รัฐบาล ใช้ Big Data ด้าน ภาษี ให้เกิดประโยชน์ในการบริหาร ประเทศ อย่างไร

-

การใช้ประโยชน์จาก Big Data

 การใช้ประโยชน์จาก Big Data

     ในปัจจุบันนี้ การนำ Big Data มาใช้ในภาครัฐ เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนและลดความเหลื่อมล้ำ โดยนำข้อมูลในระบบราชการจากหลายหน่วยงาน เช่น ข้อมูลสาธารณสุข ทะเบียนราษฎ์ ที่ตั้งของธุรกิจ โรงพยาบาล สถานบำบัด สถานการณ์จ้างงานฯ มาวิเคราะห์และการเชื่อมโยงกัน เกิดเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ Big Data ของภาครัฐ ผ่านกระบวนการวิเคราะห์เชื่อมโยงเพื่อตอบการให้บริการของภาครัฐ ตัวอย่างเช่น รัฐบาลต้องการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย แต่แทนที่จะช่วยเหลือโดยให้เงินอุดหนุนที่เท่าๆ กันแบบปูพรมทั้งประเทศ ก็นำ Big Data ซึ่งเป็นข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาใช้ชี้จำเพาะว่าบุคคลใดที่ถือว่ามีรายได้น้อย พร้อมทั้งกำหนดระดับและลักษณะความช่วยเหลือที่แตกต่างกัน เช่น ผู้มีรายได้น้อยที่สูงอายุ เป็นผู้พิการ อยู่กับบ้าน ให้ลูกหลานดูแล รัฐอาจช่วยโดยสนับสนุนขาเทียม ให้คูปองเข้ารับการทำกายภาพบำบัด  พร้อมทั้งเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับกายภาพของผู้สูงอายุ

     การฝึกอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ ให้กับผู้มีรายได้น้อย พร้อมทั้งจับคู่กับแหล่งงานที่อยู่ใกล้เคียงกับที่พักอาศัย อีกทั้งยังติดตามและเสนอโอกาสฝึกอาชีพใหม่ๆ เพิ่มเติม เพื่อให้มีรายได้ที่สูงขึ้นและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ซึ่งถ้าวิเคราะห์ดูจะเห็นว่า ข้อมูลจำนวนมากเกิดการบูรณาการและวิเคราะห์ เพื่อใช้สำหรับการตัดสินใจในการให้บริการของภาครัฐได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย โดยในปัจจุบันนี้ จะเห็นได้จากการใช้บัตรประชาชนเพียงบัตรเดียวก็สามารถเข้าถึงบริการภาครัฐได้มากขึ้น

     Big Data สำหรับภาคเอกชนที่นำมาใช้ประโยชน์ เช่น เว็บไซต์อี-คอมเมิร์ช ที่จัดเก็บข้อมูลพฤติกรรมการซื้อสินค้าของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง และมีระบบที่ทำหน้าที่คัดเลือกสินค้าอื่นๆ ที่คาดว่าลูกค้าจะต้องการเพิ่มเติม แล้วนำเสนอขึ้นมาให้โดยอัตโนมัติบนหน้าเว็บไซต์อี-คอมเมิร์ชของลูกค้ารายนั้นๆ ทั้งนี้ ลูกค้าแต่ละคน ไม่จำเป็นต้องนำเสนอสินค้าเดียวกัน จากการสังเกตพฤติกรรมการซื้อสินค้า พบว่าภาคเอกชนจะมีการเก็บข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ เพศ เชื้อชาติ อายุ ประวัติการซื้อสินค้า ชนิดสินค้า เวลาที่ซื้อ มูลค่าสินค้า นำมาวิเคราะห์จับคู่กับสินค้าอื่นที่มีศักยภาพ ทั้งนี้ เงื่อนไขหรือสูตรการจับคู่อาจแตกต่างกันไป ตามกลุ่มลูกค้าหรือประชากรในแต่ละประเทศ หรือตามกลุ่มสังคมหรือวัฒนธรรม

     นอกจากนั้น ภาคเอกชนได้นำข้อมูล Big Data มาใช้ประโยชน์ เพื่อยกระดับธุรกิจ ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีแชทบอท Chatbot ที่สามารถรับมือกับความต้องการข้อมูลของลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาจำนวนมหาศาลผ่าน Messaging Application ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ฉับไว พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง และนี่คือจุดเปลี่ยนสำคัญของการให้บริการที่จะเข้ามาใช้งานแทนคน (Agent)

การนำข้อมูลขนาดใหญ่ไปใช้งานจริงๆ ยังมีไม่มากนัก ทั้งนี้ด้วยข้อจำกัดในเรื่องของเทคโนโลยีและจำนวนบุคลากรที่มีความสามารถ ซึ่งทางสมาคม PIKOM ของมาเลเซียได้ทำรายงานเรื่อง Global Business Services Outlook Report 2015 ชี้ให้เห็นผลกระทบของเทคโนโลยีด้าน Big Data ในประเทศกลุ่ม APAC และอุตสาหกรรมต่างๆ โดยสรุปมาเป็นตารางดังนี้

ตารางที่ 1 ระดับผลกระทบของเทคโนโลยี Big Data [แหล่งข้อมูลจาก PIKOM]

ซึ่งจะเห็นได้ว่ากลุ่มอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Big Data อย่างมากคือ อุตสาหกรรมด้านการเงินการธนาคาร (BFSI) ด้านโทรคมนาคม ด้านค้าปลีกรวมถึงพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) และด้านสุขภาพ ส่วนกลุ่มภาครัฐบาลและกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตมีผลกระทบปานกลาง สำหรับประเทศที่มีการประยุกต์ใช้ Big Data อย่างมากคือสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร โดยประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ และออสเตรเลียมีผลกระทบการประยุกต์ใช้งานปานกลาง ส่วนประเทศไทยอยู่ในกลุ่มที่เหลือที่ยังมีการประยุกต์ใช้งานน้อย

สำหรับตัวอย่างของการนำเทคโนโลยี Big Data มาใช้งานในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ มีดังนี้

  • อุตสาหกรรมค้าปลีก อาจนำมาเพื่อวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า เพื่อทำให้เห็นข้อมูลของลูกค้ารอบด้าน (Customer 360) หรือการแบ่งกลุ่มลูกค้า (Customer Segmentation)  นำมาจัดแผนการตลาด สร้างแคมเปญตอบสนองต่อพฤติกรรมการอุปโภค บริโภค ที่ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ให้ดึงดูดลูกค้าเข้ามาจับจ่ายใช้สอยมากที่สุด ในสภาพการแข่งขันที่สูง และมีช่องทางอื่นๆ ใหม่ๆ เข้ามาเป็นทางเลือกมากขึ้น
  • อุตสาหกรรมโทรคมนาคม อาจนำเพื่อใช้ในการวิเคราะห์เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ วิเคราะห์การใช้งานของลูกค้า การวิเคราะห์แนวโน้มการย้ายค่ายของลูกค้า (Customer Churn) และนำเอาข้อมูลไปต่อยอดเพิ่มการให้บริการอีกมากมาย อีกทั้งยังสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เรื่องความมั่นคงปลอดภัย ให้เป็นประโยชน์กับลูกค้าและเพื่อสาธารณะได้อีกด้วย
  • อุตสาหกรรมการเงิน อาจนำมาเพื่อวิเคราะห์การฉ้อโกงเงิน การคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า การแบ่งกลุ่มลูกค้า และการวิเคราะห์ความเสี่ยงของลูกค้า
  • ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเช่น การพยากรณ์อากาศ การคาดการณ์ข้อมูลน้ำ หรือการวิเคราะห์ข้อมูลจากเซ็นเซอร์ต่างๆ การใช้งานพลังงาน
  • งานด้านการตลาด อาจนำมาเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Media) การวิเคราะห์ข้อมูลที่พูดถึงสินค้าหรือแบรนด์ของหน่วยงาน (Sentiment Analysis) การค้นหาลูกค้าใหม่ๆ บนโลกออนไลน์
  • งานด้านบันเทิง หรือการท่องเที่ยว เป็นการวิเคราะห์กระแส ความนิยม talk of the town ในแต่ละกลุ่มบริการซึ่งมีส่วนเกี่ยวโยงกับ ข้อมูล ความคิดเห็น ในโซเชียลมีเดีย เป็นส่วนใหญ่ เพื่อจัดโปรแกรมหรืองาน ที่สร้างความสนใจให้ได้ตรงกับความสนใจของตลาด ในแต่ละช่วง แต่ละเวลา กับกลุ่มเป้าหมายที่ต่างกันไป

การประยุกต์ใช้งาน Big Data ในภาครัฐ

สำหรับตัวอย่างการใช้ประยุกต์ใช้งาน Big Data ในภาครัฐสามารถนำมาใช้งานได้ในหลายๆ หน่วยงานเช่น ด้านสาธารณสุข ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านความมั่นคง ด้านการเงิน ด้านการบริการประชาชน ด้านเกษตรกรรม ด้านสาธารณูปโภค หรือด้านคมนาคม อาทิเช่น

  • การใช้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาในการพยากรณ์อากาศ
  • การใช้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการจราจร
  • การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อลดปัญหาและป้องกันการเกิดอาชญากรรม
  • การวิเคราะห์ข้อมูลด้านสาธารณสุข เช่น แนวโน้มของผู้ป่วย การรักษาพยาบาล หรือการเกิดโรคระบาด
  • การวิเคราะห์ข้อมูลด้านน้ำ แหล่งน้ำ ปริมาณฝน และการใช้น้ำ
  • การวิเคราะห์ข้อมูลการใช้ไฟฟ้า ค่าการใช้พลังงาน
  • การวิเคราะห์ข้อมูลการทหารและความมั่นคงต่างๆ
  • การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบการเสียภาษีของประชาชนหรือบริษัทห้างร้านต่างๆ

ข้อดีของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Big Data ในภาครัฐสามารถสรุปได้ดังนี้

  1. การใช้เงินงบประมาณและเงินรายได้ต่างๆ ของภาครัฐจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะ Big Data จะช่วยคาดการณ์และวิเคราะห์ได้แม่นยำมากขึ้น
  2. ภาครัฐสามารถที่จะตรวจสอบข้อมูลการใช้งบประมาณได้ดียิ่งขึ้น
  3. ภาครัฐจะมีรายได้มากขึ้นหากมีการนำ Big Data มาใช้วิเคราะห์ข้อมูลการเสียภาษีด้านต่างๆ ว่ามีความถูกต้องเพียงใด
  4. ประชาชนจะได้รับการบริการที่ดีขึ้น เช่นการนำมาแก้ปัญหาจราจร  การให้บริการสาธารณสุข การให้บริการสาธารณูปโภค
  5. ประชาชนจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่นเพิ่มความปลอดภัยโดยการวิเคราะห์แนวโน้มอาชญากรรม การมีสุขภาพที่ดีขึ้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลสาธารณสุข
  6. เกิดความร่วมมือกับภาคเอกชนมากขึ้น จากการนำข้อมูลไปใช้
  7. จะมีข้อมูลใหม่ๆ มากขึ้นจากประชาชน (Crowdsourcing) หรือข้อมูลจากอุปกรณ์  Internet of Things
  8. เป็นการสร้างทักษะและผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลมากขึ้น

อย่างไรก็ตามความท้าทายของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Big Data ยังอยู่ที่ความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ โดยอาจสรุปปัญหาต่างๆ ที่ควรแก้ไขดังนี้

  1. วัฒนธรรมของหน่วยงานจำนวนมากที่จะรู้สึกหรือคิดว่าข้อมูลเป็นของหน่วยงานตนเอง โดยไม่มีการแชร์ข้อมูลให้กับหน่วยงานภายนอกหรือหน่วยงานอื่นในองค์กรเดียวกัน
  2. คุณภาพของข้อมูลที่อาจไม่สมบูรณ์หรือขาดความถูกต้อง
  3. ปัญหาเรื่องข้อมูลที่เป็นสิทธิส่วนบุคคล หรือความเท่าเทียมกันของการเข้าถึงข้อมูลของภาคประชาชน
  4. การขาดบุคลากรที่มีความสามารถทางด้านเทคโนโลยี Big Data

ดังนั้นสิ่งที่ภาครัฐควรจะต้องเร่งทำเพื่อให้มีการประยุกต์ใช้ Big Data ในองค์กรคือ

  1. พัฒนาความรู้ความเข้าใจในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Big Data  และสร้างวัฒนธรรมการร่วมมือการแชร์ข้อมูล
  2. ออกกฎหมายหรือกฎระเบียบเพื่อให้เกิดการเปิดข้อมูลของภาครัฐ (Open Data)
  3. พัฒนาทักษะบุคลากรให้มีความรู้ด้านเทคโนโลยี Big Data  
  4. มีหน่วยงานกลางที่ให้บริการเทคโนโลยี Big Data เพื่อไม่ให้เกิดการลงทุนซ้ำซ้อน และไม่ควรให้ทุกหน่วยงานลงทุนซื้อเทคโนโลยีมากเกินไป

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

มิถุนายน 2559

เมนูนำทาง เรื่อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้