สิ่งมีชีวิตที่มนุษย์สร้างขึ้น

............ มนุษย์กับธรรมชาติมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้นมานานแสนนาน ตั้งแต่มนุษย์แรกปรากฏขึ้นมาบนพื้นโลก มนุษย์เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของธรรมชาติ    มนุษย์อาศัยอยู่ในธรรมชาติ มนุษย์อาศัยธรรมชาติเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิต ธรรมชาติจึงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ มนุษย์กับธรรมชาติเป็นส่วนของกันและกัน  มนุษย์กับธรรมชาติไม่อาจแยกตัวออกจากกันและกันได้  เมื่อใดที่มีเหตุมีผลกำหนดให้ต้องแยกจากกัน  เมื่อนั้นย่อมวินิจฉัยได้ว่าทั้งมนุษย์และธรรมชาติกำลังมุ่งวิถีการเปลี่ยนแปลงสู่หายนะด้วยกันทั้งสองฝ่าย
............. เป็นที่แน่ชัดว่าปัจจัยทั้งสี่ของชีวิตซึ่งเป็นปัจจัยวัตถุ ย่อมได้มาจากการแปรสภาพหรือการทำลายส่วนหนึ่งของธรรมชาติ  ในอดีตผู้คนในยุคต้นๆ นั้นมีชีวิตอยู่ภายใต้อิทธิพลของธรรมชาติ   การเปลี่ยนแปลงธรรมชาติเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป  จึงอยู่ในวิสัยที่ธรรมชาติจะปรับสมดุลในตัวของมันเองได้   ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงจึงยังไม่ปรากฏให้เห็น แต่เมื่อมนุษย์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น มีควา-มเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้น ธรรมชาติถูกเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายและรวดเร็วเพื่อสนองต่อความต้องการของมนุษย์    และในปัจจุบันโลกได้ก้าวเข้ามาสู่ยุคแห่งการแข่งขันกันพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ  ส่งผลให้มีการทำลายล้างธรรมชาติอย่างรุนแรงจนถึงระดับที่ธรรมชาติเริ่มเสียสมดุล และก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้น  ในวันนี้เรามีคำถามที่จะต้องขบคิดกันว่า มนุษย์ในที่สุดจะถึงกับทำลายธรรมชาติที่ตนได้อาศัยเลี้ยงชีวิตมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ จนสุดท้ายชีวิตของมนุษย์เองก็ต้องถูกทำลายตามไปด้วยหรือไม่
.............เพื่อให้การศึกษาในเรื่องวิวัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ      สามารถเห็นได้ชัดเจนขึ้น จึงแบ่งวิวัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติออกเป็น 4 ระดับ คือ


............ ระดับที่ 1 ความสัมพันธ์ในลักษณะที่ มนุษย์ถูกควบคุมโดยธรรมชาติ
............ ระดับที่ 2 ความสัมพันธ์ในลักษณะที่ มนุษย์ปรับตัวเข้ากับธรรมชาติ

............ ระดับที่ 3 ความสัมพันธ์ในลักษณะที่ มนุษย์ทำลายธรรมชาติ............

.............ระดับที่ 4 ความสัมพันธ์ในลักษณะที่ มนุษย์ถูกทำลายโดยธรรมชาติ

.............ความสัมพันธ์ในลักษณะที่มนุษย์ถูกควบคุมโดยธรรมชาติ   ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับธรรมชาติในลักษณะเช่นนี้กินเวลายาวนานมาก  นับตั้งแต่บรรพบุรุษของมนุษย์แบบปัจจุบันได้กำเนิดขึ้นมาบนโลกนี้เมื่อประมาณ 300,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ในสมัยเริ่มแรกนั้นอยู่ในโลกที่ปราศจากขอบเขต เมื่อถิ่นที่อยู่ของเขาไม่มีอาหาร หรือสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิต ก็ย้ายไปหาที่อยู่ใหม่  พวกเขาจะแสวงหาที่อยู่ใหม่ไปเรื่อยๆ เพื่อให้ชีวิตสามารถอยู่รอดต่อไปได้ มนุษย์ในสมัยนี้ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์และเก็บพืชพันธุ์ต่างๆ ที่หาได้จากธรรมชาติ    เริ่มแรกของการล่าสัตว์ก็ใช้มือเปล่าในการจับสัตว์เล็กๆ และต่อมารู้จักใช้อาวุธง่ายๆ ในการล่าสัตว์ใหญ่  มนุษย์เริ่มแรกยังไม่รู้จักการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์  พวกเขารู้จักทำอาวุธและเครื่องมือต่างๆ ด้วยหิน กระดูก และเขาสัตว์ ใช้หนังสัตว์เป็นเครื่องนุ่งห่ม รู้จักใช้ไฟ  อาศัยอยู่ในถ้ำ  วิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในระยะแรกๆ ยังไม่ดีไปกว่าสัตว์อื่นๆ มากนัก มนุษย์ใช้พลังงานของร่างกายทั้งหมดไปในการแสวงหาอาหารมาบริโภค ความปลอดภัยในชีวิตมีน้อย เนื่องจากการที่ต้องเคลื่อนย้ายอยู่ตลอดเวลาเพื่อหาอาหาร ทำให้เวลาว่างน้อย    ในระยะเริ่มแรกของการมีมนุษย์  ธรรมชาติยังไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงด้วยน้ำมือของมนุษย์  ทั้งนี้เพราะในขณะนั้นประชากรยังมีจำนวนน้อยและอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย ประกอบกับมีวิถีการดำเนินชีวิตแบบง่ายๆ  ขีดความสามารถในการดัดแปลงธรรมชาติยังมีน้อย
.............วิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสมัยเริ่มแรกจะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของธรรมชาติอย่างแท้จริง ปัจจัยในการดำรงชีวิตทุกอย่างได้มาโดยตรงจากธรรมชาติ ความเป็นอยู่ต่างๆ ถูกกำหนดโดยธรรมชาติ ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของธรรมชาติยังมีน้อย   แต่ความใกล้ชิดหรือความผูกพันในธรรมชาติมีมาก พวกเขาให้ความสำคัญแก่ธรรมชาติอย่างมาก  พวกเขาอยู่กับธรรมชาติในลักษณะทั้งรักและทั้งกลัว   รักเพราะรู้ว่าธรรมชาติมีคุณต่อเขา ให้อาหารและทุกสิ่งทุกอย่างแก่เขา  แต่กลัวเพราะรู้ว่าธรรมชาติอาจทำลายเขาและทุกสิ่งทุกอย่างได้เช่นกัน  เหล่านี้ล้วนเป็นบ่อเกิดแห่งความเชื่อ พิธีกรรม  เพื่อแสดงความขอบคุณ  แสดงความคารวะ ขอโทษ ขออนุญาต แก่พระเป็นเจ้า เทพเจ้า วิญญาณที่เป็นเจ้าของธรรมชาติ
............เมื่อมนุษย์เรียนรู้ธรรมชาติมากขึ้น  มีความเข้าใจในธรรมชาติมากขึ้น     วิวัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติจึงก้าวเข้ามาสู่ระดับที่มนุษย์ปรับตัวเข้ากับธรรมชาติ พวกเขาเรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของพืชและสัตว์  ได้ผ่านการลองผิดลองถูกในสิ่งที่พวกเขากินเข้าไป  ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์   การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์คือการที่มนุษย์รู้จักปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อราว  10,000 - 12,000 ปีมาแล้ว  มนุษย์รู้จักใช้ไฟเผาป่าเพื่อเอาพื้นที่มาทำการเพาะปลูก   รู้จักใช้เครื่องมือในการขุดพรวนดิน เช่น จอบ เสียม    การเพาะปลูกก็เริ่มด้วยการเก็บเอาเมล็ดพืชจากป่าหรือที่อยู่ตามธรรมชาติมาปลูกในบริเวณที่ต้องการ ต่อมาก็รู้จักเก็บเมล็ดพันธุ์พืชที่ปลูกเอาไว้ใช้ในครั้งต่อๆ ไปได้  การเลี้ยงสัตว์ก็เช่นเดียวกัน เริ่มต้นโดยการจับสัตว์มาเลี้ยงไว้ในบริเวณใกล้ที่พัก   เมื่อสัตว์ป่าออกลูกออกหลานต่อๆ ไป ก็กลายเป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ การเปลี่ยนสภาพการดำเนินชีวิตของมนุษย์   จากการเก็บของป่าล่าสัตว์ มาเป็นการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ นับเป็นการวางรากฐานสำคัญของรูปแบบวิถีการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้นของมนุษยชาติ แต่ก่อนนี้ชีวิตมนุษย์มีวงจำกัดอยู่กับจำนวนสัตว์ที่ล่าและจำนวนพืชผลที่ไปเสาะแสวงหามาได้ ในสมัยนี้มนุษย์มีผลิตผลจากพืชและสัตว์ที่ผลิตขึ้นในปริมาณที่มากกว่า   อาหารการกินอุดมสมบูรณ์มากขึ้น  ความเป็นอยู่ต่างๆ ดีขึ้น มีความปลอดภัยสูงขึ้น ประชากรมีจำนวนมากขึ้น  มนุษย์ในสมัยนี้มีเวลาว่างมากขึ้น ทำให้มีเวลาคิดประดิษฐ์สิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตมากขึ้น มีการทำเครื่องปั้นดินเผา รู้จักใช้โลหะทำเครื่องมือในการเกษตรกรรม รู้จักทอผ้า รู้จักปลูกบ้านเป็นที่อยู่อาศัย บริเวณใดที่มีความอุดมสมบูรณ์ดีมีน้ำใช้ตลอดปี มนุษย์ก็จะสร้างบ้านเรือนอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้านและอยู่แบบถาวร   บางบริเวณที่มีกิจกรรมมีหน้าที่ซับซ้อนขึ้นก็จะกลายเป็นเมือง
การที่มนุษย์เริ่มเอาชนะธรรมชาติ เริ่มรู้จักดัดแปลงธรรมชาติมากขึ้น   มีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมเดิมให้เป็นสภาพแวดล้อมใหม่ เช่น การทำลายป่าไม้เพื่อนำมาทำพื้นที่เพาะปลูก ทำให้พืชพันธุ์ธรรมชาติเดิมถูกทำลายและบางชนิดสูญพันธุ์   สัตว์ป่าได้รับอันตราย ไร้ที่อยู่ ขาดแคลนอาหาร และบางชนิดก็สูญพันธุ์ไปในที่สุด  และยังส่งผลไปสู่ธรรมชาติส่วนอื่นๆ เช่น ดินเกิดการชะล้างพังทลาย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์  โรคและแมลงบางชนิดระบาด รบกวนพืชผลทางการเกษตร  ภาวะอากาศแปรปรวน ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกิดอุทกภัย แต่ความรุนแรงในการทำลายธรรมชาติในระยะนี้ยังมีไม่มากเท่ากับในระยะต่อมา ทั้งนี้เนื่องจากในขณะนั้นจำนวนประชากรยังมีจำนวนน้อยกว่า เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ก็ยังมีประสิทธิภาพน้อยกว่า ธรรมชาติยังมีโอกาสฟื้นตัวและปรับตัวให้เข้าสู่ภาวะสมดุลได้
...........ด้วยพลังความคิดที่มีอย่างมากมาย มนุษย์สามารถพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ขึ้นมาตามลำดับ    จากเครื่องมือแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อน มาเป็นเครื่องมือชั้นสูงที่มีความซับซ้อนและมีประสิทธิภาพในการทำงานสูง   มนุษย์มีความก้าวหน้าทางวิทยาการมากขึ้นมาเป็นลำดับ   ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้มนุษย์รู้จักและเข้าใจธรรมชาติมากขึ้น ความลี้ลับต่างๆ ในธรรมชาติถูกเปิดเผยมากขึ้น เหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดความรู้ความคิดใหม่ ๆ แก่มนุษย์โดยทั่วไป ความรู้ทางวิทยาการสมัยใหม่เปรียบเสมือนดาบสองคม  ด้านหนึ่งจะช่วยทำให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ดีขึ้น ได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น โดยการดัดแปลงธรรมชาติรอบๆ ตัวให้เป็นประโยชน์กับตนเอง   แต่อีกด้านหนึ่งจะทำให้เกิดการทำลายธรรมชาติ ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมหรือสูญสิ้น จนไม่เหลือประโยชน์ใดๆ ให้แก่มนุษย์เลย วิวัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ได้ก้าวมาถึงระดับที่มนุษย์ทำลายธรรมชาติอย่างแท้จริง เมื่อตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีการนำเครื่องจักรมาแทนเครื่องมือที่เคยใช้กันมาแต่เดิม เครื่องจักรไอน้ำที่เกิดขึ้นครั้งแรกนั้น เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงความสามารถของมนุษย์ที่รู้จักวิธีการเก็บกักพลังงานไว้ เพื่อใช้หมุนหรือเดินเครื่องจักร เป็นพลังงานที่ยิ่งใหญ่กว่าพลังงานจากลม น้ำ มนุษย์ และสัตว์ ที่เคยใช้กันมาแต่เดิม  มนุษย์ในสมัยนี้รู้จักการนำเอาพลังงานเคมีที่เก็บสะสมไว้ในถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติมาใช้ รู้จักการนำแร่ธาตุต่างๆ มาใช้ประโยชน์  สังคมมนุษย์เปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมมาเป็นสังคมอุตสาหกรรม มนุษย์มีความเป็นอยู่ดีมากขึ้น  อายุขัยของมนุษย์ยาวนานขึ้น  จำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว การแพทย์การสาธารณสุขที่ดีขึ้นทำให้อัตราการตายลดน้อยลง    ในระยะต้นของการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมนั้น   โลกมีประชากรประมาณ 700 กว่าล้านคน    และหลังจากที่ได้พัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมมาประมาณ 200 ปี ผู้คนก็เพิ่มจำนวนเป็น 3,000 กว่าล้านคน ต่อจากนั้นอีกประมาณ 40 ปีต่อมา คือในปัจจุบัน โลกมีประชากรประมาณ 6,000 กว่าล้านคน
...........จากการที่มีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว   ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้เกิดปัญหาทางด้านการทำลายธรรมชาติอย่างรุนแรง การเพิ่มของประชากรที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว  ทำให้ความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิตมีอัตราสูงตามไปด้วย  ประกอบกับการบริโภคนั้นมิได้เป็นไปเพื่อสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐานของการดำรงชีวิตแต่เพียงอย่างเดียว การบริโภคในปัจจุบันนั้นมีลักษณะที่เรียกได้ว่าเป็นไปอย่างฟุ่มเฟือย  ไม่ประหยัด บริโภคเกินความจำเป็นขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นไปตามแรงกระตุ้นของวัฒนธรรมการบริโภคแบบทุนนิยม ซึ่งขยายขอบเขตออกไปทั่วโลก การแข่งขันกันทางการผลิตสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค    นำไปสู่การล้างผลาญทรัพยากร ธรรมชาติอย่างมากมาย จนยากที่ธรรมชาติจะสร้างขึ้นใหม่ได้ทัน ทรัพยากรธรรมชาติบางอย่างแม้จะมีปริมาณมากมายเหลือเฟือ ใช้ไม่มีวันหมด แต่ก็สามารถเสื่อมโทรมลงได้ หากมนุษย์ใช้อย่างไม่ถูกวิธี ใช้อย่างไม่ระมัดระวัง ใช้อย่างไม่ถูกต้อง เมื่อมนุษย์ทำลายธรรมชาติมาจนถึงระดับหนึ่งคือระดับที่ธรรมชาติไม่สามารถปรับสมดุลในตัวเองได้ ทรัพยากรธรรมชาติที่มนุษย์ใช้ไปไม่สามารถเกิดขึ้นใหม่  หรือไม่สามารถเจริญเติบโตได้ทันความต้องการของมนุษย์  อีกทั้งทรัพยากรธรรมชาติประเภทที่เสื่อมโทรมลง หมดสภาพที่จะใช้ประโยชน์ ก็ไม่สามารถฟื้นตัวได้ทัน ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติจึงได้เข้าสู่ระดับที่มนุษย์ถูกทำลายโดยธรรมชาติ
............ปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่าความสามารถของโลกในการรองรับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้ถูกบั่นทอนลงไปอย่างมากมาย   นับตั้งแต่เริ่มมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 18 จนถึงปัจจุบัน โลกต้องสูญเสียป่าไม้ไปถึง 6 ล้านตารางกิโลเมตร การตกตะกอนเนื่องจากหน้าดินถูกกัดเซาะพังทลายตามลุ่มน้ำสำคัญๆ ของโลกเพิ่มมากขึ้น 3 เท่าตัว และในลุ่มน้ำขนาดเล็กลงไปเพิ่มขึ้นถึง 8 เท่าตัว กิจกรรมการผลิตของมนุษย์ได้เพิ่มก๊าซมีเทนในบรรยากาศขึ้นมากกว่า 2 เท่าตัว เพิ่มความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ราวร้อยละ 27   และทำลายก๊าซโอโซนในบรรยากาศชั้นสเตรโตสเฟียร์ลง มนุษย์ได้ทิ้งสารพิษ สารเคมีต่างๆ เข้าสู่ธรรมชาติเป็นจำนวนมาก
............การทำลายป่าไม้อย่างรุนแรงของมนุษย์ ได้ทำลายความสมดุลในระบบนิเวศ ทำให้สัตว์ป่าไร้ที่อยู่อาศัย  เป็นการทำลายแหล่งต้นน้ำลำธาร ทำให้เกิดการสูญเสียหน้าดินอย่างมาก เพิ่มความรุนแรงของภัยธรรมชาติ   อันได้แก่ภัยจากความแห้งแล้ง จากอุทกภัย บั่นทอนความอุดมสมบูรณ์ของดินลง  อีกทั้งเกิดปัญหาขาดแคลนไม้เพื่อใช้สอย   เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย  เป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดีถึงผลที่มนุษย์เราได้รับจากการทำลายธรรมชาติที่กระทำติดต่อกันมาเป็นระยะเวลานาน
............เหตุการณ์หนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นอุทาหรณ์อย่างดีของผลที่ได้รับจากการตัดไม้ทำลายป่า   คือเหตุการณ์ในวันที่  19 - 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531       ได้เกิดฝนตกหนักในภาคใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัดนครศรีธรรมราช   เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลบ่าพาซุงลงมาพังบ้านเรือนของประชาชน ค่าเสียหายประมาณ 6 พันล้านบาท   สาเหตุสำคัญเกิดจากการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อปลูกยางพาราที่รากไม่ลึก เมื่อฝนตกลงมาหน้าดินถูกชะล้างไหลเป็นโคลน พัดพาสิ่งต่างๆ ไหลลงมาด้วยพลังมหาศาล จึงเกิดความเสียหายที่รุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนในบริเวณนั้น
............ ปี พ.ศ. 2535 ประเทศไทยต้องประสบปัญหาภัยแล้งอย่างรุนแรง เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค การเกษตรกรรม และอื่นๆ อย่างกว้างขวางในหลายพื้นที่ ในปีนี้รัฐบาลได้ประกาศงดจ่ายน้ำให้เกษตรกรทำนาปรัง และประกาศให้เกษตรกรลดการทำนาปรังให้มากที่สุด  ทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ   แต่ในปี พ.ศ. 2538 ประเทศไทยกลับประสบปัญหาน้ำท่วมอย่างรุนแรงโดยเฉพาะในภาคกลาง

ทำให้เกิดความเสียหายแก่พื้นที่เกษตรกรรมเป็นจำนวนมาก ผู้คนที่อาศัยอยู่สองฝั่งแม่น้ำและพื้นที่ที่น้ำท่วมถึงได้รับความเดือดร้อนเป็นอันมาก  สร้างความเสียหายทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมให้แก่ประเทศชาติ

ในปี พ.ศ.2544 ภัยพิบัติครั้งใหญ่ก็เกิดขึ้นอีกที่บ้านน้ำก้อ  อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวคือได้มีกระแสน้ำป่าจำนวนมากมายมหาศาล รวมทั้งซากต้นไม้และโคลน ไหลทะลักลงมาจากเทือกเขาเข้าทำลายทรัพย์สินและชีวิตผู้คนในหมู่บ้าน สาเหตุเกิดจากนายทุนและชาวบ้านเข้าไปบุกรุกแผ้วถางทำลายป่าบนเทือกเขาสูงใกล้หมู่บ้าน เพื่อทำไร่ข้าวโพดและไร่ขิง เมื่อฝนตกหนัก จึงได้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว จึงเห็นได้ว่าภัยพิบัติที่เกิดขึ้นครั้งนี้เป็นผลมาจากการทำลายสมดุลแห่งธรรมชาติของมนุษย์นั่นเอง



ภาพที่ 1.3 สภาพพื้นที่ของบ้านน้ำก้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
หลังเกิดเหตุการณ์น้ำป่าไหลหลากและดินถล่ม เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2544

ที่มา : //www.gisthai.org

...........จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก    พบว่าหลังปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับในอดีต ซึ่งอุณหภูมิที่สูงขึ้นก็ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของลมและฝน  การเริ่มต้นและการสิ้นสุดของฤดูกาล ซึ่งส่งผลกระทบไปยังการผลิตอาหาร พื้นที่เกษตรกรรม ป่าไม้   ระบบนิเวศหลายๆ บริเวณ หลายท้องที่ต้องเผชิญกับภาวะแห้งแล้งและคลื่นความร้อนอันยืดเยื้อยาวนาน    ในปี พ.ศ. 2538  สหรัฐอเมริกาประสบปัญหาความร้อนที่สูงมากผิดปกติในช่วงฤดูร้อน ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะที่นครซิคาโก มลรัฐอิลลินอยส์ มีผู้เสียชีวิตประมาณ 300 กว่าคน  จากยอดผู้เสียชีวิตเนื่องจากอากาศร้อนผิดปกติทั้งหมด 600 กว่าคน
คำอธิบายที่ดีที่สุดของปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้น ก็คือการเพิ่มปริมาณของก๊าซเรือนกระจก (green house gases) ที่เกิดจากกิจกรรมในการดำรงชีพของมนุษย์      ก๊าซดังกล่าวที่สำคัญคือคาร์บอนไดออกไซด์ คลอโรฟลูออโรคาร์บอน และมีเทน   ซึ่งทำหน้าที่เหมือนกระจกที่มองไม่เห็นแผ่ปกคลุมโลกอยู่  มันปล่อยให้แสงแดดส่องผ่านลงมาได้พร้อมกับความร้อน   แต่จะเก็บความร้อนที่เกิดขึ้นใกล้ผิวโลกเอาไว้จึงทำให้เกิดปัญหาโลกร้อน  การลดปริมาณก๊าซดังกล่าวสามารถกระทำได้หลายวิธี ดังเช่นลดการเผาผลาญเชื้อเพลิงประเภทน้ำมัน ถ่านหิน  ลดการเผาป่า ลดการทำลายป่าไม้ เพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้มากขึ้น
.............ภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้คนในหลายๆ ส่วนของโลก รวมทั้งประเทศไทย ย่อมเป็นเครื่องชี้ชัดถึงผลของการทำลายธรรมชาติของมนุษย์   โดยทั่วไปมนุษย์มักมองเห็นว่าการเร่งรัดพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ด้านอุตสาหกรรม  และด้านเศรษฐกิจ  เป็นการนำสิ่งที่ดีมาสู่มวลมนุษย์     ทำให้ชีวิตมีความสะดวกสบายมากขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นการมองเพียงด้านเดียว แท้ที่จริงแล้วการพัฒนาอย่างไร้ขอบเขตอย่างไม่มีขีดจำกัด     และไม่คำนึงถึงสมดุลของธรรมชาติ ล้วนแล้วแต่สร้างปัญหาให้กับหมู่มวลมนุษย์เอง  ยิ่งมีการพัฒนามากขึ้นเท่าใด ปัญหาต่างๆ ก็จะเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
............เพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ มนุษย์จะต้องเปลี่ยนวิถีทางการดำเนินชีวิตมาสู่การใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน ในการเริ่มต้นดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืนนั้น ก่อนอื่นเราจะต้องเข้าใจและยอมรับพันธกรณีในฐานะที่มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของสังคมชีวิตอันยิ่งใหญ่ มนุษย์จะต้องมีจิตสำนึกและความรับผิดชอบในผลของการกระทำและการตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสังคมรุ่นต่อๆ ไป การพัฒนาของมนุษย์จะต้องไม่กระทบกระเทือนหรือทำลายความเป็นเอกภาพของธรรมชาติ มนุษย์ทุกคนต้องมีความรับผิดชอบต่อผลกระทบที่ตนก่อให้เกิดแก่ธรรมชาติ มนุษย์ต้องอนุรักษ์ความหลากหลายของธรรมชาติ ความหลากหลายในธรรมชาติเป็นรากฐานสำคัญของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เป็นสิ่งที่จะทำให้สิ่งมีชีวิตทุกชนิดสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ มนุษย์กับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ จะอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล

 

อ.จันทวัน เบ็ญจวรรณ์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์   ม.ราชภัฏเทพสตรี ถ.นารายณ์มหาราช  ต.ทะเลชุบศร  อ.เมือง จ.ลพบุรี  15000
Tel. 0-3642-7485-93  ต่อ  231  Fax. 0-3641-1150  E-mail :

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้