การกำหนดเป้าหมายของการตลาดคืออะไร

การตั้งวัตถุประสงค์ทางการตลาด ถือเป็นรากฐานของการวางกลยุทธ์ทางการตลาดที่ดี ที่ช่วยให้คุณสามารถกำหนดตัวชี้วัดที่มีประสิทธิภาพ อันไหนดี อันไหนควรปรับปรุง เพื่อให้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และยังช่วยให้ทีมการตลาดของคุณสามารถพัฒนาไอเดียและกำหนดวิธีการทำงานให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงและอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงมากที่สุด

โดยก่อนอื่นคุณต้องทำความเข้าใจระหว่างเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ว่ามันมีความแตกต่างอย่างไร

ความต่างของเป้าหมายกับวัตถุประสงค์

“วัตถุประสงค์ทางการตลาด”
คือ ตัววัดความสำเร็จของเป้าหมายที่ส่งผลโดยตรงต่อธุรกิจ

เช่น

“เป้าหมาย”
บริษัท A ต้องการเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมยานยนต์
ดังนั้นบริษัท A จึงจำเป็นต้องเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด
ให้เกิดรายได้มาขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโต

“วัตถุประสงค์”
บริษัท A จำเป็นต้องเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดให้ได้ 20%
ภายในไตรมาสที่ 3 เพื่อตอบสนองเป้าหมาย
ที่ได้ตั้งเอาไว้”

คุณจะเห็นว่าวัตถุประสงค์ทางการตลาดนั้นเป็นปลายทางสุดท้ายของการวางกลยุทธ์ทางการตลาด ซึ่งมันช่วยให้ทีมของคุณเห็นแนวทางในการไปให้ถึงจุดหมายที่ตั้งไว้ และยังช่วยให้คุณวัดผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้คุณนำไปวางกลยุทธ์การตลาดด้านต่างๆไปสู่ความสำเร็จได้อย่างถูกต้อง

เมื่อคุณรู้แล้วว่าวัตถุประสงค์ทางการตลาดนั้นคืออะไร ก็ได้เวลามาดูขั้นตอนการกำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาด เพื่อให้มีประสิทธิภาพกันครับ

6 ขั้นตอนการกำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาด

1. จดจำพันธกิจหรือภารกิจหลักให้ได้

พันธกิจหรือภารกิจหลัก ก็คือ เป้าหมายที่เราต้องการจะไปถึง ซึ่งเป้าหมายสามารถมีได้หลายข้อที่ขึ้นอยู่กับการวางนโยบายทางธุรกิจของบริษัท เป้าหมายทางการตลาดไม่สามารถตั้งขึ้นมาได้หากบริษัทไม่รู้ว่ามีวิสัยทัศน์ในการทำธุรกิจอย่างไร และมีพันธกิจหรือหน้าที่เพื่อการก้าวไปสู่วิสัยทัศน์นั้นได้อย่างไร ตัวอย่างเช่น

“เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นให้คนหันมาอ่านหนังสือ”

2. กำหนดวัตถุประสงค์

สิ่งแรกที่จำเป็นต้องทำเวลากำหนดวัตถุประสงค์ คือ การกำหนดวัตถุประสงค์ต้องครอบคลุมถึงจุดหมายปลายทางของเป้าหมาย ที่ต้องการให้ทีมการตลาดทำให้สำเร็จ ซึ่งต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงและความเป็นไปได้ในหลักการ ตัวอย่างเช่น

“เพิ่มจำนวนผู้ซื้อในกลุ่มช่วงอายุ 18-25 ปี ให้ได้เป็น 2 เท่าในปี 2564”

“เพิ่มสัดส่วนการซื้อหนังสือในร้านค้าให้ได้ 50,000 บาท ทุกๆเดือน”

3. เชื่อมโยงเป้าหมายให้เข้ากับวัตถุประสงค์ทางการตลาด แบบ SMART Goal

เป้าหมายทางการตลาดนั้นแตกต่างจากวัตถุประสงค์ทางการตลาดไม่มากนัก โดยวัตถุประสงค์ทางการตลาดจะครอบคลุมถึงผลลัพธ์ที่คุณต้องการจะให้เกิด ที่คุณเป็นคนกำหนดให้ทีมของคุณ ส่วนเป้าหมายทางการตลาด ก็คือ การก้าวไปเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซึ่งก็เหมือนกับการสร้างทางเพื่อให้คุณมุ่งหน้าไปสู่จุดหมาย

SMART Goal หรือ การตั้งเป้าหมายแบบชาญฉลาด นั่นก็คือ

  • Specific มีความชัดเจน มีความเฉพาะเจาะจง
  • Measurable สามารถวัดผลได้
  • Achievable สามารถทำได้จริง
  • Realistic อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง
  • Timely มีการกำหนดระยะเวลาอย่างแน่ชัด

ตัวอย่างเช่น

“เพิ่มอันดับ Ranking เว็บไซต์ให้ติดอันดับ 1 ใน 10 บน Google Search ภายในระยะเวลา 6 เดือน”

“เพิ่มสมาชิกให้ได้ 5,000 คน ภายในระยะเวลา 3 เดือน ด้วยการจัดกิจกรรมชมรมคนรักหนังสือ”

“จัดกิจกรรมเพื่อดึงดูดให้คนมาเยี่ยมชมร้านหนังสือเพิ่มขึ้น 50% ในไตรมาสที่ 1 ปี 2563”

4. กำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด

เมื่อคุณได้วัตถุประสงค์ทางการตลาดแล้ว ก็ได้เวลาการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด ที่จะช่วยขับเคลื่อนวัตถุประสงค์ให้บรรลุผลสำเร็จ ตัวอย่างเช่น

“สร้างบล็อกรวมคอนเท้นต์ที่เป็นประโยชน์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความสนใจ”

“โปรโมทคอนเท้นต์ผ่านเว็บไซต์ และสื่อโซเชียลต่างๆ”

“ใช้วิธีการซื้อโฆษณาผ่านสื่อโซเชียล รวมไปถึงการ Retargeting ไปยังกลุ่มเป้าหมายต่างๆ”

5. เชื่อมโยงเป้าหมายให้เข้ากับ Marketing Funnel

เมื่อคุณได้ทำการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงขั้นตอนของกระบวนการเปลี่ยนกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้เป็นลูกค้าที่แท้จริง หรือที่เรียกว่า Marketing Funnel โดยมีอยู่ด้วยกัน 5 ขั้นตอน ได้แก่

  • Awareness หรือ ขั้นตอนการสร้างการรับรู้ถึงการมีอยู่ของแบรนด์หรือสินค้า
  • Interest หรือ ขั้นตอนการสร้างความสนใจให้ลูกค้ามีความสนใจข้อมูลที่คุณนำเสนอ
  • Consideration หรือ ขั้นตอนการพิจารณาข้อมูลสินค้าหรือบริการของคุณ
  • Intent หรือ ขั้นตอนแรกเริ่มของการขาย ที่ทีมการตลาดต้องพยายามนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับลูกค้ามากที่สุด
  • Evaluation หรือ ขั้นตอนของการที่ลูกค้าจะประมวลผลแล้วว่า จะซื้อสินค้าหรือบริการของเราหรือไม่
  • Purchase หรือ ขั้นที่ลูกค้าซื้อสินค้าหรือบริการ

ตัวอย่างเช่น

“Awareness – เข้าถึงอย่างน้อย 500 คน สำหรับทุกโพสต์บนเฟสบุ้ค”

“Interest – มีคนสมัครสมาชิกผ่านอีเมล์ 1,000 คน”


“Consideration – มี Lead คุณภาพ 50 Lead จากอีเมล์”


“Intent – มีคนโทรมาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 25 คน”


“Evaluation – มีลูกค้าต้องการให้ติดตั้งระบบทดสอบเดือนละ 10 คน”


“Purchase – สร้างให้เกิดยอดขาย 20,000 บาทโดยเฉลี่ยต่อเดือน”

6. วัดผลและทำรายงาน

ขั้นสุดท้าย คือ การกำหนดตัวชี้วัดและทำการวัดผลว่าสิ่งที่คุณวางแผนไว้มันมากกว่า ใกล้เคียง หรือต่ำกว่าเป้าหมาย และจัดทำรายงานสรุปออกมา

ตัวอย่างเป้าหมายและวัตถุประสงค์ทางการตลาด

  • เป้าหมาย – สร้างชื่อเสียงให้กับแบรนด์
  • วัตถุประสงค์ – รักษาชื่อเสียงในเชิงบวกต่อแบรนด์และคง Share of Voice (SOV) ให้ได้ 90% ภายในสิ้นปี เพื่อให้ลูกค้ารู้จัก ชื่นชอบ และมีความเชื่อมั่นต่อแบรนด์
  • เป้าหมาย – เพิ่มจำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
  • วัตถุประสงค์ – ทดสอบวิธีการสร้าง Traffic ใหม่ๆทุกๆเดือน เพื่อเพิ่มผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ให้ได้ 10% ต่อเดือน
  • เป้าหมาย – เพิ่มช่องทาง Lead ใหม่ๆ
  • วัตถุประสงค์ – ทดสอบและหาวิธีการสร้าง Lead (Lead Generation) แบบใหม่ๆในทุกๆเดือน ในช่วงปี 2020 เพื่อหาวิธีที่เหมาะสมที่สุด และนำมาใช้ในปี 2021
  • เป้าหมาย – ออกผลิตภัณฑ์ใหม่
  • วัตถุประสงค์ – กำหนดกลยุทธ์การขายสำหรับผลิตภัณฑ์ให้แล้วเสร็จภายใน 1 สัปดาห์ เพื่อที่ทีมงานจะได้ทำสื่อในรูปแบบต่างๆได้ทันเวลา
  • เป้าหมาย – ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ
  • วัตถุประสงค์ – เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่โดยไม่มี Bug ใดๆ
  • เป้าหมาย – สร้างให้เกิดลูกค้าที่สนับสนุนแบรนด์ที่มากยิ่งขึ้น
  • วัตถุประสงค์ – ทำโครงการ Customer Ambassador ร่วมกับลูกค้าเพื่อแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆของบริษัท และเชิญชวนลูกค้าใหม่ๆมาสนับสนุนแบรนด์

เป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน จะช่วยให้การวางแผนการตลาดเชิงกลยุทธ์สามารถทำได้ง่ายยิ่งขึ้น และยังช่วยให้การทำงานของทีมงานมีเป้าหมายที่จับต้องได้และอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง และมีประสิทธิภาพ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้