เครื่องมือวัดละเอียดแบบมีค่าคงที่

รวมพื้นฐานของเครื่องมือวัดละเอียดที่ใช้ในงานเครื่องมือกล โดยเฉพาะเรื่องของเวอร์เนียร์คาลิเปอร์และไมโครมิเตอร์ ที่จำเป็นต้องใช้ในงานช่างอุตสาหกรรมทุกสาขา

    ให้เนื้อหาที่สำคัญเกี่ยวกับ "การวัดละเอียด" เป็นการรวมความรู้พื้นฐานของเครื่องมือวัดละเอียดที่ใช้ในงานเครื่องมือกล โดยเฉพาะเรื่องของเวอร์เนียร์คาลิเปอร์ และไมโครมิเตอร์ที่จำเป็นต้องใช้ในงานช่างอุตสาหกรรมทุกสาขา อธิบายหลักการใช้ วิธีการอ่านค่าโดยละเอียด ผู้อ่านสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง เหมาะสำหรับนักศึกษาระดับ ปวช. และ ปวส. สาขาช่างอุตสาหกรรมทุกสาขา ผู้ที่สนใจทั่วไป และผู้เตรียมสอบเข้าทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวัดละเอียด
บทที่ 2 เครื่องมือวัดที่มีขีดมาตรา
บทที่ 3 เครื่องมือวัดแบบถ่ายขนาด
บทที่ 4 เครื่องมือวัดแบบเลื่อนได้ที่มีขีดมาตรา
บทที่ 5 เครื่องมือวัดมุม
บทที่ 6 เครื่องมือวัดและตรวจสอบความหยาบผิว
บทที่ 7 เครื่องมือวัดและตรวจสอบแบบค่าคงที่
บทที่ 8 เครื่องมือวัดตรววจสอบเกลียว
บทที่ 9 เครื่องมือวัดขนาดด้วยการเปรียบเทียบ

- มีเนื้อหาครบถ้วนตามหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2556

ในกระบวนการเรียน การสอน และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่างๆ ประกอบกับประสบการณ์ที่สะสมมาเป็นเวลานาน จึงได้นำความรู้เหล่านั้นมารวบรวมเรียบเรียงเป็นหนังสือ เพื่อให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของหลักสูตร ทำให้เกิดประโยชน์แก่ผู้สอน และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้เรียน เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน นับว่าเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเป็นอย่างยิ่งนายอุดม ไชยเดชาธร- ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา

1 เมตร

= 1/10,000,000 ส่วนของเส้นเมอริเดียน

                                                           1 เมตร = 1/299792458 วินาที

                      แท่งเมตรมาตรฐานนี้ เก็บรักษาอยู่ที่เมือง SEVERS ชานกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เนื่องจากการถ่ายทอดขนาดจากแท่งเมตรมาตรฐานไปยังมาตรฐานที่สองทำได้ยากและลำบากมากซึ่งในการวัดขนาดจะต้องการควบคุมอุณหภูมิ, ความชื้นสัมพันธ์, ความกดดันบรรยากาศ ให้มีค่าคงที่ตลอดเวลา ต่อมาในปี ค.ศ. 1960 มีการกำหนดให้ 1 เมตร เป็นความยาวคลื่นแสง (Wave Length of Light)

            ต่อมาในปี ค.ศ. 1983 จึงได้กำหนดความยาว 1 เมตรในเทอมของความเร็วแสง โดยกำหนดว่า ความยาว 1 เมตร เท่ากับระยะทางในการเคลื่อนที่ของแสงในสภาวะสูญญากาศในระยะเวลา 1/299,792,458 วินาที  

1.4.2       มาตรฐานความยาวระบบอังกฤษ (The English System)

ในศตวรรษที่ 12 พระเจ้า Henry I. แห่งอังกฤษ กำหนด 1 หลาเท่ากับระยะห่าง ระหว่างปลายจมูกถึงหลายนิ้วหัวแม่มือของพระองค์เมื่อทรงเหยียดแขนออกตรงไปทางด้านข้าง

 

                                     ภาพที่ 1-7 ความยาว 1 หลามาตรฐาน

ในศตวรรษที่ 13 พระเจ้า Edward I. แห่งอังกฤษ ได้นำเอา 1 หลา ของพระเจ้า Henry I. (The Imperial standard yard) มาทำเป็นแท่งมาตรฐาน 1 หลา โดยทำเป็นแท่งเหล็กรูปหน้าตัดสี่เหลี่ยมจัตุรัสปลายด้านหนึ่งแหลม เรียกแท่งมาตรฐานนี้ว่า “IRON ULNA” และในปี ค.ศ. 1845 อังกฤษได้สร้างแท่งความยาวมาตรฐาน 1 หลาด้วยโลหะบรอนซ์ซึ่งมีส่วนผสมของ Cu 82%, Tin 13% และ Zinc 5% เรียกว่า  “Bailwy’s Metal” เป็นลักษณะแท่งตันรูปหน้าตัดสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 1 นิ้ว ยาวทั้งหมด 38 นิ้ว ช่วงระยะ 1 หลามาตรฐาน (36 นิ้ว) ทำ Counter bore เป็นรูเส้นผ่าศูนย์กลาง 1/2 นิ้ว ลึก 1/2 นิ้ว แล้วใช้แท่งทองคำขนาด 1/10 นิ้วฝังไว้ก้นรูที่ Counter bore ตรงผิวหน้าของแท่งทองคำจะมีเส้น Lay – out ไว้เพื่อบอกระยะ 1 หลามาตรฐาน การวัดหรือการถ่ายขนาดจะต้องกระทำที่อุณหภูมิ 62 oF แท่งมาตรฐานนี้เก็บไว้ที่ Board of Trade ประเทศอังกฤษ

เมื่อ ค.ศ. 1324 พระเจ้า EDWARD II แห่งอังกฤษ ได้กำหนดความยาว 1 นิ้วโดยใช้ข้าวบาเลย์ที่มีลักษณะเมล็ดกลมและแห้ง 3 เมล็ด มาวางเรียงต่อกัน แล้ววัดความยาวทั้งหมด ซึ่งค่าความยาวที่วัดได้ถือเป็นมาตรฐานความยาว     เท่ากับ 1 นิ้ว

                                       ภาพที่ 1-8 ขนาดความยาว 1 ฟุต (Rod) 

ในศตวรรษที่ 16 อังกฤษได้กำหนดความยาวมาตรฐาน 1 ฟุตโดยให้ผู้ชาย 16 คนยืนเข้าแถวตอนเรียงหนึ่ง และวัดความยาวจากปลายเท้าข้างซ้ายของคนที่ 1 ไปถึงส้นเท้าซ้ายของคนที่ 16 เอาความยาวทั้งหมดหารด้วย 16 จะได้ความยาวเท่ากับ 1 ฟุต

           ความยาว 1 ศอกถูกกำหนดในสมัยอียิปต์   ความยาว 9 นิ้ว หรือ ½ ศอก Cubit

(Royal Egyptians cubit)

     ความยาวประมาณ 3 นิ้ว หรือ                           Digit หรือประมาณ 1/24 ศอก Cubit

1/6 ศอก Cubit เรียก Palm

ความยาว 1 นิ้ว สมัยโรมัน                              ขนาดความยาว 1 นิ้ว อังกฤษ

ภาพที่ 1-9 ขนาดความยาว

                                                   ภาพที่ 1-10 แท่ง 1 หลามาตรฐาน

1.5   หน่วยย่อยของขนาดความยาวมาตรฐาน

1.5.1       หน่วยย่อยของระบบเมตริก

โดยหน่วยหลักนี้ให้เริ่มจากความยาว 1 เมตร แล้วใช้ค่าอุปสรรค (Prefix) เป็นตัวคูณไว้หน้า

หน่วยเมตร เช่น 1 กิโลเมตร (km) = 1,000 x 1 เมตร = 1,000 เมตร

ค่าอุปสรรค

สัญลักษณ์

ตัวคูณ

Tera

T

       1,000,000,000,000

1012

Giga

G

       1,000,000,000

109

Mega

M

       1,000,000

106

Kilo

K

       1,000

103

-

       -

1

Milli

m

       0.001

10-3

Micro

μ

       0.000 001

10-6

Nano

η

       0.000 000 001

10-9

Piko

p

       0.000 000 000 001

10-12

            ในงานด้านเครื่องกลการกำหนดขนาดจะแสดงด้วยหน่วยมิลลิเมตร (mm.) ส่วนย่อยของมิลลิเมตรจะแสดงด้วยจุดทศนิยมเช่น 0.001 มม. เท่ากับ 1 ไมโครเมตร และ 0.000001 มม. เท่ากับ 1 นาโนเมตร ซึ่งเครื่องมือวัดในปัจจุบันสามารถวัดได้ถึง 0.0001 มิลลิเมตร

1 km.             =         1,000 m.

1 m.               =         1,000 mm.

1 mm.           =         1/1,000 m.                       =         0.001 m.

1 μ m.          =         1/1,000 mm.                   =         0.001 mm.

1 η m           =         1/1,000,000 mm.           =         0.00 001 mm.

1.5.2       หน่วยย่อยของระบบอังกฤษ

โดยหน่วยวัดในระบบนี้จะเริ่มจาก 1 หลามาตรฐาน แบ่งออกเป็นส่วนต่าง ๆ ช่วงค่าอัตราส่วนแบ่งไม่คงที่ จนถึง 1 นิ้ว ในส่วนที่ต่ำกว่า 1 นิ้วลงไป จะใช้ส่วนแบ่งเป็นเลขอัตราส่วน 1/2" (2 ยกกำลัง n) เช่น 1/8”,  1/16” , 1/32”, 1/64” และ 1/28” และในส่วนที่เล็กย่อยลงมากว่านี้จะใช้ค่าอุปสรรค (Prefix) นำหน้า

หน่วยวัดความยาวระบบอังกฤษ

1 ไมล์                        =     1760 หลา             =     5280 ฟุต

1 หลา                        =     3 ฟุต                      =     36 นิ้ว

1 ฟุต                          =     12 นิ้ว

1 นิ้ว

1/8 นิ้ว       1/16 นิ้ว        1/32 นิ้ว        1/64 นิ้ว        1/128 นิ้ว

1/1,000 นิ้ว              =     0.001 นิ้ว              =     1 ฟีลเลอร์ (Feeler)         =     1 Thousandth

1/1,000,000 นิ้ว      =     0.000 001 นิ้ว      =     1 Millionth                      =     1 micro – inch

ในที่ประชุมนานาชาติเมื่อปี ค.ศ. 1898 ได้กำหนดมาตรฐานชั่งตวงวัด และได้ตกลงกันเรื่องการเปรียบเทียบหน่วยระหว่างระบบเมตริกกับระบบอังกฤษ โดยใช้ค่าเปรียบเทียบวัดดังต่อไปนี้

1 เมตร       =         39.370113 นิ้ว

1 นิ้ว          =         25.399978 mm. (25.4 mm. – 22 η m.)

เพื่อการปรับแปลงค่าให้ได้ง่ายขึ้น  ได้ตกลงกันว่าให้ปัดเศษหลังจุดทศนิยมหลักล้านออกเป็น                       1 นิ้ว = 25.4 mm.  ซึ่งใช้เป็นมาตรฐานทั่วโลก

1.6    ประเภทของการวัด

                     

ภาพที่ 1-11 ประเภทของการวัด

จากภาพที่ 1-11 การวัดระยะห่างระนาบ 1 กับระนาบ 2 โดยการใช้การวัดสองวิธี วิธีแรกแบบ A จะเป็นการวัดจากระนาบที่ 1 ถึงระนาบที่ 2 โดยตรง ส่วนวิธีที่สองแบบ B จะต้องนำค่าวัดที่ได้ในแต่ละครั้งมาผ่านขบวนการในที่นี้คือ วิธีการบวกเพื่อให้ได้ขนาดที่ต้องการดังนั้นเราจึงแบ่งการวัดออกได้เป็น 2 ประเภทคือ การวัดแบบทางตรง และการวัดแบบทางอ้อม

1.6.1            การวัดทางตรง คือ การวัดขนาดของชิ้นงานโดยการใช้เครื่องมือวัดสัมผัสกับชิ้นงานตามองค์ประกอบของขนาดแล้วอ่านค่าวัดของขนาดที่ต้องการใช้โดยตรงจากสเกลหรือชุดแสดงผลของเครื่องมือวัด ดังในภาพที่ 1-12 เป็นตัวอย่างการวัดขนาดทางตรงโดยใช้บรรทัดเหล็ก

                                                                    

ภาพที่ 1-12 การวัดขนาดทางตรง

1.6.2            การวัดทางอ้อม คือ การวัดขนาดที่ต้องการของชิ้นงาน โดยที่องค์ประกอบของขนาดไม่สมบูรณ์ทำให้ต้องมีการถ่ายทอดขนาดเกิดขึ้น หรือต้องผ่านขบวนการทางความคิดขึ้น ซึ่งค่าขนาดที่วัดได้โดยมากมักจะมีความคลาดเคลื่อนสูง

                     

                                             ภาพที่ 1-13 การวัดทางอ้อมโดยการถ่ายทอดขนาด

จากภาพที่ 1-13 เป็นการวัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของร่องด้านในของชิ้นงาน โดยการใช้คาลิปเปอร์ถ่ายทอดขนาดเพราะไม่สามารถนำจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายของชิ้นงานมาทาบกับบรรทัดเหล็กได้ 

                               

 ภาพที่ 1-14 และภาพที่ 1-15 การวัดระยะเยื้องศูนย์ของลูกเบี้ยวเยื้องศูนย์โดยการใช้ Dial gauge โดยสิ่งที่ต้องการวัดจริง ๆ ตามแบบก็คือระยะห่างระหว่างจุดศูนย์กลางของเพลากับจุดศูนย์กลางของลูกเบี้ยวเยื้องศูนย์ แต่จุดวัดทั้งสองเราไม่สามารถวางเครื่องมือวัดลงไปสัมผัสได้

     

 1.7   คุณลักษณะของเครื่องมือวัด ค่า Accuracy, Precision และ Resolution

ถ้าต้องการวัดขนาดชิ้นงานขนาด 20 มม. โดยค่าวัดที่ได้มีความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน ± 0.01 มม. (10 µm.) จะเลือกใช้เครื่องมือวัดตัวไหน

                                          ภาพที่ 1-16 เครื่องมือวัดขนาดภายนอก

คำตอบที่ได้อาจเป็นได้ทั้งดิจิตอลคาลิปเปอร์ ซึ่งสามารถอ่านค่าได้ละเอียดถึง 0.01 มม. หรืออาจเป็นไมโครมิเตอร์สเกลที่สามารถอ่านค่าได้ถึง 0.01 มม. น่าจะใช้ได้ทั้งคู่ แต่เมื่อศึกษาตามแคตตาล็อค แล้วจะพบความแตกต่างคือ

คุณลักษณะ

ดิจิตอลคาลิปเปอร์ 0.01 mm.

ไมโครมิเตอร์สเกล 0.01 mm.

ไมโครมิเตอร์สเกล 0.001 mm.

1. Range

0 - 150 mm.

0 – 25 mm.

0 – 25 mm.

2. Resolution

0.01 mm.

0.01 mm.

0.001 mm.

3. Accuracy

± 0.02 mm.

± 0.002 mm.

± 0.002 mm.

จะเห็นได้ว่าสิ่งที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนก็คือค่า Accuracy ซึ่งจะเห็นว่าค่า Accuracy ของไมโครมิเตอร์จะมีขนาดน้อยกว่ามากนั่นหมายถึงมีความคลาดเคลื่อนน้อย ดังนั้นจึงควรใช้ไมโครมิเตอร์สเกล 0.01 มม. ดิจิตอลคาลิปเปอร์ก็ไม่เหมาะสมเพราะค่าที่อ่านได้จะมีความคลาดเคลื่อนถึง ± 0.02 มม. ซึ่งมากกว่าค่าที่กำหนด ส่วนไมโครมิเตอร์สเกล 0.001 มม. ก็ไม่เหมาะสมเพราะค่าที่อ่านได้จะมีความละเอียดมากเกินไป

1.7.1       ค่าความแม่นยำ (Precision)

ความแม่นยำในการวัด หมายถึง การวัดชิ้นงานในตำแหน่งเดียวกัน ซ้ำกันหลาย ๆ ครั้ง ค่าที่วัดได้มีค่าใกล้เคียงกัน ซึ่งค่าที่วัดได้นี้มีความแม่นยำสูงอยู่ในความเบี่ยงเบนที่กำหนด

                                                       

 

ภาพที่ 1-17  เป้ายิงปืนความแม่นยำสูง / ต่ำ

1.7.2       ค่าความถูกต้อง (Accuracy)

ความถูกต้องของการวัด หมายถึง ค่าการวัดขนาดที่อ่านออกมาได้จากเครื่องมือวัดกับขนาดมาตรฐานแท้จริง ค่าความแตกต่างนี้ เป็นผลให้รู้ว่า ค่าวัดที่ได้มีความผิดพลาดไปจากค่าของความถูกต้องมาตรฐานเท่าไร

 

                                               

                                        ภาพที่ 1-18 เป้ายิงปืนความถูกต้องสูง / ต่ำ

1.7.3       ค่าการแยกชัด (Resolution)

การแยกชัดในการวัดหมายถึงลักษณะจำเพาะของความสามารถของเครื่องมือวัดในการตอบสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงของขนาดค่าเล็ก ๆ

                                                        

                                                            ภาพที่ 1-19 เป้ายิงปืนคามแยกชัดต่ำ / สูง

1.8   การเลือกใช้เครื่องมือวัด

ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติกับการวัดหาขนาดของชิ้นงาน สิ่งที่จะต้องพิจารณาเป็นอันดับแรก คือ การอ่านแบบของชิ้นงาน แล้วเลือกใช้เครื่องมือวัดให้สอดคล้องกับขนาด, ชิ้นงาน, ค่าที่วัด โดยในการเลือกใช้เครื่องมือวัดขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งาน วิธีการใช้ และหน่วยในการวัด

                     

 

ภาพที่ 1-20 การเลือกใช้เครื่องมือวัด 

ดังที่ทราบกันแล้วว่า เราทำการวัดเพื่อวัตถุประสงค์สองอย่างคือ ทำการวัดเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลและการวัดเพื่อการควบคุมหรือตรวจสอบ

1.9                     ความผิดพลาดจากการวัดและสาเหตุ

การวัดขนาดชิ้นงานเดียวกันในแต่ละครั้ง ค่าที่วัดได้อาจแตกต่างกันหรือใช้ผู้วัดต่างกันวัดขนาดชิ้นงานเดียวกันด้วยวิธีและเครื่องมือวัดที่เหมือนกันได้ค่าวัดต่างกัน ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะใช้การวัดเพียง 1 หรือ 2 ครั้งแล้วได้ค่าวัดที่ถูกต้องเลยทีเดียว

 

               

ภาพที่ 1-21 องค์ประกอบการวัด

จากภาพที่ 1-21 ในการวัดขนาดจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบทั้ง 4 ซึ่งขนาดที่วัดได้มานั้นจะถูกต้องหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความถูกต้องขององค์ประกอบทั้ง 4 นี้

1.9.1 ความผิดพลาดจากผู้วัด การวัดโดยมากจะผิดพลาดจากผู้วัดเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ได้ค่าวัดที่

ผิดไป เช่น การวัดขนาดรูคว้านถ้าวัดผิด ค่าวัดที่ได้มักจะเล็กกว่าขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางจริง ความผิดพลาดจาก   ผู้วัดอาจเกิดจาก การอ่านสเกลผิด การแนบสัมผัสวัดของเครื่องมือวัดกับผิวของชิ้นงานไม่สมบูรณ์ การวางแนวแกนวัดผิด ฯลฯ ซึ่งเป็นผลมาจากผู้วัดทั้งสิ้น

1.9.2  ความผิดพลาดจากชิ้นงาน โดยปกติมักจะเกิดจากชิ้นงานสกปรก มีครีบ ผิวของชิ้นงานไม่

เรียบพอ ชิ้นงานไม่ได้รูปทรงเรขาคณิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งผิวของชิ้นงานและรูปทรงเรขาคณิตจะต้องสัมพันธ์กับค่า Accuracy ของเครื่องมือวัดนั้น

1.9.3  ความผิดพลาดจากเครื่องมือวัด เครื่องมือวัดที่ผลิตออกมาจากโรงงานผลิตปกติจะมีค่า

คุณลักษณะต่าง ๆ ตามมาตรฐาน แต่เมื่อนำมาใช้งานโดยผิดวิธี ขาดการบำรุงรักษาก็จะทำให้ค่าคุณลักษณะ    ต่าง ๆ ของเครื่องมือวัดเกินค่ามาตรฐานกำหนดโดยเฉพาะค่า Accuracy ก็จะต่ำลง (ผิดพลาดสูง) ดังนั้นจึงต้องทำการสอบเทียบ (Calibration) หรือทวนสอบ (Verification) ดังนั้นจะเห็นได้ว่าความผิดพลาดจาก   เครื่องมือวัดจริง ๆ แล้วเกิดจากผู้วัดใช้เครื่องมือวัดอย่างผิดวิธีนั้นเอง

เครื่องมือวัดละเอียดแบบมีขีดมาตราคงที่ มีอะไรบ้าง

เครื่องมือวัดละเอียดแบบมีขีดมาตราคงที่ เป็นเครื่องมือวัดที่มีค่าความละเอียดไม่มากนัก เช่น สายวัด, ตลับเมตร และไม้บรรทัด เป็นต้น

เครื่องมือวัดค่าคงที่มีอะไรบ้าง

เครื่องมือวัดแบบค่าคงที่เป็นเครื่องมือวัดที่ใช้ในการตรวจสอบค่ามาตรฐาน ไม่สามารถปรับค่าได้ เนื่องจากมีค่าตายตัวในตัวของมันเอง เช่น หวีวัดเกลียวและเกจชนิดต่างๆ เป็นต้น

เครื่องมือวัดละเอียด มีอะไรบ้าง

เครื่องมือวัดละเอียด มีอะไรบ้าง?.
คาลิเปอร์ (CALIPERS).
ไมโครมิเตอร์ (MICROMETERS).
ไมโครมิเตอร์เฮด (MICROMETER HEADS).
เครื่องมือวัดความสูง (HEIGHT MEASURING TOOLS).
เครื่องมือวัดความลึก (DEPTH MEASURING TOOLS).
เครื่องมือวัดเส้นผ่าศูนย์กลางด้านใน (INSIDER DIAMETER MEASURING TOOLS).
เกจบล็อก (GUAGE BLOCK).

เครื่องมือวัดใดที่ต้องใช้ในการวัดละเอียดมาก

ไมโครมิเตอร์ เป็นเครื่องมือวัดความละเอียดที่สามารถวัดได้ทั้งความกว้าง ยาว หรือความหนาของวัตถุที่มีขนาดเล็กและต้องการความละเอียดสูง โดยพื้นฐานการทำงานของไมโครมิเตอร์อาศัยหลักการเคลื่อนที่ตามเส้นรอบวงของเกลียว แล้วแสดงผลจากระยะที่เคลื่อนไปได้ออกมาเป็นตัวเลขของขนาดวัตถุที่ทำการวัด

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้