การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจอย่างไร

1. การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและผลกระทบ

ในช่วงเวลาไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา เทคโนโลยีของโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โลกปัจจุบันได้ก้าวเข้าสู่ยุคที่ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ กำลังถาโถมเข้ามาในชีวิตประจำวันของมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีนี้ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต การประกอบธุรกิจและการบริหารประเทศในหลายด้าน เช่น การแสวงหาความรู้ การผลิตสินค้าและบริการ การรักษาพยาบาล การอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และการอำนวยความสะดวกสะบายในชีวิตประจำวันในมิติต่างๆ ในปัจจุบัน สินค้าและบริการต่างๆที่ผลิตขึ้นมีคุณภาพที่สูงขึ้นแต่มีราคาที่ถูกลง เทคโนโลยีใหม่ทำให้รูปแบบของการผลิตสินค้ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก อุปกรณ์และวัสดุของเครื่องจักรและการสร้างอาคารบ้านเรือนสามารถพิมพ์ออกมาได้ด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ เครื่องใช้ตามบ้านมีการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้สามารถรับรู้คุณสมบัติต่างๆของสิ่งที่ใช้อยู่ ในการผลิตสินค้า ผู้ผลิตสามารถวางแผนและออกแบบโดยใช้ระบบโรงงานและผลิตภัณฑ์เสมือนจริงซึ่งการวางแผนการผลิตในทุกกระบวนการ จะถูกจำลองขึ้นมาได้ การตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ การเก็บรักษา การจัดจำหน่าย การติดต่อสื่อสารกับพนักงานและลูกค้า สามารถทำได้โดยสะดวกกว่าเดิมมาก หุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่สามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ในสถานการณ์ต่างๆ เช่น การทำความสะอาดบ้าน การดูแลคนเจ็บป่วย การค้นหาข้อมูลข่าวสาร การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลภาษา และการโต้ตอบสนทนา กล่าวได้ว่า การเชื่อมโยงระหว่างการผลิตและการใช้สินค้ากับเครื่องมืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำให้สิ่งของต่างๆมีลักษณะของความเป็นมนุษย์โดยมีความเฉลียวฉลาดคล้ายคลึงกับมนุษย์มากขึ้น

นอกจากมีผลิตภัณฑ์ใหม่เกิดขึ้นมาเป็นจำนวนมากแล้ว ผลิตภัณฑ์ต่างๆที่เกิดจากการพัฒนาเทคโนโลยี เช่น เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์และหุ่นยนต์อัจฉริยะที่สามารถทำงานแทนมนุษย์ได้แล้ว การพัฒนาเทคโนโลยียังมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนานาประการ

การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีมีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ กล่าวโดยสรุปได้ดังนี้

ก. ประชาชนมีสวัสดิภาพที่ดีขึ้น มีสินค้าและบริการใหม่ที่มีคุณภาพดีราคาถูกเกิดขึ้นมาจำนวนมาก ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์มีความสะดวกสบายมากขึ้น ผลิตภัณฑ์ใหมที่เกิดจากการพัฒนาเทคโนโลยี จึงมีผลเหมือนการดำเนินงานนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจซึ่งมีเป้าหมายสำคัญประการหนึ่งคือการยกระดับมาตรฐานชีวิตของประชาชน

อย่างไรก็ดี ประชาชนที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี หรือมีข้อจำกัดในการเข้าถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ จะด้วยการขาดแคลนทุนทรัพย์ หรีดขาดความรู้ทักษะ ก็จะตกอยู่ในฐานะผู้เสียเปรียบในสังคม คนงานที่ขาดแคลนความรู้และทักษะ ที่เรียกกันว่าแรงงานไร้ฝีมือจำนวนมากต้องตกงานไปจากการถูกทดแทนโดยผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี

ข.นอกจากชีวิตที่สะดวกสบายขึ้นแล้ว เทคโนโลยีใหม่ยังมีส่วนช่วยต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพิ่มความปลอดภัยและลดความสิ้นเปลือง ซึ่งก็ทำให้ประชาชนในประเทศต่างๆมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ค. เทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ ยังมีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคในหลายด้าน เช่น ประเภทและคุณลักษณะสินค้าและบริการที่ใช้ วิธีการซื้อ ความถี่ของการเปลี่ยนแปลงในการซื้อสินค้า กล่าวคือ พฤติกรรมของผู้บริโภคจะเปลี่ยนแปลงไปโดยมีทางเลือกในการบริโภคมากขึ้น

ง. สำหรับหน่วยธุรกิจ นอกจากสามารถทำการผลิตสินค้าและบริการใหม่ออกมาจำนวนมากแล้ว ยังได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในหลายด้าน เช่น มีวัตถุดิบ เครื่องจักรอุปกรณ์ที่มีคุณภาพดีราคาถูก การขนส่งสินค้า การเก็บรักษาสินค้าและวัตถุดิบ การตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานของทั้งสินค้า วัตถุดิบและเครื่องจักรอุปกรณ์ การปรับปรุงคุณภาพ การเพิ่มประสิทธิภาพ การรักษาความสะอาดและความปลอดภัยในการทำงาน การจัดจำหน่ายและการขนส่งสินค้า ตลอดจนการได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสารล้วนสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้

ในปัจจุบัน ธุรกิจที่มีขนาดเล็กก็มีความสามารถที่จะแข่งขันกับธุรกิจขนาดใหญ่ได้มากขึ้น ความเสียเปรียบที่เกิดจากขนาดที่มีอยู่เดิม เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ การโฆษณา การจัดจำหน่าย การผลิตและการขนส่งสินค้าในปริมาณมากๆ ตลอดจนการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าที่อยู่ห่างไกล ล้วนสามารถทำได้โดยเสียค่าใช้จ่ายต่อหน่วยไม่มากกว่าเมื่อเทียบกับธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ การเกิดขึ้นของธุรกิจออนไลน์ทำให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถแข่งขันกับธุรกิจขนาดใหญ่โดยมีข้อเสียเปรียบทางด้านต้นทุนน้อยลงไปมาก

ในขณะเดียวกัน ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค ก็ทำให้หน่วยธุรกิจต้องประสบกับความเสี่ยงมากขึ้น ในแต่ละปี มีสินค้าและบริการใหม่เกิดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ทำให้สินค้าและบริการที่มีการผลิตอยู่เดิมกลายเป็นสิ่งที่ล้าสมัยไป เพราะผลิตภัณฑ์ใหม่มีคุณภาพที่ดีกว่า มีราคาถูกกว่าและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ดีกว่า สินค้าที่มีคนนิยมบริโภคในปัจจุบัน ในเวลาไม่กี่ปีอาจกลายเป็นของที่ขายไม่ได้ ผู้ผลิตที่ไม่สามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง ย่อมต้องประสบกับปัญหา ต้องลดการผลิตหรือต้องประสบกับการขาดทุน จนล้มละลายไปทหรือขายกิจการให้กับผู้ผลิตรายอื่น ในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีบริษัทใหญ่ที่เคยผลิตสินค้าและบริการที่เป็นที่นิยมของตลาดต้องประสบกับปัญหาการดำเนินธุรกิจจนต้องถูกบริษัทอื่นที่มีเทคโนโลยี่และเงินทุนที่เหนือกว่ายึดกิจการไป ดังนั้น หน่วยธุรกิจถ้าไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี่ หรือไม่สามารถปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของตนด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยแล้ว ไม่ว่าจะมีขนาดใหญ่เพียงใดก็หนีไม่พ้นชะตากรรมที่ต้องถูกเบียดออกไปจากตลาดได้

จ. ผลต่อการบริหารประเทศ การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อการบริหารประเทศได้หลายประการ การดำเนินงานของภาคเศรษฐกิจต่างๆ การพัฒนาสิ่งสาธารณูปโภค การศึกษา สาธารณสุข การได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินนโยบาย การติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยราชการในภาครัฐ และระหว่างรัฐบาลกับประชาชน ล้วนสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้นมาใหม่ได้

ฉ. เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า แม้มีประโยชน์มากมาย แต่ก็สามารถถูกนำไปใช้ในทางที่ก่อให้เกิดผลร้ายต่อเศรษฐกิจและสังคมนานาประการได้ เช่น การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ การสร้างมลภาวะ การเผยแพร่ข่าวลือข่าวเท็จ การทำอาชญากรรม และการทำลายชีวิตและทรัพย์สิน ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ประเทศต่างๆมีการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีอานุภาพร้ายแรงออกมาใชในศึกสงครามและการก่อการร้าย ทำให้ต้องสูญเสียชีวิตคนไปเป็นจำนวนมาก เทคโนโลยีไม่ว่าจะเจริญเพียงใดก็ตาม ก็ต้องถูกควบคุมโดยมนุษย์. หากผู้ใช้เทคโนโลยีไม่มีจริยธรรมและปราศจากความยัง้คิด เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วก็สามารถถูกนำไปใช้ในทางที่ก่อให้เกิดผลเสียมหาศาลต่อโลกมนุษย์ได้เช่นกัน

2. ความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยีกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

ความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ของเทคโนโลยี มีผลทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ สถานประกอบการเอกชนและบุคคลทั่วไปมีความเหลื่อมล้ำมากขึ้น หากผู้ใดปรับตัวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลง ก็จะกลายเป็นผู้ล้าหลังไป และจะได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก. กล่าวกันว่า การใช้เครื่องจักรแทนคนจะทำให้ตำแหน่งงานต้องหายไปเป็นจำนวนมาก คนงานต้องถูกปลด สถานประกอบการจำนวนมากต้องถูกเบียดออกจากตลาด ในระดับประเทศ หากไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลง ย่อมต้องตกอยู่ในฐานะลำบาก แม้ประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรืองและมีฐานะทางเศรษฐกิจที่มั่งคั่ง หากไม่ปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยี ก็จะกลายเป็นประเทศที่มีความเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจและสังคมไป

ปรากฏการณ์ อย่างหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี จึงเป็นความไม่เท่าเทียมกันระหว่างบุคคล สถานประกอบการและประเทศชาติ. โดยทั่วไป ประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอยู่แล้ว มักจะสามารถพัฒนาเทคโนโลยีได้รวดเร็วกว่า เพราะมีโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกและบุคลากรที่เอื้อต่อการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่า ส่วนประเทศด้อยพัฒนาที่มีรายได้ต่ำ นอกจากมีฐานะยากจนแล้ว ยังไม่มีความพร้อมในการพัฒนาเทคโนโลยีในหลายด้าน จากการขาดแคลนสิ่งสาธารณูปโภคและบุคลากร ทั้งยังมีโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเทคโนโลยีอีกด้วย ดังนั้น ช่วงห่างทางเทคโนโลยีระหว่างประเทศน่าจะมีมากขึ้นตามกาลเวลา

อย่างไร ก็ดี จนถึงปัจจุบัน แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศยังไม่ปรากฏ ให้เห็นชัดเจนนัก. นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ยังเชื่อว่า เมื่อกาลเวลาผ่านพ้นไป ประเทศต่างๆในโลกจะมีฐานะทางเศรษฐกิจที่โน้มเข้าหากัน. จากสถิติการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆในโลกในช่วงหลังสงครามโลก ครั้งที่สองจนถึงปัจจุบัน ประเทศที่มีรายได้ต่ำจำนวนมากมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยที่ สูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศที่มีรายได้สูง ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเกิดจากฐานทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันคือประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจ เล็กกว่าย่อมสามารถสร้างความเจริญเติบโตในอัตราที่สูงกว่าได้ง่ายกว่าเมื่อ เทียบกับเศรษฐกิจขนาดใหญ่. นอกจากนี้ ประเทศที่มีความล้าหลังทางเศรษฐกิจมีข้อได้เปรียบของผู้ตามหลัง(late- comer’s advantages) เพราะมีต้นทุนการผลิตทางด้านแรงงานและทรัพยากรที่ต่ำกว่า ทั้งยังสามารถได้ประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้นมาแล้วในที่ ต่างๆ จากการชักจูงบริษัทต่างประเทศเข้ามาลงทุน จากการลอกเลียนแบบและจากการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ การค้าโลกมีการการขยายตัวในอัตราสูงในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้ประเทศรายได้ต่ำสามารถส่งสินค้าที่มีราคาถูกไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศ และได้เงินมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจได้

ถึงกระนั้นก็ตาม เมื่อเศรษฐกิจของประเทศที่ตามมาทีหลังเหล่านี้พัฒนาขึ้นมาได้ถึงระดับหนึ่ง แล้ว. ข้อได้เปรียบของผู้ตามมาทีหลังก็จะลดลงไป ค่าจ้างแรงงานและราคาของทรัพยากรจะขยับตัวสูงขึ้นตามระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ. ดังนั้น เมื่อประเทศพัฒนาขึ้นมาได้ถึงระดับหนึ่งแล้ว ถ้าหากว่าไม่มีการปรับปรุงโครงสร้างการผลิตและระดับเทคโนโลยี ความสามารถในการแข่งขันของประเทศก็จะลดลงและต้องตกอยู่ในกับดักประเทศรายได้ ปานกลาง และไม่สามารถก้าวขึ้นสู่ประเทศที่มีรายได้สูง เพราะในด้านหนึ่งประเทศที่ร่ำรวยกว่ามีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้ง และในอีกด้านหนึ่ง ประเทศที่เดิมมีความด้อยพัฒนากว่าสามารถไล่ตามมาจากการอาศัยแรงงานและ ทรัพยากรที่มีราคาถูกกว่าผลิตสินค้าเข้าแข่งขันในตลาดโลก. ประเทศกลุ่มรายได้ปานกลางที่ไม่เอาใจใส่ต่อการพัฒนาเทคโนโลยีและไม่สามารถ ปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมของตนให้มีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น ก็จะตกอยู่ในฐานะที่ลำบาก

แต่หากผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ ตระหนักถึงสภาพความล้าหลังทางเทคโนโลยีและข้อจำกัดของประเทศในการพัฒนา เศรษฐกิจ และมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาประเทศด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีและการใช้ประโยชน์ จากเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้นแล้ว ก็ยังมีโอกาสที่จะหลุดพ้นจากกับดักของประเทศที่มีความล้าหลังทางด้าน เทคโนโลยีได้

ในยุคปัจจุบัน ประเทศที่มีความปรารถนาที่จะหลุดพ้นจากความล้าหลังทางเศรษฐกิจมีทางเลือกใน การพัฒนาเศรษฐกิจและยกระดับความสามารถในการแข่งขันโดยการปรับปรุงเทคโนโลยี และโครงสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. ซึ่งอาจทำได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีเทคโนโลยี่ล้ำยุค และไม่จำเป็นต้องพยายามยกระดับการพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศให้ทัดเทียมประเทศ ที่มีระดับแนวหน้าในโลก สิ่งสำคัญที่ต้องทำคือการตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีและรู้จักใช้ ประโยชน์จากสถานการณ์โลก ในปัจจุบัน การรับรู้ข่าวสารข้อมูลต่างๆ รวมทั้งข้อมูลความรู้ทางด้านเทคโนโลยี อาทิ เทคนิกและวิธีการในการผลิตและจำหน่ายสินค้าและบริการ สถานการณ์ตลาดและวิธีการบริหารจัดการในบางด้านสามารถหามาได้โดยไม่ยากและไม่ ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากนัก นอกจากข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์แล้ว สิ่งสาธารณูปโภคและบุคลากรที่จะเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยี ก็ยังสามารถหาได้ในหลายช่องทาง เช่นจากการซื้อ จากการส่งเสริมการลงทุน การจ้างผู้ชำนาญการจากต่างประเทศและการรับความช่วยเหลือจากองค์การระหว่าง ประเทศและมิตรประเทศ . ประเทศแม้จะมีความล้าหลังเพียงใดก็อาจมีข้อได้เปรียบในบางด้านที่เอื้อต่อ การพัฒนาเศรษฐกิจ เช่นมีทรัพยากรธรรมชาติบางอย่างที่อุดมสมบูรณ์ มีทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม มีสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาสินค้าและบริการบางชนิด มีเสถียรภาพทางการเมืองและสังคมที่ดี มีประชาชนที่มีความขยันหมั่นเพียร มีรัฐบาลที่ปราศจากการทุจริตคอร์รัปชั่นและมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาประเทศ ให้มีความเจริญก้าวหน้า การมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนา ประเทศ แต่ก็ต้องมีนโยบายที่เหมาะสม และมีรัฐบาลที่รู้จักปรับตัวให้เท่าทันกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงด้าน เทคโนโลยีของโลก เรื่องนโยบาย การพัฒนาประเทศด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีและการใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์จะมี การกล่าวถึงในตอนต่อไป

3. นโยบายทางเทคโนโลยี

ประเทศที่ยังมีความล้าหลังในการพัฒนาเทคโนโลยี หากมีนโยบายที่ชัดเจนที่มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการพัฒนา ประเทศ ก็จะสามารถพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศ อื่นๆได้ แม้ประเทศที่ยังมีข้อจำกัดอยู่มากทางด้านโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากรที่จำ เป็นต่อการพัฒนาเทคโนโลยี ก็สามารถมีการพัฒนาเทคโนโลยีและนำเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้นในประเทศอื่นมา ใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้      สิ่งที่ผู้กำหนดนโยบายในประเทศเหล่านี้ควรทำคือ

ก. ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาประเทศ รับทราบสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีของโลก รู้จักศึกษาวิเคราะห์ถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่มีต่อสภาวะ ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตน

ข. รวบรวมข้อมูลการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างเป็นระบบและเผยแพร่ให้แก่ ประชาชนทุกหมูเหล่า รณรงค์ให้ข้าราชการ นักธุรกิจและประชาชนทั่วไปให้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยี และรู้จักนำเครื่องมืออุปกรณ์สมัยใหม่มาใช้ประโยชน์ในการทำงานของตน

ค. มีโยบายและมาตรการส่งเสริมการวิจัยพัฒนาและการสร้างนวัตกรรมที่ชัดเจน รัฐบาลต้องมีการลงทุนทำวิจัยขั้นพื้นฐานที่สามารถนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ใน แขนงต่างๆ ต้องจัดสรรประมาณเพื่อทำกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนจีขั้นพื้นฐานที่ต้อง มีการลงทุนมากและไม่สามารถเห็นผลได้ในทันที สนับสนุนให้ภาคเอกชนและประชาชนทำกิจกรรมวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม ส่งเสริมธุรกิจ นักประดิษฐ์ นักวิทยาศาสตร์ และประชาชนในสาขาอาชีพต่างๆที่มีความคิดสร้างสรร โดยมีระบบจูงใจที่เหมาะสม

ง. ปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ทรงเทคโนโลยีได้อย่างสะดวก

จ. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ส่งเสริมการเรียนรู้ทัง้การศึกษาในระบบและนอกระบบ ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีสาระที่ทำให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษ ที่เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ในระบบมหาวิทยาลัยและโรงเรียนอาชีวะศึกษา ควรให้ความสำคัญกับการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการนำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ให้นักเรียนนักศึกษารู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตัวเอง. นอกจากความรู้ทางวิชาการเฉพาะแขนงแล้ว ยังต้องมีการฝึกฝนทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพในสมัย ปัจจุบัน เช่น การใช้เครื่องมือสมัยใหม่ในการค้นหาและการวิเคราะห์ข่าวสารข้อมูล และมีความรู้ทักษะในภาษาต่างประเทศ

สำหรับการศึกษานอกระบบ ควรส่งเสริมการเรียนรู้และตลอดชีวิต สร้างห้องสมุดสำหรับประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ มีกิจกรรมการเรียนการสอนและการฝึกอบรมทางไกลโดยใช้เครื่องมือสื่อสารสมัย ใหม่ ในโรงงานอุตสาหกรรมและสถานประกอบการต่างๆ รัฐบาลควรกำหนดให้มีการฝึกอบรมคนงานและพนักงานอย่างเป็นกิจจะลักษณะ

ฉ.สร้าง สถาบันและหน่วยงานทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชนที่มีส่วนส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี เช่นสถาบันอุตสาหกรรมเฉพาะทาง สถาบันบ่มเพาะผลิตภัณฑ์ใหม่และเทคโนโลยีใหม่ ธุรกิจการเงินร่วมลงทุน(venture capital) หน่วยงานการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐาน อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนาในสาขาเศรษฐกิจต่างๆ

สถาบัน และหน่วยงานในภาครัฐและภาคเอกชนควรมีการประสานร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด. สมาคมในภาคเอกชนและองค์การพัฒนาที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ(NGO) ควรมีบทบาทช่วยส่งเสริมการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยี สถาบันการศึกษาโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยและโรงเรียนอาชีวศึกษาควรมีการร่วมมือกัน กับสถานประกอบการในภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด

ช. สร้างสิ่งสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและ การใช้เทคโนโลยีให้เพียงพอ เช่นมีระบบการคมนาคมขนส่ง เครือข่ายการติดต่อสื่อสารที่มีความทันสมัยทั่วประเทศ

ซ. ระบบสวัสดิการของรัฐต้องมีการปรับปรุง รัฐจะต้องมีโยบายและมาตรการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในสังคม ช่วยเหลือคนงานที่ต้องถูกออกจากงาน มีโครงการฝึกอบรมคนงานที่มีความรู้และทักษะฝีมือที่ยังไม่เพียงพอกับการใช้ เทคโนโลยีสมัยใหม่

ฌ. ทางด้านสังคม รัฐบาลต้องมีนโยบายและมาตรการในการส่งเสริมศีลธรรมและจริยธรรมในหมู่ประชาชน และป้องกันอาชญากรรมที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่

กล่าวโดยสรุป ในสมัยที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รัฐบาลต้องรู้จักปรับตัวให้เท่าทันกับสถานการณ์ กำหนดนโยบายและมาตรการที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีอย่าง ชัดเจนและนำสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง

สิ่งควรทำตามหัวข้อต่างๆที่ กล่าวมาข้างต้น มีหลายข้อที่รัฐบาลไทยมีการทำอยู่แล้ว และในบางเรื่องก็ประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่โดยรวมแล้ว การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าพึงพอ ใจ

ลักษณะการดำเนินนโยบายของรัฐบาลในช่วงเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันยังมีข้อบกพร่องอยู่หลายประการคือ

ก. บ่อยครั้งมีการประกาศนโยบายออกมาอย่างครึกโครม แต่ไม่ได้ถูกนำมาใช้ในทางปฏิบัติ กล่าวคือมีแต่ข้อความนโยบาย(policy statement) แต่ไม่มีมาตรการใดๅรองรับ ปัญหา’พูดแล้วไม่ทำ’ปรากฏขึ้นเป็นประจำ

ข. นโยบายขาดความต่อเนื่อง มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย นโยบายบางอย่างที่ก่อให้เกิดผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยียังไม่ทัน ถูกนำมาใช้ ก็ถูกยกเลิกไปโดยมีนโยบายอื่นๆมาแทนที่ เหตุที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลบ่อย และผู้บริหารประเทศที่ขึ้นมาใหม่มักมีความคิดใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม จึงทอดทิ้งนโยบายที่มีอยู่เดิมไปอย่างไม่มีเยื่อใย

ค. การกำหนดนโยบาย ขาดเอกภาพ. เรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีและการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนนำเทคโนโลยีมาใช้ ประโยชน์นั้น ต้องมีการประสานงานจากหลายฝ่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และระหว่างกระทรวงทบวงกรมต่างๆ มีความจำเป็นต้องทำความเข้าใจในหมู่นักการเมืองและข้าราชการทุกระดับชั้น การพัฒนาเทคโนโลยีในภาคเศรษฐกิจต่างๆบางเรื่องต้องใช้เวลานานพอควรกว่าจะ เห็นผล ผู้บริหารประเทศจำนวนมากอาจไม่มีความปรารถนาที่จะนำนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยี และการส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของภาคเศรษฐกิจต่างๆมาใช้อย่างจริงจัง เพราะไม่เห็นผลในทันที ในทางตรงกันข้าม กลับมีการใช้นโยบายที่ปรากฏผลได้ในเวลาสั้นโดยนโยบายหลายอย่างเป็นยุทธวิธี ของนักการเมืองที่เรียกคะแนนเสียงจากประชาชน เช่นนโยบายพยุงราคาสินค้า การปกป้องคุ้มครองอุตสาหกรรมและการกำหนดค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำไว้สูงเกินจริง และเมื่อรัฐบาลเปลี่ยนไปก็มีการเปลี่ยนนโยบายใหม่อีก ข้าราชการก็ต้องปฏิบัติตามคำสั่งใหม่และทอดทิ้งในโยบายเก่าไป แม้นโยบายเดิมยังไม่เห็นผลในทางปฏิบัติ

กล่าวโดยสรุป จากการพิจารณาสถานการณ์การพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศไทยในช่วงเวลาที่ผ่านมาจน ถึงปัจจุบัน เรายังไม่อาจกล่าวได้ว่า รัฐบาลชุดต่างๆมีการตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีและมีการส่ง เสริมการพัฒนาเทคโนโลยีและนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศทางด้าน ต่างๆ อย่างจริงจัง การพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศไทยจึงเป็นไปอย่างลุ่มๆดอนๆ และจนถึงบัดนี้ประเทศไทยยังมีความล้าหลังทางด้านเทคโนโลยีเมื่อเทียบกับ ประเทศอื่นหลายประเทศ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้