ปัญหาสารเสพติดควรแก้ไขและพัฒนาอย่างไร

วิธีป้องกันจากยาเสพติด

วิธีป้องกันจากยาเสพติด

1. ป้องกันตนเอง

- ไม่ทดลองยาเสพติดทุกชนิด

- ถ้ามีปัญหาหรือไม่สบายใจ อย่าเก็บไว้คนเดียว ควรปรึกษาพ่อแม่ ครู ผู้ใหญ่

- ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น อ่านหนังสือ เล่นกีฬาหรือทำงานอดิเรกต่างๆตามความสนใจ ความถนัด

- ระมัดระวัง การใช้ยาและศึกษาให้เข้าใจถึงโทษภัยของยาเสพติด

2. ป้องกันครอบครัว

- ควรสอดส่องดูแลเด็ก และบุคคลในครอบครัวอย่าให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด

- อบรมสั่งสอนให้รู้ถึงโทษภัยของยาเสพติดดูแลเรื่องการคบเพื่อน

- คอยส่งเสริมให้เขารู้จักการใช้เวลาในทางที่เป็น ประโยชน์ เช่น การทำงานบ้าน เล่นกีฬา ฯลฯ เพื่อป้องกันมิให้เด็กหันเหไปสนใจในยาเสพติด

- สิ่งสำคัญก็คือทุกคนในครอบครัวควรสร้างความรัก ความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีต่อกัน

3. ป้องกันชุมชน

- หากพบผู้ติดยาเสพติดควรช่วยเหลือแนะนำให้เข้ารับการบำบัดรักษาโดยเร็ว โดยการสมัครเข้าขอรับการบำบัดรักษายาเสพติด
ก่อนที่ความผิดจะปรากฏต่อเจ้าหน้าที่กฎหมายยกเว้นโทษให้

- เมื่อรู้ว่าใครผิด นำเข้าส่งออก หรือจำหน่ายยาเสพติด ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ ตำรวจเจ้าหน้าที่ศุลกากรนายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ
หรือเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.)


ขอขอบคุณ //student.nu.ac.th/

ผลกระทบจากปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน

- ปัญหาอาชญากรรม การลักขโมย ความไม่ปลอดภัยต่อทรัพย์สิน

- ความไม่ปลอดภัยต่อร่างกายและชีวิตของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน

- ปัญหาเงินทอง การหารายได้ การเสียค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น กระทบต่อเศรษฐกิจในชุมชน

- ขาดความสงบสุข และปัญหาคุณภาพชีวิตของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน

ลักษณะหมู่บ้าน/ชุมชนที่เสี่ยงต่อปัญหายาเสพติด


ถ้าหมู่บ้าน/ชุมชนของท่านมีลักษณะดังต่อไปนี้ ตั้งแต่ 3 ข้อขึ้นไป แสดงว่าปัญหายาเสพติดอาจแทรกซึม เข้าไปแพร่ระบาด

ในหมู่บ้าน/ชุมชนของท่านได้

1. ผู้นำหมู่บ้าน/ชุมชน และคนในหมู่บ้าน/ชุมชนแตกแยก ขาดความสามัคคี

2. มีแหล่งอบายมุขในหมู่บ้าน/ชุมชน

3. ตั้งอยู่ใกล้พื้นที่/แหล่งที่มีการแพร่ระบาดของยาเสพติด

4. มีสถานที่ลับตาอันเป็นแหล่งมั่วสุม เช่น บ้าน/อาคารร้าง ป่าละเมาะ พื้นที่รกร้าง

5. มีคนแปลกหน้าเข้าออกในหมู่บ้าน

6. มีการลักเล็กขโมยน้อยอยู่เสมอ

7. มีคนในหมู่บ้าน/ชุมชนหน้าตาหมองคล้ำ ซูบผอม หรือมีอาการฉุนเฉียว เมาอาละวาด ฯลฯ

8. มีกลุ่มเยาวชนและวัยแรงงานว่างงานจำนวนมาก โดยมักมั่วสุมกันอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน

9. มีครอบครัวที่ยากจนและมีลูกมาก พ่อแม่ต้องไปทำงานต่างถิ่น ขาดการเอาใจใส่ดูแลอย่างทั่วถึง

สาเหตุที่ยาเสพติดแพร่ระบาดเข้าสู่หมู่บ้าน/ชุมชน

1.คน อ่อนแอ ขาดจิตสำนึก และความตระหนัก

1.1) เด็กและเยาวชน

- คึกคะนอง อยากรู้อยากลอง ต้องการให้เพื่อนฝูงยอมรับ

- ครอบครัวแตกแยก ขาดความรัก ความอบอุ่น ว้าเหว่ ขาดที่ยึดเหนี่ยว

1.2) ผู้ใหญ่

- มีปัญหาชีวิต เช่น ว่างงาน ยากจน มีหนี้สิน ฯลฯ

- จิตใจไม่เข้มแข็ง ท้อแท้ หมดหวัง ขาดสิ่งยึดเหนี่ยว

- ผิดหวังในครอบครัว/สังคม

- เห็นแก่ตัว หารายได้ในทางที่ผิด

2.ตัวยา ฤทธิ์ในการมอมเมาของยาเสพติด ทำให้ผู้เสพหลงใหลในความสุข ความเคลิบเคลิ้ม จนไม่สามารถกลับมามีความสุขใน

ชีวิตปกติได้ ต้องพึ่งพาใช้ยาเสพติดไปตลอด

3.สิ่งแวดล้อม

3.1) อบายมุขรอบตัว เช่น การพนัน แหล่งมั่วสุม ฯลฯ ขาดพื้นที่สร้างสรรค์เชิงบวก

3.2) ครอบครัวบกพร่อง ไม่มีเวลา ห่างเหิน ขาดการปลูกฝังขัดเกลาในสิ่งที่ดี

3.3) หมู่บ้าน/ชุมชนอ่อนแอ ขาดแบบอย่างที่ดี ขาดความสามัคคี ต่างคนต่างอยู่ ไม่สนใจต่อกัน

ทำไมชุมชนต้องมีส่วนร่วมจัดการปัญหายาเสพติด

พลังชุมชนเป็นพลังสำคัญหยุดยั้งปัญหายาเสพติดได้

1. ปัญหายาเสพติดต้องดำเนินควบคู่กันทุกมาตรการทุกด้าน ทั้งการป้องกัน ปราบปราม บำบัด เฝ้าระวัง พัฒนาคุณภาพชีวิต

2. ปัญหายาเสพติดต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายแก้ไขปัญหา ไม่มีใครสามารถแก้ไขได้ โดยลำพัง

3. คนในหมู่บ้าน/ชุมชนเองรู้จักและเข้าใจปัญหาดีที่สุด จึงเป็นผู้แก้ไขปัญหาได้ดีที่สุด มากกว่า คนภายนอกหมู่บ้าน/ชุมชน

4. ควรเริ่มต้นจัดการปัญหาด้วยหมู่บ้าน/ชุมชนเองเป็นหลัก มากกว่ารอคอยพึ่งพาคนอื่น/หน่วยงานภายนอกหมู่บ้าน/ชุมชน

แนวทางหมู่บ้าน/ชุมชนป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

1) เตรียมความพร้อมคนในหมู่บ้าน/ชุมชน 2 ระดับ

- ระดับชาวบ้าน ทำให้เกิดความตระหนักในโทษและพิษภัยของยาเสพติด มุ่งมั่นมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา

โดยการประชุมประชาคม การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ สร้างเสริมความเข้าใจและปรับทัศนคติ ฯลฯ

- ระดับแกนนำ สรรหาผู้นำทั้งทางการและผู้นำธรรมชาติ พัฒนาศักยภาพโดยฝึกอบรม/ศึกษา ดูงาน ฯลฯ

2) ทำความเข้าใจกับปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน

2.1) สำรวจ คัดกรองเพื่อบ่งชี้ปัญหา ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ประชุมประชาคม เสวนา ฯลฯ

2.2) วิเคราะห์ข้อมูลจำแนกเป็นกลุ่มต่าง ๆ เพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาที่เหมาะกับแต่ละกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ค้า ผู้เสพ/ผู้ติด

กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มปกติ

2.3) วิเคราะห์ศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อประเมินต้นทุนด้านต่าง ๆ ที่มีอยู่ เช่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเพณี วัฒนธรรม เป็นต้น

3) วางแผนงานของหมู่บ้าน/ชุมชน

3.1) วางแผนอย่างมีส่วนร่วม เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดและแก้ไขปัญหาอื่นที่เกี่ยวข้องที่เป็นเหตุของปัญหายาเสพติด

โดยต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม และประยุกต์ใช้ต้นทุน ศักยภาพ และภูมิปัญญาที่มีในชุมชนเอง

3.2) ประสานแนวร่วม หาความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง

4) ลงมือแก้ไขปัญหาอย่างมีส่วนร่วมจากคนในหมู่บ้าน/ชุมชน ทั้งร่วมรับรู้ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับประโยชน์ ในด้านต่าง ๆ

ที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของหมู่บ้าน/ชุมชน ดังนี้

4.1) กำหนดกติกาชุมชน/มาตรการทางสังคมร่วมกัน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในข้อตกลง กติกา

ระเบียบ และ/หรือธรรมนูญของชุมชน ตามแนวทางสันติวิธี

4.2) ดำเนินการป้องกันและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ในกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ทั้งเด็ก เยาวชน ครอบครัว คนทำงาน และประชาชนทั่วไป

4.3) สอดส่อง ตรวจตรา เฝ้าระวัง เช่น สร้างเครือข่ายแกนนำดูแลเฝ้าระวังในชุมชน จัดอาสาสมัคร เดินเวรยาม

แจ้งเบาะแสผู้ค้าแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

4.4) ดูแล แก้ไขผู้เสพ/ผู้ติด

- แก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติด ค้นหา ทำความเข้าใจ เชิญชวน คัดกรอง ช่วยเหลือ ส่งต่อ

- ติดตาม ดูแล ช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดฯ ในด้านต่าง ๆ ทั้งสุขภาพ อาชีพ การศึกษา และการเปิดโอกาสทางสังคม

4.5) จัดการสภาพแวดล้อม แก้ไขปัจจัยเสี่ยง/พื้นที่เสี่ยง พัฒนาพื้นที่เชิงบวก/พื้นที่สร้างสรรค์

5) พัฒนาสู่ความยั่งยืน

5.1) พัฒนาคุณภาพชีวิตคนในชุมชน แก้ไขปัญหาพื้นฐานคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ

5.2) จัดการองค์ความรู้และเชื่อมโยงเครือข่าย ประเมินผล สรุปบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมทั้งสนับสนุนส่งเสริมเชื่อมโยง

เครือข่ายภายนอกชุมชน เพื่อเพิ่มพลังความเข้มแข็งในการทำงาน

5.3) พัฒนาแกนนำรุ่นต่อไป สร้างจิตอาสา พัฒนาศักยภาพให้กับผู้นำรุ่นสอง เพื่อให้มีแกนนำ สืบต่อการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้