ฟอร์แมต ฮาร์ดดิสก์ แล้ว ลงวินโดว์ไม่ได้

“วิธีทำให้ Hard disk ใช้ได้ทั้งใน PCs และ MAC”

หนึ่งปัญหาของคนใช้งานคอมพิวเตอร์ก็คือการใช้ Hard disk ร่วมกับระบบปฏิบัติการทั้ง Windows และ MacOS กล่าวง่ายๆก็คือมีการใช้งานทั้งกับคอมพิวเตอร์ที่เป็น Windows และ Mac นั่นเอง แต่บ่อยครั้งที่เราเจอปัญหาว่า Hard disk ของเรานั้นไม่สามารถคัดลอกข้อมูลลงบน Hard disk ได้เมื่อเราทำการเชื่อมต่อกับเครื่อง Mac  

สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า Format ของ Hard disk ที่เราใช้อยู่นั้น อาจจะเป็น Format ที่ไม่รอรับการเขียนข้อมูลลงบน Hard disk เมื่ออยู่บน MacOS เช่น อาจจะอยู่บน Format NTFS

สิ่งที่เราจะต้องทำนั่นก็คือ ทำการ Format Hard disk ลูกนั้นใหม่ เพื่อตั้งค่า Format ให้สาามารถใช้งานได้ทั้งบน Windows และ MacOS โดยหากเป็น Hard disk ที่มีข้อมูลอยู่ ก็ให้ทำการ Backup ข้อมูลนั้น ไปเก็บไว้ที่อื่นก่อน เพื่อเตรียมดำเนินการ Format Hard disk

เมื่อทำการ Backup ข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ก็ให้ทำการเชื่อต่อ Hard disk ลูกนั้น เข้ากับเครื่อง MAC ของคุณ

โดยเข้าไปที่ Finder แล้วเลือก Application > Utilities > Disk Utility จากนั้นให้ทำการเลือก Hard disk ลูกที่ต้องการ Format ด้านซ้ายมือ แล้วเลือกที่เมนู Erase จากนั้นในหัวข้อ Format ให้เลือกเป็น exFAT และเลือกที่ปุ่ม Erase

ก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ Format เพียงเท่านี้ในการเชื่อมต่อครั้งต่อไปคุณก็จะสามารถใช้ Hard disk ได้ทั้งระบบปฏิบัติการ Windows และ MacOS

โดย Format ประเภทต่างๆบน MacOS นั้น พอจะสรุปได้คร่าวๆดังนี้

1.    exFAT เหมาะสำหรับการใช้งานทั้ง Windows และ MacOS
2.    FAT เหมาะกับการใช้งานบน Window สำหรับ Hard disk และ Flash drive ขนาดเล็ก
3.    Mac OS Extended เหมาะกับการใช้งานสำหรับ mac เท่านั้น
4.    NTFS หรือ Windows NT Filesystem เหมาะสำหรับระบบ Windows และ Server

หมายเหตุ : หากทำการ Format บน Windows ก็ให้ทำการเลือกประเภทเป็น ExFAT เช่นกัน

ทั้งนี้ หากท่านมี hard disk เสียและต้องการข้อมูลคืน ท่านก็สามารถปรึกษาเราได้ฟรี

ติดต่อเราที่ IDR LAB ศูนย์กู้ข้อมูลที่ได้มาตรฐานและพร้อมที่สุดในประเทศไทย ปรึกษาปัญหาและส่งตรวจเช็ค ประเมินอาการได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้ที่ Line ID : @idrlab หรือ Hotline สายด่วนตลอด 24 ชั่วโมง โทร. 094-692-8080, 080-591-3536

+ เพราะเราคือศูนย์กู้ข้อมูลที่มีมาตรฐาน ISO พร้อมด้วยทีมงานระดับมืออาชีพ ปลอดภัย ข้อมูลไม่รั่วไหล
+ หมดความกังวลเรื่องข้อมูลหาย ประเมิณค่าใช้จ่ายฟรี
+ ผู้นำด้านเทคโนโลยี Labดีมีมาตรฐาน บริการด้วยหัวใจ
+ อย่าหมดความหวังในวันที่ข้อมูลหาย ให้ IDR LAB บริการคุณ

“เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ชีวิตดิจิทัลของคุณกลับมามีความสุขดังเดิม”

วิธีแบ่งพาร์ติชั่น Partition ฮาร์ดดิสก์
-ขั้นตอนนี้แบ่งพาร์ติชั่นเป็น 2 แนวทาง


กรณีที่ 1 คอมพิวเตอร์ไม่เคยติดตั้ง Windows มาก่อน


     คอมพิวเตอร์เครื่องนี้เป็นเครื่องใหม่ ที่ยังไม่เคยติดตั้ง Windows มาก่อน มีพื้นที่ทั้งหมด 50 GB เราสามารถกด Next ได้เลย เพื่อเริ่มติดตั้ง Windows แต่ ... จะให้ดี เรามาจัดแบ่งพื้นที่ 50 GB นี้เป็น 2 ไดร์ฟดีกว่าโดยเราจะแบ่งเป็น ไดร์ฟ C ขนาด 20 GB สำหรับลง Windows 7 ไดร์ฟ D ขนาด 30 GB สำห.รับเอาไว้เก็บข้อมูลต่างๆ
วิธีแบ่งฮาร์ดดิสก์ ระหว่างติดตั้ง Windows 7


1. เลือกที่ Disk 0 คลิก Drive Option

2. คลิก Disk 0 Unallocated Space แล้วเลือก New

 

เราต้องการสร้างไดร์ฟ C ขนาด 20 GB ดังนั้น จึงพิมพ์ตัวเลขว่า 20000 ดังรูป  กด Apply แล้วกด OK


3.เรายังเหลือพื้นที่ว่างอยู่ 30 GB

คลิก Unallocated Space เลือก New แล้วกด Apply

4.Windows จะขอพื้นที่ 100 MB ไว้เก็บไฟล์ระบบ แต่เราไม่อนุญาต ดังนั้น เราจะลบและนำไปรวมกับ Patition 2

คลิก Partition 1 แล้วเลือก Delete


5. คลิก Partition 1 แล้วเลือก New แล้วกด Apply จะได้ดังรูป

6. คลิก Partition 2 แล้วเลือก Delete

7. คลิก Partition 1 แล้วเลือก Extend

8.เลือกที่ Disk 0 Patition 1 แล้วกดสร้าง New  พิมพ์ขนาดที่เหลือทั้งหมด แล้วกด Apply จะได้ดังรูป

คลิก Partition 1 แล้วกด Next เพื่อเริ่มติดตั้ง Windows ได้เลย

กรณีที่ 2 คอมพิวเตอร์มี Windows ติดตั้งอยู่แล้ว


  สมมติว่า เราเคยติดตั้ง Windows ไว้แล้ว โดยเราแบ่งฮาร์ดดิสเป็น 2 ไดร์ว คือ C และ D
และเราลง Windows ที่ไดร์ว C และเก็บข้อมูลสำคัญที่ไดร์ว D

เมื่อเราต้องการลง Windows ใหม่ เราจึงเลือก format ไดร์ว C  (format = ลบข้อมูลทั้งหมด)
โดยที่เราจะไม่แตะต้องไดร์ว D ซึ่งเก็บข้อมูลสำคัญต่างๆของเรา
การ format ไดร์ว C เพื่อลง Windows ใหม่เลยทำดังนี้
1. คลิก Partition 1 แล้วเลือก Format
2. คลิก Partition 1 แล้วกด Next เพื่อเริ่มติดตั้ง Windows ได้เลย

 หมายเหตุ
1. หากไดร์ฟ C มีข้อมูลสำคัญอยู่ ให้ยกเลิกการติดตั้ง
แล้ว copy ข้อมูลสำคัญจากไดร์ฟ C ไปไว้ที่ไดร์ฟ D หรือ External Hard disk
แล้วค่อยมาเริ่มติดตั้ง Windows ใหม่
2. หมายเลขพาร์ติชั่น โดยปรกติแล้ว จะเรียงจาก Partition 1, Partition 2, Partition 3 หมายถึง C, D, E
ในช่อง Total Size คือขนาดของ Partition นั้น
ในบางครั้ง Windows จะเรียงชื่อไดร์ฟผิด เช่น Partition 1 เป็นไดร์ฟ D, Partition 2 เป็นไดร์ฟ C
ดังนั้น ก่อนกด Format หรือ Delete ดูให้แน่ใจว่า Partition ที่เลือกเป็นไดร์วที่เราต้องการจริงๆ
ถ้าเราจำได้ว่า ไดร์ฟ C มีขนาด 20 ไดร์ฟ D มีขนาด 30.5 ก็จะช่วยให้เราตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่า
Partition ที่มีขนาด 30.5 GB คือไดร์ฟ D แน่นอน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้