือไม่ก็ได้ ตามความสมัครใจ

5) การประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน หน่วยตรวจสอบรับรองภาคเอกชนที่มีความสามารถ มีการจัดองค์กรให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และประสงค์จะทำหน้าที่ตรวจสอบรับรองตามมาตรฐานสินค้าเกษตร จะต้องขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน

6) การควบคุม กฎหมายได้สร้างกลไกการควบคุมผู้ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรทั้งระบบ เช่น ผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน ผู้ผลิต ผู้ส่งออก ผู้นำเข้า ผู้จำหน่าย รวมถึงผู้ขนส่งสินค้าเกษตร ทำให้เชื่อมั่นได้ว่าสินค้าเกษตรมีความปลอดภัย ได้มาตรฐาน ผ่านการตรวจสอบรับรอง

7) เครื่องหมายรับรองมาตรฐาน ซึ่งสินค้าเกษตรที่ผ่านการตรวจสอบรับรองแล้วจะต้องแสดงเครื่องหมายรับรองตามที่กฎหมายกำหนด โดยเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน แบ่งออกเป็น

๑) เครื่องหมายรับรองมาตรฐานบังคับ

๒) เครื่องหมายรับรองมาตรฐานทั่วไป

๓) เครื่องหมายรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์

8) การอุทธรณ์  ผู้ผลิต ผู้ส่งออก ผู้นำเข้า หรือผู้ประกอบการตรวจสอบรับรองมาตรฐาน มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งสำนักงานตามพระราชบัญญัตินี้ต่อคณะกรรมการเป็นหนังสือได้ โดยยื่นเป็นหนังสือต่อสำนักงานภายใน  30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่ง

9) บทกำหนดโทษ หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายกำหนดให้ต้องระวางโทษจำคุก หรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามแต่กรณี

“มาตรฐานสินค้าเกษตร จะช่วยสร้างกลไกสำคัญในการพัฒนา เพิ่มความสามารถในการแข่งขันเพื่อยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรไทยให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ทั้งสินค้าเกษตรด้านพืช ปศุสัตว์ และสินค้าประมง รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการควบคุมมาตรฐานสินค้าเกษตรและกิจกรรมต่อเนื่องที่ไม่มีกฎหมายอื่นใช้บังคับ ตั้งแต่ระดับฟาร์ม การแปรรูป การขนส่ง และการจำหน่ายให้กับผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยให้ประเทศผู้นำเข้าเกิดความเชื่อมั่นในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารของไทยมากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ ปกป้องผลประโยชน์ในการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารในเวทีการค้าโลก รวมทั้งยังสร้างความน่าเชื่อถือระหว่างผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้บริโภค และคุ้มครองผู้บริโภคจากสินค้าเกษตรที่ไม่ได้คุณภาพหรือไม่ปลอดภัยอีกด้วย” เลขาธิการ มกอช. กล่าว

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้