ตัวอย่างสัญญาร่วมทุน บุคคลธรรมดา

สัญญาเข้าหุ้นส่วนหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน (Partnership Agreement) คือสัญญาที่มีบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เข้าทำสัญญากันเพื่อจัดตั้งห้างหุ้นส่วนขึ้นและกำหนดวิธี หลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบต่างๆ ที่ใช้ในการดำเนินกิจการต่างๆ ของห้างหุ้นส่วนนั้นรวมถึงกำหนดความสัมพันธ์ หน้าที่ระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเองนั้น โดยที่ห้างหุ้นส่วน คือรูปแบบองค์กรธุรกิจหนึ่งซึ่งมีลักษณะที่มีความซับซ้อนน้อยกว่าบริษัทจำกัดแต่ในขณะเดียวกันก็มีความซับซ้อนมากกว่ากิจการที่มีเจ้าของรายเดียว โดยแต่ละรูปแบบองค์กรก็มีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกันไป โดยห้างหุ้นส่วนจะมีลักษณะสำคัญ ดังต่อไปนี้

  • บุคคลธรรมดาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันเข้าเป็นหุ้นส่วน
  • ตกลงเข้าหุ้นกันทำกิจการหรือธุรกิจร่วมกัน
  • มีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันผลกำไรจากการดำเนินกิจการหรือธุรกิจนั้น

โดยที่ในการเข้าหุ้นนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนจะนำสินทรัพย์ของตนมาเข้าหุ้นเพื่อลงทุนและใช้ประโยชน์ในการดำเนินกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้น เช่น เงิน ทรัพย์ (เช่น อาคาร ที่ดิน อุปกรณ์) หรือ แรงงาน (เช่น การที่หุ้นส่วนรับทำงานให้กับกิจการของห้างหุ้นส่วน)

นอกจากนี้ ห้างหุ้นส่วนมี 3 ประเภทซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้

(ก) ห้างหุ้นส่วนสามัญ มีลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • ไม่ได้จดทะเบียนธุรกิจกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
  • ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกออกจากผู้เป็นหุ้นส่วน
  • ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องร่วมรับผิดชอบกับความรับผิดใดๆ ที่ห้างหุ้นส่วนก่อขึ้น (เช่น หนี้สิน)
  • เป็นหน่วยภาษีแยกจากผู้เป็นหุ้นส่วนและเสียภาษีเงินได้ในรูปแบบของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (อัตราภาษีก้าวหน้า)

(ข) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน มีลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • มีการจดทะเบียนธุรกิจกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
  • เป็นนิติบุคคลแยกออกจากผู้เป็นหุ้นส่วน
  • เป็นหน่วยภาษีแยกจากผู้เป็นหุ้นส่วนและเสียภาษีเงินได้ในรูปแบบของภาษีเงินได้นิติบุคคล (อัตราภาษีที่คงที่)
  • ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดต่อหน้าที่ความรับผิดที่ห้างหุ้นส่วนก่อขึ้นทั้งหมดทุกคนโดยไม่มีการจำกัดความรับผิดหรือแยกความรับผิด

(ค) ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • มีการจดทะเบียนธุรกิจกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
  • เป็นนิติบุคคลแยกออกจากผู้เป็นหุ้นส่วน
  • เป็นหน่วยภาษีแยกจากผู้เป็นหุ้นส่วนและเสียภาษีเงินได้ในรูปแบบของภาษีเงินได้นิติบุคคล (อัตราภาษีที่คงที่)
  • มีผู้เป็นหุ้นส่วนแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ หุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดจะมีการแบ่งแยกความรับผิดระหว่างทรัพย์สินส่วนตัวกับทรัพย์สินที่นำมาเข้าหุ้นในกิจการ และ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งหุ้นส่วนประเภทนี้เท่านั้นที่สามารถเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนได้

การนำไปใช้

ในการจัดทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน ผู้จัดทำควรพิจารณา ดังต่อไปนี้

กำหนดข้อตกลงอันเป็นสาระสำคัญของห้างหุ้นส่วน เช่น ชื่อและที่อยู่ของห้างหุ้นส่วน วัตถุประสงค์ รายละเอียดผู้เป็นหุ้นส่วน การเข้าหุ้น และการแบ่งผลกำไรและขาดทุน

กำหนดวิธี หลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบต่างๆ ที่ใช้ในการดำเนินกิจการต่างๆ ของห้างหุ้นส่วน ความสัมพันธ์ และหน้าที่ระหว่างหุ้นส่วนนั้นให้ชัดเจน เช่น การบริหารจัดการ การออกเสียงหรือลงมติ การเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วน การห้ามผู้เป็นหุ้นส่วนค้าแข่ง และการเลิกห้างหุ้นส่วน (ถ้ามี)

ผู้เป็นหุ้นส่วนควรจัดทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามโดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน โดยอาจจัดทำสัญญาเป็นจำนวนมากกว่าจำนวนหุ้นส่วน เพื่อให้หุ้นส่วนแต่ละคนยึดถือสัญญาไว้อ้างอิงได้อย่างน้อยคนละหนึ่งฉบับ รวมถึงเพื่อใช้ในการดำเนินการจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วยอีกหนึ่งฉบับ ในกรณีห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยในสัญญาดังกล่าวควรแนบเอกสารแสดงตัวตนของหุ้นส่วนทุกคนที่หุ้นส่วนผู้เป็นเจ้าของเอกสารนั้นลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาด้วย เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทาง

ผู้เป็นหุ้นส่วนติดอากรแสตมป์ที่หนังสือสัญญาเข้าหุ้นส่วนหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนตามอัตราและภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

นอกจากนี้ ห้างหุ้นส่วนสามัญอาจสามารถเกิดขึ้นได้ หากบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันดำเนินกิจการหรือธุรกิจโดยมีเจตนาเพื่อแบ่งปันผลกำไรกัน แม้ไม่ได้มีการทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนเอาไว้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ดี หุ้นส่วนดังกล่าวก็ควรจัดทำสัญญาเข้าหุ้นส่วน เพื่อกำหนดข้อตกลงอันเป็นสาระสำคัญของห้างหุ้นส่วน รวมถึงวิธี หลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบที่ใช้ในการดำเนินกิจการต่างๆ ของห้างหุ้นส่วน ความสัมพันธ์ และหน้าที่ระหว่างหุ้นส่วนนั้นให้ชัดเจน เพื่อความสัมพันธ์อันดีและความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน ทั้งนี้ เพื่อความยั่งยืนของห้างหุ้นส่วนนั้น

อนึ่ง ในกรณีห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัด จะต้องไปดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วย ห้างหุ้นส่วนจึงจะมีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลาย

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

การประกอบธุรกิจในโครงการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมาก ใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และใช้เทคโนโลยีต่างๆมากมาย ผู้ประกอบการไม่สามารถดำเนินโครงการนั้นๆได้เพียงรายเดียว จึงมีความจำเป็นที่จะต้องร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการรายอื่นเพื่อให้สามารถดำเนินโครงการต่างๆให้สำเร็จลุล่วงไปได้ การร่วมลงทุนระหว่างผู้ประกอบการอาจจะอยู่ในรูปแบบของ “กิจการร่วมค้า”(Joint Venture) หรือ “การร่วมกันในลักษณะของกลุ่มบริษัท”(Consortium)

 

1. ความหมายของJoint Venture และ Consortium     คำว่า “กิจการร่วมค้า” (Joint Venture) ไม่ใช่คำในกฎหมาย แต่เป็นคำที่ใช้กล่าวถึง “การร่วมทุน” (ศัพท์นิติศาสตร์ อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน) โดยมีผู้ให้ความหมายของคำว่า “กิจการร่วมค้า” ไว้มากมาย ซึ่งอาจสรุปได้ว่า “กิจการร่วมค้า” หมายถึง การที่บุคคลธรรมดา บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป รวมตัวกันเพื่อดำเนินกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยตกลงแบ่งผลกำไรหรือขาดทุนของกิจการร่วมกันหรือตามสัดส่วนของการลงทุนประมวลรัษฎากรได้รับรู้ถึงการทำธุรกิจการค้าแบบ “กิจการร่วมค้า” เพื่อประโยชน์ของการเก็บภาษี

โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 39 ว่าคำว่า “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล” หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและให้หมายความรวมถึงกิจการร่วมค้า ซึ่งได้แก่ กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางการค้าหรือหากำไรระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือระหว่างบริษัทและ/หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือนิติบุคคลอื่น

ประมวลรัษฎากรเพียงแต่ให้ถือว่า “กิจการร่วมค้า” ต้องเสียภาษีอย่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเท่านั้น แต่หาได้ให้ความหมายที่แน่นอน หรือกล่าวถึงสิทธิหน้าที่หรือความเกี่ยวพันระหว่างผู้ร่วมกิจการค้าด้วยกัน หรือกับบุคคลภายนอกไม่

 ดังนั้น กิจการร่วมค้าจึงเป็นการตกลงทำธุรกิจการค้าที่ไม่มีแบบแน่นอนขึ้นอยู่กับข้อตกลงหรือสัญญาระหว่างผู้ร่วมกิจการหรือผู้ร่วมลงทุน (Joint Venture Agreement) และเนื่องจากเป็นคำที่ยังไม่มีกฎหมายให้ความหมายที่แน่นอนจึงอาจหมายถึงการร่วมกิจการอะไรกันก็ได้ที่ชอบด้วยกฎหมาย และอาจจะเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นก็ได้ประมวลรัษฎากรไม่ได้บังคับว่ากิจการร่วมค้าจะต้องทำการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่ถ้าไปจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ก็จะมีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ถือหุ้น ซึ่งถึงแม้จะไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ก็ถือว่าเป็นหน่วยภาษีตามประมวลรัษฎากรที่จะต้องเสียภาษี ตามที่กล่าวแล้วข้างต้น

ศาลฎีกาเคยตัดสินว่า กิจการร่วมค้าแห่งหนึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน โดยวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 กับบริษัท ด และบริษัท อ ได้จดทะเบียนการค้าสำหรับงานก่อสร้างสะพานไว้กับกรมสรรพากรว่า “สาธรบริดจ์ จอยเวนเจอร์” โดยมี อ. เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทน เช่นนี้ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่ากิจการ “สาธรบริดจ์ จอยเวนเจอร์” ก็คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ซึ่งจำเลยที่ 1 กับบริษัทในต่างประเทศอีกสองบริษัทร่วมกันกระทำในประเทศไทยนั่นเอง ดังนั้นเมื่อรถยนต์บรรทุกของโจทก์ตกลงไปในหลุมที่ “สาธรบริดจ์ จอยเวนเจอร์” ขุดไว้อันเป็นการละเมิดตามฟ้อง เกิดขึ้นในกิจการที่เป็นธรรมดาของ “สาธรบริดจ์ จอยเวนเจอร์” จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดโดยไม่จำกัดจำนวนในการชำระหนี้ที่เกิดขึ้นจากการละเมิดนั้น (คำพิพากษาฎีกาที่ 3848/2531)

ฉะนั้น เมื่อกิจการร่วมค้ายังไม่มีกฎหมายรับรองฐานะและสิทธิหน้าที่ของผู้ร่วมกิจการ ผู้ร่วมกิจการดังกล่าวจะมีความผูกพันระหว่างกันและต่อบุคคลภายนอกอย่างไร ปัญหานี้คงต้องวินิจฉัยตามสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างผู้ร่วมกิจการและทางปฏิบัติของผู้ร่วมกิจการซึ่งเป็นคู่สัญญากัน ตลอดจนการแสดงออกต่อบุคคลภายนอกด้วย แม้โดยทั่วไปผู้ร่วมกิจการค้าจะไม่เป็นตัวการตัวแทนซึ่งกันและกัน แต่ถ้ามีการมอบอำนาจให้ทำการแทนกันไม่ว่าโดยชัดแจ้งหรือปริยาย หรือมีการเชิดให้เป็นตัวแทนกัน ก็อาจต้องมีความรับผิดต่อบุคคลภายนอกอย่างตัวการตัวแทนได้ (โปรดพิจารณามาตรา 820, มาตรา 821 และมาตรา 822 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) สำหรับสิทธิ ทรัพย์สิน และผลกำไรขาดทุนที่หามาได้ร่วมกันใครจะมีส่วนเท่าไรก็ย่อมเป็นไปตามข้อตกลงสำหรับ

 คำว่า “Consortium” ไม่ใช่คำในกฎหมาย (a “commercial” as opposed to a legal term) แต่เป็นคำที่ใช้กล่าวถึง “การรวมกันในลักษณะของกลุ่มบริษัท” ซึ่งในทางปฏิบัติจัดตั้งขึ้นมาเพื่อรับงานโครงการขนาดใหญ่จากรัฐบาลหรือเอกชน ไม่ว่าจะเป็นงานก่อสร้างสาธารณูปโภคหรือโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ (Infrastructure) เช่น ถนน ทางด่วน สะพาน รถไฟฟ้า หรืออาคาร หรืองานที่ปรึกษา ซึ่งจำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขามารวมกัน เป็นต้น โดยผู้ประกอบการที่รวมกลุ่มกันนั้น ต่างแยกกันดำเนินการในโครงการเดียวกัน ไม่มีการแบ่งกำไรหรือขาดทุนของกิจการร่วมกัน ต่างฝ่ายต่างรับผิด ไม่มีการร่วมลงทุน  ไม่ร่วมรับผิดในงานที่ทำ  ค่าตอบแทนของแต่ละฝ่ายแยกออกจากกัน

 

2. รูปแบบของกิจการร่วมค้า (Joint Venture)

 

2.1    กิจการร่วมค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (Unincorporated Joint Venture)  กิจการร่วมค้าในรูปแบบนี้เกิดขึ้น โดยอาศัยข้อตกลงในสัญญาร่วมลงทุนเป็นหลัก (Contractual Joint Venture) เนื่องจากไม่ได้จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลใหม่แยกต่างหากจากผู้ร่วมลงทุน   แต่ละราย

2.2    กิจการร่วมค้าที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (Incorporated Joint Venture กิจการร่วมค้าในรูปแบบนี้เป็นกิจการร่วมค้าที่จัดตั้งขึ้น โดยการจดทะเบียนเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลใหม่แยกต่างหากจากผู้ถือหุ้นหรือผู้ร่วมลงทุนแต่ละราย และมักจัดตั้งขึ้นเพื่อประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ที่ผู้ร่วมลงทุนทุกรายร่วมกันกำหนดในระยะยาว มากกว่าการตั้งขึ้นมาเพื่อรับงานในโครงการใดโครงการหนึ่งเป็นการเฉพาะ

 

3.วัตถุประสงค์ของ Joint Venture และ Consortium

 

3.1   เงินลงทุนในกิจการหรือโครงการขนาดใหญ่ที่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ประกอบการแต่ละฝ่ายอาจไม่สามารถจัดหาเงินทุนได้เพียงพอ จึงต้องเข้าร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ และกรณีที่ต้องขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน การร่วมลงทุนดังกล่าวก็เป็นการสร้างความเชื่อถือหรือเครดิตแก่สถาบันการเงินผู้ปล่อยสินเชื่ออีกด้วย

3.2   ความรู้ความชำนาญ เทคโนโลยี ประสบการณ์ ผลงาน และทรัพยากรทางธุรกิจ (เช่น ใบอนุญาต หรือหนังสือรับรองการเป็นผู้รับจ้างที่ขึ้นทะเบียนไว้กับหน่วยงานของทางราชการ) กิจการหรือโครงการที่ทำนั้นต้องอาศัยความรู้ความชำนาญ เทคโนโลยี ประสบการณ์ ผลงาน และทรัพยากรทางธุรกิจต่างๆ หลายอย่างประกอบกัน ซึ่งผู้ประกอบการแต่ละรายขาดความรู้ความชำนาญ เทคโนโลยี ประสบการณ์ ผลงาน หรือทรัพยากรทางธุรกิจบางอย่างในการปฏิบัติงาน จึงต้องร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ ที่มีความรู้ความชำนาญ เทคโนโลยี ประสบการณ์ ผลงาน หรือทรัพยากรทางธุรกิจที่ตนยังขาดอยู่

3.3 การกระจายความเสี่ยง  ในกิจการหรือโครงการขนาดใหญ่ที่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากมีความเสี่ยงต่อการลงทุนเพียงรายเดียว แม้ว่าผู้ประกอบการรายนั้นไม่มีปัญหาทางด้านเงินลงทุนก็ตาม จึงต้องร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง

3.4   การลดการแข่งขันทางธุรกิจการเข้าร่วมลงทุนระหว่างผู้ประกอบการที่ต่างมีศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันที่ใกล้เคียงหรือเท่าเทียมกันก็จะเป็นการลดการแข่งขันและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ โดยทำให้ผู้ประกอบการแต่ละรายดังกล่าวสามารถได้รับงานที่จ้างตามความมุ่งหมายของตนได้

3.5    การปฏิบัติงานที่จ้างในโครงการซึ่งอยู่ในต่างประเทศ

 

ข้อกำหนดในการประกวดราคา หรือการจัดจ้างงานในโครงการที่จะต้องดำเนินงานในต่างประเทศ (Terms of Reference หรือ TOR) มักกำหนดให้ผู้เสนอราคาที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทยต้องมีบริษัทต่างประเทศร่วมค้าเป็นผู้ร่วมดำเนินงานในประเทศนั้น ๆ

สอบถามเพิ่มเติม

ชื่อ

เบอร์โทรศัพท์

อีเมล์

เรื่อง

ข้อความ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้